. . . ความทรงจำ บางครั้งบางเบา เหมือนเงาสลัวหม่น . ! ^ _ ^
Group Blog
 
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
4 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
ครบรอบ 25 ปีของบัคกี้บอล









นักดาราศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์
ได้ค้นพบโมเลกุลคาร์บอนที่เรียกว่า
บัคกี้บอล(buckyballs)
ในอวกาศเป็นครั้งแรก





บัคกี้บอล
เป็นโมเลกุลที่มีรูปร่างคล้ายลูกบอล
ซึ่งถูกสำรวจพบเป็นครั้งแรกในห้องทดลอง
เมื่อ 25 ปีก่อน
มันได้ชื่อเช่นนั้น
เนื่องจากลักษณะที่คล้ายกับ
โดมจีโอเดสิก(geodesic domes)
ของสถาปนิก Buckminster Fuller
ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อบนพื้นผิว
ของทรงกลมบางส่วน
มีแนวคิดว่าบัคกี้บอลล่องลอยอยู่ทั่วไปในอวกาศ
แต่พวกมันเพิ่งถูกตรวจพบในคราวนี้นี่เอง


Jan Cami
จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ออนตาริโอ แคนาดา
และสถาบันเซติ ในเมาน์เทนวิว แคลิฟอร์เนีย
กล่าวว่า เราพบสิ่งที่ขณะนี้เป็นโมเลกุลที่ใหญ่
ที่สุดเท่าที่เคยพบในอวกาศมา
เราตื่นเต้นเป็นอย่างมากเนื่องจาก
มันมีคุณสมบัติที่เป็นอัตลักษณ์ซึ่งทำให้
พวกมันมีบทบาทสำคัญทั้งกระบวนการ
ทางกายภาพและเคมีที่เกิดขึ้นในอวกาศ


บัคกี้บอลเกิดขึ้นจาก
อะตอมของคาร์บอน 60 อะตอม
เรียงตัวเป็นโครงสร้างทรงกลมสามมิติ
มีขนาดประมาณ 1 นาโนเมตร
(หรือใหญ่กว่าโมเลกุลของน้ำประมาณสามเท่า)
รูปแบบที่เป็นห้าเหลี่ยมและหกเหลี่ยมสอดคล้อง
กับตำแหน่งขาวดำบนลูกฟุตบอล
ทีมวิจัยยังได้พบบัคกี้บอลที่มีรูปร่าง
ค่อนข้างรี ที่เรียกว่า C70 เป็นครั้งแรกด้วย
โมเลกุลเหล่านี้ประกอบด้วยอะตอมคาร์บอน 70
อะตอมและมีรูปร่างที่คล้ายลูกรักบี้
โดยรวมแล้วโมเลกุลทั้งสองชนิด
มีอยู่ประมาณ 3% ของปริมาณคาร์บอน
ที่พบรอบดาว ทั้งสองจัดอยู่ในกลุ่มที่เรียก
อย่างเป็นทางการว่า บัคมินสเตอร์ฟูลเลอรีน
(buckminsterfullerenes) หรือ ฟูลเลอรีน
ในห้องทดลองบัคกี้บอลผลิตขึ้นโดย
การระเหยกราไฟต์ในฮีเลียม

บัคกี้บอลถูกพบในเมฆเหล่านี้
บางทีอาจจะสะท้อนถึงช่วงเวลาสั้นๆ
ในชีวิตดาว Tc1 ประกอบด้วยสิ่งที่
เรียกว่า asymptotic giant branch(AGB) star
บริเวณด้านในของดาวเหล่านี้จะกลาย
เป็นดาวมืดที่หนาแน่นซึ่งเรียกว่าดาวแคระขาว
ขณะนี้เปลือกรอบนอกจะสลัดทิ้งไป
เมฆของวัสดุสารจะมีปฏิกิริยาเคมี
และกลายเป็นไอออนโดยการ
แผ่รังสีจากดาวแคระขาวภายใน


โดยปกติเนบิวลารอบๆ AGB
จะมีไฮโดรเจนซึ่งระงับปฏิกิริยาที่สร้างฟูลเลอรีน
และยังปกปิดสัญญาณใดๆ
จากโมเลกุลนี้ด้วย นักวิจัยคิดว่า C60
และ C70 ก่อตัวขึ้นบนเม็ดเถ้าฝุ่น
เนื่องจากเนบิวลา Tc1 ขาดแคลนก๊าซไฮโดรเจน
นักดาราศาสตร์ใช้เครื่องมือตรวจสอบสเปคตรัม
ของสปิตเซอร์เพื่อวิเคราะห์แสง
อินฟราเรดจากเนบิวลาดาวเคราะห์
และเห็นสัญญาณสเปคตรัมของบัคกี้บอล
โมเลกุลเหล่านี้มีอุณหภูมิประมาณอุณหภูมิห้อง
ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ดีเยี่ยมซึ่ง
ะให้รูปแบบแสงอินฟราเรดลักษณะเฉพาะที่
สปิตเซอร์สามารถตรวจจับได้
จากอุณหภูมินักวิจัยประเมินว่าโมเลกุล
ก่อตัวขึ้นภายในช่วงร้อยปีนี้
Cami บอกว่าสปิตเซอร์มองไปถูกที่ถูกเวลา
ในอีกร้อยปีข้างหน้า
บัคกี้บอลอาจจะเย็นเกินกว่าจะตรวจจับได้


ในปี 1970 Eiji Osawa
ศาสตราจารย์ชาวญี่ปุ่น
ได้ทำนายการมีอยู่ของบัคกี้บอล
แต่กว่าจะค้นพบก็กระทั่งปี 1985
นักวิจัยจำลองสภาพในชั้นบรรยากาศ
ของดาวฤกษ์ยักษ์อายุมากที่เต็มไปด้วย
คาร์บอน ซึ่งได้ตรวจพบโซ่ของคาร์บอน
น่าประหลาดใจที่ผลการทดลองเหล่านี้
บอกถึงการก่อตัว
ของบัคมินสเตอร์ฟูลเลอรีนจำนวนมาก
โมเลกุลยังถูกพบบนโลกในเขม่าเทียนไข,
ชั้นหิน และอุกกาบาต

แหล่งที่มา:
astronomy.com : NASA telescope finds elusive buckyballs in space for first time

space.com : astronomers find largest molecules ever known in space



อันนี้หนีใด้

ลี้ภัยสีฟ้า
นักวิจัยได้พบดาวที่กำลังวิ่งหนีออกจาก
กาแลคซีดวงหนึ่ง
และตัวมันเองก็ยังมีความประหลาดในตัวด้วย





เมื่อร้อยล้านปีก่อน
ระบบดาวสามดวงระบบหนึ่ง
กำลังเดินทางอยู่ในใจกลางกาแลคซี
ทางช้างเผือกของเรา
ซึ่งมันได้ก้าวพลาดครั้งใหญ่
กลุ่มสามนี้เข้าไปใกล้หลุมดำยักษ์
ของกาแลคซีมากเกินไป
ซึ่งได้จับดาวดวงหนึ่งในนั้นไว้
และส่งอีกสองดวงออกนอกทางช้างเผือก
ดาวที่ย้ายออกทั้งสองได้ควบรวมตัวกัน
กลายเป็นดาวดวงใหม่สีฟ้าที่ร้อนจัดมาก


นักดาราศาสตร์
ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
ของนาซ่าบอกว่ามันน่าจะเป็น
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้มากที่สุด
สำหรับดาวความเร็วสูงมากดวงหนึ่งที่เรียก
กันว่า HE0437-5439
หนึ่งในดาวที่เคลื่อนที่เร็วที่สุดเท่าที่เคยพบมา
มันพุ่งผ่านอวกาศด้วยความเร็ว
2.5 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง
เร็วกว่าที่คาบการโคจรของดวงอาทิตย์
ในทางช้างเผือก 3 เท่า
การสำรวจโดยฮับเบิลได้ยืนยันว่า
ดาวด่วนดวงนี้มาจากแกนกลาง
ของทางช้างเผือก
ทำให้เกิดความสับสนว่ามันมีที่มาจากไหนกันแน่


มีดาวความเร็วสูงมาก 16 ดวง
ซึ่งถูกค้นพบตั้งแต่ปี 2005


ผู้หนีออกจากหลุด ดำ 2














Create Date : 04 กันยายน 2553
Last Update : 7 กันยายน 2553 14:49:34 น. 0 comments
Counter : 1396 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ปู Fullgold
Location :
พระนครศรีอยุธยา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






















Google














~ ยั ง อ า ว ร ณ์ ผู ก พั น

ยั ง มี ฉั น ไ ห ม นี่

ใ น หั ว ใ จ น ะ ค น ดี

ไ ม่ ใ ช่ ที่ ค ว า ม ท ร ง จำ ~



. . ต ะ วั น ธั น ว า . .
Friends' blogs
[Add ปู Fullgold's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.