Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2557
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
19 มิถุนายน 2557
 
All Blogs
 
ระวัง!! ผมร่วงผิดปกติ สัญญาณเตือนก่อโรค

ผศ.นพ.รัฐพล ตวงทอง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนัง โรงพยาบาลศิริราช และปฏิคมสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวในงาน “ไขปริศนา ปัญหาความงาม” ซึ่งสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ได้จัดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ เกี่ยวกับปัญหาของโรคผมร่วง และผลิตภัณฑ์รักษาผมร่วง ว่า

       เส้นผมบนศีรษะของคนเรานั้นมีประมาณ 100,000 เส้น ซึ่งจะมีอัตราการร่วง เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 100 เส้น ในวันที่ไม่ได้สระผม และมีผมร่วงประมาณไม่เกิน 200 เส้น ในวันที่สระผม

รายงานพิเศษ : ระวัง!! ผมร่วงผิดปกติ สัญญาณเตือนก่อโรค

       ปริมาณที่ร่วงดังกล่าว ถือว่าเป็นเกณฑ์ที่ปกติ สามารถมีผมขึ้นมาทดแทนได้

       แต่การที่จะทราบว่า มีเส้นผมร่วงกี่เส้นต่อวันนั้น วิธีการเก็บนับเส้นผมที่ร่วงก็มีความสำคัญ โดยควรจะเก็บเส้นผมที่ร่วง 5 ครั้งต่อวัน คือ ช่วง เช้า สาย บ่าย เย็น และก่อนนอน

       การเก็บแต่ละครั้งใช้หวี หวีที่ศีรษะ 4 ด้าน แล้วเก็บรวบรวมผม ใส่ถุงพลาสติก ทำอย่างนี้เป็นเวลา 1 อาทิตย์ แล้วมานับหาค่าเฉลี่ยผมที่ร่วงต่อวัน โดยวันใดที่สระผมก็ควรจะสระผม แล้วล้างแชมพูในภาชนะรองรับ เพื่อนับเส้นผมที่ร่วง และจดปริมาณที่ร่วงในวันที่สระผม

       ผศ.นพ.รัฐพล กล่าวว่า เส้นผมเปรียบเสมือนกระจกส่องสุขภาพอย่างหนึ่ง การที่มีผมร่วงผิดปกตินั้น อาจบ่งว่ามีปัญหาทางสุขภาพในระบบใดระบบหนึ่ง เช่น โรคไต โรคตับ โรคโลหิตจาง หรือเป็นปัญหาเฉพาะที่เป็นโรคของเส้นผมและหนังศีรษะก็ได้ เช่น โรคผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมน โรคผมร่วงเป็นหย่อม โรคเชื้อราที่หนังศีรษะ โรคหนังศีรษะอักเสบ โรคผมร่วงแบบมีแผลเป็นต่างๆ

       ดั้งนั้น การที่มีผมร่วงผิดปกติ ก็เปรียบเสมือนสัญญาณเตือนให้พบแพทย์ผิวหนัง เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุและทำการรักษาแต่เนิ่นๆ

       ส่วนในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์รักษาผมร่วง ที่โฆษณาตามสื่อต่างๆ จำเป็นที่จะต้องมีหลายปัจจัยหลัก ในการตัดสินใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น

       1. ผลิตภัณฑ์นั้นได้มาตรฐาน มีการรับรองจากองค์การอาหารและยาหรือไม่ (หรือที่เรียกว่ามี อ.ย.)

       2. การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์นั้นเลือกใช้ได้ถูกต้องกับโรคที่เป็นหรือไม่ ความจริงแล้วอาการผมร่วงนั้นมีมาได้จากหลายสาเหตุ ตัวอย่างเช่น หากผมร่วงจากหนังศีรษะอักเสบ แล้วเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่รักษาโรคผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมน ก็จะรักษาไม่ได้ผล

       3. การใช้ผลิตภัณฑ์นั้นสม่ำเสมอและยาวนานเพียงพอหรือไม่ ตัวอย่างเช่น โรคผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมนเป็นโรคที่ต้องอาศัยการทายารักษาที่สม่ำเสมอ และต่อเนื่องในระยะเวลาเป็นปีๆ

       ดังนั้น การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่รักษาผมร่วงนั้นสามารถทำได้ แต่ถ้าไม่ได้ผลในการรักษาอย่างที่ต้องการ ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อทำการตรวจรักษาต่อไป

       (จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 162 มิถุนายน 2557 โดย กองบรรณาธิการ)



Create Date : 19 มิถุนายน 2557
Last Update : 19 มิถุนายน 2557 19:51:41 น. 0 comments
Counter : 2117 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

MR.ITANRICH
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




ผมเป็นคนไทยที่รักประเทศไทย
Friends' blogs
[Add MR.ITANRICH's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.