PINK PANDA
<<
สิงหาคม 2550
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
20 สิงหาคม 2550
 
 
พุทธศาสตร์กับเศรษฐศาสตร์


บทความนี้สำหรับเป็นข้อเสนอแนะจากบทความอื่นๆ
ที่นำมาอ้างอิง


พระพุทธเจ้าตรัสรู้เกิดพระพุทธศาสนามานานกว่า 2พันปีแล้ว การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าคือตรัสรู้ธรรมะซึ่ง ธรรมะก็คือความจริง สามารถนำมาใช้ได้ตลอดไป ขึ้นอยู่ที่ว่าแต่ละคนนั้นจะปฏิบัติตามหรือไม่ พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนธรรมะนี้ ซึ่งเป็นแนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ตามหลักเศรษฐศาสตร์ ที่ให้มนุษย์บริหารในการใช้ทรัพย์ให้เกิดเป็นอรรถประโยชน์ (Utility) ซึ่งจะให้มนุษย์มีทรัพยากรบริโภคอย่างพอเพียง และมีการการพัฒนาอย่างยั่งยืน
โดยหลักใหญ่แล้วพระพุทธศาสนา จะสอนถึง
1. ควบคุมความพฤติกรรมในการบริโภค คือ ศีล
2. อารมณ์ความรู้สึก ในการบริโภค คือ สมาธิ
3. ภูมิปัญญาที่รู้จริง ในการบริโภค คือ ปัญญา

ศีล

ศีลหรือการควบคุมความประพฤติในการบริโภค คือ การควบคุมการบริโภคในภายนอก ที่พฤติกรรมจะแสดงออกมา จากการกระทำ สอนให้รู้จักกิน รู้จักเก็บ รู้จักใช้ ไม่ใช้เงินอย่างมือเติบเกินตัว เกินรายได้ที่มีอยู่เพียงน้อยนิดแต่ใช้จ่ายมาก จนเป็นหนี้ และท้ายที่สุดต้อง ลักทรัพย์ ฉ้อโกง คอรัปชั่น โกงกินผู้อื่น มีความประพฤติที่ผิด มีลักษณะที่กลายเป็นโจร และเมื่อมีโจรและมีอาชญากรรมเป็นจำนวนมากจะไม่มีความปลอดภัยในการลงทุน เศรษฐกิจในกลุ่มจะไม่มั่นคง เกิดการลงทุนน้อย รายในกลุ่มเศรษฐกิจจะขาดแคลน เพราะ คนไม่รู้จักใช้ ไม่รู้จักกิน ไม่รู้จักหาไม่รู้จักเก็บ จึงต้องพัฒนาให้เกิดปัญญาต่อไป

สมาธิ

สมาธิหรืออารมณ์ความรู้สึกในการบริโภค คือ ความรู้จักควบคุมภายใน ให้คิดในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ให้อารมณ์มันเกิดไปตามที่ต้องการ เพื่อการวางแผน (Planning) กระบวนการในการบริโภค ให้มีการจัดแบ่งสรรปันส่วน (allocation) กันได้อย่างถูกต้อง และมีอรรถประโยชน์ในการบริโภคด้วยความพอเพียง รู้จักวางแผนเก็บออมทรัพย์อย่างประหยัด ด้วยความเป็นสมาธิอันเป็นความรู้สึกภายในของมนุษย์ ที่สามารถ อดและทนได้ โดยการออม ต้องอดต่อสิ่งที่ชอบ และทนต่อสิ่งที่ไม่ชอบได้ เมื่อมีการควบคุมภาย วางแผนการกิน การใช้และการออม จึงทำให้เศรษฐกิจสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืน

ปัญญา

ปัญญาหรือภูมิปัญญาที่สามารถรู้ถึงเศรษฐกิจอย่างแจ่มชัด คือ ภูมิปัญญาที่มนุษย์มีความรู้ความเข้าใจในทางเศรษฐกิจ ปัญญาจึงเป็นข้อที่สำคัญที่สุด เพราะ ภูมิปัญญาจะเป็นพื้นฐานของการควบคุมการบริโภคและความรู้สึกในการควบคุมภายใน เพราะเมื่อมีภูมิปัญญาจะทำในสิ่งที่ถูกต้องตามหลักของเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ และเมื่อควบคุมการบริโภคและเข้าใจภายใน ก็จะสะสมภูมิปัญญามากยิ่งขึ้นสามารถจัดการระบบเศรษฐกิจได้ ด้วยความรู้ทางปัญญา คือ
• รู้จักหาทรัพย์
• รู้จักรักษาทรัพย์ที่หามาได้ ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
• รู้จักคบกัลยาณมิตร ที่คอยชี้แนะหรือช่วยเหลือ เช่น มีเพื่อนเตือนสติก่อนภาวะ เศรษฐกิจวิกฤตและแนะนำวิธีการฝ่าฟันวิกฤต
• ประกอบอาชีพสุจริตที่ไม่เป็นโทษ มีจริยธรรมในอาชีพของตน


เมื่อเข้าตามหลักทั้ง 3โดยพร้อมกันและแยกออกจากกันไม่ได้แล้ว ภูมิปัญญาจะทำให้รู้จักถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงตามแนวพระราชดำริ ซึ่งมาจากภูมิปัญญาในหลักทางสายกลางของพระพุทธศาสนานั้นเองเพราะทางสายกลางมาจาก ศีล สมาธิ และ ปัญญา รู้จักการควบคุมเศรษฐกิจให้มีความพอดี ถึงตรงจุด ดุลยภาพ (Equilibrium) รากฐานของเศรษฐกิจจะมั่นคงแต่เติบโตไปได้อย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีปัญหาเงินเฟ้อและเงินฝืดได้ง่าย เศรษฐกิจสามารถตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคง มีสถานภาพทางการเงินในกลุ่มเศรษฐกิจอย่างมั่นคง

แต่นักเศรษฐศาสตร์และนักลงทุนที่มีความเข้าใจผิด ขาดภูมิปัญญาต้องการให้เศรษฐกิจเติบโตโดยรวดเร็ว ส่งเสริมการลงทุนให้มากสร้างเศรษฐกิจให้เติบโตจนเกินและเกิดความฟุ่มเฟือยทางเศรษฐกิจ ต้องกู้ยืมเงินจากต่างประเทศมาลงทุน จนตกเป็นหนี้จากต่างชาติ จนกระทั่งเงินเฟ้อและฝืดหลังจากต้องใช้เงินกู้เศรษฐกิจก็แย่ลงมากเพราะขาดความเข้าใจในภูมิปัญญาของเศรษฐศาสตร์ที่แท้จริงนั้นเอง

เศรษฐศาสตร์ทางสายกลางแนวพุทธกับคุณภาพชีวิต Economic welfare
คุณภาพชีวิตเกิดจากการตอบสนองความต้องการ ให้มีกินและมีใช้สนองความต้องการของการบริโภคซึ่งเป็นเครื่องวัดของเศรษฐกิจ ตามหลักของทางสายกลาง ถ้าบริโภคด้วยความต้องมากจนเกินไป กินใช้มากจนเกินไป เกินดุลยภาพทางสายกลาง จนเลยขอบเขตของคุณภาพชีวิต ขาดการออม ใช้ทรัพยากรโดยไม่รู้จักการอดออม เพื่อการมีกินมีใช้ต่อไปในอนาคต แต่ เมื่อเข้าถึงหลักภูมิปัญญาทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน จึงต้องมีภูมิปัญญาทางเศรษฐศาสตร์โดยเข้าใจว่า คุณภาพชีวิตขึ้นอยู่กับความพอใจของแต่ละคน จึงต้องมีการควบคุมทางจิตใจวางแผนการบริโภค โดยการควบคุมจิตใจให้การบริโภคอยู่ในความต้องการ มีความพอดีต่อคุณภาพชีวิต พอดีกับทรัพยากรที่มีอยู่ให้บริโภคอย่างมีอรรถประโยชน์กับการบริโภคพอดี


โดย
นายกวีพันธ์ ยวงบัณฑิต


บรรณานุกรม
พุทธบริหารเศรษฐกิจไทย โดย สมหวัง วิทยาปัญญานนท์ //www.budmgt.com
การบริโภคในเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ โดย สมหวัง วิทยาปัญญานนท์ //www.budmgt.com
บริหารการบริโภคเชิงพุทธ โดย สมหวัง วิทยาปัญญานนท์ //www.budmgt.com
สลายความขัดแย้ง: นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ แนวพุทธ
โดย พระพรหมคุณาภรณ์

Special Thanks
นางสาวจินตนา สุรชัยเกษม
ครูบาพระอาจารย์ ณ วัดป่า


Create Date : 20 สิงหาคม 2550
Last Update : 22 สิงหาคม 2550 15:40:40 น. 2 comments
Counter : 1418 Pageviews.

 
เห็นด้วย
แต่การใช้ชีวิตปัจจุบันที่เน้นการบริโภค
ทำให้ชาวพุทธลืมหลักธรรม และถูกกระแสการบริโภคดูดกลืนไป


โดย: ชาวพุทธ (Enlight ) วันที่: 20 สิงหาคม 2550 เวลา:22:59:45 น.  

 
เป็นบทความที่ดีมาเลยค่ะ ขออนุญาติแอดบล็อกไว้หน่อยนะคะ สนใจมากค่ะ


โดย: pomise (pomise ) วันที่: 20 สิงหาคม 2550 เวลา:23:11:31 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

grooveriderz
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Pink Pandaขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยน่ะค๊าบ
[Add grooveriderz's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com pantip.com pantipmarket.com pantown.com