Group Blog
 
<<
มกราคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
23 มกราคม 2555
 
All Blogs
 
รวมพระเครื่องรวมเรื่องพระ 23 มกรา55

ยอดพระกริ่ง-พระสมเด็จฯ วัตถุมงคลแห�งวัดบวรนิเวศ/วัดสุนทรศิริพุทธาภิเษก พระสิงห์1รุ�นสิงห์ชนะมาร/"วัดโนนฯ"จัดนำพาบุญคืนสู่ชุมชน/ยอดพระกริ่ง-พระสมเด็จฯ วัตถุมงคลแห�งวัดบวรนิเวศ/พระกริ่งใหญ่/คนไทยใช่กบเฒ่า? เถรวาทvs.ลัทธิอาจารย์(18)

วัดสุนทรศิริพุทธาภิเษก พระสิงห์1รุ�นสิงห์ชนะมาร

พระอธิการชูชาติ สุธัมโม เจ้าอาวาสวัดสุนทรศิริ (แม่ก๊ะใต้) ต.ตลาดใหญ่ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า วัดสุนทรศิริ เริ่มก่อสร้างวิหารตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 เป็นต้นมา แต่ยังไม่แล้วเสร็จ ยังขาดงบประมาณในการก่อสร้าง จึงได้จัดสร้างวัตถุมงคล พระสิงห์ 1 รุ่นสิงห์ชนะมาร ได้ประกอบพิธีเททองหล่อพระประธาน และพิธีบวงสรวงเทพเทวา ณ วัดสุนทรศิริ เมื่อวันที่ 26 ต.ค.2554 เวลา 17.09 น. มีพระครูสิริศีลสังวร (ครูบาน้อย เตชปัญโญ) วัดศรีดอนมูล อ.สารภี มาเป็นเจ้าพิธีปลุกเสกเททอง และเตรียมจัดพิธีมหาพุทธาภิเษกใหญ่อีกครั้งหนึ่งในวันจันทร์ที่ 9 เม.ย.2555 เวลา 19.09 น. ถือว่าพิธีดี คณาจารย์ดัง วัตถุมงคลที่สร้างมีจำนวนจำกัด สำหรับพิธีมหาพุทธาภิเษก กำหนดการวันจันทร์ที่ 9 เม.ย. เวลา 19.09 น. พระคณาจารย์ที่ร่วมพิธีนั่งปรก ประกอบด้วย พระโพธิรังษี เจ้าคณะอำเภอดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่, ครูบาน้อย เตชปัญโญ วัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่, ครูบาดวงดี วัดบ้านฟ่อน อ.หางดง จ.เชียงใหม่, พระครูประภัศร์ธรรมรังษี (ครูบาจันทรังษี) วัดกู่เต้า อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และพระคณาจารย์ชื่อดังจากภาคอีสาน หลังเสร็จพิธีสามารถรับวัตถุมงคลได้ตั้งแต่วันที่ 12 เม.ย. เป็นต้นไป

วัตถุมงคลพระสิงห์ 1 รุ่นสิงห์ชนะมาร มีเนื้อทองเหลืองขนาดจิ๋วตอกโค้ดพร้อมกล่อง สร้าง 399 องค์, ขนาดจิ๋วตอกโค้ดเหลี่ยมสแตนเลสลวดลายสวยงาม สร้าง 299 องค์, ขนาดจิ๋วเหลี่ยมทองไมคอน สร้าง 99 องค์, พระกริ่งสิงห์ 1 เนื้อนวะ เนื้อโลหะเก้าชนิด หลอมรวมกัน สร้าง 299 องค์, พระกริ่งสิงห์ 1 เนื้อเงินแท้ สร้างจำนวน 19 องค์, พระบูชาหน้าตักกว้าง 5 นิ้ว สร้างจำนวน 99 องค์, พระบูชาหน้าตักกว้าง 10 นิ้ว สร้าง 9 องค์, ตะกรุดจำปา 4 ต้น สร้างจำนวน 299 ดอก, ตะกรุด 9 กุ่ม สร้างจำนวน 299 ดอก, ตะกรุดโทน สร้างจำนวน 299 ดอก, ตะกรุดลูกปืน สร้างจำนวน 299 ดอก สำหรับพระบูชาหน้าตักกว้าง 5 นิ้ว พระบูชาหน้าตักกว้าง 10 นิ้ว จะมีเนื้อสีเขียวหยก และสีขาว และสีดำ และหินอินเดีย ท่านั่งขัดสมาธิเพชร ปางสมาธินั่งบนฐานบัวสองชั้น

"วัดโนนฯ"จัดนำพาบุญคืนสู่ชุมชน

พระครูสัทธาพัชโรดม เจ้าอาวาสวัดโนนศรัทธาชุม ต.ท่าพล อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ เปิดเผยว่า ได้จัดโครงการพระครูสัทธานำพาบุญ คืนสู่ชุมชน เมื่อวันที่ 14 ม.ค. ที่ผ่านมา มีพระเทพรัตนกวี เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานในพิธี พร้อมแขกผู้มีเกียรติร่วมงาน อาทิ ส.ส.จักรรัตน์ พั้วช่วย, นายจำนง เชื้อหงส์ นายกเทศมนตรีตำบลท่าพล และพุทธศาสนิกชนร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการสืบเนื่องมาจากวัดโนนศรัทธาชุมได้จัดงานปิดทอง-ฝังลูกนิมิตขึ้น เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2554 - 8 มกราคม 2555 โดยได้รับศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ และนักท่องเที่ยวที่ร่วมทำบุญช่วงเทศกาลปีใหม่จนสำเร็จลุล่วงด้วยดี จึงได้จัดทำโครงการ "พระครูสัทธานำพาบุญ คืนสู่ชุมชน" เพื่อเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน สร้างความรักความสามัคคี และการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมและร่วมกันสืบสานทำนุบำรุง ประเพณี และวัฒนธรรม

กิจกรรมหลักที่สำคัญในการจัดโครงการนี้ คือ การมอบศรัทธาบุญ สนับสนุนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาชุมชน ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 100,000 บาท โรงเรียนบ้านอมกง กองทุนหมู่บ้านอมกงหมู่ 7, 15, 20, 21 รวมหมู่บ้านละ 20,000 บาท ทำให้เกิดการพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนงานประเพณีท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไป



ยอดพระกริ่ง-พระสมเด็จฯ วัตถุมงคลแห�งวัดบวรนิเวศ

"พระไภษัชคุรุ" เป็นพระพุทธเจ้าศิลปะจากจีน ซึ่งเป็นต้นแบบของพระกริ่งที่แพร่หลายในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจารึกในพระสูตรที่แปลโดยพระภิกษุอี้ชิง ผู้จาริกแสวงบุญ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังว่า องค์พระไภษัชคุรุทรงตั้งอธิษฐานจิตเพื่อมาอุบัติยังทิศตะวันออกเพื่อช่วยเหลือสัตว์โลก ประกอบกุศลกรรมบำเพ็ญธรรมดีงาม ดังนั้นผู้คนจึงพร้อมใจกันภาวนาพระนามของพระองค์โดยสม่ำเสมอว่า ขอนอบน้อมแด่พระไภษัชคุรุไวฑูรยประภาตถาคต ซึ่งอธิษฐานเป็นภาษาจีนว่า "นำ มอ หยก ซือ ลิว ลี กวง ยู ไล หรือขอนอบน้อมแด่พระนิรันตรายจิรายุวัฒนาไภษัชคุรุพุทธเจ้า เป็นจีนว่า นำ มอ เซียว ไจ เอียง ซิวหยก ซือ ฟู อันจะส่งผลให้ผู้ที่หมั่นสวดภาวนา มีสุขภาพแข็งแรง อายุมั่นขวัญยืน ปลอดภัยจากโรคร้ายที่คอยเบียดเบียนทั้งโรคกรรมโรคปีศาจทั้งปวง ทำให้ได้สมหวังดังปรารถนาทุกประการ"

พระไภษัชคุรุพุทธเจ้า ทรงตั้งปณิธานเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ไว้ 12 ประการ คือ 1) ให้บรรลุโพธิญาณโดยเร็ว 2) ให้ตื่นจากความโง่เขลา 3) ให้ถึงพร้อมด้วยของใช้ทั้งปวง 4) ให้หันมานับถือธรรม มุ่งสู่ความเป็นพระพุทธเจ้า 5) ให้มีศีลบริสุทธิ์ 6) ให้มีกายสมบูรณ์ 7) ให้พ้นจากความยากจน 8) ให้สตรีที่มุ่งหวังได้เป็นบุรุษตามปรารถนา (หมายถึง ไม่แบ่งแยกเพศ เช่น เจ้าแม่กวนอิม) 9) ให้พ้นจากอุบายของมาร 10) ให้พ้นจากโทษทัณฑ์ทางอาญา 11) ให้พ้นจากการทำชั่วเพื่อเลี้ยงชีพ และ 12) ให้พบกับความสมบูรณ์ทั้งสิ้น และด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ ทำให้ผู้บูชาและเขย่าเม็ดกริ่งก้องกังวาน บรรลุถึงคำอธิษฐานของพระองค์ด้วย

ในปีพ.ศ.นี้ สุดยอดแห่งการจำลององค์พระไภษัชคุรุไวฑูรยประภาตถาคตพุทธเจ้า ต้องยกให้สายแห่งพระกริ่งวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ที่เป็นต้นตำรับของพระกริ่งปวเรศ พระกริ่งบัวรอบ พระกริ่งไพรีพินาศ อันลือลั่นยิ่งในช่วงตรุษจีนนี้ด้วยการได้บูชา "พระกริ่งสุวฑฺฒโน" และ "พระสมเด็จสุวฑฺฒโน" ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งทรงมีพระบัญชาประทานอนุญาตให้สำนักงานเลขานุ การในสมเด็จพระสังฆราชฯ จัดสร้างในมหามงคลวโร กาสทรงเจริญพระชันษา 98 ปี วันที่ 3 ต.ค.2554

วัตถุประสงค์เพื่อสมทบทุนสร้างพุทธวิหารพระพุทธอุดมมงคลเวฬุวัน วัดเวฬุวัน หมู่ที่ 8 ต.ชมภูพร อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ และเพื่อการศาสนาอื่นๆ โดยประทานอนุญาตให้เชิญพระนามย่อประดิษฐานในที่อันควรบนฐานพระกริ่ง พร้อมทั้งให้เชิญพระนามฉายามาตั้งเป็นนามพระกริ่งและพระผงสมเด็จพระพุทธพิมพ์อีกด้วย

รูปแบบของ "พระกริ่งสุวฑฺฒโน" เป็นพุทธศิลปะทิเบตโบราณ ที่มีความงดงามยิ่งนัก จีวรครองมีลวดลายวิจิตร ที่พระหัตถ์ทรงหม้อยาวิเศษ ซึ่งเป็นต้นตำรับของการสร้างพระกริ่ง ด้านหลังองค์พระกริ่งที่ฐานจารึกอักษรว่า "สุวฑฺฒโน" เหนือขึ้นมาเป็นโค้ดพระนามย่อ ญสส. และหมายเลขกำกับองค์พระกริ่ง ซึ่งพระกริ่งทุกองค์มีหมายเลขกำกับ ใต้ฐานเป็นลายเซ็นพระนามสมเด็จพระญาณสังวรฯ และอักษรขอมเป็นโค้ดกำกับไว้

ในการจัดสร้างพระกริ่งและพระพุทธพิมพ์ครั้งนี้ ได้ประกอบพิธีเททองในวันที่ 20 ส.ค.2554 เวลา 15.19 น. ณ พระวิหารคณะเหลืองรังษี และประกอบพิธีพุทธาภิเษก วันที่ 24 กันยายน 2554 เวลา 15.19 น. ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร โดยมี พระราชครูวามเทพมุนี ประกอบพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระเทพสารเวที ผู้แทนพระองค์สมเด็จพระสังฆราชฯ เป็นประธานในพิธีเจิมและจุดเทียนชัย เทียนพุทธาภิเษก และจุดเทียนมหามงคล เทียนวิปัสสี และเทียนน้ำมนต์ สมเด็จพระวันรัต ดับเทียนชัย พระสงฆ์เจริญคาถาดับเทียนชัย

พระเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิ พระธรรมธีราชมหามุนี (เที่ยง) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ, หลวงพ่อสมชาย วัดปริวาสราชสงคราม กรุงเทพฯ, หลวงพ่อหมู วัดทรงธรรม วรวิหาร จ.สมุทรปราการ, หลวงพ่อเจริญ วัดโนนสว่าง จ.อุดรธานี, หลวงพ่อถวิล วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ จ.เชียงราย, หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน จ.ลพบุรี, พระมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่ จ.สมุทร สงคราม, หลวงพ่อคง วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม และ หลวงพ่อสิริ วัดตาล จ.นนทบุรี เป็นต้น

สำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชได้ประทานอนุญาตจัดสร้าง ดังนี้ พระกริ่งเนื้อทองคำ 99 องค์ เนื้อนวโลหะ 1,999 องค์ และเนื้อทองเหลือง 3,999 องค์ พระพุทธพิมพ์ สมเด็จ 84,999 องค์ ซึ่งพระกริ่งสุวฑฺฒโน เนื้อทองคำ หมดไปในเวลาอันรวดเร็ว เหลือเพียงเนื้อนวโลหะ เนื้อทองทิพย์ ที่ตอกโค้ดและมีหมายเลขกำกับทุกองค์ และเนื้อผง บางส่วน

สอบถามรายละเอียดได้ที่โทร.0-2281-2831, 08-9872-2701



พระกริ่งใหญ่ : คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง

"พระกริ่งใหญ่" ได้รับการยกย่องให้เป็นยอดพระกริ่งชั้นนำอันดับหนึ่งของพระกริ่งนอกทั้งหมด และหาดูได้ยากมาก มีถิ่นกำเนิดอยู่ ณ มณฑลซัวไซ ประเทศจีน ในราวสมัย "ราชวงศ์ถัง" แรกเริ่มเดิมทีเป็นที่นิยมอย่างมากในจีน ต่อมาขยายไปยังเขมร และเข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ถ้านับอายุจนถึงปัจจุบันก็คงยืนยาวกว่าพันปีขึ้นไปทีเดียว

พระกริ่งใหญ่ เป็นพระเนื้อโลหะสัมฤทธิ์ สีทองดอกบวบ ผิวสนิมหุ้มออกเป็นสีมันเทศหรือน้ำตาลแก่ ก้นปิดเป็นแอ่งแบบกระทะ ด้วยเนื้อโลหะที่ค่อนข้างแก่ทองเหลือง เขย่าแล้วจะเกิดเสียงดังกังวาน แต่บางองค์ก้นกลวงโดยไม่ปิดก็มี ใช้กรรมวิธีการหล่อแบบลอยองค์ สร้างเป็นรูปสมมติแทนองค์ "พระไภษัชคุรุ" ในลัทธิมหายาน โดยใช้แม่พิมพ์แบบ "พิมพ์ประกับ" หรือ "พิมพ์ประกบ" คือมีแม่พิมพ์ 2 ชิ้น เป็นพิมพ์ประกบด้านหน้าและด้านหลัง ดังนั้น จึงปรากฏตำหนิเป็น "รอยตะเข็บ" ที่ด้านข้างขององค์พระทุกองค์ จะมีมากน้อยต่างกันไป และจากพุทธลักษณะที่ใหญ่อวบขององค์พระ จึงให้ชื่อพระกริ่งนี้ว่า "พระกริ่งใหญ่" เมื่อพิจารณาที่พระพักตร์หรือพระเนตรแล้ว จะสามารถชี้ชัดได้เลยว่าเป็นศิลปะที่เกิดจากสกุลช่างจีนบริสุทธิ์จริงๆ

"พระกริ่งใหญ่" มีพุทธลักษณะที่สง่า งดงาม แลดูอิ่มเอิบ องค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย บนฐานกลีบบัวซ้อน 2 ชั้น ชั้นละ 7 กลีบ พระหัตถ์ขวาวางพาดบนพระเพลา พระหัตถ์ซ้ายทรงวชิราวุธ พระเศียรค่อนข้างใหญ่ ด้านหลังแบนลาดกว่าด้านหน้ามาก พระเกศเป็นแบบมุ่นเมาลี 3 ชั้น ด้านหน้าระหว่างพระเมาลีชั้นล่างสุดและชั้นที่ 2 ประดับแซมด้วยรูป "พระจันทร์ครึ่งซีก" เม็ดพระเกศเป็นตุ่มนูน เว้นช่องอย่างสม่ำเสมอ แสดงถึงความละเอียดประณีตในการสร้าง มีทั้งหมด 14 เม็ด ไม่มีซ้ำหรือแซม อันเป็นเอกลักษณ์สำคัญประการหนึ่ง กรอบไรพระเกศายกสูงกว่าพระนลาฏมากเป็นพิเศษ

พระเนตรตอกเป็นเส้นลึก เฉียงขึ้นด้านบนเล็กน้อย ที่เรียกว่า "ตาจีน" พระนาสิกโด่งเป็นสัน ตรงปลายขยายบานออก พระโอษฐ์เป็นเส้นโค้ง ด้านบนกว้างกว่าด้านล่าง มุมพระโอษฐ์ทั้งสองตอกลึกลงไป วงพระพักตร์อิ่มอวบอูม ลักษณะคล้ายรูปสี่เหลี่ยมมน พระหนุจะเห็นอยู่ในที่ไม่ปรากฏเด่นชัด

พระกรรณข้างขวาสั้นกว่าข้างซ้ายและไม่ติดพระอังสา ส่วนพระกรรณด้านซ้ายจรดพระอังสาพอดี พระอังสาทั้ง 2 ข้าง ลาดมนกลมกลืนไม่มีแง่มุมใดๆ เลย พระอุระอวบอูมและวาดเข้าหาพระกัจฉะ ฐานผ้าทิพย์ด้านหน้าพระเพลาแบนราบ และดูพลิ้วอยู่ในที เส้นชายจีวรและสังฆาฏิตลอดจนเส้นอาสนะเหนือฐานบัวด้านหน้า เป็น "เม็ดไข่ปลา" นูนกลมละเอียดงดงาม สัณฐานบัวเป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบ "บัวจีน" เม็ดบัวเป็นตุ่มกลมนูน และร่องบัวทั้งสองเป็นร่องลึก

เมื่อมีโอกาสได้พินิจพิจารณาพุทธลักษณะของ "พระกริ่งใหญ่" แล้ว จะเกิดความรู้สึกอิ่มเอิบเยือกเย็น ให้แรงบันดาลใจอันเปี่ยมสุขได้อย่างน่าอัศจรรย์ อาจจะสืบเนื่องจากความยิ่งใหญ่ของพระกริ่งใหญ่นี้เอง จึงเป็นแรงบันดาลใจให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร และสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศนเทพวราราม ทรงจำลองแบบอย่างการจัดสร้างพระกริ่งมาจากพระกริ่งใหญ่ ทั้งสิ้น

จึงถือได้ว่า "พระกริ่งใหญ่" เป็นต้นแบบในการสร้าง "พระกริ่ง" ในสยามประเทศเลยทีเดียว และเคยมีผู้บูชาพระกริ่งใหญ่ในครอบครองท่านหนึ่งอยู่แถบปักษ์ใต้เล่าให้ผมฟังว่า ท่านเคยได้อธิษฐานกำหนดกลั้นลมหายใจแล้วหันหน้าไปทางที่สายรุ้งกำลังพาดกับขอบฟ้า กำพระกริ่งใหญ่ไว้ในกำมือแล้วตวัดขึ้นลงสองคาบ ปรากฏว่าเห็นสายรุ้งขาดเป็นสามท่อนเป็นที่น่าอัศจรรย์ เรื่องนี้คนเก่าๆ จะทราบและเล่าขานกันต่อมาว่ากริ่งใหญ่มีฤทธานุภาพถึงขนาดตัดสายรุ้งขาดได้ครับผม
คนไทยใช่กบเฒ่า? เถรวาทvs.ลัทธิอาจารย์(18) คอลัมน์ พระพรหมคุณาภรณ์
(ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


สังคมไทยหันหลังให้ตัวเอง ละเลยทอดทิ้งพุทธศาสนาและอะไรๆ ที่เดี๋ยวนี้มีคำเรียกขึ้นมาใหม่ว่าภูมิปัญญาไทย เป็นอย่างนี้มานานเรียกได้ว่าตลอดศตวรรษ

จนมาสะดุดอีกทีด้วยเจอพิษของความเจริญสมัยใหม่ ที่ฝรั่งตื่นก่อนด้วยซ้ำ และมีส่วนนำให้ไทยตื่นตาม ทำให้หันมาคิดถึงพระพุทธศาสนาและภูมิปัญญาไทย กลับจะสนใจกันขึ้นมา

เรื่องก็กลายเป็นว่า พุทธศาสนาที่เหมือนถูกทิ้งไปแล้วได้หลงเหลือมาให้คนไทยปัจจุบันพอได้เห็น ก็เพราะยังมีบางบุคคลมองเห็นความหมายใส่ใจจริงจังลงลึกอยู่บ้าง แต่โดยส่วนใหญ่ก็เพียงอาศัยติดชายจีวรปลิวไปปลิวมาอยู่ในวัดกระจายมาถึงชายคาบ้านต่อกันมา

รวมแล้วก็คือ เป็นปัญหาร่วมกันของคนไทยทั้งสังคมนี่เอง ทั้งคนกรุงคนบ้านนอก ทั้งคนชั้นบนคนชั้นล่าง ต่างก็ถูกเหตุปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่ตัวเองไม่รู้ทัน ไม่เข้าใจ มาชักนำบ้าง มาบีบคั้นบ้าง ให้พากันถูกพัดพาไปในกระแสสังคม

พอถูกกระแสซัดมาเจอกันก็แปลกหน้ากัน ไม่เข้าใจกัน มองกันไปต่างๆ ดูถูกเหยียดหยามกันบ้าง ด่าว่าติเตียนกันบ้าง แตกแยกกัน อย่างน้อยก็เข้าไม่ถึงกัน แล้วก็ไม่คิดที่จะร่วมมือร่วมใจกัน

ถ้าคนไทยรู้เข้าใจสังคมของตน แค่พอทันกระแสและจับเหตุปัจจัยใกล้ตัว ไกลตัวที่ต่างกันได้แม้เพียงบางส่วน ก็จะเข้าใจกัน และเห็นอกเห็นใจกัน แล้วก็จะร่วมแรงร่วมใจกัน เกิดความสามัคคี ที่จะช่วยกันแก้ปัญหา พาให้สังคมของตนเดินหน้าไปได้ เราน่าจะช่วยกันสร้างความรู้ความเข้าใจให้จิตและปัญญาเข้ามาถึงกัน

เอาเป็นว่า เมื่อเรื่องเป็นอย่างนี้ คือพระเณรมาเรียนหนังสือในวัด ก็ทำนองเดียวกับเด็กที่มาอยู่วัดไปเรียนในโรงเรียนข้างนอก ต่างก็คิดแต่ว่าจะได้ชั้นได้ใบสำคัญ แล้วก็จะมีโอกาสสึกไปรับราชการบ้าง ไปสมัครงานอะไรๆ บ้าง ไม่ได้ตั้งใจเรียนเนื้อหาธรรมะ จึงสักว่าเรียนเพียงว่าท่องกันไป จำเอาไว้ พอให้สอบได้ ไม่ได้คิดจะรู้หรือเข้าถึงสาระอะไร เป็นอย่างนี้กันทั่วไป

ไปๆ มาๆ การเล่าเรียนแบบท่องจำที่มุ่งเพียงว่าเอาไปใช้ในการสอบให้ได้ โดยไม่ได้มุ่งเอาเนื้อหาสาระของพระธรรมวินัยก็กลายมาเป็นลักษณะแห่งระบบการศึกษาของพระ ซึ่งมันก็โยงกับสภาพการศึกษาของประเทศไทยนี่เอง ที่การพระศาสนาไปอิงอยู่กับสภาพความเป็นไปและเหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย ที่ว่าในระบบการศึกษาสมัยใหม่ของรัฐนี้ คนเล่าเรียนกันไปโดยมุ่งเพียงเพื่อให้สอบได้ หรือเอาดีกันที่สอบ

จะไปสอบบาลี บางทีไม่ได้มีความเข้าใจ ได้แต่ท่องจำเอา ท่องๆๆๆ เข้าไป เวลาออกสอบมาตรงที่ท่องไว้ ก็จะได้เขียนไปเลย อะไรทำนองนี้ ซึ่งคิดว่าข้างนอกวัดในระบบของรัฐก็มีสภาพไม่ต่างกันเท่าไร

ฉะนั้น การเรียนที่ว่าเป็นแบบท่องจำนี้ไม่ต้องสืบไปถึงเรื่องเถรวาทหรอก เป็นเรื่องตื้นๆ ในสังคมไทยของเราเอง เป็นเรื่องของวิถีไทยซึ่งเกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อม ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในการรับระบบการศึกษาแบบตะวันตก ที่ไปไม่ถึงสาระของเขา เช่นเดียวกับละทิ้งสาระของเรา


credit : khaosod


Create Date : 23 มกราคม 2555
Last Update : 23 มกราคม 2555 3:36:07 น. 0 comments
Counter : 2605 Pageviews.

Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.