Group Blog
 
<<
กันยายน 2549
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
19 กันยายน 2549
 
All Blogs
 

>>เรื่องของดอกไม้<<

>>เรื่องของดอกไม้<<











 

Create Date : 19 กันยายน 2549
13 comments
Last Update : 19 กันยายน 2549 17:21:32 น.
Counter : 579 Pageviews.

 

สวยจัง
กลีบดอก บอบบาง น่าหลงใหล
แสง สี ส่อง กลิ่น กลีบ ก้าน ใบ
ดึงดูด จุดประกาย ไฟ (อยากถ่ายรูป) ลุก โพลง

กลอนอาจฟังแม่ง ๆ นะ
เพราะพอเห็นภาพ อารมณ์มันก็พาไป
ไม่ได้ขัดเกลา

 

โดย: แร่ใยหิน 19 กันยายน 2549 19:56:59 น.  

 

สวยอ่า ไปถ่ายมาตั้งกระมะไหร่อ่า

 

โดย: กึ่งอัตโนมัติ (กึ่งอัตโนมัติ ) 21 กันยายน 2549 14:10:59 น.  

 

Hello from Indonesia. Nice blog. Please visit and comment my blog. Thx friend.

 

โดย: Iwan IP: 219.83.112.194 30 กันยายน 2549 16:53:52 น.  

 

at avada-kadavra.blogspot.com

 

โดย: Iwan IP: 219.83.112.194 30 กันยายน 2549 16:55:01 น.  

 

วันเกิดเปล่าคะ... มีความสุขมากๆนะ

ผ่านมาอวยพร

 

โดย: Mocha Macchiato 27 ตุลาคม 2549 2:03:33 น.  

 

Happy Birthday คร๊าบ

ขอให้มีความสุขมากๆ ในปีนี้นะคร๊าบ

 

โดย: Chopin's Family (nutuang ) 27 ตุลาคม 2549 8:02:26 น.  

 

สวยจังค่ะ โดยเฉพาะรูปดอกทานตะวันอ่ะ ^ ^ ชอบ ๆ

 

โดย: varissaporn327 27 ตุลาคม 2549 12:56:06 น.  

 

 

โดย: Oranje 27 ตุลาคม 2549 13:50:56 น.  

 


หนู"น้องมีโอ" ผม"น้องชีโน่ หรือคาปูชีโน่ หรือนายดำเกิง"ครับ พวกเรามาอวยพรวันเกิด

ขอให้มีความสุขมากๆ

พวกหนูมาชวนไปเที่ยวที่"หมู่บ้านบางคอทู่" ด้วยนะค่ะ

 

โดย: ป้าหู้เองค่ะ (fifty-four ) 27 ตุลาคม 2549 18:21:53 น.  

 

ขอให้มี

ความสุข

ในวัน

คล้าย

วันเกิดครับ




 

โดย: somnumberone 27 ตุลาคม 2549 21:47:05 น.  

 

H B D แฮปปี้เบิร์ดเดย์ครับ

 

โดย: Matt (everything on ) 29 ตุลาคม 2549 7:30:44 น.  

 

พระไตรปิฎก
เป็นคัมภีร์หรือตำราทางพระพุทธศาสนา ซึ่งรวบรวมคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า ไว้เป็นหมวดหมู่ แบ่งออกเป็น 3 ปิฎก ด้วยกันคือ
1. พระวินัยปิฎก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของ ภิกษุและภิกษุณี
2. พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาโดยทั่วไป มีประวัติและท้องเรื่องประกอบ
3. พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยธรรมะล้วน ไม่มีประวัติ และท้องเรื่องประกอบ
แผนผังพระไตรปิฎก
พระวินัยปิฎก มีอยู่ 5 หมวดด้วยกันคือ
1. มหาวิภังค์ ว่าด้วยข้อห้าม หรือวินัยที่เป็นหลักใหญ่ ๆ ของพระภิกษุ เป็นศีลของภิกษุที่มาในปาติโมกข์
2. ภิกษุณีวิภังค์ ว่าด้วยข้อห้าม หรือวินัย ของพระภิกษุณี
3. มหาวัคค์ ว่าด้วยพุทธประวัติตอนแรก และพิธีกรรมทางพระวินัย แบ่งออกเป็นขันธกะ
10 หมวด
4. จุลลวัคค์ ว่าด้วยพิธีกรรมทางพระวินัย ความเป็นมาของพระภิกษุณี และประวัติการทำสังคายนา แบ่งออกเป็นขันธกะ 12 หมวด
5. บริวาร ว่าด้วยข้อเบ็ดเตล็ดทางพระวินัย เป็นการย่อหัวข้อสรุปเนื้อความ วินิจฉัยปัญหาใน 4 เรื่องข้างต้น
พระสุตตันตปิฎก มีอยู่ 5 หมวดด้วยกันคือ
1. ทีฆนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาขนาดยาว มี 34 สูตร
2. มัชฌิมนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาขนาดกลาง ไม่ยาวและไม่สั้นเกินไป
มี 152 สูตร
3. สังยุตตนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนา ที่ประมวลธรรมะไว้เป็นพวก ๆ เรียกว่า สังยุต เช่นกัสสปสังยุต ว่าด้วยเรื่องของพระมหากัสสป โกศลสังยุต ว่าด้วยเรื่องในแคว้นโกศล มัคคสังยุต ว่าด้วยเรื่องมรรคคือข้อปฎิบัติ เป็นต้น มี 7,762 สูตร
4. อังคุตตรนิกาย ว่าพระพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาเป็นข้อ ๆ ตามลำดับจำนวน เช่น ธรรมะหมวด 1 ธรรมะหมวด 2 ธรรมะหมวด 10 แต่ละข้อก็มีจำนวนธรรมะ 1, 2, 10 ตามหมวดนั้น
มี 9,557 สูตร
5. ขุททกนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาเบ็ดเตล็ด รวมทั้งภาษิตของพระสาวก ประวัติต่าง ๆ และชาดก รวบรวมหัวข้อธรรมที่ไม่จัดเข้าใน 4 หมวดข้างต้น แบ่งเป็นหัวข้อใหญ่มี 15 เรื่อง
พระอภิธรรมปิฎก แบ่งออกเป็น 7 เรื่องด้วยกันคือ
1. ธัมมสังคณี ว่าด้วยธรรมะ รวมเป็นหมวดเป็นกลุ่ม
2. วิภังค์ ว่าด้วยธรรมะแยกเป็นข้อ ๆ
3. ธาตุกถา ว่าด้วยธรรมะจัดระเบียบความสำคัญโดยถือธาตุเป็นหลัก
4. ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยบัญญัติ 6 ชนิด และแสดงรายละเอียดเฉพาะบัญญัติอันเกี่ยวกับบุคคล
5. กถาวัตถุ ว่าด้วยคำถามคำตอบในหลักธรรม จำนวนหนึ่งประมาณ 219 หัวข้อ เพื่อถือเป็นหลักในการตัดสินพระธรรม
6. ยมก ว่าด้วยธรรมะที่รวมเป็นคู่ ๆ
7. ปัฏฐาน ว่าด้วยปัจจัย คือสิ่งที่เกื้อกูลสนับสนุน 24 อย่าง
ความเป็นมาของพระไตรปิฎก
1. พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย สมัยเมื่อนิครนถ์ นาฎบุตร เจ้าลัทธิสำคัญคนหนึ่งสิ้นชีพ พวกสาวกเกิดแตกกัน พระจุนทเถระเกรงจะเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ในพระพุทธศาสนา จึงพร้อมกับพระอานนท์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงตรัสบอกพระจุนทะ ให้รวบรวมธรรมภาษิตของพระองค์ และทำสังคายนา คือจัดระเบียบทั้งโดยอรรถและพยัญชนะ เพื่อให้พรหมจรรย์ตั้งมั่นต่อไป
2. พระสารีบุตรแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย ในห้วงเวลาเดียวกันนั้น ค่ำวันหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคแสดงธรรมจบแล้ว ได้มอบหมายให้พระสารีบุตรแสดงธรรมต่อ พระสารีบุตรได้แนะนำให้รวบรวม ร้อยกรองพระธรรมวินัย โดยจัดหมู่ธรรมะเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 10 ว่ามีธรรมะใดบ้างอยู่ในหมวดนั้น ๆ พระผู้มีพระภาคทรงรับรองว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เห็นว่าบรรดาพระภิกษุทั้งหลายยังใคร่จะฟังธรรมต่อไปอีก พระองค์จึงได้มอบหมายให้พระสารีบุตร แสดงธรรมแทน พระสารีบุตรได้ แนะนำให้รวบรวมร้อยกรองพระธรรมวินัย โดยจัดหมวดหมู่ธรรมะเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๑๐ ว่ามีธรรมะใดบ้างอยู่หมวด ๑ หมวด ๒ จนถึงหมวด ๑๐ ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงรับรองว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง
3. พระมหากัสสป เป็นผู้ริเริ่มให้มีการสังคายนา จัดระเบียบพระพุทธวจนะให้เป็นหมวดหมู่
4. พระอานนท์ เป็นผู้ที่ทรงจำพระพุทธวรนะไว้ได้มาก เป็นพุทธอุปฐาก ได้ขอพร หรือขอรับเงื่อนไขจาก พระพุทธเจ้า 8 ประการ ในเงื่อนไขประการที่ 7 และประการที่ 8 มีส่วนช่วยในการ สังคายนาพระธรรมวินัยมาก กล่าวคือ
ประการที่ 7 ถ้าความสงสัยของข้าพระองค์เกิดขึ้นเมื่อใด ขอให้ได้เข้าเฝ้าทูลถามเมื่อนั้น
ประการที่ 8 ถ้าพระองค์แสดงข้อความอันใด ในที่ลับหลังข้าพระองค์ ครั้นเสด็จมาแล้ว จักตรัสบอกข้อความอันนั้น แก่ข้าพระองค์
ทั้งนี้โดยเฉพาะประการที่ 8 อันเป็นข้อสุดท้ายมีเหตุผลว่า ถ้ามีใครถามท่านในที่ลับหลัง พระพุทธเจ้าว่า คาถานี้ สูตรนี้ ชาดกนี้ พระผู้มีพระภาดแสดงที่ไหน ถ้าพระอานนท์ตอบไม่ได้ ก็จะมีผู้กล่าวว่า พระอานนท์ตามเสด็จพระศาสดาไปดุจเงาตามตัว แม้เพียงเรื่องเท่านี้ก็ไม่รู้
ดังนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระอานนท์จึงได้รับหน้าที่ตอบคำถามเกี่ยวกับพระธรรม ในคราวสังคายนาครั้งแรก หลังพุทธปรินิพพาน 3 เดือน
ในสมัยที่ยังไม่มีการจดจารึกเรื่องราวไว้ เป็นตัวอักษรอย่างกว้างขวางเช่นในปัจจุบัน มนุษย์จึงต้องอาศัยความจำเป็นเครื่องสำคัญ ในการบันทึกเรื่องราวนั้น ๆ ไว้ แล้วบอกเล่าต่อ ๆ กันมา การทรงจำและบอกต่อ ๆ กันมาด้วยปากนี้ เรียกว่า มุขปาฐะ
5. พระอุบาลี เป็นผู้ที่สนใจและจดจำพระธรรมพระวินัยได้เป็นพิเศษ มีความเชี่ยวชาญใน พระวินัย ในการทำสังคายนาครั้งแรก พระอุบาลีได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบคำถามเกี่ยวกับ พระวินัยปิฎก
6. พระโสณกุฎิกัณณะ เป็นผู้ที่ทรงจำได้ดีมาก เคยท่องจำบางส่วนของ พระสุตตันตปิฎก เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ได้รับสรรเสริญว่าทรงจำได้ดีมาก รวมทั้งท่วงทำนองในการกล่าว ว่าไพเราะ สละสลวย แสดงให้เห็นถึง การท่องจำพระธรรมวินัย ได้มีมาตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้า
การสังคายนาพระไตรปิฎก
พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ สมัยเมื่อใกล้จะปรินิพพานว่า ธรรมวินัยที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว
ตามหลักฐานของพระเถระฝ่ายไทย กล่าวว่า การสังคายนามี 9 ครั้ง
การสังคายนาครั้งที่ 1 กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างเขาเวภารบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์ ประเทศอินเดียปัจจุบัน กระทำหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือน มีพระอรหันต์ประชุมกัน 500 รูป พระมหากัสสปเป็นประธานและเป็นผู้สอบถาม พระอานนท์เป็นผู้ตอบข้อซักถามทางพระธรรม พระอุบาลี เป็นผู้ตอบข้อซักถามทางพระวินัย พระเจ้าอชาติศัตรูเป็นผู้อุปถัมภ์ กระทำอยู่ 7 เดือน จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้มีปรากฎอยู่ในพระวินัยปิฎก
การสังคายนาครั้งที่ 2 กระทำที่วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ประเทศอินเดียปัจจุบัน กระทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 100 ปี มีพระสงฆ์ประชุมกัน 700 รูป พระยสะ กากัณฑกบุตร เป็นผู้ชักชวน พร้อมพระผู้ใหญ่อีก 8 รูป พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเป็นผู้ตอบปัญหาทางพระวินัย ที่เกิดขึ้น กระทำอยู่ 8 เดือน จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้ มีปรากฎในพระวินัยปิฎก
การสังคายนาครั้งที่ 3 กระทำที่อโศการาม กรุงปาตลีบุตร ประเทศอินเดีย กระทำเมื่อ พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว 235 ปี มีพระสงฆ์ประชุมกัน 1,000 รูป พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ เป็นหัวหน้า พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นผู้อุปถัมภ์ กระทำอยู่ 9 เดือน จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคลีบุตรได้แต่งกถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์ในพระอภิธรรมเพิ่มขึ้น เมื่อทำสังคายนาเสร็จแล้วได้ส่ง คณะทูต ไปประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ พระมหินทเถระได้นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานในลังกา
การสังคายนาครั้งที่ 4 กระทำที่อินเดียภาคเหนือ ณ เมืองชาลันทร แต่บางหลักฐานก็ว่า กระทำที่เมืองกาษมีระหรือแคชเมียร์ ภิกษุที่เข้าประชุมมีทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน กระทำเมื่อ พ.ศ. 643 มีกษัตริย์ประเทศราชมาร่วม 21 พระองค์ มีทั้งพระสงฆ์ผู้คงแก่เรียนและพราหมณ์ผู้ทรงความรู้ประชุมกัน การสังคายนาครั้งนี้จึงมีลักษณะผสมคือ มีทั้งพุทธและพราหมณ์ ภาษาที่ใช้สำหรับพระไตรปิฎกไม่เหมือนกัน คือฝ่ายเถรวาทใช้ภาษาบาลี ฝ่ายมหายานใช้ภาษาสังสฤต (บางครั้งก็ปนปรากิต) การสังคายนาครั้งนี้ ไม่มีบันทึกหลักฐานทางฝ่ายเถรวาท
การนับสังคายนาของไทย
ไทยเรายอมรับรองการสังคายนาครั้งที่ 1,2 และ 3 ในอินเดีย และครั้งที่ 1, 2, 3 และ 4 ในลังกา ซึ่งกระทำเมื่อ พ.ศ. 238, พ.ศ. 433, พ.ศ. 956 และ พ.ศ. 1587 รวมกันเป็น 7 ครั้ง
การสังคายนาครั้งที่ 8 ทำในประเทศไทย เมื่อประมาณ พ.ศ. 2020 พระเจ้าติโลกราช
แห่งเชียงใหม่ได้อาราธนาพระภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎกหลายร้อยรูปช่วยกันชำระพระไตรปิฎกที่วัดโพธาราม ใช้เวลา 1 ปี จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 1 ในประเทศไทย
การสังคายนาครั้งที่ 9 ทำในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2331 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ได้ทรงอาราธนาพระสงฆ์ให้ชำระพระไตรปิฎก มีพระสงฆ์ 218 รูป กับราชบัณฑิตาจารย์อุบาสก 32 คน ช่วยกันชำระพระไตรปิฎก แล้วจารึกลงในใบลาน แล้วเสร็จใน 5 เดือน นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 2 ในประเทศไทย
การชำระและจารึกกับการพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศไทย
สมัยที่ ๑ ชำระและจารลงในใบลาน กระทำที่เมืองเชียงใหม่ สมัยพระเจ้าติโลกราช ประมาณ พ.ศ. ๒๐๒๐ ตัวอักษรที่ใช้ในการจารึก คงเป็นอักษรแบบไทยล้านนา ซึ่งคล้ายกับอักษรพม่า
สมัยที่ ๒ ชำระและจารลงในใบลาน กระทำที่กรุงเทพ ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ให้ชำระและแปลฉบับอักษรลาวและอักษรรามัญ เป็นอักษรขอม ใส้ตู้ไว้ใน หอมณเฑียรธรรม และถวายพระสงฆ์ไว้ทุกพระอารามหลวง
สมัยที่ ๓ ชำระและพิมพ์เป็นเล่ม กระทำที่กรุงเทพ ฯ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑ ถึง พ.ศ. ๒๓๓๖ ได้คัดลอกตัวอักษรขอมในคัมภีร์ใบลาน เป็นตัวอักษรไทย และชำระแก้ไข แล้วพิมพ์เป็นเล่มหนังสือรวม ๓๙ เล่ม มีการประกาศสังคายนา แต่คนทั่วไป ไม่ถือว่าเป็นการสังคายนา พิมพ์ออกมา ๑,๐๐๐ ชุด นับว่าเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่มีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มด้วยตัวอักษรไทย ในการพิมพ์ครั้งนี้พิมพ์ได้ ๓๙ เล่มชุด ยังไม่ได้พิมพ์อีก ๖ เล่ม มาพิมพ์เพิ่มเติมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ
สมัยที่ ๔ ชำระและพิมพ์เป็นเล่ม กระทำที่กรุงเทพ ฯ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๓ เรียกว่าพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ พิมพ์ ๑,๕๐๐ จบ พระราชทานในพระราชอาณาจักร ๒๐๐ จบ พระราชทานในนานาประเทศ ๔๕๐ จบ อีก ๘๕๐ จบ พระราชทานแก่ผู้บริจาคทรัพย์ขอรับหนังสือพระไตรปิฎก
ผลจากการส่งพระไตรปิฎกไปต่างประเทศ ทำให้มีผู้พยายามอ่านอักษรไทย เพื่อให้สามารถ อ่านพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยได้ และได้มีภิกษุชาวเยอรมันเขียนหนังสือสดุดีไว้ว่า พระไตรปิฎกฉบับ ของไทยสมบูรณ์กว่าฉบับพิมพ์ด้วยอักษรโรมัน ของสมาคมบาลีปกรณ์ในอังกฤษ เป็นอันมาก
ลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
พระไตรปิฎก เป็นหลักฐานชั้น ๑ เรียกว่า พระบาลี
อรรถกถาหรือวัณณนา เป็นคำอธิบายพระไตรปิฎก เป็นหลักฐานชั้น ๒ มีขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๙๕๖
ฎีกา เป็นคำอธิบายอรรถกถา เป็นหลักฐานชั้น ๓ มีขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๕๘๗
อนุฎีกา เป็นคำอธิบายฎีกา เป็นหลักฐานชั้น ๔
การแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นภาษาไทย
การแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ได้กระทำกันมาช้านานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดแปลไว้เป็นจำนวนมาก ในรัชสมัยต่อ ๆ มา การแปลก็ยังคงดำเนินไปเป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่จะแปลพระสุตตันตปิฎก พระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎกมีน้อย สำนวนโวหารในการแปลก็ผิดกันมาก เพราะต่างยุคต่างสมัย
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสเทว) วัดสุทัศน์เทพวราราม ทรงปรารภว่า พระไตรปิฎกเป็นภาษาบาลี ผู้ใคร่ศึกษาต้องรู้ภาษาบาลีอย่างลึกซึ้ง จึงจะศึกษาได้สมประสงค์ แม้มีผู้รู้แปลสู่ภาษาไทยอยู่บ้าง ก็เลือกแปลเฉพาะบางตอน ไม่ตลอดเรื่อง ถ้าสามารถแปลจบครบบริบูรณ์ ก็จะเป็นอุปการคุณแก่ พุทธบริษัทชาวไทยอย่างใหญ่หลวง ในต่างประเทศ ได้มีนักปราชญ์อุตสาหะแปลบาลีพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท ออกเป็นภาษาของเขาแล้ว สำหรับฝ่ายมหายานนั้น ได้มีการแปลพระไตรปิฎก จากฉบับภาษาสันสกฤต ออกเป็นภาษาของชาวประเทศที่นับถือลัทธิมหายาน มาแล้วช้านาน การที่นักปราชญ์ดังกล่าวจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาของเขา ก็ด้วยเห็นประโยชน์ที่มหาชนชาวประเทศนั้น ๆ จะพึงได้รับการศึกษาพระไตรปิฎกเป็นสำคัญ จึงเป็นการสมควรด้วยประการทั้งปวง ที่จะคิดจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยให้ตลอดสาย จะเป็นเครื่องเฉลิมพระเกียรติแห่งพระมหากษัตริย์ และประเทศไทยให้ปรากฎไปในนานาประเทศ แต่เนื่องด้วยการนี้เป็นการใหญ่ เกินวิสัยที่เอกชนคนสามัญจะทำให้สำเร็จได้ จึงขอให้กระทรวงธรรมการ นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงมีพระราชดำริเห็นชอบ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้รับการจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถวายให้สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานในการนี้ ให้กรมธรรมการเป็นผู้อำนวยการฝ่ายคฤหัสถ์ จัดพิมพ์ พระไตรปิฎกเป็นสมุดตีพิมพ์และลงในใบลาน เพื่อเผยแพร่แก่พุทธบริษัทสืบไป
คณะกรรมการแปลพระไตรปิฎก เริ่มดำเนินการแปลตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. ๒๔๘๓ โดยแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ
๑. แปลโดยอรรถ ตามความในบาลีพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ สำหรับพิมพ์เป็นเล่มสมุด เรียกว่า "พระไตรปิฎกภาษาไทย"
๒. แปลโดยสำนวนเทศนา สำหรับพิมพ์ลงใบลาน เป็นคัมภีร์เทศนา เรียกว่า "พระไตรปิฎกเทศนาฉบับหลวง" แบ่งออกเป็น ๑,๒๕๐ กัณฑ์ โดยถือเกณฑ์พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป เมื่อคราวจตุรงคสันนิบาตในสมัยพุทธกาล เป็นพระวินัยปิฎก ๑๘๒ กัณฑ์ พระสุตตันตปิฎก ๑,๐๕๔ กัณฑ์ พระอภิธรรมปิฎก ๑๔ กัณฑ์ พิมพ์ลงใบลานเสร็จเรียบร้อยเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๒
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ รัฐบาลไทยดำริจะจัดทำพิธีฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐
คณะสังฆมนตรีพิจารณาเห็นสมควร จัดสร้างพระไตรปิฎกภาษาไทย ซึ่งคณะสงฆ์ได้ตั้งกรรมการจัดแปล และกำลังตรวจสำนวน ทำต้นฉบับสำหรับพิมพ์อยู่แล้วนั้น เพื่อเป็นอนุสาสนีย์เนื่องในงานนั้นด้วย
จึงได้กำหนดจำนวนหนังสือที่จะพิมพ์ จากจำนวนที่กำหนดไว้เดิม ๑,๐๐๐ จบ เป็น ๒,๕๐๐ จบ เพื่อให้เหมาะสมแก่งานฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ กรมศาสนาได้ดำเนินการจัดพิมพ์เป็นครั้งที่ ๒ เห็นว่าจำนวนเล่มที่พิมพ์ ครั้งแรกชุดละ ๘๐ เล่ม เพื่อให้ไม่หนาเกินไป และมีจำนวนเล่มเท่าจำนวนพระชนมายุของพระพุทธเจ้า แต่ทำให้การอ้างอิงไม่ตรงกับเล่มในฉบับบาลี ซึ่งมีอยู่ ๔๕ เล่ม ในการพิมพ์ครั้งนี้จึงพิมพ์จบละ ๔๕ เล่ม และประจวบกับปี พ.ศ. ๒๕๑๔ นับเป็นมหามงคลสมัยซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติมาบรรจบครบ ๒๕ ปี ทางราชการได้จัดพระราชพิธีรัชดาภิเษก ถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติ จึงตกลงเรียกพระไตรปิฎกฉบับนี้ว่า "พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง" จัดพิมพ์จำนวน ๒,๐๐๐ จบ จบละ ๔๕ เล่ม


















//www.heritage.thaigov.net/religion/tripitok/v.htm

ความหมายของพระไตรปิฎก
ไตรปิฎก “ปิฎกสาม” ; ปิฎก แปลตามศัพท์อย่างพื้นๆ ว่า กระจาดหรือตะกร้า อันเป็นภาชนะสำหรับใส่รวมของต่างๆ เข้าไว้ นำมาใช้ในความหมายว่า เป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้ว
โดยนัยนี้ ไตรปิฎกจึงแปลว่าคัมภีร์ที่บรรจุพุทธพจน์ (และเรื่องราวชั้นเดิมของพระพุทธศาสนา) ๓ ชุด หรือ ประมวลแห่งคัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมวินัย ๓ หมวดกล่าวคือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก

ซึ่งหากเราจะนับจำนวนคำสอนทั้งปวงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สามารถนับได้ทั้งสิ้น ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ (พระธรรมขันธ์ หมายถึง หมวด หรือกอง)
***
ความเป็นมาของพระไตรปิฎก
๑. พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย สมัยเมื่อนิครนถ์ นาฎบุตร เจ้าลัทธิสำคัญคนหนึ่งสิ้นชีพ พวกสาวกเกิดแตกกัน พระจุนทเถระเกรงจะเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ในพระพุทธศาสนา จึงพร้อมกับพระอานนท์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงตรัสบอกพระจุนทะ ให้รวบรวมธรรมภาษิตของพระองค์ และทำสังคายนา คือจัดระเบียบทั้งโดยอรรถและพยัญชนะ เพื่อให้พรหมจรรย์ตั้งมั่นต่อไป
๒. พระสารีบุตรแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย ในห้วงเวลาเดียวกันนั้น ค่ำวันหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคแสดงธรรมจบแล้ว ได้มอบหมายให้พระสารีบุตรแสดงธรรมต่อ พระสารีบุตรได้แนะนำให้รวบรวม ร้อยกรองพระธรรมวินัย โดยจัดหมู่ธรรมะเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๑๐ ว่ามีธรรมะใดบ้างอยู่ในหมวดนั้น ๆ พระผู้มีพระภาคทรงรับรองว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เห็นว่าบรรดาพระภิกษุทั้งหลายยังใคร่จะฟังธรรมต่อไปอีก พระองค์จึงได้มอบหมายให้พระสารีบุตร แสดงธรรมแทน พระสารีบุตรได้ แนะนำให้รวบรวมร้อยกรองพระธรรมวินัย โดยจัดหมวดหมู่ธรรมะเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๑๐ ว่ามีธรรมะใดบ้างอยู่หมวด ๑ หมวด ๒ จนถึงหมวด ๑๐ ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงรับรองว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง
๓. พระมหากัสสป เป็นผู้ริเริ่มให้มีการสังคายนา จัดระเบียบพระพุทธวจนะให้เป็นหมวดหมู่
๔. พระอานนท์ เป็นผู้ที่ทรงจำพระพุทธวรนะไว้ได้มาก เป็นพุทธอุปฐาก ได้ขอพร หรือขอรับเงื่อนไขจาก พระพุทธเจ้า ๘ ประการ ในเงื่อนไขประการที่ ๗ และประการที่ ๘ มีส่วนช่วยในการ สังคายนาพระธรรมวินัยมาก กล่าวคือ
ประการที่ ๗ ถ้าความสงสัยของข้าพระองค์เกิดขึ้นเมื่อใด ข อให้ได้เข้าเฝ้าทูลถามเมื่อนั้น
ประการที่ ๘ ถ้ าพระองค์แสดงข้อความอันใด ในที่ลับหลังข้าพระองค์ คร ั้นเสด็จมาแล้ว จักตรัสบอกข้อความอันนั้น แก่ข้าพระองค์
ทั้งนี้โดยเฉพาะประการที่ ๘ อันเป็นข้อสุดท้ายมีเหตุผลว่า ถ้ามีใครถามท่านในที่ลับหลัง พระพุทธเจ้าว่า คาถานี้ สูตรนี้ ชาดกนี้ พระผู้มีพระภาดแสดงที่ไหน ถ้าพระอานนท์ตอบไม่ได้ ก็จะมีผู้กล่าวว่า พระอานนท์ตามเสด็จพระศาสดาไปดุจเงาตามตัว แม้เพียงเรื่องเท่านี้ก็ไม่รู้
ดังนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระอานนท์จึงได้รับหน้าที่ตอบคำถามเกี่ยวกับพระธรรม ในคราวสังคายนาครั้งแรก หลังพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน
ในสมัยที่ยังไม่มีการจดจารึกเรื่องราวไว้ เป็นตัวอักษรอย่างกว้างขวาง เช่นในปัจจุบัน มนุษย์จึงต้องอาศัยความจำเป็นเครื่องสำคัญ ในการบันทึกเรื่องราวนั้น ๆ ไว้ แล้วบอกเล่าต่อ ๆ กันมา การทรงจำและบอกต่อ ๆ กันมาด้วยปากนี้ เรียกว่า มุขปาฐะ
๕. พระอุบาลี เป็นผู้ที่สนใจ และจดจำพระธรรมพระวินัยได้เป็นพิเศษ มีความเชี่ยวชาญใน พระวินัย ในการทำสังคายนาครั้งแรก พระอุบาลีได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบคำถามเกี่ยวกับ พระวินัยปิฎก
๖. พระโสณกุฎิกัณณะ เป็นผู้ที่ทรงจำได้ดีมาก เคยท่องจำบางส่วนของ พระสุตตันตปิฎก เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ได้รับสรรเสริญว่าทรงจำได้ดีมาก รวมทั้งท่วงทำนองในการกล่าว ว่าไพเราะ สละสลวย แสดงให้เห็นถึง การท่องจำพระธรรมวินัย ได้มีมาตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้า
***
การสังคายนาพระไตรปิฎก
พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ สมัยเมื่อใกล้จะปรินิพพานว่า ธรรมวินัยที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว
ตามหลักฐานของพระเถระฝ่ายไทย กล่าวว่า การสังคายนา (แปลว่า การร้อยกรอง) มี ๙ ครั้ง
การสังคายนาครั้งที่ ๑ (ปฐมสังคายนา) กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างเขาเวภารบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์ ประเทศอินเดียปัจจุบัน กระทำหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๓ เดือน มีพระอรหันต์ประชุมกัน ๕๐๐ รูป พระมหากัสสปเป็นประธานและเป็นผู้สอบถาม พระอานนท์เป็นผู้ตอบข้อซักถามทางพระธรรม พระอุบาลี เป็นผู้ตอบข้อซักถามทางพระวินัย พระเจ้าอชาติศัตรูเป็นผู้อุปถัมภ์ กระทำอยู่ ๗ เดือน จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้มีปรากฎอยู่ในพระวินัยปิฎก
การสังคายนาครั้งที่ ๒ (ทุติยสังคายนา) กระทำที่วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ประเทศอินเดียปัจจุบัน กระทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๑๐๐ ปี มีพระสงฆ์ประชุมกัน ๗๐๐ รูป พระยสะ กากัณฑกบุตร เป็นผู้ชักชวน (เป็นประธานในที่ประชุม) พร้อมพระผู้ใหญ่อีก ๘ รูป พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเป็นผู้ตอบปัญหาทางพระวินัย ที่เกิดขึ้น กระทำอยู่ ๘ เดือน จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้ มีปรากฎในพระวินัยปิฎก
การสังคายนาครั้งที่ ๓ (ตติยสังคายนา) กระทำที่อโศการาม กรุงปาตลีบุตร ประเทศอินเดีย กระทำเมื่อ พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๒๓๕ ปี มีพระสงฆ์ประชุมกัน ๑,๐๐๐ รูป พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ เป็นหัวหน้า พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นผู้อุปถัมภ์ กระทำอยู่ ๙ เดือน จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคลีบุตรได้แต่งกถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์ในพระอภิธรรมเพิ่มขึ้น เมื่อทำสังคายนาเสร็จแล้วได้ส่ง คณะทูต ไปประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ พระมหินทเถระได้นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานในลังกา

ครั้นในรัชสมัยพระเจ้าวัฏฏคามนี คณะสงฆ์ชาวลังกาได้จารึกรพะธรรมที่สังคายนาครั้งที่ ๓ นั้น ลงในใบลานเป็นครั้งแรก

จากการสังคายนาครั้งที่ ๓ นั้น ได้แบ่งพระธรรมออกเป็น ๓ ตะกร้า (ปิฎก แปลว่า ตะกร้า) หมายถึง แยกลักษณะพระธรรมที่แตกต่างกันไปออกเป็น ๓ หมวด เรียกว่า “เตปิฎก” แต่คนไทยเราเรียกว่า “พระไตรปิฎก”
การสังคายนาครั้งที่ ๔ กระทำที่อินเดียภาคเหนือ ณ เมืองชาลันทร แต่บางหลักฐานก็ว่า กระทำที่เมืองกาษมีระหรือแคชเมียร์ ภิกษุที่เข้าประชุมมีทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน กระทำเมื่อ พ.ศ. ๖๔๓ มีกษัตริย์ประเทศราชมาร่วม ๒๑ พระองค์ มีทั้งพระสงฆ์ผู้คงแก่เรียนและพราหมณ์ผู้ทรงความรู้ประชุมกัน การสังคายนาครั้งนี้จึงมีลักษณะผสมคือ มีทั้งพุทธและพราหมณ์ ภาษาที่ใช้สำหรับพระไตรปิฎกไม่เหมือนกัน คือฝ่ายเถรวาทใช้ภาษาบาลี ฝ่ายมหายานใช้ภาษาสังสฤต (บางครั้งก็ปนปรากิต) การสังคายนาครั้งนี้ ไม่มีบันทึกหลักฐานทางฝ่ายเถรวาท
***
การนับสังคายนาของไทย
ไทยเรายอมรับรองการสังคายนาครั้งที่ ๑,๒ และ ๓ ในอินเดีย และครั้งที่ ๑, ๒, ๓ และ ๔ ในลังกา ซึ่งกระทำเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘, พ.ศ. ๔๓๓, พ.ศ. ๙๕๖ และ พ.ศ. ๑๕๘๗ รวมกันเป็น ๗ ครั้ง
การสังคายนาครั้งที่ ๘ ทำในประเทศไทย เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๐๒๐ พระเจ้าติโลกราช
แห่งเชียงใหม่ได้อาราธนาพระภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎกหลายร้อยรูป ช่วยกันชำระพระไตรปิฎกที่วัดโพธาราม ใช้เวลา ๑ ปี จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ ๑ ในประเทศไทย
การสังคายนาครั้งที่ ๙ ทำในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ได้ทรงอาราธนาพระสงฆ์ให้ชำระพระไตรปิฎก มีพระสงฆ์ ๒๑๘ รูป กับราชบัณฑิตาจารย์อุบาสก ๓๒ คน ช่วยกันชำระพระไตรปิฎก แล้วจารึกลงในใบลาน แล้วเสร็จใน ๕ เดือน นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๒ ในประเทศไทย
***
การชำระและจารึกกับการพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศไทย
สมัยที่ ๑ ชำระและจารลงในใบลาน กระทำที่เมืองเชียงใหม่ สมัยพระเจ้าติโลกราช ประมาณ พ.ศ. ๒๐๒๐ ตัวอักษรที่ใช้ในการจารึก คงเป็นอักษรแบบไทยล้านนา ซึ่งคล้ายกับอักษรพม่า
สมัยที่ ๒ ชำระและจารลงในใบลาน กระทำที่กรุงเทพ ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ให้ชำระและแปลฉบับอักษรลาวและอักษรรามัญ เป็นอักษรขอม ใส้ตู้ไว้ใน หอมณเฑียรธรรม และถวายพระสงฆ์ไว้ทุกพระอารามหลวง
สมัยที่ ๓ ชำระและพิมพ์เป็นเล่ม กระทำที่กรุงเทพ ฯ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑ ถึง พ.ศ. ๒๓๓๖ ได้คัดลอกตัวอักษรขอมในคัมภีร์ใบลาน เป็นตัวอักษรไทย และชำระแก้ไข แล้วพิมพ์เป็นเล่มหนังสือรวม ๓๙ เล่ม มีการประกาศสังคายนา แต่คนทั่วไป ไม่ถือว่าเป็นการสังคายนา พิมพ์ออกมา ๑,๐๐๐ ชุด นับว่าเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่มีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มด้วยตัวอักษรไทย ในการพิมพ์ครั้งนี้พิมพ์ได้ ๓๙ เล่มชุด ยังไม่ได้พิมพ์อีก ๖ เล่ม มาพิมพ์เพิ่มเติมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ
สมัยที่ ๔ ชำระและพิมพ์เป็นเล่ม กระทำที่กรุงเทพ ฯ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๓ เรียกว่าพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ พิมพ์ ๑,๕๐๐ จบ พระราชทานในพระราชอาณาจักร ๒๐๐ จบ พระราชทานในนานาประเทศ ๔๕๐ จบ อีก ๘๕๐ จบ พระราชทานแก่ผู้บริจาคทรัพย์ขอรับหนังสือพระไตรปิฎก
ผลจากการส่งพระไตรปิฎกไปต่างประเทศ ทำให้มีผู้พยายามอ่านอักษรไทย เพื่อให้สามารถ อ่านพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยได้ และได้มีภิกษุชาวเยอรมันเขียนหนังสือสดุดีไว้ว่า พระไตรปิฎกฉบับ ของไทยสมบูรณ์กว่าฉบับพิมพ์ด้วยอักษรโรมัน ของสมาคมบาลีปกรณ์ในอังกฤษ เป็นอันมาก
***
ลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
พระไตรปิฎก เป็นหลักฐานชั้น ๑ เรียกว่า พระบาลี
อรรถกถาหรือวัณณนา เป็นคำอธิบายพระไตรปิฎก เป็นหลักฐานชั้น ๒ มีขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๙๕๖
ฎีกา เป็นคำอธิบายอรรถกถา เป็นหลักฐานชั้น ๓ มีขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๕๘๗
อนุฎีกา เป็นคำอธิบายฎีกา เป็นหลักฐานชั้น ๔
***
การแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นภาษาไทย
การแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ได้กระทำกันมาช้านานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดแปลไว้เป็นจำนวนมาก ในรัชสมัยต่อ ๆ มา การแปลก็ยังคงดำเนินไปเป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่จะแปลพระสุตตันตปิฎก พระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎกมีน้อย สำนวนโวหารในการแปลก็ผิดกันมาก เพราะต่างยุคต่างสมัย
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสเทว) วัดสุทัศน์เทพวราราม ทรงปรารภว่า พระไตรปิฎกเป็นภาษาบาลี ผู้ใคร่ศึกษาต้องรู้ภาษาบาลีอย่างลึกซึ้ง จึงจะศึกษาได้สมประสงค์ แม้มีผู้รู้แปลสู่ภาษาไทยอยู่บ้าง ก็เลือกแปลเฉพาะบางตอน ไม่ตลอดเรื่อง ถ้าสามารถแปลจบครบบริบูรณ์ ก็จะเป็นอุปการคุณแก่ พุทธบริษัทชาวไทยอย่างใหญ่หลวง ในต่างประเทศ ได้มีนักปราชญ์อุตสาหะแปลบาลีพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท ออกเป็นภาษาของเขาแล้ว สำหรับฝ่ายมหายานนั้น ได้มีการแปลพระไตรปิฎก จากฉบับภาษาสันสกฤต ออกเป็นภาษาของชาวประเทศที่นับถือลัทธิมหายาน มาแล้วช้านาน การที่นักปราชญ์ดังกล่าวจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาของเขา ก็ด้วยเห็นประโยชน์ที่มหาชนชาวประเทศนั้น ๆ จะพึงได้รับการศึกษาพระไตรปิฎกเป็นสำคัญ จึงเป็นการสมควรด้วยประการทั้งปวง ที่จะคิดจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยให้ตลอดสาย จะเป็นเครื่องเฉลิมพระเกียรติแห่งพระมหากษัตริย์ และประเทศไทยให้ปรากฎไปในนานาประเทศ แต่เนื่องด้วยการนี้เป็นการใหญ่ เกินวิสัยที่เอกชนคนสามัญจะทำให้สำเร็จได้ จึงขอให้กระทรวงธรรมการ นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงมีพระราชดำริเห็นชอบ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้รับการจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถวายให้สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานในการนี้ ให้กรมธรรมการเป็นผู้อำนวยการฝ่ายคฤหัสถ์ จัดพิมพ์ พระไตรปิฎกเป็นสมุดตีพิมพ์และลงในใบลาน เพื่อเผยแพร่แก่พุทธบริษัทสืบไป
คณะกรรมการแปลพระไตรปิฎก เริ่มดำเนินการแปลตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. ๒๔๘๓ โดยแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ
๑. แปลโดยอรรถ ตามความในบาลีพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ สำหรับพิมพ์เป็นเล่มสมุด เรียกว่า "พระไตรปิฎกภาษาไทย"
๒. แปลโดยสำนวนเทศนา สำหรับพิมพ์ลงใบลาน เป็นคัมภีร์เทศนา เรียกว่า "พระไตรปิฎกเทศนาฉบับหลวง" แบ่งออกเป็น ๑,๒๕๐ กัณฑ์ โดยถือเกณฑ์พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป เมื่อคราวจตุรงคสันนิบาตในสมัยพุทธกาล เป็นพระวินัยปิฎก ๑๘๒ กัณฑ์ พระสุตตันตปิฎก ๑,๐๕๔ กัณฑ์ พระอภิธรรมปิฎก ๑๔ กัณฑ์ พิมพ์ลงใบลานเสร็จเรียบร้อยเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๒
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ รัฐบาลไทยดำริจะจัดทำพิธีฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ คณะสังฆมนตรีพิจารณาเห็นสมควร จัดสร้างพระไตรปิฎกภาษาไทย ซึ่งคณะสงฆ์ได้ตั้งกรรมการจัดแปล และกำลังตรวจสำนวน ทำต้นฉบับสำหรับพิมพ์อยู่แล้วนั้น เพื่อเป็นอนุสาสนีย์เนื่องในงานนั้นด้วย จึงได้กำหนดจำนวนหนังสือที่จะพิมพ์ จากจำนวนที่กำหนดไว้เดิม ๑,๐๐๐ จบ เป็น ๒,๕๐๐ จบ เพื่อให้เหมาะสมแก่งานฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ กรมศาสนาได้ดำเนินการจัดพิมพ์เป็นครั้งที่ ๒ เห็นว่าจำนวนเล่มที่พิมพ์ ครั้งแรกชุดละ ๘๐ เล่ม เพื่อให้ไม่หนาเกินไป และมีจำนวนเล่มเท่าจำนวนพระชนมายุของพระพุทธเจ้า แต่ทำให้การอ้างอิงไม่ตรงกับเล่มในฉบับบาลี ซึ่งมีอยู่ ๔๕ เล่ม ในการพิมพ์ครั้งนี้จึงพิมพ์จบละ ๔๕ เล่ม และประจวบกับปี พ.ศ. ๒๕๑๔ นับเป็นมหามงคลสมัยซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ มาบรรจบครบ ๒๕ ปี ทางราชการได้จัดพระราชพิธีรัชดาภิเษก ถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติ จึงตกลงเรียกพระไตรปิฎกฉบับนี้ว่า "พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง" จัดพิมพ์จำนวน ๒,๐๐๐ จบ จบละ ๔๕ เล่ม
***
พระไตรปิฎก จัดแบ่งหมวดหมู่โดยย่อดังนี้
๑. พระวินัยปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ แบ่งเป็น ๕ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า อา ปา ม จุ ป) คือ
๑. อาทิกัมมิกะ หรือ ปาราชิก ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติหนักของฝ่ายภิกษุสงฆ์ ตั้งแต่ปาราชิกถึงอนิยต
๒. ปาจิตตีย์ ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติเบา ตั้งแต่นิสสัคคิยปาจิตตีย์ถึงเสขิยะรวมตลอดทั้งภิกขุนีวิภังค์ทั้งหมด
๓. มหาวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนต้น ๑๐ ขันธกะหรือ ๑๐ ตอน
๔. จุลวรรคว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนปลาย ๑๒ ขันธกะ
๕. ปริวาร คัมภีร์ประกอบหรือคู่มือบรรจุคำถามคำตอบสำหรับซ้อมความรู้พระวินัย
พระวินัยปิฎกนี้ แบ่งอีกแบบหนึ่งเป็น ๕ คัมภีร์เหมือนกัน (จัด ๒ ข้อในแบบต้นนั้นใหม่) คือ
๑. มหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล ๒๒๗ ข้อ) ฝ่ายภิกษุสงฆ์
๒. ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล ๓๑๑ ข้อ) ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์
๓. มหาวรรค
๔. จุลวรรค
๕. ปริวาร
บางทีท่านจัดให้ย่นย่อเข้าอีก แบ่งพระวินัยปิฎกเป็น ๓ หมวด คือ
๑. วิภังค์ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ (คือรวมข้อ ๑ และ ๒ ข้างต้นทั้งสองแบบเข้าด้วยกัน)
๒. ขันธกะ ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ทั้ง ๒๒ ขันธกะหรือ ๒๒ บทตอน (คือรวมข้อ ๓ และ ๔ เข้าด้วยกัน)
๓. ปริวาร คัมภีร์ประกอบ (คือข้อ ๕ ข้างบน)
๒. พระสุตตันตปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนาคำบรรยายธรรมต่างๆที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคล และโอกาสตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่าและเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น ๕ นิกาย (เรียกย่อหรือหัวใจว่า ที ม สํ อํ ขุ) คือ
๑. ทีฆนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว ๓๔ สูตร
๒. มัชฌิมนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีความยาวปานกลาง ๑๕๒ สูตร
๓. สังยุตตนิกายชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นกลุ่ม ๆ เรียกว่าสังยุตต์หนึ่ง ๆ ตามเรื่องที่เนื่องกัน หรือตามหัวข้อหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องรวม ๕๖ สังยุตต์ มี ๗,๗๖๒ สูตร
๔. อังคุตตรนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นหมวด ๆ เรียกว่านิบาตหนึ่งๆ ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรม รวม ๑๑ นิบาต หรือ ๑๑ หมวดธรรมมี ๙,๕๕๗ สูตร
๕. ขุททกนิกาย ชุมนุมพระสูตรคาถาภาษิตคำอธิบาย และเรื่องราวเบ็ดเตล็ดที่จัดเข้าในสี่นิกายแรกไม่ได้มี ๑๕ คัมภีร์
๓. พระอภิธรรมปิฎก ประมวลพระพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม คือหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วน ๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่าสํ วิ ธา ปุ ก ย ป) คือ
๑. สังคณี หรือ ธัมมสังคณี รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายทีละประเภท ๆ
๒. วิภังค์ ยกหมวดธรรมสำคัญ ๆ ขึ้นตั้งเป็นหัวเรื่องแล้วแยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด
๓. ธาตุกถาสงเคราะห์ข้อธรรมต่าง ๆ เข้าในขันธ์ อายตนะ ธาตุ
๔. ปุคคลบัญญัติ บัญญัติ ความหมายของบุคคลประเภทต่างๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้นๆ
๕. กถาวัตถุ แถลงและวินิจฉัยทัศนะของนิกายต่างๆ สมัยสังคายนาครั้งที่ ๓
๖. ยมก ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ
๗. ปัฏฐาน หรือมหาปกรณ์ อธิบายปัจจัย๒๔ แสดงความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันแห่งธรรมทั้งหลายโดยพิสดาร
***
พระไตรปิฎกที่พิมพ์ด้วยอักษรไทยท่านจัดแบ่งเป็น ๔๕ เล่ม แสดงพอให้เห็นรูปเค้าดังนี้

ก. พระวินัยปิฎก ๘ เล่ม
เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ ว่าด้วยปาราชิก สังฆาทิเสส และอนิยตสิกขาบท (สิกขาบทในปาฏิโมกข์ฝ่ายภิกษุสงฆ์ ๑๙ ข้อแรก)
เล่ม ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ ว่าด้วย สิกขาบทเกี่ยวกับอาบัติเบาของภิกษ ุ(เป็นอันครบสิกขาบท ๒๒๗ หรือ ศีล ๒๒๗)
เล่ม ๓ ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบท ๓๑๑ ของภิกษุณี
เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธ กะ ว่าด้วยการอุปสมบท (เริ่มเรื่องตั้งแต่ตรัสรู้และประดิษฐานพระศาสนา) อุโบสถ จำพรรษา และปวารณา
เล่ม ๕ มหาวรรค ภาค ๒ มี ๖ ขันธ กะ ว่าด้วยเรื่องเครื่องหนังเภสัช กฐิน จีวร นิคหกรรม และการทะเลาะวิวาทและสามัคคี
เล่ม ๖ จุลวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธกะ ว่าด้วยเรื่องนิคหกรรม วุฏฐานวิธี และการระงับอธิกรณ์
เล่ม ๗ จุลวรรค ภาค ๒ มี ๘ ขันธกะ ว่าด้วยข้อบัญญัติปลีกย่อย เรื่องเสนาสนะสังฆเภท วัตรต่าง ๆ การงดสวดปาฏิโมกข์ เรื่องภิกษุณี เรื่องสังคายนาครั้งที่ ๑ และ ครั้งที่ ๒
เล่ม ๘ เปริวาร คู่มือถามตอบซ้อมความรู้พระวินัย
ข. พระสุตตันปิฎก ๒๕ เล่ม
๑. ทีฆนิกาย ๓ เล่ม
เล่ม ๙ สีลขันธวรรค มีพระสูตรขนาดยาว ๑๓ สูตร หลายสูตรกล่าวถึงจุลศีลมัชฌิมศีล มหาศีล
เล่ม ๑๐ มหาวรรค มีพระสูตรยาว ๑๐ สูตร ส่วนมากชื่อเริ่มด้วย“มหา” เช่น มหาปรินิพพานสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น
เล่ม ๑๑ ปาฏิกวรรค มีพระสูตรยาว ๑๑ สูตร เริ่มด้วยปาฏิกสูตรหลายสูตรมีชื่อเสียง เช่น จักกวัตติสูตร อัคคัญสูตร สิงคาลกสูตร และสังคีติสูตร
๒. มัชฌิมนิกาย ๓ เล่ม
เล่ม ๑๒ มูลปัณณาสก์ บั้นต้น มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร
เล่ม ๑๓ มัชฌิมปัณณาสก์ บั้นกลางมีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร
เล่ม ๑๔ อุปริปัณณาสก์ บั้นปลายมีพระสูตรขนาดกลาง ๕๒ สูตร
๓. สังยุตตนิกาย ๕ เล่ม
เล่ม ๑๕ สคาถวรรค รวมคาถาภาษิตที่ตรัสและกล่าวตอบบุคคลต่าง ๆ เช่น เทวดามาร ภิกษุณี พราหมณ์ พระเจ้าโกศล เป็นต้น จัดเป็นกลุ่มเรื่องตามบุคคลและสถานที่ มี ๑๑ สังยุตต์
เล่ม ๑๖ นิทานวรรค ครึ่งเล่มว่าด้วยเหตุปัจจัย คือหลักปฏิจจสมุปบาทนอกนั้น มีเรื่องเหตุ การบรรลุธรรม สังสารวัฏ ลาภสักการะ เป็นต้น จัด เป็น ๑๐ สังยุตต์
เล่ม ๑๗ ขันธวารวรรค ว่าด้วยเรื่องขันธ์ ๕ ในแง่มุมต่างๆ มีเรื่องเบ็ดเตล็ดรวมทั้งเรื่องสมาธิและทิฏฐิต่าง ๆ ปะปนอยู่บ้าง จัดเป็น ๑๓ สังยุตต์
เล่ม ๑๘ สฬายตนวรรค เกือบครึ่งเล่มว่าด้วยอายตนะ ๖ ตามแนวไตรลักษณ์ เรื่องอื่นมีเบญจศีลข้อปฏิบัติให้ถึงอสังขตะ อันตคาหิกทิฏฐิ เป็นต้น จัดเป็น ๑๐ สังยุตต์
เล่ม ๑๙ มหาวรรค ว่าด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗ แต่เรียงลำดับเป็นมรรคโพชฌงค์ สติปัฏฐาน อินทรีย์ สัมมัปปธาน พละ อิทธิบาท รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น นิวรณ์ สังโยชน์ อริยสัจจ์ฌาน ตลอดถึงองค์คุณของพระโสดาบันและอานิสงส์ของการบรรลุโสดาปัตติผล จัดเป็น ๑๒ สังยุตต์ (พึงสังเกตว่าคัมภีร์นี้เริ่มต้นด้วยการย้ำความสำคัญของความมีกัลยาณมิตร เป็นจุดเริ่มต้นเข้าสู่มรรค)
๔. อังคุตตรนิกาย ๕ เล่ม
เล่ม ๒๐ เอก-ทุก-ติกนิบาต ว่าด้วยธรรม หมวด ๑ หมวด ๒ หมวด ๓ รวมทั้งเรื่องเอตทัคคะ
เล่ม ๒๑ จตุกกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๔
เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๕-๖
เล่ม ๒๓ สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๗-๘-๙
เล่ม ๒๔ ทสก-เอกาทสกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๑๐-๑๑
ในอังคุตตรนิกายมีข้อธรรมหลากหลายลักษณะ ตั้งแต่ทิฏฐธัมมิกัตถะถึงปรมัตถะทั้งสำหรับบรรพชิต และสำหรับคฤหัสถ์ กระจายกันอยู่โดยเรียงตามจำนวน
๕. ขุททกนิกาย ๙ เล่ม
เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕ คือ ขุททกปาฐะ (บทสวดย่อยๆ โดยเฉพาะมงคลสูตร รตนสูตร กรณียเมตตสูตร) ธรรมบท (เฉพาะตัวคาถาทั้ง ๔๒๓) อุทาน (พุทธอุทาน ๘๐) อิติวุตตกะ(พระสูตรที่ไม่ขึ้นต้นด้วย “เอวมฺเม สุตํ” แต่เชื่อมความเข้าสู่คาถาด้วยคำว่า “อิติ วุจฺจติ” รวม ๑๑๒ สูตร) และสุตตนิบาต (ชุมนุมพระสูตรชุดพิเศษ ซึ่งเป็นคาถาล้วน หรือมีความนำเป็นร้อยแก้ว รวม ๗๑ สูตร)
เล่ม ๒๖ มีคัมภีร์ย่อยที่เป็นคาถาล้วน ๔ คือ วิมานวัตถุ (เรื่องผู้เกิดในสวรรค์อยู่วิมานเล่าการทำความดีของตนในอดีต ที่ทำให้ได้ไปเกิดเช่นนั้น ๘๕ เรื่อง) เปตวัตถุ (เรื่องเปรตเล่ากรรมชั่วในอดีตของตน๕๑ เรื่อง) เถรคาถา (คาถาของพระอรหันตเถระ ๒๖๔ รูปที่กล่าวแสดงความรู้สึกสงบประณีตในการบรรลุธรรมเป็นต้น) เถรีคาถา (คาถาของพระอรหันตเถรี ๗๓ รูป ที่กล่าวแสดงความรู้สึกเช่นนั้น)
เล่ม ๒๗ ชาดก ภาค ๑ รวมคาถาแสดงคติธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ในอดีตชาติ และมีคาถาภาษิตของผู้อื่นปนอยู่บ้าง ภาคแรกตั้งแต่เรื่องที่มีคาถาเดียว (เอกนิบาต)ถึงเรื่องมี ๔๐ คาถา (จัตตาฬีสนิบาต) รวม ๕๒๕ เรื่อง
เล่ม ๒๘ ชาดก ภาค ๒ รวมคาถาอย่างในภาค ๑ นั้น เพิ่มอีก แต่เป็นเรื่องอย่างยาวตั้งแต่เรื่องมี ๕๐ คาถา (ปัญญาสนิบาต) ถึงเรื่องมีคาถามากมาย (มหานิบาต) จบลงด้วยมหาเวสสันดรชาดกซึ่งมี ๑,๐๐๐ คาถารวมอีก ๒๒ เรื่อง บรรจบทั้งสองภาค เป็น ๕๔๗ ชาดก
เล่ม ๒๙ มหานิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร๑๖ สูตร ในอัฏฐกวรรคแห่งสุตตนิบาต
เล่ม ๓๐ จูฬนิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตร ในปารายนวรรค และขัคควิสาณสูตร ในอุรควรรค แห่งสุตตนิบาต
เล่ม ๓๑ ปฏิสัมภิทามรรค ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายข้อธรรมที่ลึกซึ้งต่างๆเช่นเรื่อง ญาณ ทิฏฐิ อานาปาน อินทรีย์ วิโมกข์ เป็นต้น อย่างพิสดาร เป็นทางแห่งปัญญาแตกฉาน
เล่ม ๓๒ อปทาน ภาค ๑ คาถาประพันธ์แสดงประวัติ โดยเฉพาะในอดีตชาติเริ่มด้วยพุทธอปทาน (ประวัติของพระพุทธเจ้า) ปัจเจกพุทธอปทาน (เรื่องราวของพระปัจเจกพุทธเจ้า) ต่อด้วยเถรอปทาน(อัตตประวัติแห่งพระอรหันตเถระ) เรียงลำดับเริ่มแต่พระ สารีบุตร ตามด้วยพระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะพระอนุรุทธ พระปุณณมันตานีบุตร พระอุบาลี พระอัญญาโกณฑัญญะ พระปิณโฑลภารทวาชะ พระขทิรวนิยเรวตะ พระอานนท์ต่อเรื่อยไปจนจบภาค ๑ รวม พระอรหันตเถระ ๔๑๐ รูป
เล่ม ๓๓ อปทาน ภาค ๒ คาถาประพันธ์แสดงอัตตประวัติพระอรหันตเถระต่ออีก จนถึงรูปที่ ๕๕๐ ต่อนั้น เป็นเถรีอปทานแสดงเรื่องราวของพระอรหันตเถรี ๔๐ เรื่อง เริ่มด้วยพระเถรีที่ไม่คุ้นนาม๑๖ รูป ต่อด้วยพระเถรีที่สำคัญเรียงลำดับคือพระมหาปชาบดีโคตมี พระเขมา พระอุบลวรรณา พระปฏาจารา พระกุณฑลเกสีพระกีสาโคตมี พระธรรมทินนา พระสกุลา พระนันทา พระโสณา พระภัททกา ปิลานี พระยโสธรา และท่านอื่นๆ ต่อไปจนจบ ครั้นจบอปทานแล้ว ท้ายเล่ม ๓๓ นี้ มีคัมภีร์ พุทธวงส์ เป็นคาถาประพันธ์แสดงเรื่องของพระพุทธเจ้าในอดีต ๒๔ พระองค์ ที่พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันเคยได้ทรงเฝ้า และได้รับพยากรณ์จนถึงประวัติของพระองค์เอง รวมเป็นพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ จบแล้วมีคัมภีร์สั้นๆ ชื่อ จริยาปิฎก เป็นท้ายสุด แสดงพุทธจริยาในอดีตชาติ ๓๕ เรื่องที่มีแล้วในชาดก แต่เล่าด้วยคาถาประพันธ์ใหม่ ชี้ตัวอย่างการบำเพ็ญบารมีบางข้อ
ค. พระอภิธรรมปิฎก ๑๒ เล่ม
เล่ม ๓๔ ธัมมสังคณี ต้นเล่มแสดง มาติกา (แม่บท) อันได้แก่บทสรุปแห่งธรรมทั้งหลายที่จัดเป็นชุดๆ มีทั้งชุด ๓ เช่นจัดทุกสิ่งทุกอย่างประดามีเป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากฤตธรรมชุดหนึ่งเป็นอดีตธรรม อนาคตธรรม ปัจจุบันธรรม ชุดหนึ่ง ฯลฯ และชุด ๒ เช่นจัดทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสังขตธรรมอสังขตธรรม ชุดหนึ่ง รูปีธรรม อรูปีธรรม ชุดหนึ่ง โลกียธรรม โลกุตตรธรรม ชุดหนึ่งเป็นต้น รวมทั้งหมดมี ๑๖๔ชุด หรือ ๑๖๔ มาติกา จากนั้นขยายความมาติกาที่ ๑ เป็นตัวอย่าง แสดงให้เห็นกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากฤตธรรมที่กระจายออกไปโดย จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ท้ายเล่มมีอีก ๒ บท แสดงคำอธิบายย่อหรือคำจำกัดความข้อธรรมทั้งหลายในมาติกาที่กล่าวถึงข้างต้นจนครบ ๑๖๔ มาติกา ได้คำจำกัดความข้อธรรมใน ๒ บท เป็น ๒ แบบ(แต่บทท้ายจำกัดความไว้เพียง ๑๒๒ มาติกา)
เล่ม ๓๕ วิภังค์ ยกหลักธรรมสำคัญ ๆ ขึ้นมาแจกแจงแยกแยะอธิบายกระจายออกให้เห็นทุกแง่จนชัดเจนจบไปเป็นเรื่องๆ รวมอธิบายทั้งหมด ๑๘ เรื่อง คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘อริยสัจจ์ ๔ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ฌาน อัปปมัญญาศีล ๕ ปฏิสัมภิทา ๔ ญาณประเภทต่าง ๆ และเบ็ดเตล็ดว่าด้วยอกุศลธรรมต่าง ๆ อธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่าวิภังค์ของเรื่องนั้นๆ เช่นอธิบายขันธ์ ๕ ก็เรียกขันธวิภังค์ เป็นต้น รวมมี ๑๘ วิภังค์
เล่ม ๓๖ ธาตุกถา นำข้อธรรมในมาติกาทั้งหลายและข้อธรรมอื่น ๆอีก ๑๒๕ อย่าง มาจัดเข้าในขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ ว่าข้อใดได้หรือไม่ได้ในอย่างไหน ๆ และปุคคลบัญญัติบัญญัติความหมายของชื่อที่ใช้เรียกบุคคลต่างๆ ตามคุณธรรม เช่นว่า “โสดาบัน” ได้แก่ บุคคลผู้ละสังโยชน์๓ ได้แล้ว ดังนี้เป็นต้น
เล่ม ๓๗ กถาวัตถุ คัมภีร์ที่พระโมค คัลลีบุตรติสสเถระ ประธานการสังคายนาครั้งที่ ๓ เรียบเรียงขึ้น เพื่อแก้ความเห็นผิดของนิกายต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาครั้งนั้น ซึ่งได้แตกแยกกันออกแล้วถึง๑๘ นิกาย เช่นความเห็นว่า พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการเกิดได้ ทุกอย่างเกิดจากกรรมเป็นต้น ประพันธ์เป็นคำปุจฉาวิสัชนา มีทั้งหมด ๒๑๙ กถา
เล่ม ๓๘ ยมก ภาค ๓ คัมภีร์อธิบายหลักธรรมสำคัญให้เห็นความหมาย และขอบเขตอย่างชัดเจน และทดสอบความรู้อย่างลึกซึ้ง ด้วยวิธีตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ ๆ (ยมก แปลว่า คู่)เช่นถามว่า ธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศล เป็นกุศลมูล หรือว่าธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศลมูล เป็นกุศล, รูป (ทั้งหมด) เป็นรูปขันธ์ หรือว่ารูปขันธ์(ทั้งหมด) เป็นรูป, ทุกข์ (ทั้งหมด) เป็นทุกขสัจจ์ หรือว่าทุกขสัจจ์ (ทั้งหมด) เป็นทุกข์ หลักธรรมที่นำมาอธิบายในเล่มนี้มี๗ คือ มูล (เช่นกุศลมูล) ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ สังขาร อนุสัย ถามตอบอธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่ายมกของเรื่องนั้น ๆ เช่น มูลยมก ขันธยมก เป็นต้น เล่มนี้จึงมี ๗ ยมก
เล่ม ๓๙ ยมก ภาค ๒ ถามตอบอธิบายหลักธรรมเพิ่มเติมจากภาค ๑ อีก๓ เรื่อง คือ จิตตยมก ธรรมยมก (กุศล-อกุศล-อัพยากตธรรม) อินทรียยมกบรรจบเป็น ๑๐ ยมก
เล่ม ๔๐ ปัฏฐาน ภาค ๑ คัมภีร์ปัฏฐานอธิบายปัจจัย ๒๔ โดยพิสดารแสดงความสัมพันธ์อิงอาศัยเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแง่ด้าน ต่าง ๆ ธรรมที่นำมาอธิบายก็คือข้อธรรมที่มีในมาติกาคือแม่บทหรือบทสรุป ธรรมซึ่งกล่าวไว้แล้วในคัมภีร์สังคณีนั่นเองแต่อธิบายเฉพาะ ๑๒๒ มาติกาแรกที่เรียกว่าอภิธรรมมาติกา ปัฏฐานเล่มแรกนี้ อธิบายความหมายของปัจจัย ๒๔ เป็นการปูพื้นความเข้าใจเบื้องต้นก่อนจากนั้นจึงเข้าสู่เนื้อหาของเล่ม คือ อนุโลมติกปัฏฐาน อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด๓ (ติกมาติกา) โดยปัจจัย ๒๔ นั้น เช่นว่ากุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย (เพราะศรัทธา จึงให้ทานจึงสมาทานศีล จึงบำเพ็ญฌาน จึงเจริญวิปัสสนา ฯลฯ) กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย (คิดถึงทานที่ตนได้ให้ศีลที่ได้รักษาแล้ว ดีใจ ยึดเป็นอารมณ์แน่นหนาจนเกิดราคะ ทิฏฐิ, มีศรัทธา มีศีล มีปัญญาแล้วเกิดมานะว่า ฉันดีกว่า เก่งกว่า หรือ เกิดทิฏฐิว่า ต้องทำอย่างเรานี้เท่านั้นจึงถูกต้อง ฯลฯ) อกุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย(เพราะความอยากบางอย่าง หรือเพราะมานะหรือทิฏฐิ จึงให้ทาน จึงรักษาศีล จึงทำฌานให้เกิดฯลฯ) กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอารัมมณปัจจัย (คิดถึงฌานที่ตนเคยได้แต่มาเสื่อมไปเสียแล้วเกิดความโทมนัส ฯลฯ) อย่างนี้เป็นต้น (เล่มนี้อธิบายแต่ในเชิงอนุโลม คือตามนัยปกติไม่อธิบายตามนัยปฏิเสธจึงเรียกว่าอนุโลมปัฏฐาน)
เล่ม ๔๑ ปัฏฐาน ภาค ๒ อนุโลมติกปัฏฐาน ต่อ คือ อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๓ ต่อจากเล่ม ๔๐ เช่น อดีตธรรมเป็นปัจจัยแก่ปัจจุบันธรรม โดยอารัมมณปัจจัย(พิจารณารูปเสียงเป็นต้น ที่ดับเป็นอดีตไปแล้วว่า เป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดความโทมนัสขึ้นฯลฯ) เป็นต้น
เล่ม ๔๒ ปัฏฐาน ภาค ๓ อนุโลมทุกปัฏฐาน อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) เช่น โลกียธรรมเป็นปัจจัยแก่โลกียธรรม โดยอารัมมณปัจจัย (รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ) ดังนี้ เป็นต้น
เล่ม ๔๓ ปัฏฐาน ภาค ๔ อนุโลมทุกปัฏฐาน ต่อ
เล่ม ๔๔ ปัฏฐาน ภาค ๕ ยังเป็นอนุโลมปัฏฐาน แต่อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทต่างๆ ข้ามชุดกันไปมา ประกอบด้วย อนุโลมทุกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด๒ (ทุกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) เช่น อธิบาย “กุศลธรรมที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เป็นโลกียธรรม โดยอธิปติปัจจัย” เป็นอย่างไร เป็นต้น อนุโลมติกทุกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๓(ติกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) อนุโลมติกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด๓ (ติกมาติกา) โยงระหว่างต่างชุดกัน เช่นอธิบายว่า “กุศลธรรมที่เป็นอดีต ธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เป็นปัจจุบันธรรม” เป็นอย่างไร เป็นต้น อนุโลมทุกทุกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) กับธรรมในบทชุด๒ (ทุกมาติกา) โยงระหว่างต่างชุดกัน เช่นชุดโลกียะ โลกุตตระ กับชุดสังขตะอสังขตะ เป็นต้น
เล่ม ๔๕ ปัฏฐาน ภาค ๖ เป็นปัจจนียปัฏฐาน คืออธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายอย่างเล่มก่อนๆ นั่นเอง แต่อธิบายแง่ปฏิเสธ แยกเป็นปัจจนียปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ+ปฏิเสธเช่นว่า ธรรมที่ไม่ใช่กุศล อาศัยธรรมที่ไม่ใช่กุศลเกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร อนุโลมปัจจนียปัฏฐานคืออนุโลม+ปฏิเสธ เช่นว่า อาศัยโลกิยธรรม ธรรมที่ไม่ใช่โลกุตตรธรรมเกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ+อนุโลม เช่นว่า อาศัยธรรมที่ไม่ใช่กุศลธรรมที่เป็นอกุศล เกิดขึ้น โดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไรและในทั้ง ๓ แบบนี้ แต่ละแบบ จะอธิบายโดยใช้ธรรมในแม่บทชุด ๓ แล้วต่อด้วยชุด ๒ แล้วข้ามชุดระหว่างชุด ๒ กับชุด๓ ชุด ๓ กับชุด ๒ ชุด ๓ กับชุด ๓ ชุด ๒ กับชุด ๒ จนครบทั้งหมดเหมือนกัน ดังนั้นแต่ละแบบจึงแยกซอยละเอียดออกไปเป็นติก ทุก ทุกติก ติกทุก ติกติก ทุกทุก ตามลำดับ (เขียนให้เต็มเป็น ปัจจนียติกปัฏฐานปัจจนียทุกปัฏฐาน ปัจจนียทุกติกปัฏฐาน ฯลฯ ดังนี้เรื่อยไป จนถึงท้ายสุดคือ ปัจจนียานุโลมทุกทุกปัฏฐาน) คัมภีร์ปัฏฐานนี้ ท่านอธิบายค่อนข้างละเอียดเฉพาะเล่มต้น ๆ เท่านั้นเล่มหลังๆ ท่านแสดงไว้แต่หัวข้อหรือแนว และทิ้งไว้ให้ผู้เข้าใจแนวนั้นแล้วเอาไปแจกแจงโดยพิสดารเอง โดยเฉพาะเล่มสุดท้ายคือภาค ๖ แสดงไว้ย่นย่อที่สุด แม้กระนั้นก็ยังเป็นหนังสือถึง ๖ เล่ม หรือ ๓,๓๒๐ หน้ากระดาษพิมพ์ถ้าอธิบายโดยพิสดารทั้งหมด จะเป็นเล่มหนังสืออีกจำนวนมากมายหลายเท่าตัว ท่านจึงเรียกปัฏฐานอีกชื่อหนึ่งว่า “มหาปกรณ์”แปลว่า ตำราใหญ่ ใหญ่ทั้งโดยขนาดและโดยความสำคัญ
พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระไตรปิฎกมีเนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และพระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
ที่มา :
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดยพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) และ
หอมรดกไทย (//www.heritage.thaigov.net/religion/tripitok/tripitok.htm
พระไตรปิฎก
เล่มที่

พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ปฐมภาค

พระวินัยปิฎก เล่ม ๒ มหาวิภังค์ ทุติยภาค

พระวินัยปิฎก เล่ม ๓ ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑

พระวินัยปิฎก เล่ม ๕ มหาวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก เล่ม ๖ จุลวรรค ภาค ๑

พระวินัยปิฎก เล่ม ๗ จุลวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก เล่ม ๘ ปริวาร

พระสุตตันตปิฏก เล่ม ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
๑๐
พระสุตตันตปิฏก เล่ม ๒ ทีฆนิกาย มหาธวรรค
๑๑
พระสุตตันตปิฏก เล่ม ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
๑๒
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๑๓
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๑๕
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗ สังยุตตนิกาย สถาควรรค
๑๖
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๘ สังยุตตนิกาย นิทานควรรค
๑๗
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๑๘
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๒๑
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๒๔
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๒๕
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๒๖
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถระ-เถรีคาถา
๒๗
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๒๘
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๐ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
๒๙
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๑ มหานิทเทส
๓๐
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๒ จูฬนิทเทส
๓๑
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ ปฏิสัมภิทามรรค
๓๒
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๔ ขุททกนิกาย อุปาทาน ภาค ๑
๓๓
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๕ ขุททกนิกาย อุปาทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์-จริยาปิฎก
๓๔
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
๓๕
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๒ วิภังคปกรณ์
๓๖
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๓ ธาตุกถา-ปุคคลปัญญัติปกรณ์
๓๗
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๔ กถาวัตถุปกรณ์
๓๘
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๕ ยมกปกรณ์ ภาค ๑
๓๙
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๖ ยมกปกรณ์ ภาค ๒
๔๐
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๗ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑
๔๑
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๘ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๒
๔๒
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๙ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๓
๔๓
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๐ ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๔
๔๔
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๑ ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๕
๔๕
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๒ ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๖

//www.duangden.com/Buddhism/tipitaka.html

 

โดย: menorika IP: 125.24.193.245 27 พฤศจิกายน 2549 11:31:50 น.  

 

พระไตรปิฎก
เป็นคัมภีร์หรือตำราทางพระพุทธศาสนา ซึ่งรวบรวมคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า ไว้เป็นหมวดหมู่ แบ่งออกเป็น 3 ปิฎก ด้วยกันคือ
1. พระวินัยปิฎก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของ ภิกษุและภิกษุณี
2. พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาโดยทั่วไป มีประวัติและท้องเรื่องประกอบ
3. พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยธรรมะล้วน ไม่มีประวัติ และท้องเรื่องประกอบ
แผนผังพระไตรปิฎก
พระวินัยปิฎก มีอยู่ 5 หมวดด้วยกันคือ
1. มหาวิภังค์ ว่าด้วยข้อห้าม หรือวินัยที่เป็นหลักใหญ่ ๆ ของพระภิกษุ เป็นศีลของภิกษุที่มาในปาติโมกข์
2. ภิกษุณีวิภังค์ ว่าด้วยข้อห้าม หรือวินัย ของพระภิกษุณี
3. มหาวัคค์ ว่าด้วยพุทธประวัติตอนแรก และพิธีกรรมทางพระวินัย แบ่งออกเป็นขันธกะ
10 หมวด
4. จุลลวัคค์ ว่าด้วยพิธีกรรมทางพระวินัย ความเป็นมาของพระภิกษุณี และประวัติการทำสังคายนา แบ่งออกเป็นขันธกะ 12 หมวด
5. บริวาร ว่าด้วยข้อเบ็ดเตล็ดทางพระวินัย เป็นการย่อหัวข้อสรุปเนื้อความ วินิจฉัยปัญหาใน 4 เรื่องข้างต้น
พระสุตตันตปิฎก มีอยู่ 5 หมวดด้วยกันคือ
1. ทีฆนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาขนาดยาว มี 34 สูตร
2. มัชฌิมนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาขนาดกลาง ไม่ยาวและไม่สั้นเกินไป
มี 152 สูตร
3. สังยุตตนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนา ที่ประมวลธรรมะไว้เป็นพวก ๆ เรียกว่า สังยุต เช่นกัสสปสังยุต ว่าด้วยเรื่องของพระมหากัสสป โกศลสังยุต ว่าด้วยเรื่องในแคว้นโกศล มัคคสังยุต ว่าด้วยเรื่องมรรคคือข้อปฎิบัติ เป็นต้น มี 7,762 สูตร
4. อังคุตตรนิกาย ว่าพระพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาเป็นข้อ ๆ ตามลำดับจำนวน เช่น ธรรมะหมวด 1 ธรรมะหมวด 2 ธรรมะหมวด 10 แต่ละข้อก็มีจำนวนธรรมะ 1, 2, 10 ตามหมวดนั้น
มี 9,557 สูตร
5. ขุททกนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาเบ็ดเตล็ด รวมทั้งภาษิตของพระสาวก ประวัติต่าง ๆ และชาดก รวบรวมหัวข้อธรรมที่ไม่จัดเข้าใน 4 หมวดข้างต้น แบ่งเป็นหัวข้อใหญ่มี 15 เรื่อง
พระอภิธรรมปิฎก แบ่งออกเป็น 7 เรื่องด้วยกันคือ
1. ธัมมสังคณี ว่าด้วยธรรมะ รวมเป็นหมวดเป็นกลุ่ม
2. วิภังค์ ว่าด้วยธรรมะแยกเป็นข้อ ๆ
3. ธาตุกถา ว่าด้วยธรรมะจัดระเบียบความสำคัญโดยถือธาตุเป็นหลัก
4. ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยบัญญัติ 6 ชนิด และแสดงรายละเอียดเฉพาะบัญญัติอันเกี่ยวกับบุคคล
5. กถาวัตถุ ว่าด้วยคำถามคำตอบในหลักธรรม จำนวนหนึ่งประมาณ 219 หัวข้อ เพื่อถือเป็นหลักในการตัดสินพระธรรม
6. ยมก ว่าด้วยธรรมะที่รวมเป็นคู่ ๆ
7. ปัฏฐาน ว่าด้วยปัจจัย คือสิ่งที่เกื้อกูลสนับสนุน 24 อย่าง
ความเป็นมาของพระไตรปิฎก
1. พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย สมัยเมื่อนิครนถ์ นาฎบุตร เจ้าลัทธิสำคัญคนหนึ่งสิ้นชีพ พวกสาวกเกิดแตกกัน พระจุนทเถระเกรงจะเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ในพระพุทธศาสนา จึงพร้อมกับพระอานนท์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงตรัสบอกพระจุนทะ ให้รวบรวมธรรมภาษิตของพระองค์ และทำสังคายนา คือจัดระเบียบทั้งโดยอรรถและพยัญชนะ เพื่อให้พรหมจรรย์ตั้งมั่นต่อไป
2. พระสารีบุตรแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย ในห้วงเวลาเดียวกันนั้น ค่ำวันหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคแสดงธรรมจบแล้ว ได้มอบหมายให้พระสารีบุตรแสดงธรรมต่อ พระสารีบุตรได้แนะนำให้รวบรวม ร้อยกรองพระธรรมวินัย โดยจัดหมู่ธรรมะเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 10 ว่ามีธรรมะใดบ้างอยู่ในหมวดนั้น ๆ พระผู้มีพระภาคทรงรับรองว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เห็นว่าบรรดาพระภิกษุทั้งหลายยังใคร่จะฟังธรรมต่อไปอีก พระองค์จึงได้มอบหมายให้พระสารีบุตร แสดงธรรมแทน พระสารีบุตรได้ แนะนำให้รวบรวมร้อยกรองพระธรรมวินัย โดยจัดหมวดหมู่ธรรมะเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๑๐ ว่ามีธรรมะใดบ้างอยู่หมวด ๑ หมวด ๒ จนถึงหมวด ๑๐ ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงรับรองว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง
3. พระมหากัสสป เป็นผู้ริเริ่มให้มีการสังคายนา จัดระเบียบพระพุทธวจนะให้เป็นหมวดหมู่
4. พระอานนท์ เป็นผู้ที่ทรงจำพระพุทธวรนะไว้ได้มาก เป็นพุทธอุปฐาก ได้ขอพร หรือขอรับเงื่อนไขจาก พระพุทธเจ้า 8 ประการ ในเงื่อนไขประการที่ 7 และประการที่ 8 มีส่วนช่วยในการ สังคายนาพระธรรมวินัยมาก กล่าวคือ
ประการที่ 7 ถ้าความสงสัยของข้าพระองค์เกิดขึ้นเมื่อใด ขอให้ได้เข้าเฝ้าทูลถามเมื่อนั้น
ประการที่ 8 ถ้าพระองค์แสดงข้อความอันใด ในที่ลับหลังข้าพระองค์ ครั้นเสด็จมาแล้ว จักตรัสบอกข้อความอันนั้น แก่ข้าพระองค์
ทั้งนี้โดยเฉพาะประการที่ 8 อันเป็นข้อสุดท้ายมีเหตุผลว่า ถ้ามีใครถามท่านในที่ลับหลัง พระพุทธเจ้าว่า คาถานี้ สูตรนี้ ชาดกนี้ พระผู้มีพระภาดแสดงที่ไหน ถ้าพระอานนท์ตอบไม่ได้ ก็จะมีผู้กล่าวว่า พระอานนท์ตามเสด็จพระศาสดาไปดุจเงาตามตัว แม้เพียงเรื่องเท่านี้ก็ไม่รู้
ดังนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระอานนท์จึงได้รับหน้าที่ตอบคำถามเกี่ยวกับพระธรรม ในคราวสังคายนาครั้งแรก หลังพุทธปรินิพพาน 3 เดือน
ในสมัยที่ยังไม่มีการจดจารึกเรื่องราวไว้ เป็นตัวอักษรอย่างกว้างขวางเช่นในปัจจุบัน มนุษย์จึงต้องอาศัยความจำเป็นเครื่องสำคัญ ในการบันทึกเรื่องราวนั้น ๆ ไว้ แล้วบอกเล่าต่อ ๆ กันมา การทรงจำและบอกต่อ ๆ กันมาด้วยปากนี้ เรียกว่า มุขปาฐะ
5. พระอุบาลี เป็นผู้ที่สนใจและจดจำพระธรรมพระวินัยได้เป็นพิเศษ มีความเชี่ยวชาญใน พระวินัย ในการทำสังคายนาครั้งแรก พระอุบาลีได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบคำถามเกี่ยวกับ พระวินัยปิฎก
6. พระโสณกุฎิกัณณะ เป็นผู้ที่ทรงจำได้ดีมาก เคยท่องจำบางส่วนของ พระสุตตันตปิฎก เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ได้รับสรรเสริญว่าทรงจำได้ดีมาก รวมทั้งท่วงทำนองในการกล่าว ว่าไพเราะ สละสลวย แสดงให้เห็นถึง การท่องจำพระธรรมวินัย ได้มีมาตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้า
การสังคายนาพระไตรปิฎก
พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ สมัยเมื่อใกล้จะปรินิพพานว่า ธรรมวินัยที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว
ตามหลักฐานของพระเถระฝ่ายไทย กล่าวว่า การสังคายนามี 9 ครั้ง
การสังคายนาครั้งที่ 1 กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างเขาเวภารบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์ ประเทศอินเดียปัจจุบัน กระทำหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือน มีพระอรหันต์ประชุมกัน 500 รูป พระมหากัสสปเป็นประธานและเป็นผู้สอบถาม พระอานนท์เป็นผู้ตอบข้อซักถามทางพระธรรม พระอุบาลี เป็นผู้ตอบข้อซักถามทางพระวินัย พระเจ้าอชาติศัตรูเป็นผู้อุปถัมภ์ กระทำอยู่ 7 เดือน จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้มีปรากฎอยู่ในพระวินัยปิฎก
การสังคายนาครั้งที่ 2 กระทำที่วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ประเทศอินเดียปัจจุบัน กระทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 100 ปี มีพระสงฆ์ประชุมกัน 700 รูป พระยสะ กากัณฑกบุตร เป็นผู้ชักชวน พร้อมพระผู้ใหญ่อีก 8 รูป พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเป็นผู้ตอบปัญหาทางพระวินัย ที่เกิดขึ้น กระทำอยู่ 8 เดือน จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้ มีปรากฎในพระวินัยปิฎก
การสังคายนาครั้งที่ 3 กระทำที่อโศการาม กรุงปาตลีบุตร ประเทศอินเดีย กระทำเมื่อ พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว 235 ปี มีพระสงฆ์ประชุมกัน 1,000 รูป พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ เป็นหัวหน้า พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นผู้อุปถัมภ์ กระทำอยู่ 9 เดือน จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคลีบุตรได้แต่งกถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์ในพระอภิธรรมเพิ่มขึ้น เมื่อทำสังคายนาเสร็จแล้วได้ส่ง คณะทูต ไปประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ พระมหินทเถระได้นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานในลังกา
การสังคายนาครั้งที่ 4 กระทำที่อินเดียภาคเหนือ ณ เมืองชาลันทร แต่บางหลักฐานก็ว่า กระทำที่เมืองกาษมีระหรือแคชเมียร์ ภิกษุที่เข้าประชุมมีทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน กระทำเมื่อ พ.ศ. 643 มีกษัตริย์ประเทศราชมาร่วม 21 พระองค์ มีทั้งพระสงฆ์ผู้คงแก่เรียนและพราหมณ์ผู้ทรงความรู้ประชุมกัน การสังคายนาครั้งนี้จึงมีลักษณะผสมคือ มีทั้งพุทธและพราหมณ์ ภาษาที่ใช้สำหรับพระไตรปิฎกไม่เหมือนกัน คือฝ่ายเถรวาทใช้ภาษาบาลี ฝ่ายมหายานใช้ภาษาสังสฤต (บางครั้งก็ปนปรากิต) การสังคายนาครั้งนี้ ไม่มีบันทึกหลักฐานทางฝ่ายเถรวาท
การนับสังคายนาของไทย
ไทยเรายอมรับรองการสังคายนาครั้งที่ 1,2 และ 3 ในอินเดีย และครั้งที่ 1, 2, 3 และ 4 ในลังกา ซึ่งกระทำเมื่อ พ.ศ. 238, พ.ศ. 433, พ.ศ. 956 และ พ.ศ. 1587 รวมกันเป็น 7 ครั้ง
การสังคายนาครั้งที่ 8 ทำในประเทศไทย เมื่อประมาณ พ.ศ. 2020 พระเจ้าติโลกราช
แห่งเชียงใหม่ได้อาราธนาพระภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎกหลายร้อยรูปช่วยกันชำระพระไตรปิฎกที่วัดโพธาราม ใช้เวลา 1 ปี จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 1 ในประเทศไทย
การสังคายนาครั้งที่ 9 ทำในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2331 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ได้ทรงอาราธนาพระสงฆ์ให้ชำระพระไตรปิฎก มีพระสงฆ์ 218 รูป กับราชบัณฑิตาจารย์อุบาสก 32 คน ช่วยกันชำระพระไตรปิฎก แล้วจารึกลงในใบลาน แล้วเสร็จใน 5 เดือน นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 2 ในประเทศไทย
การชำระและจารึกกับการพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศไทย
สมัยที่ ๑ ชำระและจารลงในใบลาน กระทำที่เมืองเชียงใหม่ สมัยพระเจ้าติโลกราช ประมาณ พ.ศ. ๒๐๒๐ ตัวอักษรที่ใช้ในการจารึก คงเป็นอักษรแบบไทยล้านนา ซึ่งคล้ายกับอักษรพม่า
สมัยที่ ๒ ชำระและจารลงในใบลาน กระทำที่กรุงเทพ ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ให้ชำระและแปลฉบับอักษรลาวและอักษรรามัญ เป็นอักษรขอม ใส้ตู้ไว้ใน หอมณเฑียรธรรม และถวายพระสงฆ์ไว้ทุกพระอารามหลวง
สมัยที่ ๓ ชำระและพิมพ์เป็นเล่ม กระทำที่กรุงเทพ ฯ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑ ถึง พ.ศ. ๒๓๓๖ ได้คัดลอกตัวอักษรขอมในคัมภีร์ใบลาน เป็นตัวอักษรไทย และชำระแก้ไข แล้วพิมพ์เป็นเล่มหนังสือรวม ๓๙ เล่ม มีการประกาศสังคายนา แต่คนทั่วไป ไม่ถือว่าเป็นการสังคายนา พิมพ์ออกมา ๑,๐๐๐ ชุด นับว่าเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่มีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มด้วยตัวอักษรไทย ในการพิมพ์ครั้งนี้พิมพ์ได้ ๓๙ เล่มชุด ยังไม่ได้พิมพ์อีก ๖ เล่ม มาพิมพ์เพิ่มเติมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ
สมัยที่ ๔ ชำระและพิมพ์เป็นเล่ม กระทำที่กรุงเทพ ฯ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๓ เรียกว่าพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ พิมพ์ ๑,๕๐๐ จบ พระราชทานในพระราชอาณาจักร ๒๐๐ จบ พระราชทานในนานาประเทศ ๔๕๐ จบ อีก ๘๕๐ จบ พระราชทานแก่ผู้บริจาคทรัพย์ขอรับหนังสือพระไตรปิฎก
ผลจากการส่งพระไตรปิฎกไปต่างประเทศ ทำให้มีผู้พยายามอ่านอักษรไทย เพื่อให้สามารถ อ่านพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยได้ และได้มีภิกษุชาวเยอรมันเขียนหนังสือสดุดีไว้ว่า พระไตรปิฎกฉบับ ของไทยสมบูรณ์กว่าฉบับพิมพ์ด้วยอักษรโรมัน ของสมาคมบาลีปกรณ์ในอังกฤษ เป็นอันมาก
ลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
พระไตรปิฎก เป็นหลักฐานชั้น ๑ เรียกว่า พระบาลี
อรรถกถาหรือวัณณนา เป็นคำอธิบายพระไตรปิฎก เป็นหลักฐานชั้น ๒ มีขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๙๕๖
ฎีกา เป็นคำอธิบายอรรถกถา เป็นหลักฐานชั้น ๓ มีขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๕๘๗
อนุฎีกา เป็นคำอธิบายฎีกา เป็นหลักฐานชั้น ๔
การแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นภาษาไทย
การแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ได้กระทำกันมาช้านานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดแปลไว้เป็นจำนวนมาก ในรัชสมัยต่อ ๆ มา การแปลก็ยังคงดำเนินไปเป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่จะแปลพระสุตตันตปิฎก พระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎกมีน้อย สำนวนโวหารในการแปลก็ผิดกันมาก เพราะต่างยุคต่างสมัย
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสเทว) วัดสุทัศน์เทพวราราม ทรงปรารภว่า พระไตรปิฎกเป็นภาษาบาลี ผู้ใคร่ศึกษาต้องรู้ภาษาบาลีอย่างลึกซึ้ง จึงจะศึกษาได้สมประสงค์ แม้มีผู้รู้แปลสู่ภาษาไทยอยู่บ้าง ก็เลือกแปลเฉพาะบางตอน ไม่ตลอดเรื่อง ถ้าสามารถแปลจบครบบริบูรณ์ ก็จะเป็นอุปการคุณแก่ พุทธบริษัทชาวไทยอย่างใหญ่หลวง ในต่างประเทศ ได้มีนักปราชญ์อุตสาหะแปลบาลีพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท ออกเป็นภาษาของเขาแล้ว สำหรับฝ่ายมหายานนั้น ได้มีการแปลพระไตรปิฎก จากฉบับภาษาสันสกฤต ออกเป็นภาษาของชาวประเทศที่นับถือลัทธิมหายาน มาแล้วช้านาน การที่นักปราชญ์ดังกล่าวจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาของเขา ก็ด้วยเห็นประโยชน์ที่มหาชนชาวประเทศนั้น ๆ จะพึงได้รับการศึกษาพระไตรปิฎกเป็นสำคัญ จึงเป็นการสมควรด้วยประการทั้งปวง ที่จะคิดจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยให้ตลอดสาย จะเป็นเครื่องเฉลิมพระเกียรติแห่งพระมหากษัตริย์ และประเทศไทยให้ปรากฎไปในนานาประเทศ แต่เนื่องด้วยการนี้เป็นการใหญ่ เกินวิสัยที่เอกชนคนสามัญจะทำให้สำเร็จได้ จึงขอให้กระทรวงธรรมการ นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงมีพระราชดำริเห็นชอบ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้รับการจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถวายให้สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานในการนี้ ให้กรมธรรมการเป็นผู้อำนวยการฝ่ายคฤหัสถ์ จัดพิมพ์ พระไตรปิฎกเป็นสมุดตีพิมพ์และลงในใบลาน เพื่อเผยแพร่แก่พุทธบริษัทสืบไป
คณะกรรมการแปลพระไตรปิฎก เริ่มดำเนินการแปลตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. ๒๔๘๓ โดยแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ
๑. แปลโดยอรรถ ตามความในบาลีพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ สำหรับพิมพ์เป็นเล่มสมุด เรียกว่า "พระไตรปิฎกภาษาไทย"
๒. แปลโดยสำนวนเทศนา สำหรับพิมพ์ลงใบลาน เป็นคัมภีร์เทศนา เรียกว่า "พระไตรปิฎกเทศนาฉบับหลวง" แบ่งออกเป็น ๑,๒๕๐ กัณฑ์ โดยถือเกณฑ์พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป เมื่อคราวจตุรงคสันนิบาตในสมัยพุทธกาล เป็นพระวินัยปิฎก ๑๘๒ กัณฑ์ พระสุตตันตปิฎก ๑,๐๕๔ กัณฑ์ พระอภิธรรมปิฎก ๑๔ กัณฑ์ พิมพ์ลงใบลานเสร็จเรียบร้อยเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๒
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ รัฐบาลไทยดำริจะจัดทำพิธีฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐
คณะสังฆมนตรีพิจารณาเห็นสมควร จัดสร้างพระไตรปิฎกภาษาไทย ซึ่งคณะสงฆ์ได้ตั้งกรรมการจัดแปล และกำลังตรวจสำนวน ทำต้นฉบับสำหรับพิมพ์อยู่แล้วนั้น เพื่อเป็นอนุสาสนีย์เนื่องในงานนั้นด้วย
จึงได้กำหนดจำนวนหนังสือที่จะพิมพ์ จากจำนวนที่กำหนดไว้เดิม ๑,๐๐๐ จบ เป็น ๒,๕๐๐ จบ เพื่อให้เหมาะสมแก่งานฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ กรมศาสนาได้ดำเนินการจัดพิมพ์เป็นครั้งที่ ๒ เห็นว่าจำนวนเล่มที่พิมพ์ ครั้งแรกชุดละ ๘๐ เล่ม เพื่อให้ไม่หนาเกินไป และมีจำนวนเล่มเท่าจำนวนพระชนมายุของพระพุทธเจ้า แต่ทำให้การอ้างอิงไม่ตรงกับเล่มในฉบับบาลี ซึ่งมีอยู่ ๔๕ เล่ม ในการพิมพ์ครั้งนี้จึงพิมพ์จบละ ๔๕ เล่ม และประจวบกับปี พ.ศ. ๒๕๑๔ นับเป็นมหามงคลสมัยซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติมาบรรจบครบ ๒๕ ปี ทางราชการได้จัดพระราชพิธีรัชดาภิเษก ถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติ จึงตกลงเรียกพระไตรปิฎกฉบับนี้ว่า "พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง" จัดพิมพ์จำนวน ๒,๐๐๐ จบ จบละ ๔๕ เล่ม


















//www.heritage.thaigov.net/religion/tripitok/v.htm

ความหมายของพระไตรปิฎก
ไตรปิฎก “ปิฎกสาม” ; ปิฎก แปลตามศัพท์อย่างพื้นๆ ว่า กระจาดหรือตะกร้า อันเป็นภาชนะสำหรับใส่รวมของต่างๆ เข้าไว้ นำมาใช้ในความหมายว่า เป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้ว
โดยนัยนี้ ไตรปิฎกจึงแปลว่าคัมภีร์ที่บรรจุพุทธพจน์ (และเรื่องราวชั้นเดิมของพระพุทธศาสนา) ๓ ชุด หรือ ประมวลแห่งคัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมวินัย ๓ หมวดกล่าวคือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก

ซึ่งหากเราจะนับจำนวนคำสอนทั้งปวงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สามารถนับได้ทั้งสิ้น ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ (พระธรรมขันธ์ หมายถึง หมวด หรือกอง)
***
ความเป็นมาของพระไตรปิฎก
๑. พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย สมัยเมื่อนิครนถ์ นาฎบุตร เจ้าลัทธิสำคัญคนหนึ่งสิ้นชีพ พวกสาวกเกิดแตกกัน พระจุนทเถระเกรงจะเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ในพระพุทธศาสนา จึงพร้อมกับพระอานนท์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงตรัสบอกพระจุนทะ ให้รวบรวมธรรมภาษิตของพระองค์ และทำสังคายนา คือจัดระเบียบทั้งโดยอรรถและพยัญชนะ เพื่อให้พรหมจรรย์ตั้งมั่นต่อไป
๒. พระสารีบุตรแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย ในห้วงเวลาเดียวกันนั้น ค่ำวันหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคแสดงธรรมจบแล้ว ได้มอบหมายให้พระสารีบุตรแสดงธรรมต่อ พระสารีบุตรได้แนะนำให้รวบรวม ร้อยกรองพระธรรมวินัย โดยจัดหมู่ธรรมะเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๑๐ ว่ามีธรรมะใดบ้างอยู่ในหมวดนั้น ๆ พระผู้มีพระภาคทรงรับรองว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เห็นว่าบรรดาพระภิกษุทั้งหลายยังใคร่จะฟังธรรมต่อไปอีก พระองค์จึงได้มอบหมายให้พระสารีบุตร แสดงธรรมแทน พระสารีบุตรได้ แนะนำให้รวบรวมร้อยกรองพระธรรมวินัย โดยจัดหมวดหมู่ธรรมะเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๑๐ ว่ามีธรรมะใดบ้างอยู่หมวด ๑ หมวด ๒ จนถึงหมวด ๑๐ ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงรับรองว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง
๓. พระมหากัสสป เป็นผู้ริเริ่มให้มีการสังคายนา จัดระเบียบพระพุทธวจนะให้เป็นหมวดหมู่
๔. พระอานนท์ เป็นผู้ที่ทรงจำพระพุทธวรนะไว้ได้มาก เป็นพุทธอุปฐาก ได้ขอพร หรือขอรับเงื่อนไขจาก พระพุทธเจ้า ๘ ประการ ในเงื่อนไขประการที่ ๗ และประการที่ ๘ มีส่วนช่วยในการ สังคายนาพระธรรมวินัยมาก กล่าวคือ
ประการที่ ๗ ถ้าความสงสัยของข้าพระองค์เกิดขึ้นเมื่อใด ข อให้ได้เข้าเฝ้าทูลถามเมื่อนั้น
ประการที่ ๘ ถ้ าพระองค์แสดงข้อความอันใด ในที่ลับหลังข้าพระองค์ คร ั้นเสด็จมาแล้ว จักตรัสบอกข้อความอันนั้น แก่ข้าพระองค์
ทั้งนี้โดยเฉพาะประการที่ ๘ อันเป็นข้อสุดท้ายมีเหตุผลว่า ถ้ามีใครถามท่านในที่ลับหลัง พระพุทธเจ้าว่า คาถานี้ สูตรนี้ ชาดกนี้ พระผู้มีพระภาดแสดงที่ไหน ถ้าพระอานนท์ตอบไม่ได้ ก็จะมีผู้กล่าวว่า พระอานนท์ตามเสด็จพระศาสดาไปดุจเงาตามตัว แม้เพียงเรื่องเท่านี้ก็ไม่รู้
ดังนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระอานนท์จึงได้รับหน้าที่ตอบคำถามเกี่ยวกับพระธรรม ในคราวสังคายนาครั้งแรก หลังพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน
ในสมัยที่ยังไม่มีการจดจารึกเรื่องราวไว้ เป็นตัวอักษรอย่างกว้างขวาง เช่นในปัจจุบัน มนุษย์จึงต้องอาศัยความจำเป็นเครื่องสำคัญ ในการบันทึกเรื่องราวนั้น ๆ ไว้ แล้วบอกเล่าต่อ ๆ กันมา การทรงจำและบอกต่อ ๆ กันมาด้วยปากนี้ เรียกว่า มุขปาฐะ
๕. พระอุบาลี เป็นผู้ที่สนใจ และจดจำพระธรรมพระวินัยได้เป็นพิเศษ มีความเชี่ยวชาญใน พระวินัย ในการทำสังคายนาครั้งแรก พระอุบาลีได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบคำถามเกี่ยวกับ พระวินัยปิฎก
๖. พระโสณกุฎิกัณณะ เป็นผู้ที่ทรงจำได้ดีมาก เคยท่องจำบางส่วนของ พระสุตตันตปิฎก เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ได้รับสรรเสริญว่าทรงจำได้ดีมาก รวมทั้งท่วงทำนองในการกล่าว ว่าไพเราะ สละสลวย แสดงให้เห็นถึง การท่องจำพระธรรมวินัย ได้มีมาตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้า
***
การสังคายนาพระไตรปิฎก
พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ สมัยเมื่อใกล้จะปรินิพพานว่า ธรรมวินัยที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว
ตามหลักฐานของพระเถระฝ่ายไทย กล่าวว่า การสังคายนา (แปลว่า การร้อยกรอง) มี ๙ ครั้ง
การสังคายนาครั้งที่ ๑ (ปฐมสังคายนา) กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างเขาเวภารบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์ ประเทศอินเดียปัจจุบัน กระทำหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๓ เดือน มีพระอรหันต์ประชุมกัน ๕๐๐ รูป พระมหากัสสปเป็นประธานและเป็นผู้สอบถาม พระอานนท์เป็นผู้ตอบข้อซักถามทางพระธรรม พระอุบาลี เป็นผู้ตอบข้อซักถามทางพระวินัย พระเจ้าอชาติศัตรูเป็นผู้อุปถัมภ์ กระทำอยู่ ๗ เดือน จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้มีปรากฎอยู่ในพระวินัยปิฎก
การสังคายนาครั้งที่ ๒ (ทุติยสังคายนา) กระทำที่วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ประเทศอินเดียปัจจุบัน กระทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๑๐๐ ปี มีพระสงฆ์ประชุมกัน ๗๐๐ รูป พระยสะ กากัณฑกบุตร เป็นผู้ชักชวน (เป็นประธานในที่ประชุม) พร้อมพระผู้ใหญ่อีก ๘ รูป พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเป็นผู้ตอบปัญหาทางพระวินัย ที่เกิดขึ้น กระทำอยู่ ๘ เดือน จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้ มีปรากฎในพระวินัยปิฎก
การสังคายนาครั้งที่ ๓ (ตติยสังคายนา) กระทำที่อโศการาม กรุงปาตลีบุตร ประเทศอินเดีย กระทำเมื่อ พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๒๓๕ ปี มีพระสงฆ์ประชุมกัน ๑,๐๐๐ รูป พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ เป็นหัวหน้า พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นผู้อุปถัมภ์ กระทำอยู่ ๙ เดือน จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคลีบุตรได้แต่งกถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์ในพระอภิธรรมเพิ่มขึ้น เมื่อทำสังคายนาเสร็จแล้วได้ส่ง คณะทูต ไปประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ พระมหินทเถระได้นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานในลังกา

ครั้นในรัชสมัยพระเจ้าวัฏฏคามนี คณะสงฆ์ชาวลังกาได้จารึกรพะธรรมที่สังคายนาครั้งที่ ๓ นั้น ลงในใบลานเป็นครั้งแรก

จากการสังคายนาครั้งที่ ๓ นั้น ได้แบ่งพระธรรมออกเป็น ๓ ตะกร้า (ปิฎก แปลว่า ตะกร้า) หมายถึง แยกลักษณะพระธรรมที่แตกต่างกันไปออกเป็น ๓ หมวด เรียกว่า “เตปิฎก” แต่คนไทยเราเรียกว่า “พระไตรปิฎก”
การสังคายนาครั้งที่ ๔ กระทำที่อินเดียภาคเหนือ ณ เมืองชาลันทร แต่บางหลักฐานก็ว่า กระทำที่เมืองกาษมีระหรือแคชเมียร์ ภิกษุที่เข้าประชุมมีทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน กระทำเมื่อ พ.ศ. ๖๔๓ มีกษัตริย์ประเทศราชมาร่วม ๒๑ พระองค์ มีทั้งพระสงฆ์ผู้คงแก่เรียนและพราหมณ์ผู้ทรงความรู้ประชุมกัน การสังคายนาครั้งนี้จึงมีลักษณะผสมคือ มีทั้งพุทธและพราหมณ์ ภาษาที่ใช้สำหรับพระไตรปิฎกไม่เหมือนกัน คือฝ่ายเถรวาทใช้ภาษาบาลี ฝ่ายมหายานใช้ภาษาสังสฤต (บางครั้งก็ปนปรากิต) การสังคายนาครั้งนี้ ไม่มีบันทึกหลักฐานทางฝ่ายเถรวาท
***
การนับสังคายนาของไทย
ไทยเรายอมรับรองการสังคายนาครั้งที่ ๑,๒ และ ๓ ในอินเดีย และครั้งที่ ๑, ๒, ๓ และ ๔ ในลังกา ซึ่งกระทำเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘, พ.ศ. ๔๓๓, พ.ศ. ๙๕๖ และ พ.ศ. ๑๕๘๗ รวมกันเป็น ๗ ครั้ง
การสังคายนาครั้งที่ ๘ ทำในประเทศไทย เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๐๒๐ พระเจ้าติโลกราช
แห่งเชียงใหม่ได้อาราธนาพระภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎกหลายร้อยรูป ช่วยกันชำระพระไตรปิฎกที่วัดโพธาราม ใช้เวลา ๑ ปี จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ ๑ ในประเทศไทย
การสังคายนาครั้งที่ ๙ ทำในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ได้ทรงอาราธนาพระสงฆ์ให้ชำระพระไตรปิฎก มีพระสงฆ์ ๒๑๘ รูป กับราชบัณฑิตาจารย์อุบาสก ๓๒ คน ช่วยกันชำระพระไตรปิฎก แล้วจารึกลงในใบลาน แล้วเสร็จใน ๕ เดือน นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๒ ในประเทศไทย
***
การชำระและจารึกกับการพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศไทย
สมัยที่ ๑ ชำระและจารลงในใบลาน กระทำที่เมืองเชียงใหม่ สมัยพระเจ้าติโลกราช ประมาณ พ.ศ. ๒๐๒๐ ตัวอักษรที่ใช้ในการจารึก คงเป็นอักษรแบบไทยล้านนา ซึ่งคล้ายกับอักษรพม่า
สมัยที่ ๒ ชำระและจารลงในใบลาน กระทำที่กรุงเทพ ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ให้ชำระและแปลฉบับอักษรลาวและอักษรรามัญ เป็นอักษรขอม ใส้ตู้ไว้ใน หอมณเฑียรธรรม และถวายพระสงฆ์ไว้ทุกพระอารามหลวง
สมัยที่ ๓ ชำระและพิมพ์เป็นเล่ม กระทำที่กรุงเทพ ฯ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑ ถึง พ.ศ. ๒๓๓๖ ได้คัดลอกตัวอักษรขอมในคัมภีร์ใบลาน เป็นตัวอักษรไทย และชำระแก้ไข แล้วพิมพ์เป็นเล่มหนังสือรวม ๓๙ เล่ม มีการประกาศสังคายนา แต่คนทั่วไป ไม่ถือว่าเป็นการสังคายนา พิมพ์ออกมา ๑,๐๐๐ ชุด นับว่าเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่มีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มด้วยตัวอักษรไทย ในการพิมพ์ครั้งนี้พิมพ์ได้ ๓๙ เล่มชุด ยังไม่ได้พิมพ์อีก ๖ เล่ม มาพิมพ์เพิ่มเติมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ
สมัยที่ ๔ ชำระและพิมพ์เป็นเล่ม กระทำที่กรุงเทพ ฯ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๓ เรียกว่าพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ พิมพ์ ๑,๕๐๐ จบ พระราชทานในพระราชอาณาจักร ๒๐๐ จบ พระราชทานในนานาประเทศ ๔๕๐ จบ อีก ๘๕๐ จบ พระราชทานแก่ผู้บริจาคทรัพย์ขอรับหนังสือพระไตรปิฎก
ผลจากการส่งพระไตรปิฎกไปต่างประเทศ ทำให้มีผู้พยายามอ่านอักษรไทย เพื่อให้สามารถ อ่านพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยได้ และได้มีภิกษุชาวเยอรมันเขียนหนังสือสดุดีไว้ว่า พระไตรปิฎกฉบับ ของไทยสมบูรณ์กว่าฉบับพิมพ์ด้วยอักษรโรมัน ของสมาคมบาลีปกรณ์ในอังกฤษ เป็นอันมาก
***
ลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
พระไตรปิฎก เป็นหลักฐานชั้น ๑ เรียกว่า พระบาลี
อรรถกถาหรือวัณณนา เป็นคำอธิบายพระไตรปิฎก เป็นหลักฐานชั้น ๒ มีขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๙๕๖
ฎีกา เป็นคำอธิบายอรรถกถา เป็นหลักฐานชั้น ๓ มีขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๕๘๗
อนุฎีกา เป็นคำอธิบายฎีกา เป็นหลักฐานชั้น ๔
***
การแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นภาษาไทย
การแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ได้กระทำกันมาช้านานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดแปลไว้เป็นจำนวนมาก ในรัชสมัยต่อ ๆ มา การแปลก็ยังคงดำเนินไปเป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่จะแปลพระสุตตันตปิฎก พระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎกมีน้อย สำนวนโวหารในการแปลก็ผิดกันมาก เพราะต่างยุคต่างสมัย
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสเทว) วัดสุทัศน์เทพวราราม ทรงปรารภว่า พระไตรปิฎกเป็นภาษาบาลี ผู้ใคร่ศึกษาต้องรู้ภาษาบาลีอย่างลึกซึ้ง จึงจะศึกษาได้สมประสงค์ แม้มีผู้รู้แปลสู่ภาษาไทยอยู่บ้าง ก็เลือกแปลเฉพาะบางตอน ไม่ตลอดเรื่อง ถ้าสามารถแปลจบครบบริบูรณ์ ก็จะเป็นอุปการคุณแก่ พุทธบริษัทชาวไทยอย่างใหญ่หลวง ในต่างประเทศ ได้มีนักปราชญ์อุตสาหะแปลบาลีพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท ออกเป็นภาษาของเขาแล้ว สำหรับฝ่ายมหายานนั้น ได้มีการแปลพระไตรปิฎก จากฉบับภาษาสันสกฤต ออกเป็นภาษาของชาวประเทศที่นับถือลัทธิมหายาน มาแล้วช้านาน การที่นักปราชญ์ดังกล่าวจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาของเขา ก็ด้วยเห็นประโยชน์ที่มหาชนชาวประเทศนั้น ๆ จะพึงได้รับการศึกษาพระไตรปิฎกเป็นสำคัญ จึงเป็นการสมควรด้วยประการทั้งปวง ที่จะคิดจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยให้ตลอดสาย จะเป็นเครื่องเฉลิมพระเกียรติแห่งพระมหากษัตริย์ และประเทศไทยให้ปรากฎไปในนานาประเทศ แต่เนื่องด้วยการนี้เป็นการใหญ่ เกินวิสัยที่เอกชนคนสามัญจะทำให้สำเร็จได้ จึงขอให้กระทรวงธรรมการ นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงมีพระราชดำริเห็นชอบ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้รับการจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถวายให้สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานในการนี้ ให้กรมธรรมการเป็นผู้อำนวยการฝ่ายคฤหัสถ์ จัดพิมพ์ พระไตรปิฎกเป็นสมุดตีพิมพ์และลงในใบลาน เพื่อเผยแพร่แก่พุทธบริษัทสืบไป
คณะกรรมการแปลพระไตรปิฎก เริ่มดำเนินการแปลตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. ๒๔๘๓ โดยแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ
๑. แปลโดยอรรถ ตามความในบาลีพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ สำหรับพิมพ์เป็นเล่มสมุด เรียกว่า "พระไตรปิฎกภาษาไทย"
๒. แปลโดยสำนวนเทศนา สำหรับพิมพ์ลงใบลาน เป็นคัมภีร์เทศนา เรียกว่า "พระไตรปิฎกเทศนาฉบับหลวง" แบ่งออกเป็น ๑,๒๕๐ กัณฑ์ โดยถือเกณฑ์พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป เมื่อคราวจตุรงคสันนิบาตในสมัยพุทธกาล เป็นพระวินัยปิฎก ๑๘๒ กัณฑ์ พระสุตตันตปิฎก ๑,๐๕๔ กัณฑ์ พระอภิธรรมปิฎก ๑๔ กัณฑ์ พิมพ์ลงใบลานเสร็จเรียบร้อยเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๒
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ รัฐบาลไทยดำริจะจัดทำพิธีฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ คณะสังฆมนตรีพิจารณาเห็นสมควร จัดสร้างพระไตรปิฎกภาษาไทย ซึ่งคณะสงฆ์ได้ตั้งกรรมการจัดแปล และกำลังตรวจสำนวน ทำต้นฉบับสำหรับพิมพ์อยู่แล้วนั้น เพื่อเป็นอนุสาสนีย์เนื่องในงานนั้นด้วย จึงได้กำหนดจำนวนหนังสือที่จะพิมพ์ จากจำนวนที่กำหนดไว้เดิม ๑,๐๐๐ จบ เป็น ๒,๕๐๐ จบ เพื่อให้เหมาะสมแก่งานฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ กรมศาสนาได้ดำเนินการจัดพิมพ์เป็นครั้งที่ ๒ เห็นว่าจำนวนเล่มที่พิมพ์ ครั้งแรกชุดละ ๘๐ เล่ม เพื่อให้ไม่หนาเกินไป และมีจำนวนเล่มเท่าจำนวนพระชนมายุของพระพุทธเจ้า แต่ทำให้การอ้างอิงไม่ตรงกับเล่มในฉบับบาลี ซึ่งมีอยู่ ๔๕ เล่ม ในการพิมพ์ครั้งนี้จึงพิมพ์จบละ ๔๕ เล่ม และประจวบกับปี พ.ศ. ๒๕๑๔ นับเป็นมหามงคลสมัยซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ มาบรรจบครบ ๒๕ ปี ทางราชการได้จัดพระราชพิธีรัชดาภิเษก ถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติ จึงตกลงเรียกพระไตรปิฎกฉบับนี้ว่า "พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง" จัดพิมพ์จำนวน ๒,๐๐๐ จบ จบละ ๔๕ เล่ม
***
พระไตรปิฎก จัดแบ่งหมวดหมู่โดยย่อดังนี้
๑. พระวินัยปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ แบ่งเป็น ๕ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า อา ปา ม จุ ป) คือ
๑. อาทิกัมมิกะ หรือ ปาราชิก ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติหนักของฝ่ายภิกษุสงฆ์ ตั้งแต่ปาราชิกถึงอนิยต
๒. ปาจิตตีย์ ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติเบา ตั้งแต่นิสสัคคิยปาจิตตีย์ถึงเสขิยะรวมตลอดทั้งภิกขุนีวิภังค์ทั้งหมด
๓. มหาวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนต้น ๑๐ ขันธกะหรือ ๑๐ ตอน
๔. จุลวรรคว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนปลาย ๑๒ ขันธกะ
๕. ปริวาร คัมภีร์ประกอบหรือคู่มือบรรจุคำถามคำตอบสำหรับซ้อมความรู้พระวินัย
พระวินัยปิฎกนี้ แบ่งอีกแบบหนึ่งเป็น ๕ คัมภีร์เหมือนกัน (จัด ๒ ข้อในแบบต้นนั้นใหม่) คือ
๑. มหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล ๒๒๗ ข้อ) ฝ่ายภิกษุสงฆ์
๒. ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล ๓๑๑ ข้อ) ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์
๓. มหาวรรค
๔. จุลวรรค
๕. ปริวาร
บางทีท่านจัดให้ย่นย่อเข้าอีก แบ่งพระวินัยปิฎกเป็น ๓ หมวด คือ
๑. วิภังค์ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ (คือรวมข้อ ๑ และ ๒ ข้างต้นทั้งสองแบบเข้าด้วยกัน)
๒. ขันธกะ ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ทั้ง ๒๒ ขันธกะหรือ ๒๒ บทตอน (คือรวมข้อ ๓ และ ๔ เข้าด้วยกัน)
๓. ปริวาร คัมภีร์ประกอบ (คือข้อ ๕ ข้างบน)
๒. พระสุตตันตปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนาคำบรรยายธรรมต่างๆที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคล และโอกาสตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่าและเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น ๕ นิกาย (เรียกย่อหรือหัวใจว่า ที ม สํ อํ ขุ) คือ
๑. ทีฆนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว ๓๔ สูตร
๒. มัชฌิมนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีความยาวปานกลาง ๑๕๒ สูตร
๓. สังยุตตนิกายชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นกลุ่ม ๆ เรียกว่าสังยุตต์หนึ่ง ๆ ตามเรื่องที่เนื่องกัน หรือตามหัวข้อหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องรวม ๕๖ สังยุตต์ มี ๗,๗๖๒ สูตร
๔. อังคุตตรนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นหมวด ๆ เรียกว่านิบาตหนึ่งๆ ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรม รวม ๑๑ นิบาต หรือ ๑๑ หมวดธรรมมี ๙,๕๕๗ สูตร
๕. ขุททกนิกาย ชุมนุมพระสูตรคาถาภาษิตคำอธิบาย และเรื่องราวเบ็ดเตล็ดที่จัดเข้าในสี่นิกายแรกไม่ได้มี ๑๕ คัมภีร์
๓. พระอภิธรรมปิฎก ประมวลพระพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม คือหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วน ๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่าสํ วิ ธา ปุ ก ย ป) คือ
๑. สังคณี หรือ ธัมมสังคณี รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายทีละประเภท ๆ
๒. วิภังค์ ยกหมวดธรรมสำคัญ ๆ ขึ้นตั้งเป็นหัวเรื่องแล้วแยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด
๓. ธาตุกถาสงเคราะห์ข้อธรรมต่าง ๆ เข้าในขันธ์ อายตนะ ธาตุ
๔. ปุคคลบัญญัติ บัญญัติ ความหมายของบุคคลประเภทต่างๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้นๆ
๕. กถาวัตถุ แถลงและวินิจฉัยทัศนะของนิกายต่างๆ สมัยสังคายนาครั้งที่ ๓
๖. ยมก ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ
๗. ปัฏฐาน หรือมหาปกรณ์ อธิบายปัจจัย๒๔ แสดงความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันแห่งธรรมทั้งหลายโดยพิสดาร
***
พระไตรปิฎกที่พิมพ์ด้วยอักษรไทยท่านจัดแบ่งเป็น ๔๕ เล่ม แสดงพอให้เห็นรูปเค้าดังนี้

ก. พระวินัยปิฎก ๘ เล่ม
เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ ว่าด้วยปาราชิก สังฆาทิเสส และอนิยตสิกขาบท (สิกขาบทในปาฏิโมกข์ฝ่ายภิกษุสงฆ์ ๑๙ ข้อแรก)
เล่ม ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ ว่าด้วย สิกขาบทเกี่ยวกับอาบัติเบาของภิกษ ุ(เป็นอันครบสิกขาบท ๒๒๗ หรือ ศีล ๒๒๗)
เล่ม ๓ ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบท ๓๑๑ ของภิกษุณี
เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธ กะ ว่าด้วยการอุปสมบท (เริ่มเรื่องตั้งแต่ตรัสรู้และประดิษฐานพระศาสนา) อุโบสถ จำพรรษา และปวารณา
เล่ม ๕ มหาวรรค ภาค ๒ มี ๖ ขันธ กะ ว่าด้วยเรื่องเครื่องหนังเภสัช กฐิน จีวร นิคหกรรม และการทะเลาะวิวาทและสามัคคี
เล่ม ๖ จุลวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธกะ ว่าด้วยเรื่องนิคหกรรม วุฏฐานวิธี และการระงับอธิกรณ์
เล่ม ๗ จุลวรรค ภาค ๒ มี ๘ ขันธกะ ว่าด้วยข้อบัญญัติปลีกย่อย เรื่องเสนาสนะสังฆเภท วัตรต่าง ๆ การงดสวดปาฏิโมกข์ เรื่องภิกษุณี เรื่องสังคายนาครั้งที่ ๑ และ ครั้งที่ ๒
เล่ม ๘ เปริวาร คู่มือถามตอบซ้อมความรู้พระวินัย
ข. พระสุตตันปิฎก ๒๕ เล่ม
๑. ทีฆนิกาย ๓ เล่ม
เล่ม ๙ สีลขันธวรรค มีพระสูตรขนาดยาว ๑๓ สูตร หลายสูตรกล่าวถึงจุลศีลมัชฌิมศีล มหาศีล
เล่ม ๑๐ มหาวรรค มีพระสูตรยาว ๑๐ สูตร ส่วนมากชื่อเริ่มด้วย“มหา” เช่น มหาปรินิพพานสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น
เล่ม ๑๑ ปาฏิกวรรค มีพระสูตรยาว ๑๑ สูตร เริ่มด้วยปาฏิกสูตรหลายสูตรมีชื่อเสียง เช่น จักกวัตติสูตร อัคคัญสูตร สิงคาลกสูตร และสังคีติสูตร
๒. มัชฌิมนิกาย ๓ เล่ม
เล่ม ๑๒ มูลปัณณาสก์ บั้นต้น มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร
เล่ม ๑๓ มัชฌิมปัณณาสก์ บั้นกลางมีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร
เล่ม ๑๔ อุปริปัณณาสก์ บั้นปลายมีพระสูตรขนาดกลาง ๕๒ สูตร
๓. สังยุตตนิกาย ๕ เล่ม
เล่ม ๑๕ สคาถวรรค รวมคาถาภาษิตที่ตรัสและกล่าวตอบบุคคลต่าง ๆ เช่น เทวดามาร ภิกษุณี พราหมณ์ พระเจ้าโกศล เป็นต้น จัดเป็นกลุ่มเรื่องตามบุคคลและสถานที่ มี ๑๑ สังยุตต์
เล่ม ๑๖ นิทานวรรค ครึ่งเล่มว่าด้วยเหตุปัจจัย คือหลักปฏิจจสมุปบาทนอกนั้น มีเรื่องเหตุ การบรรลุธรรม สังสารวัฏ ลาภสักการะ เป็นต้น จัด เป็น ๑๐ สังยุตต์
เล่ม ๑๗ ขันธวารวรรค ว่าด้วยเรื่องขันธ์ ๕ ในแง่มุมต่างๆ มีเรื่องเบ็ดเตล็ดรวมทั้งเรื่องสมาธิและทิฏฐิต่าง ๆ ปะปนอยู่บ้าง จัดเป็น ๑๓ สังยุตต์
เล่ม ๑๘ สฬายตนวรรค เกือบครึ่งเล่มว่าด้วยอายตนะ ๖ ตามแนวไตรลักษณ์ เรื่องอื่นมีเบญจศีลข้อปฏิบัติให้ถึงอสังขตะ อันตคาหิกทิฏฐิ เป็นต้น จัดเป็น ๑๐ สังยุตต์
เล่ม ๑๙ มหาวรรค ว่าด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗ แต่เรียงลำดับเป็นมรรคโพชฌงค์ สติปัฏฐาน อินทรีย์ สัมมัปปธาน พละ อิทธิบาท รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น นิวรณ์ สังโยชน์ อริยสัจจ์ฌาน ตลอดถึงองค์คุณของพระโสดาบันและอานิสงส์ของการบรรลุโสดาปัตติผล จัดเป็น ๑๒ สังยุตต์ (พึงสังเกตว่าคัมภีร์นี้เริ่มต้นด้วยการย้ำความสำคัญของความมีกัลยาณมิตร เป็นจุดเริ่มต้นเข้าสู่มรรค)
๔. อังคุตตรนิกาย ๕ เล่ม
เล่ม ๒๐ เอก-ทุก-ติกนิบาต ว่าด้วยธรรม หมวด ๑ หมวด ๒ หมวด ๓ รวมทั้งเรื่องเอตทัคคะ
เล่ม ๒๑ จตุกกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๔
เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๕-๖
เล่ม ๒๓ สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๗-๘-๙
เล่ม ๒๔ ทสก-เอกาทสกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๑๐-๑๑
ในอังคุตตรนิกายมีข้อธรรมหลากหลายลักษณะ ตั้งแต่ทิฏฐธัมมิกัตถะถึงปรมัตถะทั้งสำหรับบรรพชิต และสำหรับคฤหัสถ์ กระจายกันอยู่โดยเรียงตามจำนวน
๕. ขุททกนิกาย ๙ เล่ม
เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕ คือ ขุททกปาฐะ (บทสวดย่อยๆ โดยเฉพาะมงคลสูตร รตนสูตร กรณียเมตตสูตร) ธรรมบท (เฉพาะตัวคาถาทั้ง ๔๒๓) อุทาน (พุทธอุทาน ๘๐) อิติวุตตกะ(พระสูตรที่ไม่ขึ้นต้นด้วย “เอวมฺเม สุตํ” แต่เชื่อมความเข้าสู่คาถาด้วยคำว่า “อิติ วุจฺจติ” รวม ๑๑๒ สูตร) และสุตตนิบาต (ชุมนุมพระสูตรชุดพิเศษ ซึ่งเป็นคาถาล้วน หรือมีความนำเป็นร้อยแก้ว รวม ๗๑ สูตร)
เล่ม ๒๖ มีคัมภีร์ย่อยที่เป็นคาถาล้วน ๔ คือ วิมานวัตถุ (เรื่องผู้เกิดในสวรรค์อยู่วิมานเล่าการทำความดีของตนในอดีต ที่ทำให้ได้ไปเกิดเช่นนั้น ๘๕ เรื่อง) เปตวัตถุ (เรื่องเปรตเล่ากรรมชั่วในอดีตของตน๕๑ เรื่อง) เถรคาถา (คาถาของพระอรหันตเถระ ๒๖๔ รูปที่กล่าวแสดงความรู้สึกสงบประณีตในการบรรลุธรรมเป็นต้น) เถรีคาถา (คาถาของพระอรหันตเถรี ๗๓ รูป ที่กล่าวแสดงความรู้สึกเช่นนั้น)
เล่ม ๒๗ ชาดก ภาค ๑ รวมคาถาแสดงคติธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ในอดีตชาติ และมีคาถาภาษิตของผู้อื่นปนอยู่บ้าง ภาคแรกตั้งแต่เรื่องที่มีคาถาเดียว (เอกนิบาต)ถึงเรื่องมี ๔๐ คาถา (จัตตาฬีสนิบาต) รวม ๕๒๕ เรื่อง
เล่ม ๒๘ ชาดก ภาค ๒ รวมคาถาอย่างในภาค ๑ นั้น เพิ่มอีก แต่เป็นเรื่องอย่างยาวตั้งแต่เรื่องมี ๕๐ คาถา (ปัญญาสนิบาต) ถึงเรื่องมีคาถามากมาย (มหานิบาต) จบลงด้วยมหาเวสสันดรชาดกซึ่งมี ๑,๐๐๐ คาถารวมอีก ๒๒ เรื่อง บรรจบทั้งสองภาค เป็น ๕๔๗ ชาดก
เล่ม ๒๙ มหานิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร๑๖ สูตร ในอัฏฐกวรรคแห่งสุตตนิบาต
เล่ม ๓๐ จูฬนิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตร ในปารายนวรรค และขัคควิสาณสูตร ในอุรควรรค แห่งสุตตนิบาต
เล่ม ๓๑ ปฏิสัมภิทามรรค ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายข้อธรรมที่ลึกซึ้งต่างๆเช่นเรื่อง ญาณ ทิฏฐิ อานาปาน อินทรีย์ วิโมกข์ เป็นต้น อย่างพิสดาร เป็นทางแห่งปัญญาแตกฉาน
เล่ม ๓๒ อปทาน ภาค ๑ คาถาประพันธ์แสดงประวัติ โดยเฉพาะในอดีตชาติเริ่มด้วยพุทธอปทาน (ประวัติของพระพุทธเจ้า) ปัจเจกพุทธอปทาน (เรื่องราวของพระปัจเจกพุทธเจ้า) ต่อด้วยเถรอปทาน(อัตตประวัติแห่งพระอรหันตเถระ) เรียงลำดับเริ่มแต่พระ สารีบุตร ตามด้วยพระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะพระอนุรุทธ พระปุณณมันตานีบุตร พระอุบาลี พระอัญญาโกณฑัญญะ พระปิณโฑลภารทวาชะ พระขทิรวนิยเรวตะ พระอานนท์ต่อเรื่อยไปจนจบภาค ๑ รวม พระอรหันตเถระ ๔๑๐ รูป
เล่ม ๓๓ อปทาน ภาค ๒ คาถาประพันธ์แสดงอัตตประวัติพระอรหันตเถระต่ออีก จนถึงรูปที่ ๕๕๐ ต่อนั้น เป็นเถรีอปทานแสดงเรื่องราวของพระอรหันตเถรี ๔๐ เรื่อง เริ่มด้วยพระเถรีที่ไม่คุ้นนาม๑๖ รูป ต่อด้วยพระเถรีที่สำคัญเรียงลำดับคือพระมหาปชาบดีโคตมี พระเขมา พระอุบลวรรณา พระปฏาจารา พระกุณฑลเกสีพระกีสาโคตมี พระธรรมทินนา พระสกุลา พระนันทา พระโสณา พระภัททกา ปิลานี พระยโสธรา และท่านอื่นๆ ต่อไปจนจบ ครั้นจบอปทานแล้ว ท้ายเล่ม ๓๓ นี้ มีคัมภีร์ พุทธวงส์ เป็นคาถาประพันธ์แสดงเรื่องของพระพุทธเจ้าในอดีต ๒๔ พระองค์ ที่พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันเคยได้ทรงเฝ้า และได้รับพยากรณ์จนถึงประวัติของพระองค์เอง รวมเป็นพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ จบแล้วมีคัมภีร์สั้นๆ ชื่อ จริยาปิฎก เป็นท้ายสุด แสดงพุทธจริยาในอดีตชาติ ๓๕ เรื่องที่มีแล้วในชาดก แต่เล่าด้วยคาถาประพันธ์ใหม่ ชี้ตัวอย่างการบำเพ็ญบารมีบางข้อ
ค. พระอภิธรรมปิฎก ๑๒ เล่ม
เล่ม ๓๔ ธัมมสังคณี ต้นเล่มแสดง มาติกา (แม่บท) อันได้แก่บทสรุปแห่งธรรมทั้งหลายที่จัดเป็นชุดๆ มีทั้งชุด ๓ เช่นจัดทุกสิ่งทุกอย่างประดามีเป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากฤตธรรมชุดหนึ่งเป็นอดีตธรรม อนาคตธรรม ปัจจุบันธรรม ชุดหนึ่ง ฯลฯ และชุด ๒ เช่นจัดทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสังขตธรรมอสังขตธรรม ชุดหนึ่ง รูปีธรรม อรูปีธรรม ชุดหนึ่ง โลกียธรรม โลกุตตรธรรม ชุดหนึ่งเป็นต้น รวมทั้งหมดมี ๑๖๔ชุด หรือ ๑๖๔ มาติกา จากนั้นขยายความมาติกาที่ ๑ เป็นตัวอย่าง แสดงให้เห็นกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากฤตธรรมที่กระจายออกไปโดย จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ท้ายเล่มมีอีก ๒ บท แสดงคำอธิบายย่อหรือคำจำกัดความข้อธรรมทั้งหลายในมาติกาที่กล่าวถึงข้างต้นจนครบ ๑๖๔ มาติกา ได้คำจำกัดความข้อธรรมใน ๒ บท เป็น ๒ แบบ(แต่บทท้ายจำกัดความไว้เพียง ๑๒๒ มาติกา)
เล่ม ๓๕ วิภังค์ ยกหลักธรรมสำคัญ ๆ ขึ้นมาแจกแจงแยกแยะอธิบายกระจายออกให้เห็นทุกแง่จนชัดเจนจบไปเป็นเรื่องๆ รวมอธิบายทั้งหมด ๑๘ เรื่อง คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘อริยสัจจ์ ๔ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ฌาน อัปปมัญญาศีล ๕ ปฏิสัมภิทา ๔ ญาณประเภทต่าง ๆ และเบ็ดเตล็ดว่าด้วยอกุศลธรรมต่าง ๆ อธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่าวิภังค์ของเรื่องนั้นๆ เช่นอธิบายขันธ์ ๕ ก็เรียกขันธวิภังค์ เป็นต้น รวมมี ๑๘ วิภังค์
เล่ม ๓๖ ธาตุกถา นำข้อธรรมในมาติกาทั้งหลายและข้อธรรมอื่น ๆอีก ๑๒๕ อย่าง มาจัดเข้าในขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ ว่าข้อใดได้หรือไม่ได้ในอย่างไหน ๆ และปุคคลบัญญัติบัญญัติความหมายของชื่อที่ใช้เรียกบุคคลต่างๆ ตามคุณธรรม เช่นว่า “โสดาบัน” ได้แก่ บุคคลผู้ละสังโยชน์๓ ได้แล้ว ดังนี้เป็นต้น
เล่ม ๓๗ กถาวัตถุ คัมภีร์ที่พระโมค คัลลีบุตรติสสเถระ ประธานการสังคายนาครั้งที่ ๓ เรียบเรียงขึ้น เพื่อแก้ความเห็นผิดของนิกายต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาครั้งนั้น ซึ่งได้แตกแยกกันออกแล้วถึง๑๘ นิกาย เช่นความเห็นว่า พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการเกิดได้ ทุกอย่างเกิดจากกรรมเป็นต้น ประพันธ์เป็นคำปุจฉาวิสัชนา มีทั้งหมด ๒๑๙ กถา
เล่ม ๓๘ ยมก ภาค ๓ คัมภีร์อธิบายหลักธรรมสำคัญให้เห็นความหมาย และขอบเขตอย่างชัดเจน และทดสอบความรู้อย่างลึกซึ้ง ด้วยวิธีตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ ๆ (ยมก แปลว่า คู่)เช่นถามว่า ธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศล เป็นกุศลมูล หรือว่าธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศลมูล เป็นกุศล, รูป (ทั้งหมด) เป็นรูปขันธ์ หรือว่ารูปขันธ์(ทั้งหมด) เป็นรูป, ทุกข์ (ทั้งหมด) เป็นทุกขสัจจ์ หรือว่าทุกขสัจจ์ (ทั้งหมด) เป็นทุกข์ หลักธรรมที่นำมาอธิบายในเล่มนี้มี๗ คือ มูล (เช่นกุศลมูล) ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ สังขาร อนุสัย ถามตอบอธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่ายมกของเรื่องนั้น ๆ เช่น มูลยมก ขันธยมก เป็นต้น เล่มนี้จึงมี ๗ ยมก
เล่ม ๓๙ ยมก ภาค ๒ ถามตอบอธิบายหลักธรรมเพิ่มเติมจากภาค ๑ อีก๓ เรื่อง คือ จิตตยมก ธรรมยมก (กุศล-อกุศล-อัพยากตธรรม) อินทรียยมกบรรจบเป็น ๑๐ ยมก
เล่ม ๔๐ ปัฏฐาน ภาค ๑ คัมภีร์ปัฏฐานอธิบายปัจจัย ๒๔ โดยพิสดารแสดงความสัมพันธ์อิงอาศัยเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแง่ด้าน ต่าง ๆ ธรรมที่นำมาอธิบายก็คือข้อธรรมที่มีในมาติกาคือแม่บทหรือบทสรุป ธรรมซึ่งกล่าวไว้แล้วในคัมภีร์สังคณีนั่นเองแต่อธิบายเฉพาะ ๑๒๒ มาติกาแรกที่เรียกว่าอภิธรรมมาติกา ปัฏฐานเล่มแรกนี้ อธิบายความหมายของปัจจัย ๒๔ เป็นการปูพื้นความเข้าใจเบื้องต้นก่อนจากนั้นจึงเข้าสู่เนื้อหาของเล่ม คือ อนุโลมติกปัฏฐาน อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด๓ (ติกมาติกา) โดยปัจจัย ๒๔ นั้น เช่นว่ากุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย (เพราะศรัทธา จึงให้ทานจึงสมาทานศีล จึงบำเพ็ญฌาน จึงเจริญวิปัสสนา ฯลฯ) กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย (คิดถึงทานที่ตนได้ให้ศีลที่ได้รักษาแล้ว ดีใจ ยึดเป็นอารมณ์แน่นหนาจนเกิดราคะ ทิฏฐิ, มีศรัทธา มีศีล มีปัญญาแล้วเกิดมานะว่า ฉันดีกว่า เก่งกว่า หรือ เกิดทิฏฐิว่า ต้องทำอย่างเรานี้เท่านั้นจึงถูกต้อง ฯลฯ) อกุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย(เพราะความอยากบางอย่าง หรือเพราะมานะหรือทิฏฐิ จึงให้ทาน จึงรักษาศีล จึงทำฌานให้เกิดฯลฯ) กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอารัมมณปัจจัย (คิดถึงฌานที่ตนเคยได้แต่มาเสื่อมไปเสียแล้วเกิดความโทมนัส ฯลฯ) อย่างนี้เป็นต้น (เล่มนี้อธิบายแต่ในเชิงอนุโลม คือตามนัยปกติไม่อธิบายตามนัยปฏิเสธจึงเรียกว่าอนุโลมปัฏฐาน)
เล่ม ๔๑ ปัฏฐาน ภาค ๒ อนุโลมติกปัฏฐาน ต่อ คือ อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๓ ต่อจากเล่ม ๔๐ เช่น อดีตธรรมเป็นปัจจัยแก่ปัจจุบันธรรม โดยอารัมมณปัจจัย(พิจารณารูปเสียงเป็นต้น ที่ดับเป็นอดีตไปแล้วว่า เป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดความโทมนัสขึ้นฯลฯ) เป็นต้น
เล่ม ๔๒ ปัฏฐาน ภาค ๓ อนุโลมทุกปัฏฐาน อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) เช่น โลกียธรรมเป็นปัจจัยแก่โลกียธรรม โดยอารัมมณปัจจัย (รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ) ดังนี้ เป็นต้น
เล่ม ๔๓ ปัฏฐาน ภาค ๔ อนุโลมทุกปัฏฐาน ต่อ
เล่ม ๔๔ ปัฏฐาน ภาค ๕ ยังเป็นอนุโลมปัฏฐาน แต่อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทต่างๆ ข้ามชุดกันไปมา ประกอบด้วย อนุโลมทุกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด๒ (ทุกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) เช่น อธิบาย “กุศลธรรมที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เป็นโลกียธรรม โดยอธิปติปัจจัย” เป็นอย่างไร เป็นต้น อนุโลมติกทุกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๓(ติกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) อนุโลมติกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด๓ (ติกมาติกา) โยงระหว่างต่างชุดกัน เช่นอธิบายว่า “กุศลธรรมที่เป็นอดีต ธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เป็นปัจจุบันธรรม” เป็นอย่างไร เป็นต้น อนุโลมทุกทุกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) กับธรรมในบทชุด๒ (ทุกมาติกา) โยงระหว่างต่างชุดกัน เช่นชุดโลกียะ โลกุตตระ กับชุดสังขตะอสังขตะ เป็นต้น
เล่ม ๔๕ ปัฏฐาน ภาค ๖ เป็นปัจจนียปัฏฐาน คืออธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายอย่างเล่มก่อนๆ นั่นเอง แต่อธิบายแง่ปฏิเสธ แยกเป็นปัจจนียปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ+ปฏิเสธเช่นว่า ธรรมที่ไม่ใช่กุศล อาศัยธรรมที่ไม่ใช่กุศลเกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร อนุโลมปัจจนียปัฏฐานคืออนุโลม+ปฏิเสธ เช่นว่า อาศัยโลกิยธรรม ธรรมที่ไม่ใช่โลกุตตรธรรมเกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ+อนุโลม เช่นว่า อาศัยธรรมที่ไม่ใช่กุศลธรรมที่เป็นอกุศล เกิดขึ้น โดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไรและในทั้ง ๓ แบบนี้ แต่ละแบบ จะอธิบายโดยใช้ธรรมในแม่บทชุด ๓ แล้วต่อด้วยชุด ๒ แล้วข้ามชุดระหว่างชุด ๒ กับชุด๓ ชุด ๓ กับชุด ๒ ชุด ๓ กับชุด ๓ ชุด ๒ กับชุด ๒ จนครบทั้งหมดเหมือนกัน ดังนั้นแต่ละแบบจึงแยกซอยละเอียดออกไปเป็นติก ทุก ทุกติก ติกทุก ติกติก ทุกทุก ตามลำดับ (เขียนให้เต็มเป็น ปัจจนียติกปัฏฐานปัจจนียทุกปัฏฐาน ปัจจนียทุกติกปัฏฐาน ฯลฯ ดังนี้เรื่อยไป จนถึงท้ายสุดคือ ปัจจนียานุโลมทุกทุกปัฏฐาน) คัมภีร์ปัฏฐานนี้ ท่านอธิบายค่อนข้างละเอียดเฉพาะเล่มต้น ๆ เท่านั้นเล่มหลังๆ ท่านแสดงไว้แต่หัวข้อหรือแนว และทิ้งไว้ให้ผู้เข้าใจแนวนั้นแล้วเอาไปแจกแจงโดยพิสดารเอง โดยเฉพาะเล่มสุดท้ายคือภาค ๖ แสดงไว้ย่นย่อที่สุด แม้กระนั้นก็ยังเป็นหนังสือถึง ๖ เล่ม หรือ ๓,๓๒๐ หน้ากระดาษพิมพ์ถ้าอธิบายโดยพิสดารทั้งหมด จะเป็นเล่มหนังสืออีกจำนวนมากมายหลายเท่าตัว ท่านจึงเรียกปัฏฐานอีกชื่อหนึ่งว่า “มหาปกรณ์”แปลว่า ตำราใหญ่ ใหญ่ทั้งโดยขนาดและโดยความสำคัญ
พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระไตรปิฎกมีเนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และพระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
ที่มา :
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดยพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) และ
หอมรดกไทย (//www.heritage.thaigov.net/religion/tripitok/tripitok.htm
พระไตรปิฎก
เล่มที่

พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ปฐมภาค

พระวินัยปิฎก เล่ม ๒ มหาวิภังค์ ทุติยภาค

พระวินัยปิฎก เล่ม ๓ ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑

พระวินัยปิฎก เล่ม ๕ มหาวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก เล่ม ๖ จุลวรรค ภาค ๑

พระวินัยปิฎก เล่ม ๗ จุลวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก เล่ม ๘ ปริวาร

พระสุตตันตปิฏก เล่ม ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
๑๐
พระสุตตันตปิฏก เล่ม ๒ ทีฆนิกาย มหาธวรรค
๑๑
พระสุตตันตปิฏก เล่ม ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
๑๒
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๑๓
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๑๕
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗ สังยุตตนิกาย สถาควรรค
๑๖
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๘ สังยุตตนิกาย นิทานควรรค
๑๗
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๑๘
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๑๙
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๒๑
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๒๔
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๒๕
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๒๖
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถระ-เถรีคาถา
๒๗
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๒๘
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๐ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
๒๙
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๑ มหานิทเทส
๓๐
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๒ จูฬนิทเทส
๓๑
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ ปฏิสัมภิทามรรค
๓๒
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๔ ขุททกนิกาย อุปาทาน ภาค ๑
๓๓
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๕ ขุททกนิกาย อุปาทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์-จริยาปิฎก
๓๔
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
๓๕
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๒ วิภังคปกรณ์
๓๖
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๓ ธาตุกถา-ปุคคลปัญญัติปกรณ์
๓๗
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๔ กถาวัตถุปกรณ์
๓๘
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๕ ยมกปกรณ์ ภาค ๑
๓๙
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๖ ยมกปกรณ์ ภาค ๒
๔๐
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๗ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑
๔๑
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๘ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๒
๔๒
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๙ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๓
๔๓
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๐ ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๔
๔๔
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๑ ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๕
๔๕
พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑๒ ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๖

//www.duangden.com/Buddhism/tipitaka.html

 

โดย: menorika IP: 125.24.193.245 27 พฤศจิกายน 2549 11:36:00 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ภัทรกาล
Location :
ชัยภูมิ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





Friends' blogs
[Add ภัทรกาล's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.