ฺBlog เพื่อความรู้................ที่ใครๆอยากรู้
 
กรกฏาคม 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
24 กรกฏาคม 2551

การเริ่มปีใหม่ มีที่มาอย่างไร

โบราณทั่วโลกจะเริ่มนับปีใหม่กัน

เมื่อเริ่มเพาะปลูกกันได้ คือผ่านฤดูหนาวมาแล้ว

รู้ได้อย่างไรว่าสิ้นสุดฤดูหนาว

ฤดูหนาวจะสิ้นสุดเมื่อผ่านวันวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox)
ซึ่งเป็นวันที่กลางวันกลางคืนยาวเท่ากัน แกนโลกจะเริ่มเอียงด้านเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์
ฤดูร้อนจะเริ่มขึ้น สิ่งใหม่ๆก็จะเริ่ม

วันนี้ตรงกับวันที่ 20-21 มีนาคม
ซึ่งในวันนี้ ดวงอาทิตย์จะเริ่มเข้าสู่ราศีเมษ ทำให้เริ่มราศีเมษเป็นราศีแรก

การเริ่มขึ้นปีใหม่แบบนี้ ไทยก็รับมาจากอินเดีย (สงกรานต์) แล้วก็เปลี่ยนเป็นวันที่ 1 เมษา
แล้วถึงจะเปลี่ยนเป็น 1 มกรา ตามสากลที่หลัง


ไหนๆก็ไหนๆ ขอเล่าเรื่องการเคลื่อนที่ของจักราศีด้วยเลยแล้วกันครับ

ก่อนอื่นขอถามคำถามหนึ่งก่อนครับ
1 ปี มีระยะเวลาเท่าไหร่

- ก็เวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ น่ะซี ถามได้

เกือบถูกครับ

ผมถามบ้าง เราต้องการรู้เวลา 1 ปี ไป จะมีประโยขน์อะไร
ถ้าเป็นเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบ รู้ไปก็ไม่สำคัญอะไรต่อการดำรงชีวิตครับ

ที่เราต้องการรู้คือ การครบรอบของฤดูกาลครับ
เพื่อที่จะได้เริ่มเพาะปลูกได้เพราะถ้าลงมือปลูกผิดฤดู ผิดเวลา ก็ไม่ได้ผลผลิต
ซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต มนุษยชาติพัฒนามาได้ ก็เพราะรู้จักธรรมขาตินี่แหละครับ
จะสังเกตได้ว่าดาราศาตร์เนี่ยเป็นศาตร์แรกๆเลยที่มนุษย์เราเข้าใจในทุกๆวัฒนธรรม
ก่อนที่จะกลายเป็นโหราศาตร์ต่อมา

ขอย้อนกลับไปที่เรื่องเวลา 1 ปี
ฤดูกาลมันจะครบรอบก็คือโลกหันแกนเอียงเทียบกับดวงอาทิตย์ เคลื่อนไปตลอดในช่วง 1 ปี
แต่มันจะกลับมาที่เดิมเมื่อครบรอบ 1 ปี

แกนของโลกเอียง ทำให้เกิดฤดูกาล เมื่อแกนเอียงกลับมาตำแหน่งเดิมเมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์
นั่นคือครบรอบ ฤดูกาลหรือครบรอบ 1 ปี นั่นเอง
อาการนี้เมื่อมองจากบนโลกก็คือการที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตก เปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย
และจะกลับมาขึ้นและตกที่เดิม เมื่อครบรอบ 1 ปี
วันที่จะกำหนดเป็นจุดสังเกต ก็เอาวันวสัตวิษุวัติตามที่อธิบายไว้แล้วครับ

แทรกเรื่องราศีนิดหน่อยว่าที่ว่าอยู่ในราศีไหนน่ะ หมายความว่ายังไง
ถ้าสมมุติอห้องรูปวงกลมขึ้นมาหนึ่งห้อง มีดวงอาทิตย์อยู่ตรงกลาง ที่ผนังห้องเขียนช่องใว้ 12 ช่อง
แล้วผมเข้าไปในห้อง เดินไปรอบห้อง ผมก็จะเห็นดวงอาทิตย์อยู่หน้าผนังช่องที่ 1-12 เวียนไปเรื่อยใช่ไหมครับ
ผมสามารถจะบอกตำแหน่งที่อยู่ของผมในห้องได้ด้วยช่องเหล่านี้
เช่นผมจะบอกว่า ผมอยู่ที่ เมื่อมองไปที่ดวงอาทิตย์จะเห็นดวงอาทิตย์อยู่ที่ช่องที่ 5
พอนึกภาพออกไหมครับ

มาถึงระบบราศี ช่องทั้ง 12 ก็คือกลุ่มดาวที่อยู่ข้างหลังดวงอาทิตย์นั่นเอง
ถ้าเราบอกว่าดวงอาทิตย์อยู่ในราศีไหน นั่นก็คือบอกว่า โลกเราอยู่ที่ตำแหน่งใดในวงโคจร
รู้ไปทำไม
เมื่อเรารู้ตำแหน่งในวงโคจร เราก็จะรู้ว่าขณะนี้แกนโลกเอียงทำมุมเท่าไหร่กับดวงอาทิตย์ นั่นก็คือจะรู้ว่าเป็นฤดูอะไรนั่นเอง

ย้อนกลับมาถึงคำตอบที่ว่า เวลา 1 ปี เท่ากับเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ เกือบถูกตรงไหน

คำตอบนี้จะเป็นความจริง ถ้าแกนโลก เอียงอยู่ในตำแหน่งเดิมตลอดเวลา
เมื่อเอียงเท่าเดิมเมื่อโลกโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบ แกนเอียงก็จะกลับมาอยู่ที่เดิม เมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์

แต่ในความเป็นจริง แกนของโลกมีการหมุนควงเหมือนลูกข่างที่ไม่ได้ตั้งตรงแต่มีการหมุนควงด้วย
ทำให้แกนเอียงเมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์เปลี่ยนไปช้าๆ รอบของการหมุนควงนี้มีคาบเวลา 25,920 ปี

การหมุนควงนี้มีผลอย่างไร เนื่องจากรอบปีเราต้องการมีไว้เพื่อบอกฤดูกาล เราจึงต้องจับเอาตำแหน่งนี้เป็นจุดหลัก
นั่นคือจะทำให้วันวสันต์ษุวัต ดวงอาทิตย์จะปรากฏ บนฉากหลังเลื่อนไปเรื่อย จนครบรอบ 25,920 ปี จึงจะกลับมาตำแหน่งเดิม

คราวนี้มาถึงคำถามที่ว่า ทำไมถึงเป็นราศีเมษ เพราะการเริ่มคิดปฏิทิน เมื่อ 2,200 ปีที่แล้ว โดย ฮิปปาชุส (Hipparchus)
ชาวกรีก เวลานั้น วันวสันตวิษุวัต ดวงอาทิตย์จะปรากฏอยู่ในราศีเมษครับ

ในปัจจุบันนี้ ในวันวสันตวิษุวัต ดวงอาทิตย์จะอยู่ในราศีมีนครับ

ส่วนที่บอกว่า 1 ปีคือโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ เกือบถูกตรงไหน
ถ้าเรา จะยึดอย่างนั้นสิ่งที่จะเกิดคือ ดวงอาทิตย์จะปรากฏบนฉากหลังที่เดิมตลอด ไม่มีการเคลื่อนของจักรราศี

แต่ผลที่จะตามมาคือ ฤดูจะเคลื่อนแทน เมื่อเทียบกับเดือน




 

Create Date : 24 กรกฎาคม 2551
0 comments
Last Update : 24 กรกฎาคม 2551 19:30:12 น.
Counter : 1007 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


กฤตยฎีกา
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Blog นี้มีผู้เข้าชมแล้ว คน
[Add กฤตยฎีกา's blog to your web]