Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2556
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
10 สิงหาคม 2556
 
All Blogs
 
พลาสติค (Plastic)




มนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์จากปฏิกิริยาเคมี และทำพลาสติกขึ้นมาใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. ๑๘๖๘ โดย จอห์น เวสลีย์ ไฮแอท (John Wesley Hyatt) นักวิทยาศาสตร์ ชาวอเมริกัน ได้ทำการทดลองผลิตวัสดุชนิดหนึ่งจากปฏิกิริยาของเซลลูโลสไนเทรต กับการบูร ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถทำเป็นแผ่นแบนบาง มีความใสคล้ายกระจก แต่ม้วนหรืองอได้ และได้เรียกชื่อตาม วัตถุดิบที่ใช้ว่า “เซลลูโลสไนเทรต” ต่อมา พลาสติกชนิดนี้ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และเป็นที่นิยม เรียกว่า “เซลลูลอยด์” (Celluloid) การพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกเชิงอุตสาหกรรมได้ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ทำให้มีพลาสติกชนิดอื่นๆเกิดขึ้นตามมาอีกมากมาย


อุตสาหกรรมพลาสติกในประเทศไทย เริ่มมีมาตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๐ ในระยะแรกมีการนำเข้าพลาสติกเรซินจาก ต่างประเทศ มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกกันประปราย ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้มีการก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกขนาดใหญ่ขึ้น แต่ยังคงต้องนำเข้าเรซินจากต่างประเทศเช่นกัน จนกระทั่งใน พ.ศ. ๒๕๑๔ ประเทศไทยจึงสามารถผลิตพลาสติกเรซินคือ พีวีซี ได้เองเป็นชนิดแรก ปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตพลาสติกได้อีกหลายชนิด เช่น พอลิเอทิลีน พอลิโพรไพลีน พอลิสไตรีน และพอลิเอสเทอร์




 วัสดุจำพวกโพลิเมอร์ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายได้แก่  พลาสติก ( Plastic ) และ ยาง
( Elastomer ) ซึ่งจะประกอบด้วยโมเลกุลยาว ๆ เชื่อมต่อกันด้วยโมเลกุลสั้น ๆ ที่เรียกว่า โมโนเมอร์ (Monomer) จนกลายเป็นโครงสร้างของวัสดุนั้น เช่น Polyethylene จะประกอบด้วยโมโนเมอร์ของ Ethylene หลาย ๆ โมโนเมอร์เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน




พลาสติกคืออะไร

พลาสติกเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่มนุษย์รู้จักมานานกว่า ๑๓๐ ปี และนำมาใช้ประโยชน์ แทนโลหะ ไม้ หรือวัสดุธรรมชาติอื่นๆ เช่น ทำเส้นใยสำหรับผลิตสิ่งทอ หล่อเป็นลำเรือและชิ้นส่วนของยานยนต์ ภาชนะ และวัสดุ บรรจุภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งอุปกรณ์และเครื่องใช้อื่นๆอีกมาก


ปัจจุบันพลาสติกมีบทบาทอย่างยิ่งใน ชีวิตประจำวัน เราจะพบเห็นพลาสติกในรูปของผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ตั้งแต่ตื่นนอน ตอนเช้าจนกระทั่งเข้านอนในตอนกลางคืน เริ่มตั้งแต่แปรงสีฟัน หวี กล่องใส่สบู่ ขวด และกระปุกเครื่องสำอาง เครื่องประดับของ สตรี หัวก๊อกน้ำ ฝักบัวและสายยาง ประตู ห้องน้ำ เสื้อผ้า กระดุม ถุงเท้า รองเท้า เครื่องใช้ไฟฟ้า วิทยุ โทรทัศน์ ถ้วย จาน โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องตกแต่งบ้าน สีทาบ้าน กระเบื้องมุงหลังคาแบบโปร่งแสง ชิ้นส่วน รถยนต์และพาหนะอื่นๆ กระเป๋า เครื่องใช้สำนักงานต่างๆ ตลอดจนอุปกรณ์การแพทย์และชิ้นส่วนอวัยวะเทียม อาจกล่าวได้ว่า ไม่ว่าจะไปที่แห่งใดก็จะพบเห็นพลาสติกเสมอ


พลาสติกเป็นวัสดุที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น โดยการนำวัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติ เช่น น้ำมันปิโตรเลียม มาแยกเป็นสารประกอบ บริสุทธิ์หลายชนิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารประกอบระหว่างคาร์บอน (ถ่าน) กับก๊าซ ไฮโดรเจน เมื่อนำเอาสารประกอบแต่ละ ชนิดมาทำปฏิกิริยาให้มีลักษณะต่อๆกันเป็นเส้นสายยาวมากๆ ก็จะได้วัสดุที่มีสมบัติเป็น พลาสติก พลาสติกที่เกิดจากสารประกอบ ที่ต่างกันจะมีสมบัติแตกต่างกันไปด้วย และ พลาสติกบางชนิดอาจเกิดจากสารประกอบ มากกว่า ๑ ชนิดก็ได้


วัตถุดิบจากธรรมชาติสำหรับการผลิตพลาสติกมีอะไรบ้าง


วัตถุดิบที่สำคัญที่ใช้สำหรับการผลิต พลาสติกคือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน แร่ธาตุต่างๆ เป็น ส่วนใหญ่ นอกจากนี้อาจผลิตจากน้ำมันพืช และส่วนต่างๆของพืชได้เช่นกัน


-    ปิโตรเลียม
ปิโตรเลียมเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญ ที่สุดสำหรับอุตสาหกรรมพลาสติกแทบทุก ชนิด ประเทศไทยมีแหล่งผลิตปิโตรเลียม หลายแห่ง แต่ไม่มีการนำมาทำประโยชน์ ในด้านผลิตภัณฑ์พลาสติก มีเพียงการนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเท่านั้น ผลิตภัณฑ์ที่ได้ จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และสามารถ นำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติก ที่สำคัญ ได้แก่ สารในกลุ่มโอเลฟิน (Olefins) เช่น มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน และเพนเทน และสารในกลุ่มอะโรแมติก (Aromatics) เช่น เบนซีน และอนุพันธ์ของเบนซีน สารทั้ง ๒ กลุ่มสามารถนำมาผลิตมอนอเมอร์ได้มากมายหลายชนิด


-    ก๊าซธรรมชาติ
ก๊าซธรรมชาติที่พบในประเทศไทยมีส่วนประกอบเป็นสารไฮโดรคาร์บอน ที่ สำคัญคือ มีเทน อีเทน โพรเพน และบิวเทน เป็นส่วนใหญ่ สารไฮโดรคาร์บอนเหล่านี้ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทิลีนมอนอเมอร์ และโพรไพลีนมอนอเมอร์ ซึ่งเป็นสารเริ่มต้นสำหรับการผลิตพลาสติกหลายชนิด


-    ถ่านหินและลิกไนต์
ประเทศไทยมีแหล่งลิกไนต์สำคัญ ๒ แห่งคือ ที่แม่เมาะ จังหวัดลำปาง และที่จังหวัดกระบี่ ประโยชน์ของลิกไนต์นอกจาก ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า แล้ว ยังใช้ผลิตเบนซีน และอนุพันธ์ของ เบนซีน เช่น สไตรีนมอนอเมอร์ ได้ด้วย


-    พืชและน้ำมันพืช
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตพลาสติกบาง ชนิด ได้แก่ ส่วนต่างๆของพืชและน้ำมันพืช เช่น เซลลูโลส เชลแล็ก และกรดไขมันต่างๆ


-    แร่ธาตุต่างๆ
สินแร่บางชนิด เช่น ถ่านโค้ก และหินปูน เป็นวัตถุดิบที่ใช้ผลิตแคลเซียมคาร์ไบด์ ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอะเซทิลีน นอกจากนี้ คลอรีนที่ผลิตได้จากน้ำทะเล ตลอดจนแร่ใยหินได้นำมาใช้ สำหรับผลิตพลาสติกเสริมแรง
วัตถุดิบที่ใช้เป็นสารเริ่มต้นสำหรับการ ผลิตพลาสติกที่ได้จากแหล่งต่างๆนั้นจะมีลักษณะเป็นสารไฮโดรคาร์บอนโมเลกุลเดี่ยว เรียกว่า มอนอเมอร์ ที่สำคัญ ได้แก่ เอทิลีน ไวนิลคลอไรด์ ไวนิลฟลูออไรด์ โพรไพลีน บิวทาไดอีน เบนซีน ไซลีน ฟีนอล ยูเรีย และฟอร์มาลดีไฮด์


คุณสมบัติของพลาสติก


พลาสติกนับว่าเป็นวัสดุที่มีบทบาทและสำคัญมากในยุคปัจจุบันนี้ และเป็นคู่แข่งของเหล็ก ซึ่งนับวันได้ถูกใช้อย่างมากมายจนเหลือน้อยทำให้พลาสติกได้ถูกนำมาใช้แทนอย่างมาก เพราะพลาสติกมีคุณสมบัติพิเศษดีเด่นกว่าวัสดุอื่นที่ใช้กันมาก่อนอย่างมากมาย เพราะสามารถใช้แทนวัสดุอื่นได้เกือบทั้งหมด เช่น
            -  แข็งแรง                      -  ทนการสึกกร่อน                      -  ทึบแสง และเบา         
            -  อ่อนนุ่ม                      -  ทนสารเคมี                              -  ลอยน้ำได้
            -  ยืดตัว                         -  เป็นฉนวนไฟฟ้า                      -  หล่อลื่นในตัว
            -  เหนี่ยวทนทาน                        -  กันน้ำ                                                -  ทำเป็นสีต่าง ๆ ได้
            -  โปร่งใส                     -  ไม่ไฟติดง่าย                            -  ทนความร้อน


พลาสติกมีคุณสมบัติทางโครงสร้างพิเศษที่เรียกว่า High Molecular Weight คือในหนึ่งโมเลกุลมีจำนวนอะตอมมากกว่าสารชนิดอื่นมากมาย จึงทำให้มีคุณสมบัติหลาย ๆ อย่างพร้อมกันไป คือ
                        - คุณสมบัติทางกายภาพ มีความแข็งแรง เหนียว ยืดหยุ่น ฯลฯ
                        - คุณสมบัติทางไฟฟ้า เป็นฉนวนไฟฟ้า
                        - คุณสมบัติทางเคมี ทนกรด ด่าง และสารเคมีอื่น ๆ


ข้อเปรียบเทียบคุณสมบัติพลาสติกเมื่อเทียบกับเหล็ก

ข้อดี

1. น้ำหนักเบา สามารถขนย้ายได้ง่าย
2. ทนต่อกรด – ด่างได้ดี ทำให้ไม่เกิดสนิม
3. กรรมวิธีผลิตชิ้นงานทำได้ง่ายและครั้งละหลาย ๆ ชิ้น
4. เป็นฉนวน กับกระแสไฟฟ้าได้ดี
5. สามารถ เชื่อม กลึง ใส เจาะ ประกอบได้ง่าย
6. ราคามีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ เพราะกรรมวิธีการผลิตทันสมัย และปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น
7. ผสมสีเข้ากันได้ดี ชิ้นงานจึงสามารถจะย้อมสีอะไรก็จะทำได้ง่ายและคงทน

ข้อเสีย


1.                              ความมั่นคงแข็งแรงน้อยกว่าเหล็ก
2.                              ทนความร้อนได้น้อย ทำให้อ่อนตัวได้ง่าย
3.                              ระยะเวลาการใช้งานสั้นกว่า
4.                              เมื่อชำรุดแล้วซ่อมแซมได้ยาก
5.                              เปอร์เซนต์การหดตัวมากกว่าเหล็กมาก


การแบ่งประเภทของพลาสติก

พลาสติกสามารถออกตามลักษณะการยึดเกาะตัวของโครงสร้างโมเลกุลได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ชนิด คือ พลาสติกประเภทคืนรูป (Thermoplastics) และ พลาสติกประเภทคงรูป (Thermosettings)


1.พลาสติกประเภทคืนรูป (Thermoplastics) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า พลาสติกอ่อน เป็นพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก หลักจากนำไปหล่อทำเป็นผลิตภัณฑ์แล้ว เปรียบเสมือนน้ำนำไปทำน้ำแข็ง เมื่อถูกความร้อนก็จะละลายกลายเป็นน้ำอีก และน้ำนี้ก็สามารถนำกลับไปทำน้ำแข็งได้อีกไม่มีที่สิ้นสุด เรียกว่า “Plastics with a Memory” โครงสร้างของพลาสติกประเภทนี้จะประกอบด้วยโมเลกุลการเดี่ยวเกาะตัวแบบต่อแขนยาวออกเป็นเส้นด้าย หรือแบบลูกโซ่ (Filament or chain) การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของพลาสติกอาจเกิดได้ง่ายโดยการไหลเลื่อนระหว่างโมเลกุลต้านแรง Van der Waal’s forces ซึ่งดึงดูดโมเลกุลเข้าไว้ด้วยกันอย่างอ่อน ๆ ตัวอย่างเช่น Polymethacrylate  Perspex and Nylon




2.พลาสติกประเภทคงรูป (Thermosetting) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า พลาสติกแข็ง คือพลาสติกที่มีรูปทรงถาวรซึ่งผ่านกรรมวิธีการผลิตโดยใช้ความร้อน (Heat) หรือแรงอัด (Pressure)ขึ้นรูปแต่เมื่อเย็นตัวลงจะไม่สามารถทำให้อ่อนตัวโดยใช้ความร้อนหรือนำไปหลอมละลายขึ้นรูปใหม่ได้อีก เปรียบเสมือนไข่เมื่อนำไปต้มสุกแล้วจะทำให้เหลวเหมือนเดิมอีกไม่ได้ในประเทศอังกฤษเรียกพลาสติกชนิดนี้อีกชื่อหนึ่งว่า ดูโรพลาสติก (Duroplastics) โครงสร้างของพลาสติกแบบคงรูปร่างจะมีการเกาะตัวของโมเลกุลเป็นแบบตาข่าย หรือร่างแห (net) เวลาได้รับความร้อนจะไม่ยืดหรือหดตัวแต่จะเกิด Covanlent bond ยึดระหว่างโมเลกุลขึ้น ตัวอย่างเช่น Phenol formadehyde หรือที่เรียกว่า Bakelite  ยางดิบหากผ่านกรรมวิธี Valcanization ก็เป็นพลาสติกประเภทคงรูปอย่างหนึ่ง




การทดสอบประเภทของพลาสติก

   การทดสอบในขั้นต้นเพื่อแบ่งแยกพลาสติกมีวิธีการทดสอบอยู่หลายอย่าง ซึ่งจะต้องสังเกตด้วยประสาทสัมผัสทั้งสามคือ หู ตา จมูก และวิธีอื่น ๆ อีก คือ


Test
Thermoplastics
Thermosetting
1.ทดสอบโดยใช้เลื่อยตัด
-จะเหนียวฝืดติดใบเลื่อย
-ขี้เลื่อยจะเหนียวหนืดติดกัน
-จะแข็งเปราะคล่องใบเลื่อย
-ขี้เลื่อยจะเป็นผงละเอียด
2. ทดสอบโดยใช้ความร้อน
-จะค่อย ๆ อ่อนตัวและยืดตัว
  ออก จนถึงจุดหลอมละลาย
-จะไม่อ่อนตัวแม้ใช้ความร้อน
  สูงและไม่มีการยืดหยุ่นจนถึง
  จุดหลอมละลายแต่เมื่อเย็นตัว
   ลงจะแข็งและเปราะ

Test
Thermoplastics
Thermosetting
3.สังเกตจากสีตามธรรมชาติ
   คือสีที่ยังไม่ได้ย้อม
-PMMA,PSจะใส่โปร่ง
  เหมือนกระจก
- PE สีเหมือนนมข้น ถ้าย้อมสี
  ส่วนมากใช้สีดำ
- PA สีของผสมนมข้น ทำถุง
  เป็นสีใส
-PP สีเทา ๆ
- PE สีอิฐ, หิน

4.ทดสอบแช่น้ำ
-เมื่อเอาเล็บจิกดูจะเป็นรอย
-เมื่อเอาเล็บจิกดูจะไม่เป็นรอย
5.ทดสอบการฟังเสียงโดยโยน
   ลงบนพื้น
-เสียงทึบ
-เสียงใสแหลม
6.ทดสอบการเผาไฟเพื่อดูเปลว
  ไฟและกลิ่น
- PP สีเหมือนเปลวเทียน กลิ่น
  หอม
- PVCไม่ติดไฟเมื่อเอาออกจาก
  เปลวไฟ
-PE ไฟลุกคล้ายใต้
- POM   กลิ่นฉุนเปลวคล้ายใต้


สรุปวิธีตรวจสอบพลาสติกอย่างง่าย ๆ คือ


1.      พลาสติกคงรูป หรือพลาสติกแข็ง จะไหม้กลายเป็นเถ้า หรือแตก และจะเปลี่ยนสีแต่ไม่หลอมตัวหรืออ่อนตัวลง


2.      พลาสติกคืนรูป หรือพลาสติกอ่อน จะอ่อนตัวละลายแล้วหยดเหมือนน้ำตาเทียน

อุณหภูมิขึ้นรูปของพลาสติก

อุณหภูมิที่ใช้ขึ้นรูปพลาสติกมีช่วงการขึ้นรูปอยู่ไม่ห่างนัก ดังนั้นการจะทำงานขึ้นรูปจึงต้องมีตัวคอยบังคับอุณหภูมิให้อยู่ในช่วงนั้น ๆ อุณหภูมิการขึ้นรูปของพลาสติกแต่ละชนิดก็จะต่างกันคือ

 ชนิดของพลาสติก
Phenolie
Aminoplastic & Melamin
Unsaturated Polyester (UP)
A B S
P V C
P V C
P E
P S
S A N
P M M A
P O
P A
P O M
C A
P P

 อุณหภูมิขึ้นรูป  o C

140 – 180
140 – 180
120 – 180
190 – 250
160 – 170
160
260
170 – 280
200 – 250
180 – 240
180 – 220
180 – 220
180 – 220
140 – 190
220 – 280
 ลักษณะงานผลิต

Press Mould



Injection Mould

Extruder
Injection Mould








สมบัติและประโยชน์ของพลาสติกบางชนิด

1. โปลีเมทธีนเมตาอะคริเลต (Polymethymethaacrylate) หรือ อะคริลิค (Acrylics) มีตัวย่อว่า PMMA รู้จักกันดีในชื่อว่าการค้าว่าเพลคซิกกลาส (Plexiglass) ลูไซท์ (Lucite) โพลีกลาส (Polyglass) ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 1936 อะคริลิค ได้ถูกนำไปผสมกับพลาสติกชนิดอื่นเช่น สไตรีน (styrene) บ้าง พิวีซี บ้าง เกิดเป็นพลาสติกชนิดใหม่ เช่น Methyl Methacrylate Styrene เป็นต้น

          คุณสมบัติ  เป็นพลาสติกที่ใสที่สุดชนิดหนึ่ง แข็งแรงพอสมควร เป็นรอยขีดข่วยง่ายทนแสงอุลตราไวโอเลทได้ดี ทนความร้อน ความเย็น เป็นฉนวนไฟฟ้าดีมาก ทนสารเคมีได้พอสมควร ไม่ควรให้ถูกน้ำมัน เบนซิน อาซีโทน คลอโรฟอร์ม สเปร์น้ำหอม และพวกรดออกซิไดซิ่ง ชนิดเข้มข้น ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่เป็นพิษ โปร่งใส อะคริลิคยังทำเป็นสีต่าง ๆ ได้มีทั้งชนิดใส ฝ้าและทึบแสง


          ประโยชน์  นิยมนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ป้ายร้ายค้า ป้ายโฆษณา โคมหลังคา กรอบแว่นตา เลนซ์ โคมไฟ เฟอร์นิเจอร์ ถาด และถ้วยบรรจุของเหลวชนิดใส

2. โปลียาไมด์ (Polyamides or Nylon) ย่อว่า PA พลาสติกชนิดนี้รู้จักกันดีในชื่อ ไนล่อน ซึ่งคิดค้นและนำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมเมื่อ ค.ศง 1938 โดยบริษัท Du Pont จุดประสงค์เพื่อใช้เป็นวัสดุทนแทนเส้นไหมในอุตสาหกรรมทำถุงเท้า ซึ่งได้รับความสำเร็จอย่างงดงามในช่วงระยะเวลาอันสั้น ไนล่อนได้เข้ามามีบทบาทแทนเส้นไหมเกือบทั้งหมด


            คุณสมบัติ  มีน้ำหนักเบา ราคาแพง แข็งแรง ทนทาน ตกไม่แตก ไม่มีปฏิกิริยาต่อน้ำมัน ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส และไม่เป็นพิษ เป็นฉนวนไฟฟ้าแต่ไม่เหมาะสำหรับไฟฟ้าแรงสูง มีความทนทานต่อการเสียดทานสูง รับแรงดคง แรงอัดได้ดี ทนความร้อน ทนการขีดข่วน ทนกรดชนิดอ่อน ทนด่างได้ทั้งชนิดอ่อน และเข้ม สามารถทำเป็นสีต่าง ๆ ด้


          การใช้ประโยชน์ ใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม ทำเกียร์ แบริ่ง บูช ส่วนรับน้ำหนักและมีแรงเสียดทานสูง ในรูปเส้นใยใช้ทำร่มชูชีพ ถุงเท้า เสื้อฟ้า เอ็นตกปลา ผงกำมะหยี่ นอกจากนั้นยังใช้ทำค้อนพลาสติก วาวล์ ท่อส่งน้ำมันและสารเคมีอื่น ๆ ใบพัด ขวดสเปรย์บางชนิด


3. โปลีสไวนีล ครอไรด์ (Polyvinylchloride) ย่อว่า PVC มีคุณสมบัติทนทางเคมี ทำความสะอาดง่ายไม่เกาะติดสิ่งสกปรก จึงใช้ทำกระเบื้องยางปูพื้นซึ่งมักจะผสมใยหิน (Asbestos) ด้วยคุณสมบัติเหนียวทนทานใส และพิมพ์ง่ายจึงนิยมใช้ทำท่อน้ำ สายไฟฟ้า ถุงมือ ของเด็กเล่นชนิดเป่าลม ถ้วยและถาดบรรจุอาหารชนิดแผ่นบาง ใช้ทำถุงและพลาสติกบรรจุของ รองเท้าเด็ก ขวดน้ำมันพืชชนิดต่าง ๆ

4. โปลีเอททีลีน (Polyethylene) ย่อว่า PE มีน้ำหนักเบาในรูปของแผ่นบาง สามารถพับงอได้ดี มีความหนามากขึ้นจะคงรูปรับแรงดึงและแรงอัดได้น้อย มีความยืดตัวได้สูงถึง 500 เปอร์เซ็นต์ ฉีกขาดยาก มีลักษณะคล้ายขี้ผึ้ง ไม่เกาะติดน้ำ เป็นฉนวนไฟฟ้าได้ดีมาก โดยทั่วไป โปลีเอททีลีน มีลักษณะใส เมื่อเป็นแผ่นบางจะมีสีขุ่น เมื่อความหนาเพิ่มขึ้น สามารถทำเป็นสีต่าง ๆ ได้ตามต้องการ


            การใช้ประโยชน์ โปลีเอททีลีน มีปริมาณการใช้สูงสุดในพลาสติกประเภทเทอร์โมพลาสติก แม้ราคาต่อปอนด์จะไม่ถูกที่สุด แต่เพราะมีน้ำหนักเบากว่าจึงสามารถผลิตได้ปริมาณมาก นิยมใช้ทำถุงบรรจุอาหารและเสื้อผ้า ตุ๊กตาเด็กเล่น ดอกไม้พลาสติก ภาชนะบรรจุในครัว ถาดทำน้ำแข็งในตู้เย็น ขวดและภาชนะบรรจุของเหลว พลาสติกคลุมโรงเพาะชำ สายเคเบิล แผ่นกันความชื้นในอาคารและของใช้ราคาถูกอีกมากมาย

5. โปลีสไตรีน (Polystyrene) ย่อว่า PS น้ำหนักเบาที่สุดในพลาสติกชนิดแข็ง (Rigid Plastices) มีความคงรูปดีแต่เปราะสามารถทำเป็นสีต่าง ๆ ได้ มีทั้งใส ฝ้าและทึบ ผิวมีทั้งเรียบและขรุขระ ไม่มีรสและกลิ่นเป็นฉนวนไฟฟ้าดี
            การใช้ประโยชน์  ทำกล่องบรรจุอาหารชนิดใส กล่องบรรจุของใช้อื่น ๆ เช่น แปรงสีฟัน ของเด็กเล่น ไม้บรรทัดราคาถูก แผง และตู้โทรทัศน์ วิทยุ ในรูปโฟม ซึ่งเรารู้จักดีในชื่อสไตโรโฟม (sryrofoam) ใช้ทำป้ายและสิ่งประดับในงานด้าน ๆ วัสดุกันแตกในกล่องบรรจุของแผ่นฉนวนกันความร้อนและเสียง


6. ฟีนอล – ฟอร์มาลดีไฮด์ (Phenol – Formaldehyde) ย่อว่า PF พลาสติกชนิดนี้รู้จักกันดี
ในชื่อ เบกเกลไลท์ (Bakelite) มีปริมาณการใช้สูงสุดในประเภทเทอร์โมเซทติ้ง
          การใช้ประโยชน์  นิยมทำด้ามมือจับ หูหม้อ หูกะทะ ฝาครอบจานจ่ายรถยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า ถาดบรรจุสารเคมี

7. โปลีเอสเตอร์ (Unsaturated Polyester)  ย่อว่า UP รู้จักกันดีในรูปของผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์กลาส การใช้ประโยชน์ นิยมทำผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์กลาส เช่น เรือ รถยนต์ ชิ้นส่วนในเครื่องบิน กระดุมชนิดต่าง ๆ ไม้อัดต่าง ๆ เคลือบด้วยโปลีเอสเตอร์

          8. ยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ (Ureaformadihyde) ย่อว่า UF คุณสมบัติ ตกไม่แตก ทนต่อน้ำยาเคมี ไขมัน และน้ำมัน เป็นฉนวนไฟฟ้า บางอย่างทึบแสงบางอย่างโปร่งแสง ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่เป็นพิษ ประโยชน์ที่อุณหภูมิใช้งานได้คือ 70 – 80 องศาเซนติเกรดใช้ทำกระดุมเรือ ตัวถังรถยนต์ ยูเรียชนิดเหลวนิยมใช้ทำกาวไม้อัด และซิปบอร์ด น้ำยาเคลือบผิวประเภทผลิตภัณฑ์นิยมใช้ทำอุปกรณ์ไฟฟ้า ตู้วิทยุ ปุ่มจับด้ามเครื่องมือ

8. เมลามีนฟอร์มาลดีไฮด์ (Melamineformande hyde) ย่อว่า MF คุณสมบัติมีน้ำหนักมากกว่าพลาสติกทั่ว ๆ ไปเล็กน้อย คือมีสมรรถภาพ ระหว่าง 1.47 – 1.55 รับแรงดึงได้ดีพอสมควร รับแรงอัดและแรงบิดงอได้ดีมาก ทนความร้อนหากผสมใยหินจะทนความร้อนได้ถึว 400o F และใช้เก็บความเย็นได้ในอุณหภูมิ – 70o F คุณสมบัติทางไฟฟ้าเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีกับกระแสไฟฟ้า ความถี่ต่ำไม่เหมาะกับการใช้กับกระแสไฟฟ้าความถี่สูง คุณสมบัติทางเคมี ทนกรดด่างชนิดแก่ ทนสารเคมีอื่น ๆ เช่น ผงซักฟอก น้ำมัน ไขมัน ทินเนอร์ ดูดซึมน้ำได้บ้าง น้ำชากาแฟจะทำให้เกิดคราบเปื้อนได้
          การใช้ประโยชน์  นิยมใช้ทำถ้วยชามมากที่สุด นอกจากนั้นยังใช้ทำวัสดุปิดผิวโต๊ะที่รู้จักกันดีในชื่อ โฟไมก้า (Formica) และ Texolite ชนิดเหลวใช้ทำกาว


9. โปลีสเตตระฟลูออโรเอสทีลีน (Polytereafluoroethylene) ย่อว่า PTFE
เป็นพลาสติกที่มีน้ำหนักมากที่สุดชนิดหนึ่ง กับแรงดึงและแรงอัดได้ดีพอสมควร แต่รับแรงกระทบได้ดีมาก
            การใช้ประโยชน์  เนื่องด้วยพลาสติดชนิดนี้มีราคาแพงมาก จึงถูกนำไปใช้ในงานที่ต้องการคุณสมบัติพิเศษหลายอย่างรวมกับคุณสมบัติด้านทนความร้อน ใช้ทำฉนวนไฟฟ้ากับลวดไฟฟ้าที่ต้องเชื่อมด้วยความร้อนปะเก็น (Gasket) ในเครื่องจักรแหวนลูกสูบ (Piston Rings) วาล์ว (Valve) คุณสมบัติทางไฟฟ้าใช้ทำฉนวนและอุปกรณ์ไฟฟ้า คุณสมบัติทางไม่ติดไฟง่ายใช้เคลือบหม้อกะทะฝรั่ง (มีสีเขียว น้ำตาล ดำ)

10. โปลีคาร์บอเนต (Polycarbonate) ย่อว่า PC เป็นพลาสติกใสชนิดที่แข็งแรงที่สุด คุณสมบัติแข็งแรง ทนทานดีมาก ทนความร้อนขณะใช้งนได้ถึง 240oF หากนำไปใช้กับใยแก้วเป็นผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์กลาสจะทนทานมากยิ่งขึ้นเป็นฉนวนไฟฟ้าดีทนกรดด่างได้ดี


การใช้ประโยชน์  เช่น ขวดนมเด็กชนิดดี โคมไฟฟ้าสาธารณะ ช่องมองหน้าหมวกนักบินอวกาศ ด้ามเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ แว่นตากันแดด




 พลาสติกชนิดยืดหยุ่น (Elastomer)


โมเลกุลลูกโซ่ในพลาสติกชนิดนี้จะมีการเคลื่อนตัว (Slip) ระหว่างจุดที่ยึดเหนี่ยวที่อยู่ด้วยกันในขณะรับแรง หลังจากลดแรงกระทำออกจนหมด โมเลกุลจะเคลื่อนตัวกลับที่เดิม วัสดุชนิดนี้จึงเป็นประเภทไฮโพลีเมอร์ (High Polymer) ที่อุณหภูมิสูงมันจะถูกทำลายโดยวิธีทางเคมี แต่ที่อุณหภูมิต่ำมันจะเปราะ การยึดเหนี่ยวเกาะกันของโมเลกุลรูปตาข่ายจะเกิดขึ้นจากการผสมกำมะถันเข้าไปในยางธรรมชาติด้วยกรรมวิธีวัลเคไนเซชั่น (Vulcanization)


 ยางธรรมชาติ


            เกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงของวัสดุธรรมชาติ วัสดุนี้เป็นน้ำยาง (สีเหมือนน้ำนม) ได้จากต้นยางพารา นำมารมควันหรือเติมกรดอะซิติก (Acetic Acid) กลายเป็นยางดิบที่เป็นชั้นหนา ยางดิบเมื่อถูกความร้อนละเหนียวเหมือนกาวจึงต้องทำการวัลเคไนเซชั่นให้ปฏิกิริยานี้หายไป ก่อนการวัลเคไนเซชั่นจะมีการย่อยยางดิบให้เล็กลงแล้วนำไปผสมกับกำมะถัน เติมสารสีลงไป แล้วจึงนำไปอัดขึ้นรูป สารที่เติมให้เป็นสีดำคือ คาร์บอนในรูปก๊าซ ทำให้มีความเค้น ความแข็ง ความยืดหยุ่น ความฝืด สูงขึ้น


            สำหรับยางผสมสีขาวจะกระทำโดยใช้กรดซิลิลิก (SiO) หรืออะลูมิเนียมซิลิเกตเข้าทำปฏิกิริยาแล้วใส่สีขาวผสมเข้าไป



การวัลเคไนเซชั่น (Vulcanization) คือ การทำให้ยางแข็งด้วยการใช้กำมะถันให้ยางดิบยึดติดกันแน่นโดยกระทำที่อุณหภูมิ 142o C ด้วยความดัน 5 บรรยากาศ ให้เป็นรูปชิ้นส่วนซึ่งสามารถใช้โลหะผสมเพื่อให้ยึดเหนียวกันแข็งแรงขึ้น เช่น ยางรถยนต์ สายยางน้ำ


            ยางธรรมชาติเมื่อถูกน้ำมันแร่ เช่น เบนซิน เบนโซล น้ำมัน จะเกิดการบวมและทำให้คุณสมบัติทางกลสูญหายในที่สุด ยางธรรมชาติทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศทำให้ยางแข็ง ชิ้นส่วนยางที่สำคัญควรเก็บรักษาด้วยการทาแป้งพอกผิวกันเอาไว้ ความร้อน แสงแดด หรือความเย็นจัด เป็นตัวเร่งให้ยางแข็ง เปราะ หรืออ่อนเหลว ทำให้ความยืดหยุ่นหายไปในที่สุด


            ยางอ่อน  ได้จากการผสมกำมะถัน 3 ถึง 20% ยางอ่อนนี้จะยิ่งยืดตัวและมีความยืดหยุ่นตัวได้มากหากมีกำมะถันผสมอยู่น้อย ในยางรถยนต์จะมีการใส่ไข (Wax) เข้าไปผสมเพื่อให้เกิดชั้นผิวบาง ๆ กันรังสีจากแสงอาทิตย์ได้ดีพอควร


          ประโยชน์ใช้งาน คือ ใช้ทำยางรถยนต์ สายยางน้ำ ปะเก็น สายพาน ส่วนที่รับแรงกระแทก ลูกรีดกดในงานพิมพ์ เมมเบรน ฉนวนเคเบิล สายพานลำเลียง พื้นรองเท้า เป็นต้น



ยางแข็ง  เกิดจากการวัลเคไนเซชั่นโดยมีกำมะถัน 30% ถึง 50% ยางแข็งนี้ใช้ปาดผิวได้ง่าย แต่เครื่องมือปาดผิวจะสึกหรอเร็วจึงต้องใช้เครื่องมือปาดผิวที่ทำด้วยเหล็กความเร็วสูงหรือทำโดยโลหะแข็ง



            ประโยชน์ใช้งาน คือ ใช้ทำเรืองแบตเตอรี่ ล้อรถลาก สารประสานสำหรับแผ่นขัดชิ้นงาน เป็นต้น


            ยางฟองน้ำ  ผลิตจากการนำน้ำยางดิบ (สีน้ำนม) ผสมกับผงกำมะถันและสารผสมอื่น กวนตีให้เป็นฟองในเครื่องกวน นำไปเทในแบบแล้วทำการวัลเคไนเซชั่น


          ประโยชน์ใช้งาน คือ ใช้ทำฐานรองเครื่องพิมพ์ดีด แผ่นรองเช็ดเท้าในห้องนำ ใช้บุเก้าอี้รองนั่ง รองเท้าฟองน้ำ เป็นต้น


ยางเทียม


            ได้มีการประเภทของยางเทียมที่สำคัญ (ตามชื่อการค้า) คือ บูนา (Buna) และเปอร์บูนาน (Perbunan) บูนา (Buna) เป็นโคโพลีเมอร์ (Copolymer) ของบูตาเดียน (Butadiene) กลั่นจากน้ำมันดิบหรือก๊าซที่ได้จากธรรมชาติกับสไตรีน (Styrene) ส่วนเปอร์บูนานเป็นโคโพลีเมอร์จากบูตาเดียนและอะคริโลไนไตรล์ (Acrylonitrile) มีลักษณะโครงสร้างโมเลกุลเหมือนกันยางธรรมชาติ ดังนั้นจึงมีคุณสมบัติคล้ายยางธรรมชาติ จึงถูกนำมาวัลเคไนเซชั่นกับกำมะถัน บูนาและเปอร์บูนานสามารถผสมกับยางธรรมชาติ ทำเป็นยางรถยนต์ได้ ยางรถยนต์ที่ทำจากยางเทียมจะสามารถจับเกาะถนนได้ดีกว่ายางรถยนต์ที่ทำด้วยยางธรรมชาติถึงเกือบเท่าตัว เปอร์บูนานนี้ทนต่อน้ำมันและเบนซิน จึงใช้ทำเป็นปะเก็นในคาร์บูเรเตอร์ได้ ยางเทียมนี้มีความยืดหยุ่นสู้ยางธรรมชาติไม่ได้



            ประโยชน์ใช้งาน คือ ใช้ทำชิ้นส่วนเหมือนยางธรรมชาติ คือ ทำเป็นชิ้นส่วนที่อ่อน และแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปะเก็นรัศมี เมมเบรน สายยางน้ำ ยางรถยนต์ เป็นต้น


ซิลิโคน (Silicone)
            อักษรย่อ SI เป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่แตกต่างไปจากพลาสติกชนิดอื่น โดยมีส่วนประกอบหลัก คือ ซิลิคอน ที่ได้จากการรีดักชั่นด้วยทรายและออกซิเจนในเตาไฟฟ้า (ในขณะที่พลาสติกชนิดอื่นมีคาร์บอนเป็นธาติหลักตามแต่ส่วนประกอบทางเคมีและกรรมวิธีการผลิต) แล้วจะกลายเป็นน้ำมันซิลิโคน (Silicone Oil) ซิลิโคนเรซิน (Silicone Resin) หรือยางซิลิโคน


            ซิลิโคนทุกชนิดมีคุณสมบัติ คือ น้ำจะไม่จับผิว ติดกาวไม่ได้ มีสถานะเป็นกลางทางเคมี เป็นฉนวนไฟฟ้าและค่อนข้างจะทนความร้อนได้สูง


            น้ำมันซิลิโคนเป็นของเหลวใสเหมือนน้ำ ไม่มีกลิ่น มีอุณหภูมิตั้งแต่ – 60o C ถึง 250o C ค่าความหนืดจะไม่เปลี่ยนแปลง น้ำมันซิลิโคนใช้ฉีดเป็นผิวชั้นบางเคลือบบนแบบงานวัด (Compression Mould) สำหรับชิ้นงานพลาสติกหรือชิ้นส่วนยางเพื่อทำให้ชิ้นงานที่อัดอยู่ในแบบหลุดออกได้ง่าย


            สารหล่อลื่นซิลิโคนเหมาะกับรองเพลาลูกกลิ้งที่ทำงานที่อุณหภูมิสูงมากหรือต่ำมาก ๆ ได้



ข้อมูล อ้างอิง //www.industrial.cmru.ac.th/โพลิเมอร์ ( Polymers )


บล็อกหมวด"วิทยาศาสตร์" นะขอรับ ขอบคุณทุกข้อความคิดเห็น



Create Date : 10 สิงหาคม 2556
Last Update : 10 สิงหาคม 2556 21:23:21 น. 40 comments
Counter : 6719 Pageviews.

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog

เข้ามาเจิมและโหวตให้ผู้ค้นพบวิธีผลิตพลาสติกของท่านขุนฯ ค่ะ ท่านขุจคงสบายดีนะคะ


โดย: ดอยสะเก็ด วันที่: 10 สิงหาคม 2556 เวลา:21:30:26 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
อ่า เห็นวิชาการแล้วเวียนหัวขึ้นมาทันที แหะๆ ขออ่านผ่านๆ นะคะ ท่านขุน

ฝันดีเช่นกันค่ะ
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


โดย: ประกายพรึก วันที่: 10 สิงหาคม 2556 เวลา:21:38:41 น.  

 
อ้าว ลืมไปว่ายังไม่ถึงเวลานอนท่านขุน อิๆ


โดย: ประกายพรึก วันที่: 10 สิงหาคม 2556 เวลา:21:39:39 น.  

 
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog


โดย: I'm Albert Einstein (Opey ) วันที่: 11 สิงหาคม 2556 เวลา:1:45:33 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ

โหวตให้คนขยันแสวงหาความรู้จ้า

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต

ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog




โดย: หอมกร วันที่: 11 สิงหาคม 2556 เวลา:7:29:19 น.  

 
สวัสดีวันหยุดเจ้าค่าท่านขุนเจ้าขา

พลาสติกที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดีก็ PVC ค่า
เกี่ยวข้องกันอยู่เนืองๆ

มีความสุขวันหยุดพักผ่อนนะเจ้าค่า

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
mambymam Music Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น




โดย: พริ้วไหวไปตามลม วันที่: 11 สิงหาคม 2556 เวลา:9:03:09 น.  

 

ยุคปัจจุบันทุกคนคงจะคุ้นเคยกับพลาสติกเป็นอย่างดีเลยนะคะ
ไม่มีใครที่จะไม่รู้จัก และไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากพลาสติก
แต่ปอยเพิ่งจะรู้ที่มาที่ไป และกระบวนการผลิตก็วันนี้ล่ะค่ะ
เพื่อนปอยเป็นคนชาวสิงคโปร์มีโรงงานที่ประเทศจีน
จำหน่ายพวกเม็ดพลาสติกที่มาจากรีไซเคิลค่ะ เคยไปช่วยงานเขาที่ไบเทคบางนา
ไม่รู้ข้อมูลอะไรมากนัก งูๆ ปลาๆ ว่างๆ ก็เดินดูบริษัทอื่นๆ ได้ความรู้เยอะเลยค่ะ



โดย: แค่ได้รู้จัก_ก็เพียงพอ วันที่: 11 สิงหาคม 2556 เวลา:10:27:48 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog


โดย: au_jean วันที่: 11 สิงหาคม 2556 เวลา:15:34:21 น.  

 
ยังไม่ทันพิมพ์ไรเลย ข้อความไปแล้วสะงั้น

เข้ามาทักทายและมาโหวตให้คะท่านขุน


โดย: au_jean วันที่: 11 สิงหาคม 2556 เวลา:15:35:34 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Education Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

บล๊อกดีมีสาระอีกแล้วนะคะ วันนี้ไม่ได้อ่านเดี่ยวแวะมาวันหลังค่า อิ อิ


โดย: mariabamboo วันที่: 11 สิงหาคม 2556 เวลา:16:00:42 น.  

 
สวัสดียามดึกๆ (ของที่นี่ค่ะท่านขุน)
ถึงเวลานอน (ของท่านขุน) ก็ขอให้ฝันดีเช่นกันนะคะ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


โดย: ประกายพรึก วันที่: 11 สิงหาคม 2556 เวลา:21:21:16 น.  

 
รอบ ๆ ตัวเราตอนนี้ มีแต่พลาสติกเกือบทั้งนั้นเลยนะคะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog


โดย: ALDI วันที่: 12 สิงหาคม 2556 เวลา:1:38:51 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
คนบ้า(น)ป่า Home & Gargen Blog ดู Blog
ดอยสะเก็ด Literature Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: schnuggy วันที่: 12 สิงหาคม 2556 เวลา:1:56:18 น.  

 
สวัสดีวันหยุดพักผ่อนอีกวันค่าท่านขุนเจ้าขา
ฝ่าสายฝนกระหน่ำมาส่งอาหารบ้านท่านขุนเจ้าค่า



ยำไข่ต้มยางมะตูมอร่อยๆค่า


โดย: พริ้วไหวไปตามลม วันที่: 12 สิงหาคม 2556 เวลา:8:24:47 น.  

 


สวัสดีวันแม่นะค่ะ


โดย: Pikake วันที่: 12 สิงหาคม 2556 เวลา:10:05:14 น.  

 
สุขสันต์วันแม่ครับ


โดย: **mp5** วันที่: 12 สิงหาคม 2556 เวลา:10:26:53 น.  

 


โดย: พิรุณร่ำ วันที่: 12 สิงหาคม 2556 เวลา:17:23:30 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กิ่งฟ้า Literature Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
......................
สุขสันต์วันแม่เช่นกันค่ะท่านขุนฯ
ขอบคุณสำหรับกำลังใจด้วยนะคะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 12 สิงหาคม 2556 เวลา:21:43:37 น.  

 
เป็นหนึ่งในนวัตรกรรมที่สร้างความมหัศจรรย์ให้โลกเราทีเดียวนะคะ แต่ก็นั่นแหละ คุณอนันต์แต่เวลากลายเป็นขยะแล้ว โทษก็เยอะด้วยเช่นกัน

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ ที่นำมาฝากกันนะคะ

วันนี้คงมีความสุขดีนะคะ ไผ่ทั้งไลค์ทั้งโหวดเลยแล้วกัน หุหุ


โดย: คมไผ่ วันที่: 12 สิงหาคม 2556 เวลา:23:17:30 น.  

 
สุขสันต์วันแม่ค่ะท่านขุน

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ


โหวตและไลท์ค่ะ
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: pantawan วันที่: 12 สิงหาคม 2556 เวลา:23:24:09 น.  

 
สวัสดีค่ะท่านขุนฯ

ยังไม่ได้อ่านนะคะ มาทักทายไว้ก่อน

วันนี้เราเข้ามาซะดึก พรุ่งนี้จะเข้ามาอ่านอีกทีค่ะ..


โดย: คนร่วมชายคา วันที่: 13 สิงหาคม 2556 เวลา:2:43:09 น.  

 



สวัสดีค่ะท่านขุน

หายไปหลายวัน สาเหตุคอมพ์พัง ตั้งแต่สิ้นเดือนก.ค. แล้วค่ะ
ตอนนีัใช้โน๊ตบุ๊คของลูกชาย แต่ไม่มีแปนพิมพ์ไทย
พิมพ์ลำบากมากๆ เครื่องก็เล็กนิดเดียว
กว่าจะพิมพ์เสร็จ เฮ้อออออออ
ติดโหวตก่อนนะคะ


โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 13 สิงหาคม 2556 เวลา:3:20:01 น.  

 

สุขสันต์วันแม่ย้อนหลังค่ะท่านขุน
และขอบคุณสำหรับคำชมด้วยนะคะ
กว่าจะมีวันนี้ได้ไม่ง่ายเลยค่ะ แต่จะทำให้วันนี้ดีที่สุด

สุขสดชื่นตลอดวันนะคะ


โดย: แค่ได้รู้จัก_ก็เพียงพอ วันที่: 13 สิงหาคม 2556 เวลา:7:18:21 น.  

 
จริงๆ แล้วตอนเด็กๆ ชอบเรียนวิทยาศาสตร์
แต่ว่าอุปกรณ์ที่โรงเรียนไม่มี ได้แต่นั่งดูครูทำให้ดู
นักเรียนในห้องก็เยอะ เวลาสอบจำหนังสือมาเขียน
ไม่ได้ทดลอง...ถ้าการศึกษาไทยพัฒนามีเครื่องมือ
บ้านเราคงก้าวไกลกว่านี้เนอะท่านพี่ขุน....
ขอชื่นชมที่นำเสนอ บล็อคเกี่ยวกับวิทย์


โดย: Pikake วันที่: 13 สิงหาคม 2556 เวลา:8:48:42 น.  

 

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

สวัสดีวันแม่ ย้อนหลังจ้า ท่านขุน

เข้ามาบล็อกท่านขุนวันนี้ มึนเลยอะ แบบว่าไม่ค่อยได้เจอบล็อก วิชาการมากขนาดเนี่ย ..
แต่ที่แน่ๆๆทำให้ได้ความรู้มากมายเลยจาก เจ้า พลาสติด เนี่ย ..
ว่าแต่ ท่านขุน สบายดี นะจ้า


โดย: จอมแก่นแสนซน วันที่: 13 สิงหาคม 2556 เวลา:14:14:13 น.  

 
หวัดดีค่ะ..
ขอบคุณ ที่มาเยี่ยม บล็อกนะคะ..
อ่านแล้วได้ประโยชน์ มากมาย ..เลยค่ะ ไม่เคยรู้ มาก่อน..


โดย: tifun วันที่: 13 สิงหาคม 2556 เวลา:16:48:28 น.  

 
สวัสดีค่ะท่านขุนฯ ..

กลับมาอ่านแล้วค่ะ ยิ่งอ่านก็ยิ่งน่าสนใจ
เพราะมันเป็นสิ่งที่เราต้องสัมผัสและใช้ชีวิตอยู่กับมันทุกวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้..

เสียดายก็แต่คำศัพท์ที่ใช้เรียกประเภทของพลาสติกนั้นเป็นคำทับศัพท์ทั้งหมด จำยากมาก..

ว่าแต่ในหัวข้อ "สมบัติและประโยชน์ของพลาสติกบางชนิด" น่ะ ทำไมประเภทของพลาสติกถึงมีข้อ 8 สองข้อล่ะคะ? อิ อิ

ยังมีสงสัยอยู่อีกนิดนึงตรงบรรทัดสุดท้ายของย่อหน้าแรกในหัวข้อ "ยางธรรมชาติ"
มีพิมพ์ว่า "ทำให้มีความเค้น" ไม่รู้ว่าพิมพ์ผิดหรือเราอ่านไม่เข้าใจเอง
พยายามแปลและนึกหาคำที่คิดว่าน่าจะใช่มาใส่แทนลงไป แต่ก็ยังอ่านไม่เข้าใจอยู่ดี
"ทำให้มีความเค้น" มันหมายความว่าอะไรอ่ะคะ?


โดย: คนร่วมชายคา วันที่: 14 สิงหาคม 2556 เวลา:1:29:04 น.  

 
เพิ่งรู้ความเป็นมาของพลาสติกวันนี้เอง
เคยสงสัยว่าทำมาจากอะไรนะ
วันนี้กระจ่างแล้ว
ขอบคุณข้อมูลความรู้ดีๆนะคะ

ขอไล้ค์ก่อนค่ะ

ขอบคุณที่แวะไปชมต้นไม้และคะแนนด้วยนะคะ



โดย: mambymam วันที่: 14 สิงหาคม 2556 เวลา:11:28:19 น.  

 
ขอบคุณข้อมูลดี ๆ ค่ะ
พลาสติกมีทั้งข้อดีและข้อเสียเลยนะคะ
เพราะตอนนี้มีขยะพลาสติกเยอะ แฮ่..
like ไปก่อนนะคะ หมดโควต้าค่ะ


โดย: เนินน้ำ วันที่: 14 สิงหาคม 2556 เวลา:15:25:45 น.  

 


ขอบคุณสำหรับโหวตจ้า


โดย: หอมกร วันที่: 14 สิงหาคม 2556 เวลา:19:17:33 น.  

 
วันนี้ได้รู้จักพลาสติกดีขึ้นเยอะเลยค่ะ
อดคิดไม่ได้ว่าเมื่อถึงยุคที่น้ำมันหมดไปจากโลก
พลาสติกก็คงจะหายไปด้วย
คงมีผลกระทบกับการใช้ชีวิตของมนุษย์ไม่น้อยเลยนะคะ
แต่คิดอีกด้านก็ดีเหมือนกัน เราคงกลับไปใช้เกวียนในการเดินทาง
ใช้ใบตองห่อของกันเหมือนสมัยก่อน มลภาวะก็จะลดน้อยลง
โลกจะได้พักผ่อนซะบ้าง แต่มนุษย์คงต้องปรับตัวกันเยอะทีเดียวค่ะ

ขอบคุณสำหรับสาระดีๆที่นำมาฝากค่ะ
like ก่อนนะคะ


โดย: ฝากเธอ วันที่: 14 สิงหาคม 2556 เวลา:23:13:13 น.  

 
สวัสดีค่ะท่านขุน


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Close To Heaven Food Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 3 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

มากดไล้ค์ด้วยค่ะ เมื่อวานลืม แหะๆๆ



โดย: mambymam วันที่: 15 สิงหาคม 2556 เวลา:9:11:06 น.  

 
สวัสดีค่ะท่านขุน
กลับมาโหวตให้ค่ะ
และขอบคุณมากๆด้วยนะคะสำหรับกำลังใจที่บล็อก

มีความสุขกับการทำงานนะคะ

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Close To Heaven Food Blog ดู Blog
จอมแก่นแสนซน Dharma Blog ดู Blog
LoveParadise Travel Blog ดู Blog
ข้ามขอบฟ้า Home & Gargen Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blo


โดย: ฝากเธอ วันที่: 15 สิงหาคม 2556 เวลา:23:10:11 น.  

 
กำลังจะยกแกงไตปลามาฝาก
เบรคซ๊าแทบหัวคะมำเลยค่าท่านขุนขาาาา

ขอบคุณสำหรับโหวตนะค่า
มีความสุขกับวันสุขแห่งชาติค่า


โดย: พริ้วไหวไปตามลม วันที่: 16 สิงหาคม 2556 เวลา:6:38:14 น.  

 
ขอบคุณสำหรับกำลังใจที่บล๊อกนะคะท่านขุน



สุขสันต์วันศุกร์ค่ะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 16 สิงหาคม 2556 เวลา:8:52:56 น.  

 


โดย: I'm Albert Einstein. (Opey ) วันที่: 16 สิงหาคม 2556 เวลา:10:05:56 น.  

 
ได้ความรู้มากๆเลยค่ะ ^^ ขอบคุณนะคะ


โดย: auau_py วันที่: 16 สิงหาคม 2556 เวลา:13:20:08 น.  

 


สวัสดีค่ะท่านขุน

มาบ้านนี้แล้วได้ความรู้เพิ่มเติม

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog

มีดอกกุหลาบจากสวนมาฝากท่านขุนด้วยค่ะ

สุขสันต์วันหยุดพักผ่อนมากๆนะคะ


โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 17 สิงหาคม 2556 เวลา:15:09:51 น.  

 
สวัสดีวันหยุดค่ะ
มาทักทายแล้วก็โหวตให้นะคะ
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กะว่าก๋า Dharma Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog


โดย: เนินน้ำ วันที่: 17 สิงหาคม 2556 เวลา:15:35:37 น.  

 
ขอบคุณท่านขุนฯที่แวะทักทายต๋าอีกวันนะคะ

ขออภัยค่ะ ระบบจะไม่บันทึกการโหวตนี้
เพราะได้บันทึกคะแนนโหวตให้ Blog นี้
ในสาขา Science Blog ในวันที่ผ่านมาไปแล้วค่ะ

ต๋ารอโหวตให้ท่านขุนฯในบล๊อกต่อไปนะคะ
มีความสุขสดชื่นในวันนี้ค่ะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 17 สิงหาคม 2556 เวลา:17:48:52 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.