ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
31 สิงหาคม 2555
 
All Blogs
 
ขายเกลื่อน! รังนกปลอมทำจากยางไม้-นำเข้าจากจีน



ขายเกลื่อน! รังนกปลอมทำจากยางไม้-นำเข้าจากจีน

ยึดรังนกปลอมทำจากยางไม้ยาคารายา นำเข้าจากจีน เกือบ 2 พันขวด ที่ จ.เชียงราย ชี้โดนข้อหาทั้งผลิตโดยไม่ได้รับอนุญาต และผลิตอาหารที่ไม่ได้ อย.

วานนี้ (30 สิงหาคม) นพ.ชำนาญ หาญสุทธิเวชกุล นายแพทย์สาธารณสุข จ.เชียงราย ได้แถลงข่าวเรื่องการตรวจยึดผลิตภัณฑ์รังนกปลอม โดยมีของกลางเป็นผลิตภัณฑ์รังนก สีขวดใส ฉลากสีเหลือง ขนาดบรรจุ 130 มิลลิกรัม จำนวน 1,428 ขวด และสีน้ำเงินขนาดเดียวกันจำนวน 300 ขวด ขวดละ 130 มิลลิกรัม รวมทั้งหมด 1,728 ขวด ซึ่งแต่ละขวด ไม่ได้ระบุวันผลิต และวันหมดอายุ รวมไปถึงสถานที่ที่ผลิต นอกจากนี้ยังไม่มีตรา อย. และ มอก.ด้วย

ทั้งนี้ นพ.ชำนาญ กล่าวต่อว่า สำหรับผลิตภัณฑ์รังนกดังกล่าว สืบทราบมาว่าผลิตที่ ต.โรงช้าง อ.ป่าแดด จ.เชียงราย โดยทางโรงพยาบาลป่าแดง และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าไปตรวจพบ จึงได้แจ้งเตือนไปยังผู้ผลิตให้ขอใบอนุญาตให้ถูกต้อง จากนั้นตนได้ยึดของกลางทั้งหมดมาตรวจสอบ ซึ่งหากยังฝ่าฝืนจะต้องดำเนินคดี ในข้อหาก่อตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ ยังโดนข้อหาผลิตอาหารที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับด้วย

พร้อมกันนี้ แพทย์สาธารณสุข จ.เชียงราย ยังได้กล่าวถึงผลิตภัณฑ์รังนกดังกล่าวว่า เบื้องต้นเมื่อตรวจสอบพบว่า รังนกนั้นผลิตจากยางยาคารายา ซึ่งได้จากต้นสุพรรณิกา โดยมีคุณสมบัติคือ เมื่อนำไปแช่น้ำก็จะดูดซับน้ำและพองตัวคล้ายรังนก ไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งนี้ มีการนำเข้ามาจากประเทศจีนกิโลกรัมละ 3,000 - 4,000 บาท

นพ.ชำนาญ ยังกล่าวต่อว่า สำหรับกรณีที่นำยางยาคารายามาผลิตรังนก ทางผู้ผลิตได้จำหน่ายเพียงขวดละ 10 บาทเท่านั้น ซึ่งเป็นราคาที่ถูกมากเมื่อเทียบกับรังนกของจริง แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ารังนกที่ผลิตจากยางยาคารายาจะไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ ทางสาธารณสุขก็ต้องตรวจสอบถึงขั้นตอนตั้งแต่การผลิตอีกที เพราะอาจจะไม่ได้มาตรฐาน และเมื่อรับประทานเข้าไปอาจจะเกิดปัญหาเรื่องการติดเชื้อได้ ซึ่งตนขอฝากเตือนไปยังผู้บริโภคให้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก่อนซื้อมารับประทานด้วย

ที่มา
//hilight.kapook.com/view/75636



ลักษณะพฤกษศาสตร์ของสุพรรณิการ์

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cochlospermum religiosum Alston

ชื่อวงศ์: COCHLOSPERMACEAE

ชื่อสามัญ: Yellow Silk Cotton Tree, Yellow Cotton

ชื่อพื้นเมือง: ฝ้ายคำ (ภาคเหนือ), สุพรรณิการ์ (ภาคกลาง)

ลักษณะทั่วไป:

ต้น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5 – 10 เมตร เรือนยอดค่อนข้างกลม เปลือกต้นเรียบสีเทา กิ่งก้านคดงอ

ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปฝ่ามือ มี 5 แฉก ปลายใบแฉกแหลม โคนใบเว้า ขอบใบเป็นคลื่น ออกเวียนสลับกัน

ดอก ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งสีเหลือง ทยอยบาน ดอกเหลืองมีกลิ่น กลีบบาง เกสรสีเหลือง รังไม่มีขน เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 - 10 เซนติเมตร ผล ขนาด 8 - 10 เซนติเมตร สีเขียวเมื่อแก่

ฝัก/ผล เมล็ดสีน้ำตาล แตกออกเป็น 3 - 5 พู รูปไตสีน้ำตาลเข้ม มีปุยสีขาวคล้ายสำลีหุ้ม

ฤดูกาลออกดอก: ธันวาคม - มีนาคม

การดูแลรักษา: ดินร่วนซุย แสงแดดจัด

การขยายพันธุ์:
- เพาะเมล็ด นำเมล็ดแช่น้ำประมาณ 2 ชั่วโมงก่อนนำไปเพาะ
- ปักชำ

การใช้ประโยชน์:
- ใบอ่อน นำมาต้มเอาน้ำสระผม
- ยางจากต้นทำครีมทาบำรุงผิว Karaya gum ทางการค้าเรียกว่า Crystalgum เป็นก้อนสีเหลืองอ่อนหรือน้ำตาลอมชมพู มักใช้ในทางอุตสาหกรรมทอผ้าและการพิมพ์ อุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง ผสมไอศกรีมทำให้ข้น
- เนื้อไม้ต้มกับแป้งเป็นอาหาร
- ไม้ประดับ
- สมุนไพร
- ดอกไม้บูชาพระ ในเมืองไทยทางเหนือ เรียกว่า ฝ้ายคำ

ถิ่นกำเนิด: อเมริกากลางและอเมริกาใต้

สรรพคุณทางยา:
- รับประทานเป็นยาระบาย
- ดอกแห้งและใบแห้งใช้เป็นยาบำรุงกำลัง


ที่มา
//www.nanagarden.com






Create Date : 31 สิงหาคม 2555
Last Update : 31 สิงหาคม 2555 22:48:01 น. 0 comments
Counter : 2635 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.