LOVE ACTUALLY
Group Blog
 
 
กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
15 กันยายน 2551
 
All Blogs
 

คอลัมน์: Investment Planning: ถึงจุดจบของภาวะกระทิงในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์หรือยัง?

หลังจากที่ราคาน้ำมันดิบทะยานไปแตะที่ระดับ 147 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เมื่อวันที่ 11 ก.ค. แล้ว ก็ได้มีการปรับตัวอ่อนลงมากกว่า 20% จนไปอยู่ที่ระดับต่ำกว่าบาร์เรลละ 115 เหรียญสหรัฐ (ดูตารางที่ 1) ดัชนี RICI ซึ่งเป็นดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมตัวหนึ่งในตลาดโลกปรับตัวลดลง 10% ในช่วงเดือน ก.ค. ส่วนราคาทองคำก็ลดลงไปอยู่ที่ระดับต่ำกว่าออนซ์ละ 900 เหรียญสหรัฐ ราคาข้าวโพดปรับลดลงมากกว่า 30% นับแต่ต้นเดือน ก.ค. เรื่อยมา ส่วนราคาทองแดงนั้นหล่นไปอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน
ฤานี่จะเป็นจุดสิ้นสุดภาวะกระทิงของสินค้าโภคภัณฑ์ที่เริ่มขึ้นในปี 1999 ?
ผมมีคำตอบในเรื่องนี้
แต่ผมคิดว่าคำถามสำคัญในใจของทุกคนตอนนี้ก็คือ ทำไมราคาสินค้าโภคภัณฑ์ถึงได้ปรับตัวลดลงได้ ? การขายทำกำไรเป็นคำตอบหนึ่ง เพราะหลังจากที่ราคาพุ่งทะยานขึ้นในภาวะกระทิง ก็เป็นเรื่องปกติที่จะมีการขายทำกำไรออกมาบ้าง ซึ่งจริงๆ แล้วมันก็เป็นเรื่องดีที่จะเห็นการปรับฐานเป็นระยะๆ เพราะในโลกแห่งความเป็นจริงไม่มีสินค้าใดที่ราคาจะปรับเพิ่มขึ้นเป็นเส้นตรงได้ตลอดไป
คำอธิบายถัดมาคือ เรื่องของเศรษฐกิจโลกซึ่งใกล้ถึงภาวะตกต่ำ ทำให้เกิดความกังวลกันมาก ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นทำให้ผู้บริโภคปรับลดน้ำหนักการจับจ่ายใช้สอยลง แต่ในขณะเดียวกันมันก็ทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น และการที่ธนาคารกลางจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยจึงเป็นเรื่องยาก นอกจากนั้นข้อมูลเมื่อเร็วๆ นี้ยังแสดงถึงการปรับตัวลดลง โดยเฉพาะในยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ยอดสินค้าขายปลีกในเขตยุโรปปรับลดลง 3.1% ตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือน มิ.ย. ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นก็ปรับลดลง 2 ไตรมาสติดต่อกัน ในจีนนั้นหลังจากที่มีการใช้เงินลงทุนในกีฬาโอลิมปิกไปจำนวน 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ จีนก็อาจจะเผชิญปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในประเทศเจ้าภาพโอลิมปิกมาแล้ว นั่นคือภาวะหลังกีฬาโอลิมปิกที่อัตราการลงทุนและการบริโภคปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว
หากมองในด้านดีบ้าง ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวลงอาจจะเป็นข่าวดีของตลาดการเงินก็ได้ แต่หากมองใต้ผิวน้ำลงไป ก็ยังมีเรื่องที่ต้องกังวลอีกมาก อัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ค. พุ่งไปแตะที่ระดับ 9.2% สาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
การที่สินค้าโภคภัณฑ์มีราคาแพงบวกกับภาวะชะงักงันในการปล่อยสินเชื่อ ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกเผชิญหน้าความขัดแย้งในภารกิจหลัก 2 ข้อ คือ การดูแลรักษาสุขภาพของระบบการเงิน และการควบคุมเงินเฟ้อ ผลที่ตามมาคือการทุ่มเถียงกันอย่างรุนแรงระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลัง ว่าควรจะแก้ปัญหาอะไรก่อนสำหรับเศรษฐกิจไทย
ในมุมมองของ ธปท. การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นทางเลือกนโยบายที่จะปราบเงินเฟ้อได้ ส่วนมุมของกระทรวงการคลัง ซึ่งมี ดร.วีรพงษ์ รามางกูร หรือ ดร.โกร่ง เป็นประธานทีมที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ กลับมองไปในทางตรงข้าม เพราะในสภาวะที่ต้นทุนสินค้าผลักดันให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ วิธีปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะไม่ใช่เครื่องมือแก้ปัญหาได้ดีที่สุด และอาจทำให้เกิดภาวะสินเชื่อสะดุดได้หากบริหารจัดการไม่ดีพอ
โดยส่วนตัวผมอยู่ในค่ายกระทรวงการคลัง เพราะมองว่าราคาน้ำมันแพงได้บรรลุภารกิจของมันแล้ว คือทำให้ความต้องการใช้น้ำมันปรับลดลง โดยเฉพาะในสหรัฐ ตัวเลขจากกระทรวงคมนาคมสหรัฐเปิดเผยว่า อเมริกันชนขับรถเป็นระยะทางน้อยลงเหลือแค่ 9,600 ล้านไมล์ในเดือน พ.ค. เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในขณะที่ความต้องการใช้พลังงานน้ำมันในสหรัฐปรับลดลง ซัพพลายน้ำมันจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน หรือกลุ่มโอเปก ก็ปรับเพิ่มขึ้นในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ส่วนสินค้าโภคภัณฑ์กลุ่มอื่นๆ ที่ไม่ใช่น้ำมัน ดีมานด์และซัพพลายก็ปรับเข้าหากันจนเกือบจะสมดุล ขณะที่การควบคุมเรื่องการส่งออกอาจถูกยกเลิกและการเพาะปลูกพืชผลต่างๆ ก็น่าจะทำได้ดีขึ้น
ปัจจัยความไม่แน่นอนต่างๆ ที่ผมกล่าวมานี้ได้ทำให้ภาวะตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวน เพราะหุ้นพลังงานและเหมืองแร่เป็นหุ้นที่มีน้ำหนักมากในการคำนวณดัชนีหุ้นสำคัญในตลาดหุ้นทั่วโลก ซึ่งก็รวมถึงดัชนีหุ้นไทยด้วยครับ กระนั้นก็ตามมันเป็นการยากที่จะเชื่อว่าดัชนีตลาดหุ้นจะปรับเพิ่มขึ้นได้โดยปราศจากการชี้นำของตลาดสินเชื่อ ซึ่งเป็นจุดที่ปัญหาทั้งปวงเริ่มปะทุขึ้นในตอนต้น 1 ปีผ่านไปภาวะสินเชื่อหดตัวยังคงดำเนินไป และอันตรายที่แท้จริงคือในช่วงเฟสที่ 2 นี้ นั่นคือปัญหาหนี้เสียจะเผยโฉมให้เห็น ปัญหาสินเชื่อซับไพรม์จะนำไปสู่ปัญหาสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อรถยนต์ และสินเชื่อเพื่อการซื้อกิจการที่ปล่อยโดยเหล่ากองทุนหุ้นส่วนบุคคล (Private Equity Funds)
ถึงตอนนี้ก็กลับมาที่คำถามแต่เริ่มแรกของผมที่ว่า ภาวะกระทิงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เริ่มขึ้นเมื่อปี 1999 จะสิ้นสุดลงแล้วหรืออย่างไร? ผู้ที่มีการลงทุนในกองทุนสินค้าโภคภัณฑ์คงจะเป็นกังวลอย่างมากที่เห็นสภาวะผันผวนแบบนี้ ด้วยเหตุนี้ผมเห็นว่าเราต้องมองอย่างใกล้ชิดไปที่ประวัติความเสี่ยงของสินค้าโภคภัณฑ์ในอดีตที่ผ่านมาครับ พูดอีกอย่างคือดูเรื่องการบันทึกระดับความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์นั่นเอง
ผมขอให้ดูดัชนี RICI เป็นตัวอย่างนะครับ (Rogers International Commodity Index) ความผันผวนของดัชนีตัวนี้ซึ่งวัดโดยดูความเบี่ยงเบนมาตรฐานที่เกิดขึ้นในแต่ละปี (Standard Deviation) นับแต่มีการจัดทำดัชนีตัวนี้ในปี 1998 ซึ่งค่า SD อยู่ที่ระดับ 16.7% แต่อัตราผลตอบแทนอยู่ที่ระดับ 19% ต่อปี (ดูตารางที่ 2)
ตัวเลขเหล่านี้บอกอัตราผลตอบแทนของดัชนี RICI ที่ประกอบไปด้วยสินค้าโภคภัณฑ์ 35 ชนิด ว่าผลตอบแทนจะอยู่ระหว่าง 2% ถึง 36% ต่อปี หากดูลึกลงไปที่ดัชนีย่อยข้างในคือดัชนีพลังงาน RICI จะเห็นว่าเป็นตัวที่มีความผันผวนมากที่สุด โดยมีค่าความเบี่ยงเบนอยู่ที่ 32.7%
วิธีลงทุนสินค้าโภคภัณฑ์แบบหนึ่งคือการใช้มุมมองเรื่อง พอร์ตลงทุนรวม หรือ Total Portfolio โดยมองว่าโภคภัณฑ์เป็นสินทรัพย์ตัวหนึ่งในพอร์ตลงทุน ซึ่งจะประกอบไปด้วยหุ้น พันธบัตร อสังหาริมทรัพย์ และการลงทุนทางเลือก
สินค้าโภคภัณฑ์โดยตัวมันเองก็มีราคาผันผวนด้วยค่าเบี่ยงเบนระหว่าง 14% ถึง 33% แต่หากนำมันมารวมกับดัชนีอย่าง RICI ค่าความเบี่ยงเบนจะลดลงไปอยู่ในระดับที่เหมาะสมที่ 16% ทั้งนี้ประโยชน์อย่างแท้จริงของการซื้อสินค้าโภคภัณฑ์ไว้ในพอร์ตลงทุนคือการลดความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ตลงทุน เพราะค่าความสัมพันธ์ของโภคภัณฑ์และหุ้นมีค่อนข้างน้อย การลงทุนแบบง่ายๆ คือ เมื่อน้ำมันราคาสูง หุ้นจะมีราคาต่ำ และในทางกลับกัน หากหุ้นราคาสูง น้ำมันก็จะราคาต่ำ
ลองดูตัวอย่างของดัชนีหุ้นไทยและดัชนี RICI ในตาราง 3 ในช่วงเวลาที่นำมาพิจารณา ไม่เพียงดัชนี RICI เอาชนะดัชนีหุ้นไทยเท่านั้น (ในสกุลเงินบาท) โดยชนะทั้งในด้านของความเสี่ยงและผลตอบแทนต่อปี แต่ในส่วนของค่าความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีทั้งสองตัวก็ยังมีต่ำเพียง 0.09--จบ--




 

Create Date : 15 กันยายน 2551
0 comments
Last Update : 23 กันยายน 2551 10:54:39 น.
Counter : 297 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


illuminant
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




1.Cut loss
2.Looking forward
3.Market move by sentiment
4.The crowd usually wrong
5.Stick to the plan
6.Patience
Friends' blogs
[Add illuminant's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.