Group Blog
 
 
มีนาคม 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
30 มีนาคม 2555
 
All Blogs
 

ลายคำ

ลายคำ ในความหมายของศิลปกรรมล้านนาคือ ลวดลายที่ประดับตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้ อาคารสถานที่ด้วยทองคำเปลว มีลวดลายสีทองบนพื้นสีแดงหรือดำ


กลายเป็นข่าวร้อนๆ เมื่อบริษัทรับเหมาที่กรมศิลปากรคัดเลือกให้ซ่อมแซมวัดพระธาตุลำปางหลวง ปิดทองและเขียนลวดลายใหม่ทับลวดลายเดิม ?ลายคำ? ภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปเทวดาพนมมือ อายุไม่น้อยกว่า 300 ปี ที่ประดับบนประตูวิหารพระพุทธ ที่มีอายุ 500 ปี ซึ่งได้รับการยกย่องเป็นลวดลายขนาดใหญ่ และงดงามที่สุดของศิลปะล้านนาที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน

เช่นเดียวกับวิหารน้ำแต้ม ที่ซ่อมแซมจนลายคำเสียหายเช่นกัน

ลายคำ ในความหมายของศิลปกรรมล้านนาคือ ลวดลายที่ประดับตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้ อาคารสถานที่ด้วยทองคำเปลว มีลวดลายสีทองบนพื้นสีแดงหรือดำ

การประดับตกแต่งลายคำของล้านนานั้น มีวิธีการแบบที่ต่อเนื่องจากการฉลุแบบ หรือใช้วิธีการที่แตกต่างไป ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้

วิธีการที่ 1 ฉลุแบบปิดทองคำเปลว เป็นวิธีการที่พบมากที่สุด โดยการเจาะฉลุลวดลายแม่แบบกระดาษตามต้องการ แล้วนำไปวางทาบตรงส่วนที่ต้องการจะประดับตกแต่งลวดลาย แล้วปิดทองคำเปลวลงไปตามช่องที่ฉลุลวดลายนั้นตามต้องการ

วิธีการที่ 2 ฉลุแบบปิดทองคำเปลวแล้วตัดเส้น เป็น กระบวนการที่ทำต่อเนื่องจากวิธีแรก แต่ตัดเส้นรอบและเพิ่มรายละเอียดของลวดลาย ทำให้ผลงานมีความละเอียด ประณีต คมชัดมากยิ่งขึ้น

วิธีการที่ 3 ฉลุแบบปิดทองคำเปลวแล้วจารเส้น เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องจากวิธีแรกเช่นเดียวกัน แต่ใช้วิธีการเติมรายละเอียดของลวดลายที่มีความละเอียดมากกว่าการเขียนตัดเส้น โดยใช้เหล็กแหลมจารลวดลาย (ขูด ขีด) รายละเอียดต่างๆ สามารถที่จะทำได้มาก จะสังเกตเห็นร่องรอยของการจารเส้นที่ซ้ำๆ กันหลายครั้ง

วิธีการที่ 4 เขียนลายรดน้ำลงรักปิดทอง ซึ่งต้องอาศัยช่างที่ความชำนาญพิเศษเฉพาะด้าน และต้องใช้เวลาในการทำงาน เพราะต้องอาศัยความจัดเจนของการเขียนเส้นพู่กัน และการเตรียมการที่มีระเบียบแบบแผนเป็นขั้นตอนที่จะต้องทำตามลำดับก่อนหลัง และยุ่งยากสลับซับซ้อนมากกว่า

การประดับตกแต่งลายคำล้านนานั้น ปรากฏให้เห็นบนบานประตู หน้าต่าง ฝาผนังของโบสถ์ วิหาร หรือตู้พระไตรปิฎก หีบพระธรรม สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไม้สัก หรือปกสมุดข่อย ที่เป็นเนื้อกระดาษข่อยหรือกระดาษสา

ลวดลายที่นำมาประดับตกแต่ง มีอยู่ 2 ลักษณะคือ ลวดลายที่ได้รับอิทธิพลจากช่างหลวงส่วนกลาง ลายในกลุ่มนี้ได้แก่ ลวดลายที่เป็นลายกระกนกต่างๆ ส่วนลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เด่นชัดบ่งบอกถึงศิลปกรรมล้านนาโดยแท้คือ ลวดลายกึ่งธรรมชาติ กึ่งประดิษฐ์ ซึ่งเป็นวิธีการของจิตรกรรมไทยแบบประเพณีผสมผสานกับแบบไทยใหญ่หรือพม่า เช่น ลวดลายดอกพุดตาน ผสมคละเคล้าตัวภาพสัตว์ รวมทั้งลวดลายที่ได้รับอิทธิพลจากจีน เช่น ภาพมังกร และหงส์

ส่วนภาพทวารบาลมีลักษณะเป็นภาพทรงเครื่องแบบกษัตริย์พม่าหรือไทยใหญ่ถืออาวุธ ส่วนลวดลายประดับที่เป็นลายกระกนกมีลักษณะลวดลายใกล้เคียงกับช่างหลวงทางภาคกลาง

ล่าสุดกรมศิลปากรได้เข้าตรวจสอบวัดพระธาตุลำปางหลวงแล้วพบว่ามีการซ่อมแซมที่ทำให้ลวดลวยเดิมเสียหาย จึงจะดำเนินการซ่อมแซมเองโดยเจ้าหน้าที่ของกรมศิลป์ เบื้องต้นคาดใช้เวลาซ่อมแซมอย่างต่ำ 3 เดือน

ที่มา นสพ ข่าวสด




 

Create Date : 30 มีนาคม 2555
0 comments
Last Update : 30 มีนาคม 2555 5:25:01 น.
Counter : 2438 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.