ร่วมมือ ร่วมใจ สานฝัน เด็กตานี ปลอดภัยจากเกมส์ออนไลน์

 
กันยายน 2551
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
14 กันยายน 2551
 

ผลสำรวจเอเบคโพลส์

เสนอรัฐคุมเปิด-ปิดร้านคอมแก้เยาวชนมั่วสุม Smiley

 


เอแบคโพลล์สำรวจพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ในกลุ่มเด็กและเยาวชน พบว่าเกมต่อสู้เป็นเกมยอดฮิตที่สุด คนเล่นระบุเล่นเกมเพื่อความเพลิดเพลิน รองลงมาเพื่อคลายเครียดจากการทำงาน นอกจากนี้ ร้อยละ 56.9 เห็นว่าเกมออนไลน์นำไปสู่การเล่นพนันได้ เสนอรัฐออกมาตรการควบคุมเวลาเปิด-ปิดร้านคอมพิวเตอร์แก้ปัญหาเกมออนไลน์มอมเมาเด็กและเยาวชน

สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้สำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อประเมินตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็นและประสบการณ์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อเกมคอมพิวเตอร์/เกมออนไลน์ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ ตามโครงการ “พฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ในกลุ่มเด็กและเยาวชนไทย : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 12 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 14-17 กันยายน 2548 ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,882 ตัวอย่าง

ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าโครงการวิจัยในครั้งนี้ เปิดเผยว่า ผลสำรวจพบว่าตัวอย่างร้อยละ 26 ระบุเล่นเกมคอมพิวเตอร์ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 74 ระบุไม่ได้เล่นเกมในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการเล่นเกมออนไลน์หรือเกมผ่านทางอินเทอร์เน็ตในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมานั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละ 21.4 ระบุเล่นเกมออนไลน์หรือเกมผ่านทางอินเทอร์เน็ตในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา และร้อยละ 78.6 ระบุไม่ได้เล่น ทั้งนี้ เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงการเล่นเกมคอมพิวเตอร์และเกมออนไลน์ พบว่าตัวอย่างร้อยละ 29.3 ระบุบุตรหลานของตนเล่นเกมคอมพิวเตอร์และเกมออนไลน์ รองลงมาคือร้อยละ 27.9 ระบุตนเองเล่น ร้อยละ 24.7 ระบุเพื่อนเล่น ร้อยละ 15.1 ระบุพี่/น้อง/ญาติเล่น ในขณะที่ร้อยละ 34.8 ระบุไม่มีใครเล่น

ผลการสำรวจพบว่าวัตถุประสงค์ของการเล่นเกมคอมพิวเตอร์/เกมออนไลน์ นั้นพบว่าส่วนใหญ่เล่นเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน ร้อยละ 64.6 รองลงมาคือเล่นเพื่อคลายเครียดจากการทำงาน/การเรียน ร้อยละ 55.6 เล่นเพื่อพัฒนาทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 21.3 เป็นเพื่อนแก้เหงา ร้อยละ 15.6 และต้องการรู้จักเพื่อนใหม่ในโลกของเกม ร้อยละ 15.6 ตามลำดับ ทั้งนี้ สถานที่ที่ใช้ในการเล่นเกมคอมพิวเตอร์/เกมออนไลน์เป็นดังนี้ ตัวอย่างร้อยละ 45.7 ระบุเล่นเกมที่บ้าน ร้อยละ 44.4 ระบุเล่นเกมที่ห้างสรรพสินค้า ร้อยละ 10.1 เล่นเกมที่โรงเรียน/สถาบันการศึกษา ร้อยละ 9 ระบุเล่นเกมที่บ้านเพื่อน ร้อยละ 7.6 ระบุเล่นเกมที่ร้านคอมพิวเตอร์ (อินเทอร์เน็ต คาเฟ) และร้อยละ 7.2 ระบุเล่นเกมที่ที่ทำงานตามลำดับ

ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้พบว่าเกมยอดฮิตที่นิยมเล่นกันมากที่สุด ได้แก่ เกมต่อสู้ เช่น ยิงปืน ฟัน เตะต่อย ร้อยละ 37.7 รองลงมาคือ เกมแข่งขันกีฬา เช่น ฟุตบอล เทนนิส ร้อยละ 33.3 เกมแร็กน่าร็อก ร้อยละ 22.7 เกมลับสมอง ร้อยละ 21.5 เกมแฟนตาซี ร้อยละ 14.1 ตามลำดับ

ตัวอย่างร้อยละ 14.6 ระบุเล่นเกมออนไลน์ทุกวันในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 6.3 ระบุเล่น 5-6 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 23.9 ระบุ 3–4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 37.4 ระบุ 1–2 วันต่อสัปดาห์ และร้อยละ 17.8 ระบุน้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 58.6 ระบุเล่นเกมแต่ละครั้งเฉลี่ยนาน 1–2 ชั่วโมง ร้อยละ 22.4 ระบุ 3–5 ชั่วโมง ร้อยละ 12.7 ระบุน้อยกว่า 1 ชั่วโมง ในขณะที่ร้อยละ 6.3 ระบุมากกว่า 5 ชั่วโมงขึ้นไป สำหรับช่วงเวลาประจำที่ตัวอย่างส่วนใหญ่ระบุนิยมเล่นเกมในวันธรรมดาคือช่วงเวลา 17.01–22.00 น. ร้อยละ 30.1 ในขณะที่ในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ นั้นนิยมเล่นตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป

ผลการสำรวจค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อเดือนของการเล่นเกม พบว่าในแต่ละเดือนต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเล่นเกมโดยเฉลี่ยเดือนละ 759.74 บาท

ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการผลสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้คือความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการเล่นเกมทั้งเกมคอมพิวเตอร์และเกมออนไลน์ ซึ่งตัวอย่างส่วนใหญ่กว่า 2 ใน 3 ยอมรับว่าทั้งเกมคอมพิวเตอร์และเกมออนไลน์ทำให้คนเล่นติดคืออยากเล่นอีกบ่อย ๆ ทั้งนี้ ตัวอย่างร้อยละ 93.3 สามารถหาร้านในการเล่นเกมได้ง่าย ในขณะที่ร้อยละ 6.7 ระบุไม่ง่าย

อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงปัญหาของพฤติกรรมการติดเกมคอมพิวเตอร์/เกมออนไลน์ของเด็กและเยาวชนไทยนั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละ 31.9 ระบุพฤติกรรมดังกล่าวถือเป็นปัญหาส่วนตัว ในขณะที่ร้อยละ 31.6 ระบุเป็นปัญหาครอบครัว ร้อยละ 20.5 เป็นปัญหาสังคม ในขณะที่ร้อยละ 18.4 ระบุพฤติกรรมดังกล่าวไม่เป็นปัญหา

สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อปัจจัยสนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมการติดเกมคอมพิวเตอร์/เกมออนไลน์ของเด็กนั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละ 75 ระบุการเล่นเกมทำให้ได้รับความสนุกเพลิดเพลิน รองลงมาคือร้อยละ 69 ระบุพฤติกรรมการเลียนแบบการเล่นตามเพื่อน/เล่นตามแฟชั่น ร้อยละ 48 ระบุความทันสมัยของเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ร้อยละ 41.7 ระบุมีแหล่งให้บริการมากขึ้น และร้อยละ 33.2 ระบุเด็กมีเวลาว่างมากเกินไป ตามลำดับ

ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ ได้แก่ ความเป็นไปได้ของพฤติกรรมการติดเกมคอมพิวเตอร์/เกมออนไลน์ต่อการนำไปสู่การเล่นพนันแบบต่าง ๆ ซึ่งพบว่าตัวอย่างร้อยละ 56.9 ระบุเป็นไปได้ ในขณะที่ร้อยละ 11.1 ระบุเป็นไปไม่ได้ และร้อยละ 32 ไม่ระบุความคิดเห็น

ผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างต่อผลกระทบต่อผู้เล่นเกมคอมพิวเตอร์/เกมออนไลน์นั้นพบว่าตัวอย่างร้อยละ 78.3 ระบุการเล่นเกมจะทำให้มีปัญหาทางด้านสายตาเนื่องจากจ้องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ร้อยละ 70.8 ระบุสิ้นเปลืองทั้งเงินและเวลา ร้อยละ 62.4 ระบุไม่มีเวลาทบทวนบทเรียน ทำให้ผลการเรียนลดลง ร้อยละ 51.6 ระบุร่างกายไม่แข็งแรงเพราะพักผ่อนไม่เพียงพอ/หรือไม่ได้ออกกำลังกาย และร้อยละ 37.5 ระบุมีพฤติกรรมและอารมณ์ที่ก้าวร้าว/รุนแรงขึ้น ตามลำดับ

ประเด็นสำคัญสุดท้ายคือความคิดเห็นของตัวอย่างต่อรัฐบาลในการดำเนินการแก้ไขปัญหาเกมออนไลน์มอมเมาเด็กและเยาวชน ซึ่งพบว่าตัวอย่างร้อยละ 80.2 ระบุอยากให้รัฐบาลออกมาตรการควบคุมให้ร้านคอมพิวเตอร์เปิด-ปิดเป็นเวลา ร้อยละ 55.4 ระบุจัดระเบียบเกมออนไลน์/เว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม ร้อยละ 46.3 ระบุรณรงค์ส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัว พ่อแม่/ผู้ปกครอง/บุตรหลานทำกิจกรรมร่วมกันมากขึ้น ร้อยละ 43.4 ระบุให้มีเจ้าหน้าที่รัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงและมีอำนาจสามารถจับกุมผู้ที่ทำผิดระเบียบได้ และร้อยละ 41.7 ระบุเร่งดำเนินมาตรการในการปราบปรามเกมออนไลน์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม ตามลำดับ.-สำนักข่าวไทย


SmileySmileySmileySmileySmileySmileySmileySmiley






Free TextEditor


Create Date : 14 กันยายน 2551
Last Update : 15 กันยายน 2551 19:02:00 น. 3 comments
Counter : 671 Pageviews.  
 
 
 
 
เป็นข้อมูลที่น่าสนใจมากค่ะ
 
 

โดย: Janey (Cha-Ross ) วันที่: 14 กันยายน 2551 เวลา:20:29:17 น.  

 
 
 


//www.thaiadpoint.com/?ref=305213

หางานทำครับ กดเลย
ไดเเงนจิงๆๆ รอง
ดูครับ ไม่เสียหาย อะไร
 
 

โดย: อาทครับ IP: 114.128.5.21 วันที่: 13 มีนาคม 2552 เวลา:11:32:35 น.  

 
 
 
ดีมากเลย กำลังหาอยู่พอดีครับ
 
 

โดย: piriya IP: 118.172.33.159 วันที่: 12 เมษายน 2552 เวลา:14:59:15 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

Cha-Ross
 
Location :
ปัตตานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




[Add Cha-Ross's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com