พฤษภาคม 2556

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
30
31
 
 
ปริศนาชวนคิดกับความคิดปรุงแต่ง










มีปริศนาชวนคิด ๒ ข้อที่อยากให้ลองหาคำตอบ ขอแนะว่าควรใช้เวลาคิดสักพัก ก่อนที่จะไปดูคำตอบข้างล่าง

๑.แม่ให้เงินเด็กน้อย  ๒๐ บาท พอได้เงินเด็กน้อยก็รีบวิ่งเข้าไปในร้าน เพื่อซื้อขนมราคา ๕ บาท  เมื่อเจ้าของร้านยื่นเงินทอน ๕ บาท  เด็กน้อยก็รีบคว้าเงินและขนมออกไปจากร้าน คุณทราบไหมว่าทำไมเด็กน้อยจึงทำเช่นนั้นหากว่าทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นถูกต้องทุกอย่าง ?

๒. รถคันหนึ่งชนเสาไฟฟ้าอย่างแรง  ผู้เป็นพ่อตายคาที่  ส่วนผู้เป็นลูกบาดเจ็บสาหัส  ถูกนำส่งโรงพยาบาลเพื่อผ่าตัดสมองรีบด่วน    ศัลยแพทย์ถูกเรียกตัวมาผ่าตัดผู้ป่วยอย่างกะทันหัน  แต่เมื่อเห็นหน้าผู้ป่วยซึ่งนอนหมดสติอยู่บนเตียงผ่าตัด  ศัลยแพทย์ก็ชะงัก และบอกกับคณะแพทย์พยาบาลว่า ตนไม่กล้าผ่าตัดผู้ป่วยคนนี้ด้วยมือของตนเอง  เพราะว่าเขาเป็นลูกของตน   เด็กคนหนึ่งฟังเรื่องนี้แล้ว งงงวยมาก  คุณพอจะอธิบายเรื่องนี้ได้ไหม?

ถ้าคุณตอบข้อ ๑.ว่าเป็นเพราะเจ้าของร้านทอนเงินผิด หรือเด็กขาดสติ จึงฉวยเงินทอนขาดไป ๑๐ บาท  คุณก็ตอบผิด เพราะโจทย์บอกไว้แล้วว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในร้านนั้นถูกต้องทุกอย่าง ไม่มีอะไรผิด  หากคุณใช้เวลานานแล้วยังตอบไม่ได้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดามาก เหมือนกับคนส่วนใหญ่ที่นึกอยู่ตลอดเวลาว่าเด็กคนนั้นยื่นธนบัตร ๒๐ บาทให้เจ้าของร้าน ทั้ง ๆ ที่โจทย์ไม่ได้บอกเลยแม้แต่น้อย  คำตอบข้อนี้ก็คือ เป็นเพราะเด็กยื่นเงิน ๑๐ บาทให้เจ้าของนั่นเอง

ข้อ ๒ ก็เช่นกัน  ถ้าคุณตอบว่าศัลยแพทย์เป็นพ่อบุญธรรม (หรือเป็นอะไรต่ออะไรสุดแท้แต่จะนึก) คุณก็ตอบผิด  ถ้าคุณงงงวย อธิบายเรื่องนี้ไม่ได้ ก็คงเป็นเพราะคุณนึกตลอดเวลาว่าศัลยแพทย์เป็นผู้ชาย ความจริงก็คือศัลยแพทย์ในเรื่องนี้เป็นแม่ของเด็กคนนั้น

ปริศนาทั้ง ๒ เรื่องที่จริงไม่ใช่เรื่องยาก แต่ที่ตอบไม่ได้จนสร้างความอึดอัดแก่หลายคน ก็เพราะคนส่วนใหญ่เผลอปรุงแต่งข้อมูลหรือสร้างภาพบางอย่างขึ้นในใจเกินจากที่โจทย์ได้ระบุไว้  สิ่งที่ปรุงแต่งต่อเติมนี้เองที่กลายเป็นกรอบหรืออุปสรรคบังตาให้เราหาคำตอบไม่เจอ ทั้ง ๆ ที่คำตอบนั้นง่ายแสนง่าย กลายเป็นเส้นผมบังภูเขาก็ได้

สิ่งที่ปรุงแต่งต่อเติมนั้นบางครั้งเกิดจากการตีความเอาเอง (เช่น แม่ให้เงินเด็ก ๒๐ บาท ก็เลยนึกต่อไปว่าเด็กยื่นเงิน ๒๐ บาทให้เจ้าของร้าน) หรือเกิดจากประสบการณ์และความคุ้นเคยที่กลายเป็นแบบแผนความคิด (เช่น ศัลยแพทย์ส่วนใหญ่ที่เจอนั้นเป็นผู้ชาย  ดังนั้นพอได้ยินคำว่าศัลยแพทย์ ก็นึกภาพเป็นผู้ชายขึ้นมาทันที)  การปรุงแต่งต่อเติมดังกล่าวเกิดขึ้นทันทีแบบอัตโนมัติจนเราไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ ดังนั้นจึงทำให้หลายคนไม่ทันได้ตระหนักว่าความคิดปรุงแต่งของตนนั้นแหละที่เป็นปัญหา ไม่ใช่เป็นเพราะโจทย์ผิดหรือบุคคลในโจทย์ทำอะไรผิดพลาด


ที่มา: //www.visalo.org/article/Image255509.htm




Create Date : 09 พฤษภาคม 2556
Last Update : 9 พฤษภาคม 2556 10:34:33 น.
Counter : 2479 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

gogunut
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




SmileySmileySmiley
ท่ามกลางความทุกข์ ความสุขแทรกอวล
ในความกำสรวล ย่อมเคยมีเสียงหัวเราะ
และในเสียงหัวเราะ
ย่อมเคยมีความเทวษใจมาบ้างแล้ว
ไม่รู้ทุกข์ที่สุด จะรู้สุขที่สุดได้ไฉน
จงยืนหยัดอยู่กับที่ แล้วโลกจะหมุนไปเอง

โดย ทมยันตีSmiley
จาก เรื่องคู่กรรม