มาปลูกกล้วยไม้ให้บานในหัวใจกัน!!!
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2550
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728 
 
6 กุมภาพันธ์ 2550
 
All Blogs
 
น้ำรดกล้วยไม้

  • น้ำใสสะอาดมีความเป็นกรด - ด่าง (pH ประมาณ 5.5 - 7) ค่า pH ต่ำกว่า 7 มีความเป็นกรด ถ้าค่า pH สูงกว่า 7 มีความเป็นด่าง

  • ควรใช้กรดไนตริกเพื่อช่วยลดค่า pH
    แต่สำคัญคุณสมบัติของน้ำต้องรู้ค่าของประจุไฟฟ้า (EC. คือ Electrical Conductivity) อยู่ประมาณ 200 ถ้าเกินกว่า 600 จะทำให้ต้นกล้วยไม้ไม่แข็งแรง

  • สามารถนำน้ำไปตรวจคุณสมบัติได้ที่ กลุ่มวิจัยเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร อยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรบางเขน โทร 0-2579-8600

  • น้ำบาดาลส่วนใหญ่จะมีค่า pH สูงถึง 8 และค่า EC ประมาณ 600 ฉะนั้นถ้าใช้น้ำแม่น้ำ หรือน้ำคลองชลประทานจะดี น้ำตก น้ำตามไหล่เขา น้ำใสแต่ค่า pH สูง ถ้าน้ำคลองขุ่นต้องผ่านระบบกรองน้ำ

การให้น้ำควรให้น้ำตอนเช้าก่อนแสงแดดจัด แสงสว่างจะช่วยต้นกล้วยไม้ในการปรุงอาหารได้ดี

ข้อมูลจาก //www.bangsaigardenorchid.com/activity/act1/activity2.html

  • คุณภาพน้ำที่ใช้รดต้นกล้วยไม้มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้วยไม้เป็นอย่างมาก น้ำฝนถือว่าเป็นน้ำที่คุณภาพดีที่สุด รองลงมาคือ น้ำจากแม่น้ำ ลำคลองและน้ำประปา แต่น้ำประปาจากบ่อบาดาลใหม่อาจมีเกลือแร่ในธรรมชาติที่ทำให้การเจริญเติบโตของกล้วยไม้ผิดปกติ

  • ในปัจจุบันปัญหามลพิษจากอากาศและน้ำในบางท้องที่ อาจทำให้น้ำฝนและน้ำจากแม่น้ำลำคลองใช้ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ดังนั้นเมื่อรดน้ำต้นกล้วยไม้แล้วพบอาการผิดปกติของต้น ควรจะนำน้ำไปตรวจสอบคุณภาพ คุณภาพน้ำที่ดีควรจะมีค่า pH เป็นกลางคือประมาณ 7 ไม่เป็นกรดหรือด่างมากเกินไป ถ้าค่าไม่เป็นกลางต้องปรับด้วยกรดหรือด่างจนมีค่าเป็นกลาง

  • นอกจากนี้ค่า conductivity หรือค่าที่แสดงปริมาณที่เกลือละลายอยู่ควรจะมีค่าน้อยกว่าช่วง 125-200 mho ถ้าค่าสูงมักเป็นน้ำกระด้างมีผลให้ต้นกล้วยไม้ไม่เจริญเติบโต ทางแก้อาจใช้วิธี deionization หรือ reverse osmosis วิธีแรกมีราคาแพง แต่ทั้งสองวิธีจะได้น้ำในปริมาณไม่มากนัก ถ้าปลูกกล้วยไม้จำนวนมากจะไม่พอใช้ ถ้าสังเกตจากธรรมชาติเมื่อเวลาฝนตกจะเห็นว่า น้ำฝนที่ตกลงมาบนยอดต้นไม้และกิ่งก้านใบด้านบนสุด จะไหลลงตามลำดับจากกิ่งก้านขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก ก้านใบหลัก ก้านใบย่อย แผ่นใบและปลายใบ เมื่อน้ำฝนไหลไปถึงปลายใบซึ่งทำหน้าที่เหมือนกับรางน้ำฝน น้ำก็จะไหลลงสู่พื้นดินเฉพาะบริเวณรอบ ๆ เส้นรอบวงของทรงพุ่มต้นไม้นั้น ซึ่งเป็นบริเวณที่รากฝอยเจริญเติบโตและเป็นรากที่สามารถดูดน้ำและสารละลายแร่ธาตุจากดินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยน้ำฝนจะกระจายไปทุกส่วนของต้นไม้เพื่อทำความสะอาดใบและชะล้าง รวมทั้งส่งแร่ธาตุในน้ำฝนเองและที่ติดอยู่ตามกิ่งและใบให้ไหลลงสู่พื้นดินเฉพาะในบริเวณเส้นรอบวงของทรงพุ่ม ซึ่งทำให้ได้น้ำในปริมาณมาก เพียงพอที่รากฝอยดูดน้ำไปใช้ในกระบวนการต่าง ๆ และยังได้รับสารละลายแร่ธาตุจากดิน ใบและน้ำฝน

  • จากที่กล่าวมาข้างต้นเราสามารถปรับการได้รับน้ำฝนตามธรรมชาติเข้ากับวิธีการให้น้ำกล้วยไม้ได้ โดยรดน้ำบริเวณส่วนยอด น้ำก็จะไหลตามใบบนสุด ลงสู่กาบใบ สู่ลำต้นด้านล่าง แล้วน้ำก็จะไหลกระจายไปตามรากทั้งหมดทุก ๆ ราก วิธีนี้จะเป็นการรดน้ำที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพ ทุก ๆ ส่วนของต้นไม้จะได้รับน้ำ น้ำจะช่วยทำความสะอาดใบ ลำต้นและราก ชะล้างฝุ่นผงต่าง ๆ ทำให้การสังเคราะห์แสงและการหายใจมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และส่วนของรากก็สามารถดูดซับน้ำไปใช้ได้ดียิ่งขั้น


  • การให้น้ำกล้วยไม้มีหลายวิธีด้วยกัน ถ้าปลูกกล้วยไม้ไม่มากนักก็อาจใช้บัวรดน้ำ แต่ถ้าปลูกปริมาณมากควรใช้สายยางต่อจากก๊อกน้ำประปา หรือต่อจากเครื่องสูบน้ำและใช้แรงงานคนเดินลากสายยาง ส่วนปลายสายยางก็ติดหัวบัว เพื่อให้น้ำที่ไหลออกมาเป็นฝอยไม่กระแทกต้น ใบและดอกจนได้รับความเสียหาย หรือทำให้ต้นหลุดออกไปจากเครื่องปลูก
    ถ้าปลูกเป็นแปลงใหญ่และขาดแคลนแรงงาน ก็อาจเดินท่อและติดหัวสปริงเกอร์ (spinkler) ใช้แรงดันจากเครื่องสูงน้ำ และเปิด-ปิดเป็นเวลาตามที่ต้องการ ก็จะช่วยลดการใช้แรงงานลง

  • การให้น้ำควรกระทำในตอนเช้าหากมีฝนตกชุกในช่วงนั้นอาจงดการให้น้ำ ในช่วงแล้งอาจเพิ่มการให้น้ำในตอนบ่าย ประมาณบ่าย 3-4 โมงเย็น แต่ไม่ควรให้น้ำจนแฉะในข่วงเย็น เพราะอาจทำให้รากและต้นกล้วยไม้เน่าได้ง่าย เนื่องจากความชื้นในเครื่องปลูกมีอยู่สูง การเข้าทำลายของโรคหลายชนิดจึงเป็นไปได้ง่ายขึ้น

  • ปริมาณการให้น้ำแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การอุ้มน้ำของวัสดุปลูก ชนิดและเขนาดของภาชนะปลูก ความชื้นรอบ ๆ บริเวณที่ปลูกเลี้ยง แสงแดด อุณหภูมิและการเคลื่อนที่ของอากาศ ซึ่งต้องอาศัยการสังเกตุของผู้รดน้ำ สิ่งที่ควรคำนึงถึงเสมอ คือ ต้นกล้วยไม้มีโอกาสตายและชะงักการเจริญเติบโตได้ง่ายเมื่อให้น้ำมากเกินไป แต่ขณะเดียวกันถ้าไม่รดน้ำต้นกล้วยไม้นานถึง 1 สัปดาห์ ต้นกล้วยไม้ก็ยังคงเจริญเติบโตต่อไปได้
    ดังนั้นควรรดน้ำให้เครื่องปลูกชื้นแต่ไม่แฉะและควรจะมีช่วงที่รากแห้งบ้าง เนื่องจากต้นกล้วยไม้ที่ปลูกเลี้ยงส่วนใหญ่เป็นชนิดรากอากาศและกึ่งอากาศ (epiphyte) ธาตุอาหารกล้วยไม้


ข้อมูลจาก //www.cpflower.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=207382&Ntype=3


Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2550
Last Update : 6 กุมภาพันธ์ 2550 22:50:01 น. 5 comments
Counter : 1850 Pageviews.

 
ขอบคุณมากครับ สำหรับสาระดีๆ


โดย: sak (psak28 ) วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:12:11:48 น.  

 
เยี่ยมมากครับขอบคุณครับ


โดย: John (johnboon ) วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:1:24:23 น.  

 
มาแอบอ่านครับ กำลังมีปัญหาเรื่องน้ำรดกล้วยไม้เหมือนกัน ตอนนี้กำลังแก้ปัญหาอยู่ มาแอบดูนำไปปรับปรุง ขอบคุณมากๆครับ


โดย: kobkik (kobkik ) วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:15:41:03 น.  

 
ขอบคุงคร้าบ


โดย: มือใหม่ IP: 58.9.107.75 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:22:55:39 น.  

 
เลี้ยงกล้วยไม้ทีไรไม่ออกดอกเลย


โดย: ป๋อง อุดร IP: 49.48.148.130 วันที่: 19 เมษายน 2554 เวลา:18:51:44 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เซ้งขอนแก่น
Location :
ขอนแก่น Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add เซ้งขอนแก่น's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.