Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
232425262728 
 
15 กุมภาพันธ์ 2557
 
All Blogs
 
การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 โดย กมล สุดประเสริฐ

School reform is an issue that concerns many more people than just those directly involved in the field of education.

Bill Clinton (In Schlechty?s Schools for the 21st Century, 1991:p.xi)

บทนำ

โรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ก่อนที่จะมีโรงเรียนไทยที่จัดตามแบบตะวันตกหรือยุโรป ดังเช่นที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ เด็กและเยาวชนไทย ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานจากบ้าน วัด และราชสำนัก ตามฐานานุรูปและประเพณีนิยม วัตถุประสงค์หลักคือการให้บุตรหลานรู้หนังสือ อ่านออกเขียนได้ สามารถใช้ความรู้ในวิชาหนังสือ ศึกษาคำสอนของพระพุทธศาสนา เพื่อบวชเป็นองค์พระและสามเณรได้ต่อไป นอกจากนั้นยังใช้ความรู้ในวิชาหนังสือเป็นกุญแจไขไปสู่ความรู้สาขาอื่นๆ เช่น แพทย์แผนไทยหรือแผนโบราณ โหราศาสตร์ วรรณคดี และสำหรับผู้ต้องการรับราชการ ความรู้ในวิชาหนังสือย่อมจะเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานของเขา

ระบบการศึกษาตามแบบตะวันตกได้เข้าสู่ประเทศไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีภาวะผู้นำและปรีชาญาณที่จะปฏิรูปการศึกษา หลังจากได้เสด็จประพาสยุโรปและได้ทรงเห็นความเจริญก้าวหน้าของประเทศต่างๆ ในทุกๆ ด้าน เหตุผลของการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้น อาจจะด้วยทรงตระหนักในภัยที่จะมีมาจากประเทศมหาอำนาจ ถ้าหากเมืองไทยมิได้ปรับปรุงตนเองให้เจริญก้าวหน้าตามกาลเวลา ทรงเห็นสิ่งสำคัญที่มีต่อการพัฒนาบ้านเมือง คือการจัดโรงเรียนให้บุตรหลานประชาชนได้เข้าเรียนเป็นการทั่วไป ทรงให้เปิดโรงเรียนสำหรับบุตรหลานประชาชนได้เข้าเรียนเป็นครั้งแรกที่โรงเรียนวัดมหรรณพาราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งต่อมา การศึกษาตามวิธีใหม่นี้ ก็ได้แพร่ขยายไปทั่วประเทศ



เครื่องมือสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเข้าถึงประชาชนได้อย่างกว้างขวางทั่วถืงคือการออกกฎหมายบังคับให้บิดามารดาหรือผู้ปกครอง ส่งเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนพระราชบัญญัติประถมศึกษาฉบับแรกได้ออกบังคับใช้เมื่อ พ.ศ.2464 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ยกเลิกและประกาศใช้ใหม่ ในระยะเวลาต่อๆ มาอีก 8 ฉบับ ฉบับหลังสุดคือพระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช 2523 นับว่าประเทศไทยได้จัดให้มีการศึกษาภาคบังคับมายาวนาน แต่เป็นการจัดการศึกษาภาคบังคับในระยะเวลาสั้นๆ คือมีกำหนดเวลาบังคับเพียง สาม สี่ ปี การศึกษาภาคบังคับในระยะหลังตั้งใจจะจัดทำให้ยาวนานถึงเจ็ดปี ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดจากการประชุมองค์การยูเนสโกที่กรุงการาจี ประเทศปากีสถาน ที่เรียกกันทั่วไปว่า แผนการาจี (Karachi Plan) ในสมัยศาสตราจารย์ ม.ล.ปิ่น มาลากุล เป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ แต่ในที่สุดก็จัดการศึกษาภาคบังคับได้เพียงหกปี ตามที่จัดทำตามแผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2520 โดยใช้ระบบการศึกษาแบบ 6-3-3 คือประถมศึกษา 6 ปี มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี และมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี คือบังคับในระดับประถมศึกษา 6 ปี และเมื่อมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 จึงได้เปลี่ยนให้มีการศึกษาภาคบังคับจาก 6 ปี มาเป็น 9 ปี นับเป็นการจัดการให้โรงเรียนและสถานศึกษากลายเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่ใช้ระยะเวลาในการบังคับเข้าเรียนยาวขึ้นตามมา
_______________
คลิกอ่านรายละเอียดต่อ....


Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2557 3:53:34 น. 0 comments
Counter : 1352 Pageviews.

โอพีย์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]




Occupation A Certified Nursing Assistant(CNA)@ USA
and Blogger at Bloggang Thailand.




BlogGang Popular Award #10

BlogGang Popular Award #11

Free counters!
Friends' blogs
[Add โอพีย์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.