ผลทดสอบการใช้งานจริง GPS กรมขนส่งทางบก Meitrack T1 & T333




GPS กรมการขนส่งทางบก

 หลังจากที่ผู้เขียนพักการอัพเดทข้อมูลผลทดสอบการใช้งานจริง อุปกรณ์จีพีเอสติดตามรถยนต์ ครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2558 ปีที่แล้วทีเดียว เรียกง่าย ๆ ว่าปีนี้ทั้งปียังไม่ได้เริ่มต้นเลยก็เป็นไปได้ สาเหตุหลักก็คือยังไม่มีอุปกรณ์รุ่นใหม่เข้ามา สำหรับเนื้อหาในวันนี้ จะเป็นผลทดสอบการใช้งานจริง GPS กรมขนส่งทางบก Meitrack T1 & T333 ความแตกต่างระหว่าง T1 กับ T333 ก็คืออุปกรณ์ที่รองรับระบบ 2G และ 3G ตามลำดับ รูปร่างหน้าตาคงเคยพบเห็นกันมากมายในอินเทอร์เน็ต

จุดเด่นของ Meitrack T1 & T333 ก็คือสามารถต่อพ่วงกับอุปกรณ์อ่านข้อมูลใบอนุญาตขับรถที่ออกโดยกรมการขนส่งทางบกนั่นเอง บัตรอนุญาตขับรถทั้ง 8 ชนิดได้เป็นอย่างดี มีความสะดวกและง่ายในการโปรแกรมอุปกรณ์ ทั้งแบบ SMS และ TCP/IP ด้วยซ้ำ การที่โปรโตคอลของ Meitrack ทำได้โดยง่าย ๆ จึงมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์เพื่อรองรับการใช้งานอยู่มากมาย หลากหลายบริษัท ฯ ด้วยกัน ทั้งของประเทศไทยเอง และจากต่างประเทศ

อุปกรณ์ที่ผู้เขียนใช้ทดสอบนี้เป็น Meitrack T1 เวอร์ชั่น 1 ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นเวอร์ชั่น 2 มีความใกล้เคียงกับ T333 มาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นโปรโตคอลการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเซิร์ฟเวอร์ไม่ได้เปลี่ยน

ผลการทดสอบอุปกรณ์ Meitrack T1 นี้หลังจากเก็บข้อมูลประมาณ 12 วันกว่าระยะทาง 2,540 กิโลเมตร ถึงจำนวนวันที่เก็บข้อมูลจะไม่มากมายนัก แต่ระยะทางที่เก็บได้ก็ถือว่าเหมาะสมและเพียงพอที่จะประเมินได้ว่าอุปกรณ์มีความสามารถเพียงใด
GPS กรมการขนส่งทางบก
หลังจากนั้นผู้เขียนทดลองพล็อตเส้นทางย้อนหลังเพื่อทดสอบดูว่า อุปกรณ์มีการทำงานอยู่บนถนนดีหรือไม่ เพื่อให้การแสดงผลมีความชัดเจนมากขึ้นก็ขอเลือกวันที่วิ่งไม่ไกลมากเพื่อที่จะได้ซูมให้เห็นถนน สิ่งที่เป็นข้อสังเกตอย่างหนึ่งที่สำคัญก็คือ การส่งค่าตำแหน่งจากอุปกรณ์มายังเซิร์ฟเวอร์ถูกบังคับให้ส่งมาทุก ๆ 1 นาทีไม่ว่าจะติดเครื่องหรือดับเครื่องยนต์ เส้นทางย้อนหลังที่ได้มาจึงดูเหลี่ยม ๆ ตัดโค้งไม่เนียนเท่าที่ควร
GPS กรมการขนส่งทางบก
สรุปรวบรัดตัดความ อุปกรณ์ Meitrack T1 ถือว่าได้ว่าเป็นที่นิยมมากเป็นอันดับต้น ๆ ของผู้ประกอบการขนส่งในบ้านเรา ผลการทดสอบก็ออกมาอยู่ในเกณฑ์ดี อุปกรณ์สามารถทำงานได้อย่างสม่ำเสมอ ไม่มีจุดที่ทำให้น่าเป็นห่วงมากมายนัก ข้อควรระวังบางครั้งหากอุปกรณ์อยู่ในตำแหน่งไม่มีสัญญาณจีพีเอส ค่าพิกัดที่ส่งกลับมายังเซิร์ฟเวอร์อาจจะข้ามประเทศไปเลยก็มี ในสถานการณ์นี้ตามกฎหมายบังคับให้รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป รถพ่วงลากจูง รถบัสสองชั้น รถตู้โดยสาร ต้องติดตั้งอุปกรณ์ GPS กรมการขนส่งทางบก เพื่อให้สามารถต่อทะเบียนหรือจดทะเบียนใหม่ป้ายแดงได้ ภายในปี พ.ศ.2559 และต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปี พ.ศ.2562 คนใช้เยอะการทดแทนหรือหาผู้ประกอบการจีพีเอสทดแทนในอนาคตย่อมทำได้ง่าย พูดง่าย ๆ ตามกระแสไปครับ 



Create Date : 10 พฤษภาคม 2559
Last Update : 10 พฤษภาคม 2559 23:34:42 น.
Counter : 2262 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ONT-อ้น
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



พฤษภาคม 2559

1
2
3
4
5
6
7
8
9
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog