gappaman

gappaman
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]







Add to Technorati Favorites
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2554
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
29 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add gappaman's blog to your web]
Links
 

 

อีกมุมหนึ่งกับการมองนโยบายค่าแรง 300 บาท

เป็นบทความที่อ่านเจอนานสักพักแล้วเหมือนกันครับ เลยอยากเอามาเผยแพร่ให้อ่านนกัน ความจริงนโยบายค่าแรง 300 บาท ถ้ามองด้วย "ความเป็นกลาง" แล้ว ผมก็ด้วยกับแนวคิดข้างล่างนี้ เพราะทุกวันนี้เราทำงานกัน ปกติส่วนใหญ่ก็หาเรื่องทำงานล่วงเวลาอยู่แล้ว เพื่อรายได้ที่มากขึ้น (นิดหน่อย) ก็ขึ้นเงินไปเลยก็ได้นะผมว่า .... บางครั้งการทำงานล่วงเวลาแบบไม่มีเหตุผล นอกจากบริษัทต้องจ่ายค่าแรงเพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในสำนักงานเพิ่มขึ้นอีก เช่น ค่าไฟ ค่าน้ำ ฯลฯ ในช่วงที่ทำงานล่วงเวลา

แล้วที่บ่นกันว่าการขึ้นค่าแรงจะทำให้บริษัทต่างๆแบกภาระค่าใช้จ่ายมากเกินไป ... ผมว่าถ้าทางรัฐบาลทำการบ้านให้ดี มีนโยบายที่ทำให้ค่าใช้จ่ายส่วนอื่นของบริษัทลดลง อย่างเช่น ค่าขนส่งอย่างที่กล่าวในบทความ หรือจะเป็นเรื่องของภาษี ดอกเบี้ยอะไรต่างๆ เป็นต้น ผมว่าก็น่าจะชดเชยกันได้กับค่าแรงที่เพิ่มขึ้น

ส่วนของการดำเนินการ ถ้าให้เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ผมก็คิดว่าดีกว่า เพราะเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องเจอแรงเสียดทานจากสังคมเยอะเลย ถ้าเทียบให้เห็นภาพ ก็คงพอๆกับการที่จะยกเลิกระบบทาสในสมัย ร.5 นี่ล่ะครับ .... ทำรวดเดียวไม่ได้หรอก ต้องทยอยๆไป อย่างเช่น ให้บริษัทใหญ่ๆ (ประเภทที่มีกำไรต่อปีเป็นร้อยๆล้าน) เป็นผู้เสียสละก่อน แล้วจึงมีผลบังคับใช้ให้บริษัทเล็กๆทีหลัง น่าจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับความคิดผม

----------------------------------------


ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 , หน้า 9

หนุนนโยบายรัฐเต็มแรง ย้ำชัดคุ้มที่จะจ่าย “ เอ็มแรป ” ขึ้นค่าจ้าง 300 บาท


“ เอ็มแรป ” หนุนว่าที่นายก “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ด้วยการประกาศขึ้นเงินเดือนและค่าจ้างแรงงานให้พนักงาน – ลูกจ้างของเอ็มแรปก่อน

นาย เอนก จงเสถียร กรรมการผู้จัดการบริษัท เอ็มเอ็ม พี จำกัด ผู้ผลิตฟิล์มถนอมอาหารรายใหญ่ที่สุดของประเทศ ภายใต้เครื่องหมายการค้า เอ็มแรป (M WRAP) ให้สัมภาษณ์ว่า วันที่ 1 ส.ค. นี้ เขาจะปรับขึ้นเงินเดือนและค่าจ้างแรงงานให้แก่พนักงานระดับล่างสุดจนถึงระดับสูงสุดของเขา ซึ่งมีจำนวนรวมกันกว่า 1,000 คน ทั้งในส่วนของสำนักงานใหญ่ และกลุ่มบริษัทในเครือ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท / วัน / คน ของรัฐบาล

นาย เอนก แสดงความเห็นว่า อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท ควรได้รับการกำหนดให้เป็นอัตราเดียวกันทั่วประเทศ เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานที่กระจุกตัวในเมืองอพยพกลับถิ่นฐานของตนเอง ขณะที่โรงงานอุตสาหกรรมก็จะตามไปลงทุนในพื้นที่ซึ่งมีแรงงานจำนวนมากอยู่ “แนวคิดนี้ยังให้สิ่งที่มีความหมายมากกว่าตัวเงิน ตรงที่คืนเวลาให้แก่ชีวิตของผู้ใช้แรงงาน เพราะจากนี้ไป ถ้าผมให้ 300 บาม / วัน คุณก็ไม่ต้องมาทำงานล่วงเวลาอีกแล้ว” กรรมการผู้จัดการบริษัท เอ็มแรป กล่าวว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เช่น ในเขต กทม. และปริมณฑล 215 บาท / วัน ไม่เพียงพอที่จะทำให้แรงงานอยู่ได้ ในจำนวนนี้มากกว่า 80% จึงจำเป็นต้องทำงานล่วงเวลาอีก 4-5 ชั่วโมง เพื่อจะให้ได้เงินอีกประมาณครึ่งแรงหรืออีกราว 150 บาท

“ถ้าพวกเขาไม่ต้องทำโอที ก็จะมีเวลากลับไปดูแลลูกหลาน สอนการบ้าน หรือหุงข้าวปลาให้ลูกกินได้ แทนที่จะทิ้งไว้บ้าน หรือหอบไปให้ตายายเลี้ยง คุณเห็นหรือไม่ว่า 10 – 20 ปีมานี้ ทำไมสังคมไทยแย่ลง ทำไมมีเด็กติดยามาก และเด็กผู้หญิงท้องก่อนวัยอันควรเยอะ ก็เพราะว่าพ่อแม่ไม่มีปัญญาเลี้ยงดู ชีวิตมีแต่ทำงานกับนอน ถ้าเขามีเวลาทำงาน 8 – 9 ชั่วโมง / วัน เวลาที่เหลือก็เอาไปดูแลลูกได้ ผมคิดว่ามันคุ้มค่าที่จะจ่าย เพื่อแลกกับการทำให้สังคมมีสุข และคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานดีขึ้น”

ส่วนกรณีที่ผู้ประกอบการรายใหญ่ๆแสดงความเห็นคัดค้านว่านโยบายนี้จะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น กดดันให้อัตราเงินเฟ้อ และอาจถึงขั้นที่จะทำให้ผู้ประกอบการจำนวนมากย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศไทยไป เพราะค่าจ้างแรงงานไม่ถูกอีกแล้วนั้น นายเอนกกล่าวว่า ปัจจุบันต้นทุนด้านเงินเดือนและค่าจ้างแรงงานมีอัตราส่วนเพียง 10 % เศษเท่านั้น ถ้าปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท ต้นทุนอาจเพิ่มขึ้นเป็น 20 % แต่ในข้อเท็จจริง บริษัทต่างๆก็ยังอยู่ได้ ถ้าเพียงแต่ยอมรับความจริงสักนิดว่ากำไรอาจลดลงบ้าง สำหรับต้นทุนการผลิตด้านอื่นๆ เช่น ต้นทุนค่าขนส่งซึ่งสูงมากนั้น ก็น่าที่รัฐบาลจะต้องปฏิรูปโครงสร้างการขนส่ง และระบบโลจิสติกส์ของประเทศใหม่ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถปรับลดต้นทุนการขนส่งลงมาเกลี่ยให้ผู้ใช้แรงงานได้

“ ที่บอกว่าจะมีการย้ายฐานลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านกันยกใหญ่เพราะแรงงานไทยไม่ถูกอีกต่อไปแล้ว ผมว่าเอาเปรียบแรงงานเกินไป เราจะยินดีเป็นประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานถูกต่อไป โดยที่สังคมแพ้พ่ายเสียหายหรือ ผมว่ามันหมดสมัยแล้ว ที่สำคัญ 300 บาท ก็บอกชัดแล้วว่าเป็นค่าจ้างขั้นต่ำ ถ้ามีที่ไหนประเทศใดในโลก ไม่ว่าจะเป็นแอฟริกา เวียดนาม หรืออินโดนีเซียที่น่าลงทุนกว่า ป่านนี้ก็คงจะไปกันหมดแล้ว ”

กรรมการผู้จัดการเอ็มแรป ให้ความเห็นว่า ปัจจัยที่ทำให้ต่างชาติยังคงมาลงทุนในประเทศไทย ไม่ใช่เรื่องค่าจ้างแรงงานอย่างเดียว แต่เพราะแรงงานไทยเป็นชาติเดียวที่ยอมหยวนให้ตลอด นัดหยุดงานประท้วงก็น้อย เปิดบริษัทหรือทำธุรกิจก็ง่าย ไม่ต้องจ่ายใต้โต๊ะหนักเหมือนประเทศอื่น ในขณะที่สภาพภูมิอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่ต้องวิ่งหนีเฮอร์ริเคน หรือแผ่นดินไหว เรียกว่า กินง่ายอยู่สบายกว่าประเทศอื่นๆมาก จึงไม่น่าเป็นห่วงเรื่องย้ายฐานการลงทุน เพราะไม่ง่ายอย่างที่พูด ส่วนเรื่องของเงินเฟ้อ ถ้ารัฐบาลเจรจากับผู้ผลิตรายใหญ่ๆให้ยอมลดกำไรลงบ้าง ไม่ผลักภาระไปที่ผู้บริโภคกันหมด อัตราเงินเฟ้อก็ไม่น่าจะปรับตัวขึ้นมากนัก

“ พวกคุณเห็นหรือไม่ว่า กำไรสุทธิของบริษัทต่างๆที่มาลงทุนในประเทศไทย อาทิ แบงค์พาณิชย์ เพิ่มขึ้นมหาศาล เฉพาะแค่ครึ่งแรกของปีเท่านั้นนะ ถ้าจะเจียดมาเพิ่มเงินเดือน หรือค่าจ้างขั้นต่ำให้ลูกน้องอีกสักนิด ผมไม่คิดว่าจะเป็นปัญหา ”

สำหรับนโยบายปรับขึ้นเงินเดือนแก่ผู้จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาทนั้น นายเอนกให้ความเห็นว่า อาจจะเป็นเรื่องยากที่จะทำ กระนั้นรัฐบาลก็ควรกำหนดไว้เป็นเป้าหมายในอนาคตว่า ผู้จบการศึกษาระดับนี้สมควรจะได้รับอัตราเงินเดือนเท่าใด เช่น ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาท ส่วนการจะทำให้เป้าหมายนี้บรรลุผล รัฐบาลควรปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาของประเทศใหม่ เพื่อพัฒนาบุคลากรภายในให้มีคุณภาพ

“ การพัฒนาคนจำเป็นต้องทุ่มงบประมาณลงไปในสถานศึกษา ซึ่งรัฐกำหนดไว้ว่า ถ้าต้องการคนเกรดเอจะใช้เงินเท่าใด และเกรดบีจะใช้เท่าใด แรงงานกลุ่มไหนจะกลับไปสู่ท้องถิ่น ส่วนไหนจะอยู่ในเมือง เป็นต้น ถ้าทำอย่างนี้ได้ ระบบการศึกษาจะเปลี่ยน อุตสาหกรรมการผลิตของประเทศก็จะเปลี่ยนตาม ”




 

Create Date : 29 สิงหาคม 2554
0 comments
Last Update : 29 สิงหาคม 2554 3:27:35 น.
Counter : 1404 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.