PINK PANDA
 
กรกฏาคม 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
12 กรกฏาคม 2550
 
 

FTA ในสายตาของ ADB

FTA ในสายตาของ ADB
เมื่อต้นเดือนเมษายน 2549 ที่ผ่านมา ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย (ADB: Asian Development Bank) ได้จัดทำรายงานประจำปี 2549 (Asian Development Outlook 2006) ซึ่งมี บทหนึ่งที่กล่าวถึงกระแสการจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) ของเอเซีย

ADB ได้กล่าวถึงการใช้ส่งออกเป็นหัวจักรของการพัฒนาเศรษฐกิจ (Engine of Growth) ของประเทศกำลังพัฒนาในเอเซีย มีผลให้ในช่วงเวลา 20 ปี (พ.ศ.2527-พ.ศ.2547) การส่งออกของประเทศกำลังพัฒนาในเอเซียขยายตัวถึง 10 เท่า (ขณะที่การส่งออกของโลกขยายตัว 5 เท่าในช่วงเวลาเดียวกัน)จนประเทศเหล่านี้มีสัดส่วนในการส่งออกของโลก 21.3% และมูลค่าการค้าภายในภูมิภาคเอเชียก็เพิ่มขึ้นจาก 22% เป็น 40% ของการส่งออกรวม และแม้ว่าสัดส่วนดังกล่าวจะค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับการค้าภายในภูมิภาคอื่น เช่น NAFTA (46%) และ EU (64%) แต่อัตราการขยายตัวก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ในส่วนของการจัดทำ FTA ในเอเชียก็เป็นปรากฏการณ์ที่น่าจับตามอง ก่อนปี 2538 การทำ FTA ของเอเชียมีเพียง 10 กว่าความตกลง แต่ถึงปี 2548 ความตกลง FTA ทั้งที่ลงนามกันแล้วและกำลังเจรจาทยานขึ้นเป็น 70 ความตกลง จนดูเหมือนว่ากลายเป็นการแข่งขันกัน เพราะหากประเทศหนึ่งจับคู่ทำ FTA กับอีกประเทศหนึ่ง จะกระตุ้นให้อีกประเทศอื่นสนใจและหารือเพื่อทำ FTA กับประเทศใดประเทศหนึ่งหรือทั้ง 2 ประเทศนั้น เพื่อไม่ให้เสียเปรียบทางการค้าและการลงทุน
อย่างไรก็ตาม ADB เห็นว่าการทำ FTA ส่วนใหญ่เป็น PTA (Preferential Trade Agreement) มากกว่า เพราะมีข้อกีดกันประเทศที่ไม่ใช่คู่สัญญามาก (ประเด็นนี้จะสอดคล้องกับความเห็นของศาสตราจารย์ Jagdish Bhagwati แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ผู้ซึ่งเห็นว่าการทำ FTA เป็นการทำลายหลักการ MFN และก่อให้เกิดความยุ่งเหยิงเรียกว่า Spaghetti Effects) โดยเฉพาะการใช้กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of Origin) เป็นเครื่องมือในการกีดกัน ดังนั้น ADB จึงไม่ค่อยเห็นด้วยกับการใช้กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าเป็นกำแพงกั้นการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษี ADB จึงสนับสนุนการตกลงแบบพหุภาคีใน WTO มากกว่าการทำ FTA เรื่องนี้ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับ ADB ที่สนับสนุนให้เน้นการค้าระบบพหุภาคีมากกว่าระบบทวิภาคี แต่เหตุที่ประเทศต่างๆหันมาเจรจาในระบบทวิภาคีกันมากขึ้นก็เนื่องจากการเจรจาในระบบพหุภาคีล่าช้าและไม่น่าเชื่อถือ เพราะประเทศที่พัฒนาแล้วไม่จริงใจที่จะเปิดตลาดแก่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ทั้งที่ประเทศที่พัฒนาแล้วต่างก็รู้ดีว่าการเปิดตลาดจะช่วยให้สวัสดิการ (welfare) ของประเทศสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ผมมีความกังวลว่าหากมีการทำ FTA กันมากจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี เพราะระดับอัตราภาษีนำเข้า และเงื่อนไขตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าในแต่ละสินค้าของแต่ละความตกลงแตกต่างกัน ก่อให้เกิดต้นทุนในการบริหารจัดการ ดังนั้น สุดท้ายก็ต้องเกลี่ย (harmonize) ระดับอัตราภาษีนำเข้าและเงื่อนไขของกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ซึ่งเท่ากับว่าต้องกลับไปสู่ WTO โดยปริยาย

ที่มา:หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ




 

Create Date : 12 กรกฎาคม 2550
0 comments
Last Update : 12 กรกฎาคม 2550 9:13:09 น.
Counter : 554 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

 

grooveriderz
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Pink Pandaขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยน่ะค๊าบ
[Add grooveriderz's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com pantip.com pantipmarket.com pantown.com