บ้านเลขที่ 23 บ้านนี้มี ... รัก จ้่่่าาาา่่ืาาา
Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
25 กรกฏาคม 2551
 
All Blogs
 

โรคกรดไหลย้อน(GERD)

โรคกรดไหลย้อน (Gastro-Esophageal Reflux Disease –GERD)


โรคนี้อาจฟังดูแปลกหู แต่สำหรับคนเมืองที่ต้องใช้ชีวิตแข่งกับความรีบเร่งจนทำให้เวลาที่มีอยู่แม้กระทั่งรับประทานก็พลอยรีบเร่งไปด้วย ซ้ำความเครียดยังรุมเร้าอยู่ตลอดเวลา สุดท้ายสุขภาพก็ย่ำแย่จนเกิดโรคที่ไม่คาดคิดอย่างโรคกรดไหลย้อนขึ้น

ทำไมกรดจึงไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน เป็นโรคที่มักเกิดขึ้นกับหนุ่มสาววัยทำงาน เกิดจากการไหลย้อนกลับของกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในเวลากลางวันหรือกลางคืน หรือแม้แต่ผู้ป่วยไม่ได้รับประทานอาหารก็ตาม ทำให้เกิดอาการจากการระคายเคืองของกรด เช่น อาจทำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบและมีแผล หรือ หลอดอาหารอักเสบโดยไม่เกิดแผล หรือถ้ากรดไหลย้อนขึ้นมาเหนือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบน อาจทำให้เกิดอาการนอกหลอดอาหาร เช่น อาการทางปอด หรืออาการทางคอและกล่องเสียง
โดยปกติร่างกายจะมีกลไกป้องกันไม่ให้เกิดภาวะไหลย้อนกลับของกรดในกระเพาะอาหารขึ้นไปในระบบทางเดินอาหารส่วนบน เช่น การบีบตัวของหลอดอาหาร การทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบนและส่วนล่าง เยื่อบุของหลอดอาหารมีกลไกป้องกันการทำลายจากกรด
การที่เกิดโรคกรดไหลย้อนนั้นเชื่อว่าเกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างมีการคลายตัวอย่างผิดปกติ ทำให้มีการไหลย้อนกลับของกรดขึ้นไปในหลอดอาหารได้ง่าย โดยปกติถ้ากรดไหลย้อนขึ้นไปในคอหอย จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบนหดตัว ป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนกลับขึ้นไป ผู้ป่วยที่เป็นโรคกรดไหลย้อนนั้นเชื่อว่า มีการทำงานของระบบป้องกันดังกล่าวเสียไป จึงมีกรดไหลย้อนขึ้นไปในคอหอย กล่องเสียง และปอดได้

ใครที่เสี่ยงต่อกรดไหลย้อน

มีวิธีสังเกตตัวเองว่าเป็นโรคนี้หรือไม่ โดย...

1. อาการทางคอหอยและหลอดอาหาร
อาจมีอาการปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่ บางครั้งอาจร้าวไปบริเวณคอได้ รู้สึกคล้ายมีก้อนอยู่ในคอกลืนลำบาก หรือกลืนเจ็บ เจ็บคอ หรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้ารู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก มีเสมหะอยู่ในลำคอ หรือระคายคอตลอดเวลา เรอบ่อย คลื่นไส้ รู้สึกจุกแน่นอยู่ในหน้าอกคล้ายอาหารไม่ย่อย

2. อาการทางกล่องเสียงและปอด
อาจมีเสียงแหบเรื้อรัง หรือแหบเฉพาะตอนเช้า หรือมีเสียงผิดปกติไปจากเดิม ไอเรื้องรัง ไอหรือรู้สึกสำลักในเวลากลางคืน กระแอมไอบ่อย เจ็บหน้าอก เป็นโรคปอดอักเสบ เป็นๆหายๆ อาการหอบหืดที่เคยเป็นอยู่ ( ถ้ามี ) ก็จะแย่ลง

คำแนะนำการรักษากรดไหลย้อน

1. ปรับเปลี่ยนนิสัย และการดำเนินชีวิตประจำวัน การรักษาวิธีนี้มีความสำคัญมากโดยจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการน้อยลง ป้องกันไม่ให้เกิดอาการ และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร และป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนกลับขึ้นไปในระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจส่วนบนมากขึ้น ที่สำคัญการรักษาด้วยวิธีนี้ ควรทำอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต แม้ว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นหรือหายดีแล้วโดยไม่ต้องรับประทานยาแล้วก็ตาม

นิสัยส่วนตัว
- ถ้าเป็นไปได้ ควรพยายามลดน้ำหนัก ถ้าน้ำหนักเกิน เนื่องจากภาวะน้ำหนักเกินจะทำให้ความดันในช่องท้องมากขึ้น ทำให้กรดไหลย้อนได้มากขึ้น
- พยายามหลีกเลี่ยงอย่าให้เครียด และถ้าสูบบุหรี่อยู่ควรเลิก เพราะความเครียดและการสูบบุหรี่ที่ทำให้เกิดการหลั่งกรดมากขึ้น ถ้าไม่เคยสูบบุหรี่ ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือควันบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่คับเกินไป โดยเฉพาะบริเวณรอบเอว

นิสัยในการรับประทาน
- หลังจากการรับประทานอาหารทันที พยายามหลีกเลี่ยงการนอนราบ การออกกำลังกาย ยกน้ำหนัก เอี้ยวหรือก้มตัว
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อดึก และไม่ควรรับประทานอาหารใดๆอย่างน้อยภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมงก่อนนอน
- พยายามรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ และพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยการทอด อาหารมัน พืชผักบางชนิด เช่น หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ ฟาสต์ฟูด ช็อกโกแลต ถั่ว ลูกอม สะระแหน่ เนย ไข่ นม หรือ อาหารหวานจัด เป็นต้น
- รับประทานอาหารปริมาณพอดีในแต่ละมื้อ ไม่ควรรับประทานอาหารมากเกินไป ควรรับประทานอาหารปริมาณทีละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มบางประเภท เช่น กาแฟ (แม้จะเป็นกาแฟที่ไม่มีคาเฟอีนก็ตาม) ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ วิสกี้ ไวน์ โดยเฉพาะในตอนเย็น

นิสัยในการนอน
- ถ้าจะนอนหลังรับประทานอาหาร ควรรอประมาณ 3 ชั่วโมง
- เวลานอน ควรหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้นประมาณ 6 – 10 นิ้วจากพื้นราบ โดยใช้วัสดุรองขาเตียง เช่น ไม้ อิฐ อย่ายกศีรษะให้สูงขึ้นโดยการใช้หมอนรองศีรษะ เพราะจะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มสูงขึ้น

2. รับประทานยา เพื่อลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหารและ/หรือเพิ่มการเคลื่อนตัวของระบบทางเดินอาหารในการกำจัดกรด ปัจจุบันยาลดกรดกลุ่ม proton pump inhibitor เป็นยาที่สามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้ดี สามารถเห็นผลการรักษาเร็ว ควรรับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ไม่ควรลดขนาดยา หรือหยุดยาเอง นอกจากแพทย์แนะนำและควรมาพบแพทย์ตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
ผู้ป่วยบางรายอาจใช้เวลานานประมาณ 1 – 3 เดือน กว่าที่อาการต่างๆจะดีขึ้น ดังนั้นอาการต่างๆอาจไม่ดีขึ้นเร็ว ต้องใช้เวลาในการหาย เมื่ออาการต่างๆดีขึ้น และผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนนิสัยและการดำเนินชีวิตประจำวันข้างต้นดังกล่าวได้ และได้รับประทานยาต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 – 3 เดือนแล้ว แพทย์จะปรับลดขนาดยาลงเรื่อยๆทีละน้อย ที่สำคัญไม่ควรซื้อยารับประทานเองเวลาป่วย เนื่องจากยาบางชนิดจะทำให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดเพิ่มขึ้น หรือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัวมากขึ้น พบว่าประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วยที่มีอาการของโรคกรดไหลย้อนสามารถควบคุมอาการได้ด้วยยา

3. การผ่าตัด เพื่อป้องกันไม่ให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหารส่วนบน การรักษาด้วยวิธีนี้จะทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ซึ่งให้การรักษาด้วยยาแล้วไม่ดีขึ้นหรือไม่สามารถรับประทานยาที่ใช้ในการรักษาภาวะนี้ได้ หรือผู้ป่วยที่ดีขึ้นหลังจากการใช้ยา แต่ไม่ต้องการที่จะรับประทานยาต่อ ซึ่งผู้ป่วยที่ต้องทำการผ่าตัดมีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น




 

Create Date : 25 กรกฎาคม 2551
11 comments
Last Update : 25 กรกฎาคม 2551 16:13:20 น.
Counter : 985 Pageviews.

 

เยี่ยมมากครับ

 

โดย: ปิ่นโต IP: 222.123.114.80 20 สิงหาคม 2551 21:25:02 น.  

 

เธ‚เธญเธšเธ„เธธเธ“เธชเธณเธซเธฃเธฑเธšเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰เธ”เธต เน† เธ„เนŠเธฐ

 

โดย: เธž IP: 218.189.68.68 25 พฤศจิกายน 2551 12:16:09 น.  

 

ขอ
ขอบ
คุณ
มาก
ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
น่ะ
ค่ะ

 

โดย: พลอย IP: 61.19.50.9 27 มกราคม 2552 8:42:25 น.  

 

หนูเป็นอยู่ค่ะ
ทรมาณมากๆๆหายใจไม่ออกแน่นหน้าอกมาก
ต้องไปหาหมดฉีดยาเกือบทุกวัน
พอกินข้าวเสร็จมันเป็นเลยค่ะ
ขนาดลดปริมาณข้าวลงตั้งเยอะ
ยังเป็นอยู่เลย

 

โดย: เปรี้ยว IP: 125.27.66.175 4 กุมภาพันธ์ 2552 12:26:12 น.  

 

อยากทราบว่า มีอาหารใดบ้างที่ช่วยให้อาการดีขึ้น
และอีกอย่างคือ การดื่มน้ำผลไม้ช่วยให้ดีขึ้นหรือว่าส่งผลมากขึ้นครับ(น้ำผลไม้ที่มีขายทั่วไป)
ขอข้อมูลด้วยนะครับ

 

โดย: วิรัช IP: 124.121.9.250 24 กุมภาพันธ์ 2552 22:39:28 น.  

 

แล้วกระเทียมนี้ ตกลงกินได้หรือไม่ได้ค๊ะ?

บางที่ก็บอกว่ากินแล้วดีอ่ะค่ะ

 

โดย: ayye IP: 125.25.249.147 10 มีนาคม 2552 22:35:43 น.  

 

ขอบคุณครับ

 

โดย: Dome IP: 203.146.222.67 27 พฤษภาคม 2552 13:16:52 น.  

 

ขอบคุณมากๆครับ เป็นประโยชน์มากจริงๆ

 

โดย: deen IP: 118.173.190.2 20 กรกฎาคม 2552 20:00:47 น.  

 

my doctor said do not drink juice if u have this

 

โดย: lll IP: 110.169.25.130 5 กันยายน 2552 20:48:00 น.  

 

แต่ยังไม่เคยรู้ว่าที่เป็นตอนหลับแล้วต้องลุกมากินยาลดกรดตอนตีสามเนื่องจากมีอาการทั้งจุก แสบท้อง ปวดที่หลังจนเหมือนคนอดนอน

 

โดย: นร IP: 61.7.155.218 8 ตุลาคม 2552 20:43:16 น.  

 

ตอนนี้เป็นอยู่ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดี ๆ มากค่ะ

 

โดย: น้อย IP: 116.68.154.58 29 ตุลาคม 2552 16:52:20 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


nainue
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add nainue's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.