ธันวาคม 2550

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
12
14
15
19
20
21
22
26
27
28
29
31
 
 
All Blog
กู่ฉินกับประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการ ปฐมบรรพ

ศาสตราจารย์ 李祥霆 เขียน
ชัชชล ไทยเขียว แปล




กู่ฉินเป็นเครื่องดนตรีจีนโบราณประเภทดีด ในสมัยโบราณเรียกแต่เพียงว่า 琴(ฉิน) แต่ในปัจจุบันเรียนว่า 古琴(กู่ฉิน) หรือ 七弦琴(ฉินเจ็ดสาย) เพราะในภาษาจีนปัจจุบัน อักษร琴ตัวนี้โดดๆ แปลว่า เครื่องดนตรีประเภทสายหรือเครื่องดนตรีทุกชนิด ดังนั้นจึงเติมคำว่า 古 เข้าไป ซึ่งแปลว่า โบราณ เพื่อเป็นการชี้ชัดว่าเป็น เป็นฉินโบราณนั่นเอง



ในสมัยชุนชิวมีกลอนบทหนึ่งชื่อ国风 (กว๋อเฟิง หรือสำเนียงแคว้น) ใน 诗经 (ซือจิง หรือตำราสังคีต) ว่า“窈窕淑女,琴瑟友之”(น้องนางงามสคราญ พรมฉินดีดเส้ออิงอนง) ตำรา 诗经 นั้นถูกเขียนเมื่อสองพันกว่าปีที่แล้ว ลองคิดดูว่ากู่ฉินตั้งแต่กำเนิดกระทั่งได้รับการยอมรับและความนิยมจนได้มาปรากฏบนตำรา诗经ได้นั้น จำต้องอาศัยระยะเวลาค่อนข้างนานพอสมควร หากกล่าวว่า กู่ฉินมีอายุกว่าสามพันกว่าปี ก็คงถูกต้องเหมาะสมตามกระบวนการวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์

หากดูจากหลักฐานที่ปรากฏ สายของกู่ฉินในยุคเริ่มแรกนั้นไม่เป็นที่แน่นอน บ้างมี 1 สาย 5สาย 7สาย 9สาย เป็นต้น แต่เร็วๆนี้ที่หูเป่ย ได้ขุดพบกู่ฉินในสมัยชุนชิว มี10สาย จากหลักฐานที่พบ กู่ฉินน่าจะมีรูปแบบที่สมบูรณ์ในช่วงหลังสมัยฮั่นตะวันตก ในยุคของ 蔡邕 (ไช่ยง) ในสมัยฮั่นตะวันออกจนไปถึงยุคของ 嵇康 (จีคัง) ในสมัยราชวงศ์จิ้น ถือว่าเป็นช่วงที่รุ่งโรจน์ที่สุดของกู่ฉิน


กู่ฉิน 10สาย สมัยชุนชิว



กู่ฉิน 7สาย สมัยฮั่น


กู่ฉินมีเจ็ดสาย ตั้งสายแบบมาตราฐานเป็น C, D, F, G, A, c, d (จากสายนอกเข้าสายใน) นอกนั้นยังมีวิธีตั้งสายในคีย์ต่างๆตาม 五声音阶 (ระบบห้าเสียง) และไม่ตามระบบห้าเสียงอีกสิบแบบ สายกู่ฉินสายเดียวนั้นกำเนิดเสียงได้หลายเสียง สายกู่ฉินนั้นค่อนข้างยาว แต่ละสายมีเสียงฮาร์โมนิคที่ใสและบริสุทธ์ถึงสิบสามเสียง ด้วยเหตุนี้เพื่อการบรรเลงที่สมบูรณ์ จึงนิยมใช้เสียงฮาร์โมนิคมาเติมเต็มในบทเพลง

กู่ฉินทั้งตัวนั้นเป็นกล่องเสียงสะท้อน ประกอบด้วยแผ่นไม้ด้านบนและแผ่นไม้ด้านล่างที่มีช่องเสียง ดังนั้นเสียงของกู่ฉินจึงค่อนข้างมีความพิเศษ ทั้งใส ทั้งลึกและมีเสียงที่มีความยาวจนกระทั่งค่อยๆ จางหายไป




กู่ฉินเกิดช้ากว่า 钟(ระฆังโลหะ), 磬(ระฆังหิน) และ笙(แคน) แต่เกิดพร้อมๆกับ 瑟(เส้อ พิณโบราณชนิดหนึ่ง มียี่สิบห้าสาย) เมื่อสองพันกว่าปีที่แล้ว กู่ฉินถูกยกย่องในระดับเทพเจ้าเลยทีเดียว ในตำรา韩非子 (หานเฟยจื่อ) ก่อนสมัยราชวงศ์ฉิน บันทึกไว้ว่า ในยุคชุนชิว นักบรรเลงกู่ฉินตาบอด ชื่อ 师矿(ซือควาง) ดีดฉินดึงดูดฝูงนกกระสาดำมาร้องระบำ ด้วยเหตุนี้กู่ฉินในยุคประวัติศาสตร์ก็ได้มีบทบาทเป็นเมนหลักของนิทานและตำนานที่สร้างความประทับใจและความซาบซึ้งให้ผู้คนได้เป็นอย่างดีแล้ว


ระฆังโลหะ



ระฆังหิน



แคน



เส้อ


อย่าง伯牙 (ป๋อหยา)และ 种子期 (จงจื่อชี) ก็เป็นนิทานเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักสำหรับชาวจีนเป็นอย่างดี นิทานป๋อหยาดีดฉิน จงจื่อชีรู้ใจ (เดิมคือ 知音 ซึ่งแปลตรงตัวว่า รู้เสียง มีนัยว่า เข้าถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้บรรเลงผ่านเสียงของกู่ฉิน) ได้ถูกบันทึกในตำรา 吕氏春秋 (หลี่ซื่อชุนชิว) อย่างชัดเจน อาศัยบันทึกนี้ก็กล่าวได้ว่า กู่ฉินก่อนสมัยราชวงศ์ฉิน ก็ได้เป็นเครื่องดนตรีบรรเลงเดี่ยวแล้ว โดยอาศัยการใช้มือและเครื่องดนตรีบริสุทธิ์ เป็นตัวกลางสื่อถึงการรับรู้ ความคิดและความรู้สึกของมนุษย์ต่อสภาพแวดล้อมที่ได้สัมผัส และยังเป็นสะท้อนถึงความคิดรวมไปถึงระดับความรู้ทางดนตรีของคนในสมัยก่อนราชวงศ์ฉินอีกด้วย


ป๋อหยาดีดฉิน และจงจื่อชีรู้ใจ


นักบรรเลงกู่ฉินในสมัยราชวงศ์ฮั่นก็มีจำนวนไม่น้อย ไช่ยงในสมัยฮั่นตะวันออก ถือเป็นบุคคลที่มีความสำคำญมาก มีความสามารถในด้านการประพันธ์เพลง อาทิเช่น เพลง春游 (ท่องเที่ยวในฤดูใบไม้ผลิ) แต่น่าเสียดายที่เพลงนั้นสาบสูญไปเสียแล้ว แต่ที่น่ายินดีคือ หนังสือ 琴操 (ฉินเชา หรือเพลงฉิน) ของไช่ยง ได้ตกทอดมาถึงทุกวันนี้ หนังสือ 琴操 ได้บันทึกบทเพลงกู่ฉินที่บรรเลงกันในสมัยนั้นถึง 40 กว่าเพลง มีทั้งเนื้อร้อง โน๊ตเพลงและเนื้อหาของแต่ละเพลงอย่างครบครัน และต้นกำเนิดของเพลงที่เล่นกันอยู่ทุกวันนี้ ก็สามารถหาข้อมูลได้จากตำราเล่มนี้นั่นเอง จึงกล่าวได้ว่า琴操เป็นเอกสารประวัติศาสตร์ทางดนตรีที่สำคัญชิ้นหนึ่ง

ในสมัยราชวงศ์จิ้น นักบรรเลงกู่ฉินผู้หนึ่งก็โดดเด่นไม่แพ้กัน นั่นก็คือ 嵇康 (จีคัง) ซึ่งจะโดดเด่นในเรื่องการเมือง เพราะจีคังดูถูกเหยียดหยามรัฐบาลอันเน่าเฟะของซือหม่าอี้เป็นอันมาก ในทางวรรณคดีและทางดนตรีก็ได้มีบันทึกไว้ว่า ก่อนที่จีคังจะตาย ก็ได้บรรเลงเพลงสุดท้ายในชีวิต นั่นก็คือเพลง 广陵散 (กว่างหลิงส่าน หรือลำนำกว่างหลิง) เรื่องน่าพิศวงของจีคังกลายเป็นตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน และเรื่องราวของจีคังยังเป็นข้อมูลที่สำคัญในการวิจัยเพลง广陵散 อีกด้วย ตำรา 琴赋 (ฉินฟู่) ที่จีคังเขียนขึ้นนั้นนอกจากจะแสดงให้พวกเราเห็นถึงระดับของศิลปะ สถานภาพทางสังคม เทคนิคการบรรเลงและอิธิพลของกู่ฉินแล้ว ยังชี้จัดได้อีกว่า สมัยที่กู่ฉินมีสัญลักษณ์แสดงตำแหน่งเสียงที่เรียกว่า 徽 (ฮุย) ก็คือสมัยของจีคังนั่นเอง และนี่ก็เป็นข้อมูลทางสถานภาพของกู่ฉินในช่วงระหว่างสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกและสมัยราชวงศ์ถังที่สำคัญอีกข้อมูลหนึ่งทีเดียว


จีคัง





Create Date : 06 ธันวาคม 2550
Last Update : 9 ธันวาคม 2550 17:48:57 น.
Counter : 9656 Pageviews.

7 comments
  
เป็นประโยชน์อย่างยิ่งครับ เพราะกู่ฉิน หรือเครื่องดนตรีจีนอื่น ๆ ล้วนแต่แฝงภูมิปัญญาตะวันออกไว้อย่างลึกซึ้ง ขอบคุณที่ศึกษาและแบ่งปันความรู้สู่สาธารณะครับชัช
โดย: Sanong_Music of Mahidol IP: 202.28.180.202 วันที่: 7 ธันวาคม 2550 เวลา:19:31:27 น.
  
สวัสดีครับ แวะมาทักทายครับ
ใกล้ปีใหม่แล้ว มีความสุขมากๆนะครับ
ถ้าว่างก็ไปเยี่ยมเยียนกันบ้างนะครับ
โดย: land_scape_man วันที่: 8 ธันวาคม 2550 เวลา:1:19:48 น.
  
บทความแปลได้ดีนา...ไง ก็ ขยันๆ เรียน น่า...ที่นู้น เค้า แข่ง กัน จิงๆๆ เนอะ...เจี๊ยบ
โดย: เจี๊ยบ เชียงใหม่ IP: 117.47.216.52 วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:20:37:40 น.
  
谢谢你的文章.....
โดย: 莹莹 IP: 118.174.197.74 วันที่: 29 มิถุนายน 2551 เวลา:22:30:12 น.
  
จีนเค้าเก็บและรักษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเค้าได้ดีจริงๆ
ผิดว่าไปตามผิด
ถูกว่าไปตามถูก

บ้านเราเขียนประวัติศาสตร์ไมไ่ด้ครับน้องชัช
เพราะมีแต่ความคลุมเคลือ

โดย: ก๋าคุง (กะว่าก๋า ) วันที่: 9 ตุลาคม 2551 เวลา:7:23:16 น.
  
แคนจีนนั่นเคยอ่านเจอในหนังสือ.. ภาษาจีนเรียกว่า เชง

(ถ้าจำไม่ผิด..)

แล้วก็ เส้อ เจอในหนังสือ ดนตรีเอเชียตะวันออก

เรียกว่า เซ .. แต่ก็อย่างเดียวกันแหละขอรับ..
โดย: เสวียนเต๋อ IP: 203.144.153.172 วันที่: 6 ธันวาคม 2551 เวลา:22:55:29 น.
  
ผมใช้ภาษาจีนกลางซึ่งเป็นระบบมาตราญานในการแปลชื่อครับ

แคนจีนในระบบพินอินจะเขียนแบบนี้ครับ sheng 笙
ซึ่งอ่านว่าเซิง เท่านั้นครับ (เน้นว่าในภาษาจีนกลาง)
ถ้าผู้แปลไม่มีความรู้ภาษาจีนก็อาจจะแปลเป็น
"เชง" ซึ่งไม่ถูกต้อง

ในกรณีของเส้อก็เช่นเดียวกันครับ
ในระบบพินอินจะเขียนแบบนี้ se 瑟
ซึ่งอ่านว่า เส้อ ครับ ไม่ได้อ่านว่า "เซ"

ตรงนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะถ้าแปลผิดอย่างนี้แล้ว
ต่อไปเมื่อมีการทำวิจัยระดับประเทศ จะทำให้สื่อสารไม่เข้าใจและขาดความเป็นสากล หาจุดเชื่อมโยงของสิ่งที่ต้องการค้นคว้าไม่ได้ดีอย่างที่ตั้งเป้าไว้ ทั้งนี้ยังรวมไปถึงปัญหาเรื่องการแปลมาเป็นภาษาจีนท้องถิ่นด้วย คนไทยยังคุ้นเคยกับสิ่งเหล่านี้อยู่ (เช่น หลิวเป้ย เป็น เล่าปี่) ภาษาจีนท้องถิ่นแบ่งออกเป็นเจ็ดแปดภาษาใหญ่ๆ และแทบสื่อสารกันไม่ได้เลย
ดังนั้นสำหรับผู้ที่ไม่สามารถอ่านอักษรจีนออกได้แล้ว มันคือกำแพงภาษาเพื่อเข้าไปสู้แกนความรู้ชั้นดีนั่นเอง

หมายเหตุ
ในระบบพินอินภาษาจีนกลาง
ตัว e จะเป็นเสียง สระเออ ในภาษาไทยครับ
โดย: ชัช (กู่ฉิน ) วันที่: 7 ธันวาคม 2551 เวลา:20:15:16 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กู่ฉิน
Location :
Beijing  China

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



ชัชชล ไทยเขียว (ชัช)
ยินดีที่ได้รู้จักผู้สนใจดนตรีกู่ฉินทุกท่านครับ

MSN : tq.canchuan@hotmail.com
https://www.facebook.com/SiamGuqin