Group Blog
 
 
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
19 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 
มะเร็งเต้านม

เต้านมแต่ละข้างจะประกอบด้วยระบบของต่อมและท่อน้ำนมราวๆ 15-20 ส่วน มีหน้าที่ผลิตน้ำนมสำหรับเลี้ยงทารก เต้านมมีระบบไหลเวียนโลหิต และระบบน้ำเหลืองซึ่งส่วนใหญ่จะลำเลียงน้ำเหลืองสู่ต่อมน้ำเหลืองโดยเฉพาะบริเวณรักแร้ รวมทั้งบริเวณไหปลาร้าและหน้าอก



มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับแรกๆของมะเร็งในผู้หญิง มะเร็งเต้านมมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในทั้งหญิงและชาย ผู้หญิงที่เสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านม ได้แก่กลุ่มต่อไปนี้

- หญิงสูงอายุ
- มีประจำเดือนตั้งแต่อายุน้อง
- ไม่มีบุตรหรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุมาก
- เคยมีประวัติมะเร็งหรือโรคเกี่ยวกับเต้านม
- มีมารดา พี่สาวหรือน้องสาวที่เป็นมะเร็งเต้านม
- เคยใช้ฮอร์โมน
- ดื่มแอลกอฮอล์

การตรวจมะเร็งเต้านม

1. การตรวจเต้านมด้วยตนเอง เพื่อตรวจดูก้อนหรือสิ่งปกติเบื้องต้น
2. การตรวจเต้านมโดยแพทย์
3. การตรวจ Mammogram เป็นการตรวจเอ็กซเรย์วิธีพิเศษ เพื่อตรวจดูมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม

นอกจากนี้ก็ยังมีการตรวจด้วยวิธีอื่น เช่น Ultrasonogram ในการตรวจวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวกับเต้านมอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะตรวจด้วยวิธี หรือเทคนิคใดก็ย่อมมีโอกาสที่จะมีผลลบเทียมหรือผลบวกเทียมได้ แต่หากตรวจโดยข้อชี้บ่งที่เหมาะสม ก็จะมีผลดีมากกว่าผลเสีย

การตรวจ Mammogram พิจารณาคร่าวๆ จากอายุ ดังนี้

- อายุ 20-39 ปี ยังไม่มีข้อชี้บ่งสำหรับการตรวจแบบคัดกรอง (Screening Mammogram)
- อายุ 20-39 ปี และมีความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมสูง อาจได้ประโยชน์จากการตรวจแบบคัดกรอง(Screening Mammogram) ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
- อายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป ควรตรวจ Mammogram ทุก 1-2 ปี

การเตรียมตัวเพื่อทำ Mammogram

- นำประวัติการรักษาและฟิล์มเอ็กซเรย์เดิมที่เคยทำมาแล้วในคราวก่อนๆมาด้วย
- งดใช้น้ำหอม ครีม แป้ง หรือโลชั่นที่บริเวณรักแร้ แขน เต้านมและหน้าอก

ลักษณะที่อาจตรวจพบจาก Mammogram

- ก้อนที่เต้านม
- หินปูนที่เกาะบริเวณเนื้อเต้านม
- เนื้อเยื่อที่ผิดปกติทั้งรูปร่าง ความทึบ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงจากการตรวจคราวก่อน

สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นข้อมูลที่รังสีแพทย์และศัลยแพทย์จะนำมาใช้เป็นข้อมูลในการวินิจฉัยว่าสิ่งที่ตรวจพบนั้นเป็นมะเร็งหรือไม่

ระยะของมะเร็งเต้านม

- ระยะที่ 1 ก้อนมีขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตร ไม่มีการกระจายไปที่อื่น
- ระยะที่ 2 ก้อนมีขนาดใหญ่กว่า หรือมีการกระจายไปต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้
- ระยะที่ 3 ก้อนมีขนาดใหญ่และกระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ หรือเหนือไหปลาร้า หรือมีการอักเสบของผิวหนังบริเวณเต้านม (Inflammatory Breast Cancer)
- ระยะที่ 4 มีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณอื่น หรืออวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ กระดูก สมอง ปอด เป็นต้น

การรักษา มีทั้งการผ่าตัด การฉายรังสี การให้ยาฉีดและการให้ยากิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะของโรคมะเร็ง

ที่มา : นพ.สมชาติ สิทธิวิจารณ์กิจ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ


มะเร็งในช่องปาก


Create Date : 19 สิงหาคม 2554
Last Update : 19 สิงหาคม 2554 14:25:20 น. 1 comments
Counter : 2715 Pageviews.

 
ขอบคุณคุณหมอมาก ๆ เลยค่ะ ดิฉันเป็นครูสุขศึกษา อยากได้ภาพไว้ประกอบการเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษาค่ะ


โดย: สมจิตร เกิดปรางค์ IP: 101.51.7.67 วันที่: 24 พฤศจิกายน 2554 เวลา:9:53:21 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

MR.ITANRICH
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




ผมเป็นคนไทยที่รักประเทศไทย
Friends' blogs
[Add MR.ITANRICH's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.