ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
18 สิงหาคม 2553
 
All Blogs
 
กระต่ายสายพันธุ์ Taddy Bear


Taddy Bear เป็นกระต่ายสายพันธุ์แท้ที่เกิดขึ้นใหม่ในทวีปยุโรป โดยเกิดจากการผสมข้าม 3สายพันธุ์คือ อิงลิชแองกอร่า โปลิซ และ เนเธอร์แลนด์ดวอร์ฟ และได้มีการพัฒนาจนได้สายเลือดที่ดี คงที่ และมีลักษณะพิเศษ ดังเช่นปัจจุบัน กระต่ายสายพันธุ์นี้กำลังได้รับความนิยมมากในทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย และในจังหวัดเชียงใหม่ โดยกระต่ายสายพันธุ์นี้จะมีลักษณะพิเศษและเสน่ห์อยู่ที่ขนซึ่งยาวปกคลุมทั้งลำตัวและใบหน้า

ลักษณะสายพันธุ์ :
จัดอยู่ในกลุ่มกระต่ายที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 1.5 ก.ก สามารถมีสีขนได้ทุกสี ทั้งสีโทนเดียวและสีลายแต้ม ลักษณะขนยาวไม่ต่ำกว่า 3 นิ้ว ฟูเสมอกันทั้งบริเวณลำตัวและใบหน้า บางตัวฟูถึงกับมองไม่เห็นตา ขนยาวและฟูเต็มที่เมื่ออายุได้ 3-4 เดือน ศีรษะขนาดปานกลางมนยาวเล็กน้อยจากหน้าผากถึงปลายจมูกโด่งโค้งมนได้รูปสวยงาม บริเวณศีรษะและใบหน้ามีขนขึ้นยาวปกคลุมเต็ม จนไม่เห็นรูปทรงของกะโหลกศีรษะ ใบหูขนาดกลางชี้ขึ้นด้านบนและกางออกเล็กน้อย อาจมีขนขึ้นปกคลุมหูหรือไม่ก็ได้ ไม่ถือเป็นข้อบกพร่อง ลำตัวมนยาวคล้ายรูปวงรี เนื้อแน่นกระชับอกเต็ม และมีขนปกคลุมฟูทั่วบริเวณลำตัว ดูกลมคล้ายลูกฟุตบอล

ลักษณะนิสัย :
ซุกซน ร่าเริง ขี้เล่น ไม่ตื่นตกใจง่าย ฉลาด หากเลี้ยงแต่เล็กสามารถจำชื่อตัวเองได้


การอุ้มหรือจับกระต่าย
ในการอุ้มหรือจับกระต่าย ผู้เลี้ยงควรได้ศึกษาและทำความเข้าใจในการจับกระต่ายที่ถูกต้อง ซึ่งมีผลทำให้กระต่ายของท่านเกิดความคุ้นเคย เชื่องและง่ายต่อการดูแล ในทางตรงกันข้ามถ้าผู้เลี้ยงจับกระต่ายอย่างไม่เหมาะสม อาจจะทำให้กระต่ายดิ้น และเกิดอันตรายต่อทั้งผู้จับและตัวกระต่ายเองได้ พื้นฐานสำคัญของการจับกระต่ายคือ ต้องนุ่มนวลแต่แน่น ไม่ควรจับที่หูหรือขาเพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้กระต่ายได้รับบาดเจ็บ การจับกระต่ายที่ถูกหลัก แบ่งออกได้ตามขนาดกระต่ายคือ

1. กระต่ายขนาดเล็ก ใช้มือจับที่ส่วนสันหลังอย่างนุ่มนวลแต่แน่น สันมือวางไปทางส่วนหาง หัวกระต่ายจะห้อยลง การจับกระต่ายขนาดเล็กด้วยวิธีนี้จะไม่ทำให้หนังเสียหรือเกิดแผลถลอก แต่ควรระมัดระวังอย่าให้กระทบกระเทือนต่ออวัยวะภายใน

2. กระต่ายขนาดกลางและขนาดใหญ่ ใช้มือข้างหนึ่งจับที่ส่วนหลังเหนือไหล่ ซึ่งจะใช้ในการบังคับและจะทำให้เกิดความสมดุลในการจับ ส่วนมืออีกข้างหนึ่งรองรับส่วนสะโพก เพื่อรับน้ำหนักตัวกระต่าย

มีความเข้าใจผิด ตั้งแต่สมัยโบราณว่า การจับกระต่ายต้องจับที่หู และห้ามจับท้อง ล้วนเป็นความเข้าใจผิดทั้งสิ้น แท้จริงแล้วควรหลีกเลี่ยงการจับกระต่ายที่หู เพราะเป็นศูนย์กลางของเส้นประสาท ลำพังหูทั้งสองข้างนั้นไม่สามารถรับน้ำหนักตัวของกระต่ายได้ เมื่อเราจับหูหิ้วขึ้นกระต่ายจะดิ้น ซึ่งอาจจะทำให้คอหักและตายทันที หรือเส้นประสาทบางส่วนอาจขาด หลังจากนั้น 4-5 วันก็จะตายโดยไม่ทราบสาเหตุ การจับที่หูของกระต่ายนั้นเอาไว้สำหรับกรณีที่กระต่ายดื้อ ไม่สามารถจับด้วยวิธีอื่นได้ ซึ่งต้องทำโดยใช้มือจับที่หูกระต่ายแล้วกด แนบไปกับส่วนคอและหลัง กระต่ายจะสงบลง

ข้อมูลทางวิชาการ ไทย เท็ดดี้ แบร์

มาตรฐานสายพันธุ์ เท็ดดี้แบร์ (Thai Teddy Bear)

หัว
กะโหลกค่อนข้างกลม มีขนยาวปกคลุมเต็ม ขนยาวทิ้งลงมาจนปิดตา ความยาวขนสม่ำเสมอกันทั้งหัว

หู
หูตั้ง ขนาดปานกลาง และหนา ฐานหูอยู่ชิดกัน มีขนปกคลุม ความยาวประมาณ 3-4 นิ้ว ขนที่หูเป็นขนสั้นปกติหรือขนยาวก็ได้

ตา
ดวงตากลมโต สดใส สีของตาตรงตามมาตรฐานความสัมพันธ์ของสีของขนกับสีของตา

ลำตัว
ลำตัวแลดูยาว แต่ไม่ได้ยาวมาก ความยาวสมดุลกับส่วนหัว ขนาดความกว้างของลำตัว กว้างเกือบเท่ากันไปจนถึงสะโพก เส้นกระดูกสันหลังยาวตั้งฉากจากคอ ไปยังกลางหลัง จนไปโค้งลงอย่างได้รูปตรงส่วนของสะโพก

คอ
ควรจะสั้นมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จนทำให้รู้สึกเหมือนไม่มีคอ

อก
กว้างและลึก

ขา
ขาตรง หนา แข็งแรง แลดูมั่นคง มีขนปกติยาวปกคลุมทั้งขาหน้าและขาหลัง ขาหลังอาจจะเป็นขนสั้น ปกติหรือขนยาวก็ได้

หาง
หางมีขนยาวปกคลุม

ขนและสีขน
ขนมีสองชั้นคือ ขนชั้นในและขนชั้นนอก ขนชั้นนอกควรยาวกว่าขนชั้นใน ขนมีลักษณะตกทิ้งลงข้างลำตัว ขนไม่พันกัน คุณภาพของขนสามารถดูแลรักษาได้ง่าย ความยาวของขนไม่ควรจะต่ำกว่า 2 นิ้ว

ขนาด
เพศผู้หนักประมาณ 1.5 ถึง 1.8 กิโลกรัม
เพศเมียหนักประมาณ 1.6 ถึง 2.0 กิโลกรัม

ลักษณะที่ถือว่าบกพร่องของสายพันธุ์
ขนยาวไม่สม่ำเสมอกันทั่วทั้งตัว ขนที่หน้าไม่ปกคลุมตา หูยาวกว่า 4 นิ้ว

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเรื่องต่างๆ

- การเลี้ยงหนูแกสบี้
- การเลี้ยงปลากัดไทย
- การเลี้ยงปลาหมอสี
- กระต่ายแคระสายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ดวอฟ
- การเลี้ยงปลาคาร์พ
- การเลี้ยงปลาอโรวาน่า
- การเลือกสุนัขพันธุ์ร็อตไวเลอร์
- การเลี้ยงสุนัขพันธุ์ชิวาวา
- การเลี้ยงสุนัขพันธุ์โกลเดนรีทริฟเวอร์

ที่มา
//pirun.ku.ac.th/~b4609101/rabbit.html
//pet.kajeab.com/view.php?id=47050

อ่านเรื่องราวของสัตว์เลี้ยงเพิ่มเติมได้ที่
//nana1000pet.blogspot.com/


Create Date : 18 สิงหาคม 2553
Last Update : 23 ตุลาคม 2553 10:47:07 น. 3 comments
Counter : 1756 Pageviews.

 
ที่บ้านก็เลี้ยงไว้ตัวนึงค่ะ พันธุ์นี้เลย มีคนเค้าเอามาให้ป้าเลี้ยงแล้วก็เลยพามาอยู่ที่บ้านเราถาวร น่ารักมากๆ รักสวยรักงาม ขี้ตื่น ขี้โมโห อยากรู้อยากเห็นแล้วก็เอาแต่ใจมากเลย


โดย: ฝน (miracle_rainyteddy ) วันที่: 18 สิงหาคม 2553 เวลา:10:44:45 น.  

 
ผมอยากเลี้ยงแต่มีหมาแล้วก็เลยไม่อยากให้ตัวใดน้อยใจครับ


โดย: scimovie วันที่: 18 สิงหาคม 2553 เวลา:12:35:34 น.  

 
อยากได้อ่ะกระต่ายเคยเลี้ยงมาก่อนแล้ว:-(:-):-D


โดย: ฝ้าย IP: 182.53.94.151 วันที่: 25 ตุลาคม 2556 เวลา:21:45:55 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.