Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2548
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
23 สิงหาคม 2548
 
All Blogs
 

การวัดแสง (ตอนที่ ๔)

การวัดแสง (Metering)

ขออภัยที่หายไปนานโผล่มาอีกที เกือบปลายเดือนเข้าไปแล้ว ต่อเลยนะครับ
ทำไมต้องวัดแสง นั่นคือคำถามที่หลายๆ คนสงสัย ผมตอบแบบง่ายๆ ว่า ถ้าคุณรู้ว่าแต่ละช่วงเวลา แสงมีความแรงแตกต่างกัน อาจสว่างมาก หรือน้อยไม่เท่ากัน ผมก็คิดว่าคุณคงรู้แล้วว่าทำไมค่าเพียงค่าเดียวทำให้เราใช้บันทึกภาพได้ไม่ครอบคลุมพอกับสภาพแสงที่หลากหลายเหล่านั้น ก็พอๆ กับเรารินน้ำลงในแก้วน้ำใบหนึ่ง แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่ามันจะเต็มละครับ แก้วขนาดต่างกันยังใช้ปริมาณต่างกันเลย ฟิล์ม หรือตัวรับภาพที่ไวต่อการรับแสงก็ต้องการ การเปิดรับแสงที่แตกต่างกันด้วยประการฉะนี้

ถ้าคุณยังไม่ได้ทำความเข้าใจเรื่อง รูรับแสง และความไวชัตเตอร์ ที่ผมเขียนไว้ในบทความบทก่อนหน้านี้ ผมแนะนำให้กลับไปอ่านตรงนั้นให้เข้าใจก่อน แล้วค่อยมาอ่านสิ่งที่ผมจะเขียนต่อไปนี้ เพื่อจุดประสงค์เดียวครับ คือเข้าใจเรื่องถ่ายภาพให้เป็นจริงๆ เสียที

คุณรู้เรื่องการเปิดรับแสง (Exposure) ด้วยตัวควบคุมการเปิดรับสองตัวคือ รูรับแสง (F-stops) และความไวชัตเตอร์ (Shutter speed) อย่าเพิ่งเบื่อศัพท์สองคำนี้นะครับ เพราะถือได้ว่าคุณจะต้องใช้มันไปตลอดอายุการถ่ายรูปของคุณ ปกติคำถามมักจะอยู่ที่ว่าแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าจะควบคุมมันให้ได้ ภาพ (Shot) อย่างที่เห็น หรืออย่างที่จะบันทึก ผมขอแนะนำให้รู้จัก Mr. Meter แกทำงานกับสมาคมถ่ายภาพทั่วโลกนี้มานาน และก็สิงสถิตอยู่ในกล้องทุกตัว แต่คุณจะได้ใช้แกตรงๆ หรืออ้อมหรือเปล่าเท่านั้น เดี๋ยวคนอ่านจะสับสน ผมมุขนะครับ ที่จริงผมกำลังพูดถึงเครื่องมือที่จะทำให้เราวัด (Measure) + แสง (Light) บางคนถามว่าใช้ไม้บรรทัดวัดได้ไหม ผมว่าคงได้ที่พระรามเก้าคาเฟ่นะครับ

ตัวมิเตอร์วัดแสงนี้กล้องสมัยก่อน หรือแบบกลไก คุณจะเห็นเข็ม 2 เข็มไม่ด้านล่าง Viewfinder ก็ด้านขวามือ เข็มสองเข็มนี้ เข็มหนึ่งจะมีปลายเข็มเป็นวงกลมกลวงตรงกลาง และอีกเข็มหนึ่งเป็นเข็มยาวธรรมดา เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเลือกรูรับแสง และความไวชัตเตอร์สัมพันธ์กัน เข็มทั้งสองนี้จะโคจรมาทาบกันพอดี ดูจากรูปประกอบนะครับ

นี่คือสิ่งที่เครื่องวัดแสงบอกว่าแสงพอดีครับ แปลว่าถ้าคุณถ่ายภาพตามค่ารูรับแสง และความไวชัตเตอร์นี้คุณจะได้ค่าแสงที่พอดีแน่นอนครับ แต่ทว่าคำว่าพอดี มันไม่ดีพอนะครับ เพราะบ่อยครั้งที่บางคนบอกว่าผมก็วัดแสงที่พอดีทำไมได้ภาพที่ไม่ถูกต้อง คำตอบคือวัดผิดที่ครับ

ทำอย่างไรจะวัดแสงได้ถูกที่ถูกทาง
ก็ตอบง่ายๆ ว่าวัดที่บริเวณที่ควรวัดนะซิครับ และก็ต้องรู้จักด้วยว่าระบบวัดแสงมันมีกี่ระบบ และแบบไหนเหมาะกับแสงแบบไหน ระบบวัดแสงในกล้องปัจจุบันทั้งอัตโนมัติ (Automatic) และปรับแต่งเอง (Manual) หรือแม้แต่ในกล้องดิจิตอล มี 3 ระบบหลักๆ ครับคือ

1)ระบบเฉลี่ยหนักกลาง (Centre-weighted metering)
2)ระบบเมทริก(ขอทีอย่าโยงถึงหนังเลยนะ) (Matrix or Multi-zone metering) หรือแบบเฉลี่ยคำนวณแสงหลายโซนแบบซับซ้อน แต่ไม่ยากที่จะเข้าใจ
3)ระบบเฉพาะจุด (Spot or Partial metering)

ระบบที่ 1 เป็นระบบที่เหมาะกับการวัดแสงในสภาพที่แสงไม่ซับซ้อน หรือภาษาชาวบ้านคือสภาพแสงปกติธรรมดา น้ำหนักของแสงมันสม่ำเสมอ ไม่มีส่วนแตกต่างของน้ำหนักแสงมากนัก ตามชื่อก็คือเฉลี่ยหนักกลางคือมันวัดเฉลี่ยค่าแสงตรงกลางภาพ 75% และอีก 25% เป็นพื้นที่โดยรอบหนักกลางจริงๆ หรือให้ความสำคัญกับค่าตรงกลางเป็นเป็นหลัก

ระบบที่ 2 ระบบนี้ฉลาดขึ้นมาจากการที่ใช้ค่าวัดแสงหลายๆ จุด แล้วแต่เทคโนโลยีของกล้อง ในรายละเอียดแล้วผมขอไม่พูดถึงเพราะเข้าใจการทำงานก็เพียงพอ ต่อครับ คือ กล้องจะประมวลผลค่าจากจุดวัดแสงที่แต่ละยี่ห้อกำหนดไว้หลายๆ จุด(หลายจุดมาก แต่บอกไม่ได้ว่ากี่จุด) มาเฉลี่ยให้ได้ค่าที่เหมาะสม ซึ่งฟังดูแล้วน่าอุ่นใจ และน่าจะปลอดภัยมากที่สุด และดีที่สุด แต่ในความเป็นจริงแล้วระบบมันก็คือระบบ ยังไงก็ไม่มีใครฉลาดกว่าคุณ หรือรู้จักสิ่งที่มันกำลังถ่ายอยู่บางสภาพแสงอยู่ดีครับ ระบบนี้เหมาะกับการถ่ายภาพสภาพแสงที่หลากหลายมากขึ้น อาจมีความเปรียบต่างของแสงสูง แต่ไม่มากนักโดยที่ให้ค่าที่ถูกต้องได้พอประมาณ เห็นว่ากล้องดิจิตอลบางรุ่นปัจจุบันมีการนำเอาข้อมูลถ่ายภาพของรูปภาพในสภาพแสงหลายๆ แบบ ประมวลให้ชิพ (Processor Chip) มีฐานข้อมูลมากยิ่งขึ้นช่วยให้การวัดแสงแม่นยำมากยิ่งขึ้น เขาว่างั้นนะ แต่ผมแนะนำให้คุณเชื่อมือตัวเองดีกว่าครับ

ระบบที่ 3 ระบบวัดแสงเฉพาะจุด ระบบนี้เหมาะกับการวัดแสงที่สภาพความแตกต่างของแสงมีสูง หรือมีความเปรียบต่างของแสงสูง ระบบนี้เป็นระบบที่ผมคิดว่าแม่นยำมาก แต่ก็ทำให้ได้ค่าที่ผิดที่สุดได้ในคราวเดียวกัน เพราะคุณจะต้องรู้พื้นที่ๆ จะวัดอย่างดีพอ ซึ่งเรื่องนี้ผมมีตัวช่วยครับ

การที่เรารู้จักเลือกระบบวัดแสงให้เหมาะสมนั้นยังไม่ดีพอ เราต้องรู้จักพื้นที่ๆ จะวัดด้วย เอ..ผมยังไม่ได้บอกเลยใช่ไหมว่าใช้ตรงส่วนไหนวัด ส่วนใหญ่เซลวัดแสงมันจะอยู่ตำแหน่งตรงกลาง viewfinder นั่นแหละครับ เวลาคุณเล็งไปวัดแสงก็ให้ถือว่าพื้นที่ตรงกลางนั้นเป็นฐานบัญชาการใหญ่ไว้เลย จะวัดอะไรก็เล็งไปตรงนั้น นี่เป็นหลักเบื้องต้นครับ ทีนี้พื้นที่ๆจะวัดนี่ตรงไหนละ ก็ต้องอธิบายเรื่อง สีเทา 18% ให้ฟังอย่างไม่ต้องสงสัย ในวงการนี้ให้การยอมรับเรื่องที่มีการทดลองเรื่องการสะท้อนของแสงกับสีต่างๆ ที่เราเห็นๆ ว่าค่าสีเทา 18% เป็นค่าการสะท้อนที่ให้ค่าการสะท้อนปริมาณแสงที่ถูกต้องและสม่ำเสมอมากกว่าสีอื่นๆ ทีนี้บางคนไม่รู้ว่าสีเทาก็เทาซิ แล้วผมและดิฉันจะรู้ได้อย่างไรว่านี่มันกี่เปอร์เซนต์ โอ้ยวุ่นวายกับชีวิตเสียจริง ถ้างั้นผมอยากให้คุณจดจำและเปรียบเทียบว่าอันไหนน่ะ สีเทา 18% อันไหนสีเทา เปอร์เซนต์อื่นๆ จากภาพๆ นี้ มันจะลำบากหน่อยในตอนต้น แต่ผมอยากบอกว่าต้องคอยสังเกตและจดจำ เพี้ยนได้ครับ อาจไม่ต้อง 18% เป๊ะๆ แต่ใกล้เคียงก็ถือว่าใช้ได้แล้วครับ ที่เหลือก็ใช้การชดเชยแสงเอา ซึ่งเรื่องนี้ไว้อธิบายทีหลังครับ

เห็นช่องสีเหล่านี้ใช่ไหมครับ เอ...ไหนว่าจะให้ดูภาพที่เป็นสีเทา 18% ไงทำไมมีสีติดมาด้วย ก็เพราะโลกเราและตาเรานั้นไม่ได้เป็นขาวดำนะซิครับ มันดันเห็นสีได้ตั้ง 16.8 ล้านสี แต่แปลกไหมเรารู้จักมันทุกสีเลยนะ แต่บอกความแตกต่างแบบละเอียดได้ยากเท่านั้น สีที่คุณเห็นทั้งหมดนี้ให้ค่าการสะท้อนใกล้เคียงมากๆ กับสีเทา 18% และเราควรจะวัดแสงตรงจุดที่ใกล้เคียงสีเทา 18% เหล่านี้แหละรับรองเจ๋งเป้งเลย เพราะฉะนั้นรู้แล้วใช่ไหมว่าควรจะวัดแสงในสภาพชีวิตจริงๆ ตรงไหน (ถ้ายังไม่รู้เอามะเหงกเขกตัวเองหนึ่งที)

อย่าลืมนะจำสีเทา 18% ให้ได้ก่อน ส่วนสีอื่นๆ ก็จำเท่าที่เห็นหลักๆ นี่แหละครับ ผมว่าพอเพียงแล้ว


แหมที่จริงบางคนพออ่านถึงตรงนี้แล้วก็ไปถ่ายภาพได้แล้ว แต่ผมว่ารออ่านจบก่อนดีกว่าครับ เพราะยังมีรายละเอียดบางอย่างที่ผมยังไม่ได้เอ่ยถึงและสำคัญเหมือนกัน คุณว่าไหมเรื่องนี้มันสำคัญแต่มีใครต่อหลายๆ คนไม่ยอมบอกกันง่ายๆ ซึ่งผมคิดว่านั่นคือความอ่อนแอ เพราะหลักสำคัญของการถ่ายภาพไม่ใช่วิธีที่จะถ่าย แต่อยู่ที่ช่วงขณะนั้น (Moment) ที่คุณจะมีโอกาสบันทึกมันหรือเปล่าอันนี้ยากกว่า และ มันอยู่ที่การที่เราได้เล่าเรื่องราวผ่านมุมมอง และความคิดของเรา ให้คนอื่นๆ ฟังอย่างมีศิลป์ต่างห่าง ยิ่งมีคนบันทึกภาพได้มากเท่าไหร่ ผมกลับเห็นเป็นเรื่องที่ดี มากกว่าเสียอีก ส่วนเรื่องเทคนิค นั้นขึ้นอยู่กับการสร้างสรรค์อันเป็นสิทธิ์ส่วนบุคคลว่าจะแบ่งบันหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ เอาละเราจะมาต่อตอนต่อไปจันทร์หน้าของเรื่องรายละเอียดการวัดแสงที่เห็นต้องแบ่งออกเป็นอีกตอนครับ




 

Create Date : 23 สิงหาคม 2548
14 comments
Last Update : 23 สิงหาคม 2548 10:14:03 น.
Counter : 1096 Pageviews.

 

ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้

 

โดย: ตะเกียงลาน 23 สิงหาคม 2548 22:30:18 น.  

 

ส่วนมากผมมักจะใช้ระบบวัดแสงเฉพาะจุดอ่ะครับ... ไม่เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเลย..

 

โดย: star_hunt 1 กันยายน 2548 10:50:25 น.  

 

มาแวะชมครับ

 

โดย: oat-cnx (SF-The KOP ) 13 ตุลาคม 2548 22:06:14 น.  

 

ขอขอบคุณมาก

 

โดย: แพ็ตตี้ IP: 203.151.140.121 14 พฤศจิกายน 2548 10:53:30 น.  

 

Thanks หลายๆเด้อ

 

โดย: หมาบ้า IP: 161.200.255.161 24 พฤศจิกายน 2548 10:52:26 น.  

 

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

อัพบ่อยๆ นะครับ จะตามอ่าน

 

โดย: Pu-uP-Pee (pu-up-pee ) 22 พฤศจิกายน 2549 2:14:36 น.  

 

ขอบคุณมากคราบ มือใหม่เพิ่งหัดครับ

 

โดย: Ake IP: 58.136.72.101 22 มีนาคม 2550 9:00:14 น.  

 

ผมชอบเล่นเกมส์SFมาก

 

โดย: เบนซ์ IP: 125.26.127.206 25 ธันวาคม 2550 16:46:51 น.  

 

ขอยคุณครับ

 

โดย: al50ในตำนาน 10 มกราคม 2551 14:16:31 น.  

 

พระเจ้ายอดมันจอร์จมาก
ขอบคุณคร้าบบบบบบ

 

โดย: TUM IP: 219.207.221.253 7 พฤศจิกายน 2551 21:54:58 น.  

 

ขอคุณมากๆคับ

 

โดย: โอ IP: 202.44.32.9 18 พฤษภาคม 2552 5:58:56 น.  

 

พี่คับ
ขอเมวหน่อยได้ป่าวคับ

 

โดย: โอ IP: 202.44.32.9 18 พฤษภาคม 2552 6:00:18 น.  

 

พี่คับ
ขอเมวหน่อยได้ป่าวคับ

 

โดย: โอ IP: 202.44.32.9 18 พฤษภาคม 2552 6:00:29 น.  

 

ดีมากๆคับ ขออีกเรื่อยๆคับ ได้ประโยชน์มากๆ

 

โดย: TOMMY IP: 119.42.83.225 22 กันยายน 2552 13:46:35 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Lord of Rabbit
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Lord of Rabbit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.