Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2559
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
14 ธันวาคม 2559
 
All Blogs
 
ชาวเน็ตแห่ลงชื่อ! ต่อต้าน พ.ร.บ.คอมฯ ฉบับใหม่ ชี้เปิดช่องรัฐ คุกคามสิทธิเสรีภาพปชช




ขอบคุณภาพโดย นสพ ฐานเศรษฐกิจ

หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้ว กว่า 1 ปีที่ผ่านมา ประเด็นร้อนแรงอย่าง “ซิงเกิล เกตเวย์” ถึงกับเกิดปรากฏการณ์ การโจมตีเว็บไซต์ของหน่วยราชการถึง 7 แห่ง ผลที่ตามมาก็คือ บางเว็บไซต์ก็ล่ม บางเว็บไซต์ก็ไม่สามารถเข้าไปใช้งานได้ ถึงแม้การโจมตีเว็บไซต์ในประเทศไทยไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่นี่เป็นครั้งแรกที่มีการโจมตีเว็บไซต์อย่างเปิดเผย

แต่วันนี้ “ซิงเกิล เกตเวย์” ชนวนเหตุขัดแย้งด้านไซเบอร์กลับมาปะทุอีกครั้ง เมื่อ “ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์” ฉบับใหม่นี้ ถูกเว็บไซต์ที่มีอิทธิพลในรณรงค์ ระดมพลังสนับสนุนและต่อต้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยน อย่าง Change.org และชาวเน็ตอีกหลายคนมองว่า ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ มีแนวโน้มแย่ลงกว่าฉบับเดิมที่ใช้ในปัจจุบัน (2550) โดยเฉพาะการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และการแทรกแซงการทำงานของระบบอินเทอร์เน็ต ทำให้ไม่มีความเป็นส่วนตัวและไม่ปลอดภัยอีกต่อไป ด้วยชนวนนี้เองทำให้ชาวเน็ตแห่ร่วมลงชื่อสนับสนุนให้ “หยุด Single Gateway หยุดกฎหมายล้วงข้อมูลส่วนบุคคล” ซึ่ง Change.org ต้องการล่ารายชื่อผู้สนันสนุนให้เกิดการเปลี่ยนในครั้งนี้ เพียง 150,000 คนเท่านั้น ซึ่งล่าสุดมีผู้ร่วมลงชื่อแล้วกว่า 102,001 คน

Change.org ได้ให้เหตุผลว่า ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ…. หรือร่างแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เป็นหนึ่งใน “ชุดกฎหมายความมั่นคงดิจิทัล” ที่องค์กรภาคประชาชน 6 องค์กรและประชาชนมากกว่า 22,000 คนเคยเข้าชื่อเรียกร้องให้ชะลอการพิจารณาเมื่อต้นปี 2558 และรัฐบาลรับปากจะแก้ไขให้ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพ
ผ่านไปหนึ่งปี พร้อมกับข่าวที่กระทรวงไอซีทีเสนอแนวคิด “ซิงเกิลเกตเวย์” (Single Gateway) เพื่อให้ควบคุมข้อมูลได้สะดวกขึ้น ร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ดังกล่าวถูกปรับปรุงและส่งให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งในวันที่ 21 เมษายน 2559 โดยคณะรัฐมนตรีได้ลงมติเห็นชอบในวันเดียวกัน พร้อมทั้งส่งต่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาประกาศใช้เป็นกฎหมาย

ภาพ นสพ ฐานเศรษฐกิจ

วันที่ 28 เมษายน 2559 ที่ประชุมสนช.ได้พิจารณาร่างแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ วาระที่ 1 โดยสมาชิกสนช.จำนวนหนึ่งอภิปรายว่า เนื้อหาของกฎหมายมีข้อห้ามเรื่องการเผยแพร่ข้อมูลที่ “ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน” ถือเป็นความหมายที่กว้างและมีความเปราะบางมาก อาจถูกตีความไปในลักษณะละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ แต่สนช.ก็ยังมีมติเอกฉันท์รับหลักการด้วยคะแนน 160 ต่อ 0 และส่งต่อให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างดังกล่าว โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (เดิมคือกระทรวงไอซีที) วางเป้าหมายประกาศใช้ร่างดังกล่าวภายในปี 2559 นี้

ปัจจุบันการแก้ไขใกล้แล้วเสร็จ เตรียมส่งให้สนช.พิจารณาวาระที่ 2 และ 3 ในวันที่ 15 ธ.ค. 2559 นี้ อย่างไรก็ตามข้อเป็นห่วงต่างๆ ก็ยังไม่ได้รับการปรับปรุงแต่อย่างใด อีกทั้งมีแนวโน้มแย่ลงกว่าฉบับที่ใช้ในปัจจุบัน (2550) อย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร อีกทั้งจะรบกวนการทำงานของระบบอินเทอร์เน็ต ทำให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่มีความเป็นส่วนตัวและไม่ปลอดภัยอีกต่อไป ตัวอย่างเช่น

1. ปิดปากการตรวจสอบ
ความผิดฐานเผยแพร่ “ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ” ในมาตรา 14 (1) ยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ความผิดดังกล่าวที่ผ่านมาถูกตีความใช้เพื่อจำกัดการตรวจสอบผู้มีอำนาจทั้งในภาครัฐและเอกชน ทั้งที่เจตนารมณ์แท้จริงของกฎหมายมุ่งที่จะแก้ปัญหาการปลอมแปลงตัวตนเพื่อหลอกลวงออนไลน์เท่านั้น นอกจากนี้ มาตรา 14 (2) ของร่างที่แก้ไขใหม่ ยังกำหนดฐานความผิดอย่างคลุมเครือยิ่งขึ้น เช่น ความผิดฐานโพสต์ข้อมูลเท็จที่กระทบต่อ “ความปลอดภัยสาธารณะ” “ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ” หรือ “การบริการสาธารณะ” ซึ่งไม่มีนิยามชัดเจนในกฎหมาย อาจทำให้การบังคับใช้มีปัญหา เกิดการตีความโดยเจ้าหน้าที่เพื่อประโยชน์ของผู้มีอำนาจในเวลานั้น

2. เปิดช่องไม่ต้องใช้คำสั่งศาล
ในข้อ 5 (2) ของร่างประกาศกระทรวงดิจิทัลตามอำนาจมาตรา 15 ของร่างใหม่ ระบุให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ท่าและโซเชียลมีเดียจะต้องระงับหรือลบข้อมูลภายใน 3 วัน หลังได้รับแจ้ง ไม่เช่นนั้นจะต้องรับโทษเท่ากับผู้โพสต์ ซึ่งขั้นตอนการแจ้งตามมาตรา 15 ดังกล่าว ไม่มีการตรวจสอบโดยศาล และผู้แจ้งจะเป็นใครก็ได้ ทำให้ในทางปฏิบัติ การปิดเว็บด้วยมาตรา 15 จะทำได้สะดวกกว่าการใช้มาตรา 20 (ซึ่งต้องใช้คำสั่งศาล)


3. ข้อมูลส่วนบุคคลตกอยู่ในอันตราย
มาตรา 20 ของร่างใหม่ ให้อำนาจรัฐมนตรีออกประกาศเพิ่มเติมเรื่องวิธีการปิดกั้นเว็บไซต์ได้ ซึ่งปรากฏเอกสารของกระทรวงไอซีทีว่ามีการเตรียมออกประกาศให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกเข้ารหัส-ทั้งนี้เพื่อให้สามารถปิดกั้นเว็บไซต์ที่เข้ารหัส HTTPS ได้ โดยในข้อ 8 ของร่างประกาศกระทรวงดิจิทัลตามอำนาจมาตรา 20 ได้เขียนให้อำนาจผู้ให้บริการ (เช่นผู้ให้บริการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์) “ดําเนินการด้วยมาตรการทางเทคนิคใดๆ (Technical Measures) ที่ได้มาตรฐานเพื่อให้บังเกิดผลตามคําสั่งศาล” ภายใน 15 วัน การกระทำดังกล่าวจะรบกวนระบบรักษาความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ต และทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมดตกอยู่ในความไม่ปลอดภัย แม้จะไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดใดเลยก็ตาม

4. ขยายอำนาจปิดเว็บ-ตั้งศูนย์บล็อคเว็บเบ็ดเสร็จ
อำนาจของมาตรา 20 ในร่างใหม่ ยังขยายไปถึงการปิดเว็บไซต์ที่อาจผิดกฎหมายอาญาอื่น รวมถึงเนื้อหาที่ถูกกล่าวหาว่า “ละเมิดลิขสิทธิ์” ซึ่งปรากฏว่าที่ผ่านมาในต่างประเทศมีการใช้ข้ออ้างดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเพื่อปิดกั้นไม่ให้ผู้บริโภควิพากษ์วิจารณ์สินค้าหรือบริการของบริษัทเอกชน นอกจากนี้ในข้อ 4 ของร่างประกาศกระทรวงดิจิทัลตามอำนาจมาตรา 20 ยังจะให้มีการจัดตั้งศูนย์กลาง “เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทําการระงับการทําให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเอง โดยอาจเชื่อมโยงระบบดังกล่าวเข้ากับระบบการระงับการทําให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการในแต่ละรายโดยความยินยอมของผู้ให้บริการก็ได้” ระบบดังกล่าวจะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมการระงับและลบข้อมูลของฝั่งผู้ให้บริการได้ทันที ทำให้การตรวจสอบโดยศาล (ก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะใช้อำนาจ) อาจถูกข้ามไปก่อนได้ในทางปฏิบัติ

5. “กบว.ออนไลน์” ปิดเว็บ “ผิดศีลธรรม” แม้ไม่ผิดกฎหมาย
มาตรา 20/1 ซึ่งเพิ่มขึ้นมาใหม่ เรื่องการปิดกั้นเว็บไซต์ จะส่งผลให้เว็บไซต์ถูก “บล็อค” ได้ แม้ว่าเนื้อหาบนเว็บไซต์จะไม่ผิดกฎหมายใดๆ เลยก็ตาม หากคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์เห็นว่าเนื้อหาเหล่านั้น “ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี” ทั้งนี้คณะกรรมการกลั่นกรองฯ หรือ “กบว.ออนไลน์” นี้สามารถมีได้หลายคณะ แต่ละคณะจะมีกรรมการ 5 คนมาจากการแต่งตั้งของรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัล และร่างกฎหมายไม่ได้กำหนดคุณสมบัติที่ชัดเจนของกรรมการ (มาตรา 20/1 ตามร่างฉบับ 18 พ.ย. 2559 คือมาตรา 20 (4) ในร่างฉบับ 26 พ.ย. 2559)

นอกจากนี้ยังมีข้อเป็นห่วงถึงการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่และการบังคับใช้กฎหมายในทางปฏิบัติในมาตราอื่นๆ อีก เช่น มาตรา 16/2 (ภาระในการรู้ว่ามีข้อมูลที่มีความผิดอยู่ในระบบของตัวเองหรือไม่) มาตรา 18 (การยึดค้นระบบและได้ไปซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 18 (2) และ 18 (3) โดยไม่ต้องใช้คำสั่งศาล) และมาตรา 26 (เพิ่มระยะเวลาเก็บข้อมูลการจราจร โดยไม่ได้ระบุถึงสิทธิในการอุทธรณ์ของผู้ได้รับผลกระทบ)

ด้วยเหตุนี้ พวกเราประชาชนดังที่ลงชื่อ จึงเรียกร้องให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ได้ทบทวนและแก้ไขร่างกฎหมายในมาตราที่จะกระทบกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยพิจาณาแก้ไขร่างมาตรา 14 ให้มีความรัดกุมชัดเจน แก้ไขร่างมาตรา 15, 18 ประกอบ 19, 20, และ 26 ให้คำนึงถึงสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวและสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน และให้การออกมาตรการเพิ่มเติมใดๆ ที่จะกระทบสิทธิเสรีภาพโดยทั่วไปของประชาชนจะต้องผ่านกระบวนการการพิจารณาของรัฐสภาเท่านั้น และพิจารณาตัดมาตรา 16/2 และ 20/1 ออกจากร่าง
___________
ที่มา : change.org
___________
ขอบคุณภาพและข้อมูล นสพ ฐานเศรษฐกิจ


Create Date : 14 ธันวาคม 2559
Last Update : 14 ธันวาคม 2559 21:54:06 น. 7 comments
Counter : 1059 Pageviews.

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Topical Blog ดู Blog


ส่งกำลังใจให้ท่านขุนค่ะ


โดย: ดอยสะเก็ด วันที่: 14 ธันวาคม 2559 เวลา:23:08:06 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ชีริว Cartoon Blog ดู Blog
คนบ้านป่า Home & Garden Blog ดู Blog
ซองขาวเบอร์ 9 Literature Blog ดู Blog
สาวไกด์ใจซื่อ Travel Blog ดู Blog
กะว่าก๋า Literature Blog ดู Blog
Rinsa Yoyolive Travel Blog ดู Blog
mambymam Home & Garden Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Technology Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะท่านขุน


โดย: Close To Heaven วันที่: 14 ธันวาคม 2559 เวลา:23:55:34 น.  

 
Hi...there!


โดย: @Opey IP: 192.95.30.51 วันที่: 15 ธันวาคม 2559 เวลา:7:20:09 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข่าวค่ะท่านขุนฯ

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต

ขุนเพชรขุนราม Topical Blog ดู Blog

...............................


โดย: Sweet_pills วันที่: 16 ธันวาคม 2559 เวลา:0:57:03 น.  

 
สำคัญๆเรื่องนี้เป็นการ ริดรอนสิทธิส่วนบุคคล เลยแหละ...ขนาดกฏหมายฉบับนี้ยังไม่ออกมา เรายังโดนยึดเฟสไปเมื่อสามวันก่อน..เซ็งมาก..ไม่ใช้ยึดแบบ 3วัน7วันนะคือปิดไปเลยหากไม่ได้ให้ ชื่อ วันเดือน ปีเกิด ตามใครก็ไม่รู้ขอ เมืองไทยนี้ทำได้ทุกอย่าง...อเมริกาว่าเจริญ เรื่องแบบนี้หากไม่ใช่โจรไอซิสหรือทำธุรกรรมการเงินหรือทำเรื่องเลวร้ายแล้วเขาจะปล่อย หรือเปิดให้พูดหรือวิจารณ์ได้..ตามพื้นฐาน..แต่สารขัณฑ์ประเทศมรึงหลังเขาจริงๆ


โดย: โอพีย์ (Opey ) วันที่: 16 ธันวาคม 2559 เวลา:10:02:23 น.  

 
เสียใจด้วยนะครับสำหรับท่านที่คัดค้าน พรบ คอมพิวเตอร์ฉบับนี้..ได้ข่าวว่าผ่านฉลุยครับ
---------------------
ผมกะเข้ามาอัพบล็อกใหม่..แต่มองๆรอบๆตัวยังไม่มีข้อมูลอะไรนำลง...ว่าแล้วขอตัวไปหาเรื่อง.....มาลงก่อนนะครับ


โดย: ขุนเพชรขุนราม วันที่: 19 ธันวาคม 2559 เวลา:15:43:54 น.  

 
สวัสดีค่ะท่านขุน
ติดตามข่าวมาสำหรับ พรบ.คอมพิวเตอร์
ตอนนี้ผ่านด้วยคะแนนเสียง 168
เสียงค้านสามแสนเสียงนี่ไม่มีความหมาย เศร้าเลยอ่ะค่ะ
ส่งกำลังใจให้ท่านขุนค่า
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
mambymam Music Blog ดู Blog
ไวน์กับสายน้ำ Diarist ดู Blog
toor36 Education Blog ดู Blog
กะว่าก๋า Dharma Blog ดู Blog
หอมกร Movie Blog ดู Blog
สายหมอกและก้อนเมฆ Photo Blog ดู Blog
ตุ๊กจ้ะ Topical Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Topical Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: mastana วันที่: 19 ธันวาคม 2559 เวลา:23:54:36 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.