ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
เมษายน 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
7 เมษายน 2555
 
All Blogs
 
‘ท้องอืดท้องเฟ้อ’ อาการทั่วไป...ที่ไม่ธรรมดา ต้นตอปัญหาโรคร้ายในระบบทางเดินอาหาร

”ยังไม่ทันทำอะไร ก็หมดเวลาไป 1 วันแล้ว...” ประโยคนี้มักได้ยินจากใครหลายๆ คน โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ดูเหมือนว่าเวลา 24 ชั่วโมงใน 1 วัน จะไม่เพียงพอต่อการทำกิจกรรมต่างๆ ให้ครบตามที่ใจต้องการ ด้วยรูปแบบการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ สภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันสูง ภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ทุกอย่างต้องแข่งขันกับเวลาจนเกิดเป็นความกดดันและความเครียด ทำให้หลายคนลืมที่จะดูแลรักษาสุขภาพของตัวเอง แม้แต่เรื่องง่ายๆ อย่างเช่น การทานอาหารให้ตรงเวลาและให้ครบ 3 มื้อ แต่ก็คงไม่แปลกถ้าคนรุ่นใหม่เหล่านี้จะให้เหตุผลเป็นเสียงเดียวกันว่า “ก็มันไม่มีเวลาจริงๆ” และสิ่งที่ตามมา ก็คือ ปัญหาด้านสุขภาพ และหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่มักเกิดจากพฤติกรรมเหล่านี้ ก็คือ อาการของโรคระบบทางเดินอาหารนั่นเอง

นายแพทย์สุริยา กีรติชนานนท์ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินอาหารและตับ ให้ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุและอาการต่างๆ ของโรคระบบทางเดินอาหาร ว่าอาการของโรคระบบทางเดินอาหารที่เกิดขึ้นกับคนส่วนใหญ่ คือ อาการอึดอัด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ บริเวณลิ้นปี่หรือเหนือสะดือ โดยอาการเหล่านี้ทางการแพทย์ใช้คำแทนว่า อาการ Dyspepsia (ดิสเป็บเซีย) จากการสำรวจข้อมูลประชากรจำนวน 23,676 คน ใน 5 ประเทศของยุโรป พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอาการเหล่านี้ถึงร้อยละ 32% (7,576 คน) ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบร้อยละ 25 และสำหรับประเทศไทยนั้น มีข้อมูลจากสมาคมโรคทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ว่าคนไทยได้ประสบกับอาการนี้ถึงร้อยละ 20-25 และเป็นอาการที่พบบ่อยเป็นอันดับหนึ่งในคลินิกทางเดินอาหาร โดยพบได้ทุกช่วงอายุตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงผู้สูงอายุ ช่วงที่พบบ่อยมากคือ อายุตั้งแต่ 40-45 ปีขึ้นไป เนื่องจากเป็นอาการที่เกิดจากระบบการย่อยอาหารที่เสื่อมลงตามวัย

“อาการดิสเป็บเซีย เป็นอาการที่เกิดใน กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มโรคออกเป็น 2 ชนิด คือ กลุ่มผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพชัดเจนในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น หรือศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า organic dyspepsia (ออแกนิก ดิสเป็บเซีย) เช่น กระเพาะอาหารอักเสบรุนแรง มีแผล มีเชื้อโรคซ่อนอยู่ เนื้องอกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น และอีกชนิดหนึ่ง คือ กลุ่มผู้ป่วยที่ตรวจไม่พบโรคดังกล่าวด้วยวิธีส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน หรือ Functional dyspepsia - FD (ฟังชันนอล ดิสเป็บเซีย - เอฟดี) โดยอาการชนิดนี้ เกิดจากการที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กทำหน้าที่ผิดปกติไปจากเดิม ซี่งพบเป็นส่วนมากในผู้ป่วยที่มีอาการดิสเป็บเซีย จากข้อมูลสำรวจผู้ป่วยที่มีอาการดิสเป็บเซียในประเทศไทยจำนวน 1,100 ราย พบว่าร้อยละ 60-90 ของผู้ป่วยที่มีอาการดิสเป็บเซีย มีอาการอยู่ในกลุ่มที่สองนี้ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเหล่านี้ มีหลายปัจจัยด้วยกัน อาทิ กระเพาะบีบตัวไม่ได้ บีบตัวช้า กระเพาะไวต่ออาหารบางชนิด เช่น อาหารรสจัด สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้การย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร และการเคลื่อนตัวของอาหารเข้าสู่ลำไส้เล็กเป็นไปด้วยความลำบาก เกิดการสะสมของฟองอากาศหรือแก็สในกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้อึดอัด แน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อครับ” นายแพทย์สุริยา กล่าว




นอกจากนี้ ในปัจจุบันอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เกิดขึ้นในกลุ่มคนวัยทำงานและกลุ่มคนวัยเรียนเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อันเนื่องมาจากรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะปัจจัยเรื่องความเครียด พฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา หรือรับประทานอาหารด้วยความเร่งรีบ เคี้ยวไม่ละเอียด ตลอดจนปัจจัยอื่นๆ อาทิ แอลกอฮอล์ บุหรี่ กาแฟ น้ำอัดลม อาหารไขมันสูง ทานอาหารอิ่มแล้วนอนในทันที ทานอิ่มเกินไป หรือแม้แต่พูดคุยขณะรับประทานอาหาร เพราะเป็นการกลืนอากาศเข้าไปพร้อมอาหาร จนส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เหล่านี้ขึ้นซึ่งเป็นปัญหาที่น่าวิตกในการดำเนินชีวิตและการดูแลสุขภาพ

นายแพทย์สุริยา อธิบายด้วยว่า อาการในกลุ่ม ‘ฟังชันนอล ดิสเป็บเซีย’ นั้นไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่จะรบกวนคุณภาพชีวิตได้ ซึ่งผู้ที่มีอาการ จำเป็นต้องปรับพฤติกรรมบางอย่าง เพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการนี้ ควบคู่ไปกับการรับประทานยารักษาอาการ ซึ่งยารักษา

อาการในกลุ่ม ‘ฟังชันนอล ดิสเป็บเซีย’ มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน อาทิ ยาลดแก็สหรือฟองอากาศที่อยู่ในกระเพาะอาหารและลำไส้ ที่มีตัวยา ‘ไซเมทิโคน (Simethicone)’ ซึ่งจะช่วยลดแรงตึงผิวของฟองอากาศหรือแก๊สในทางเดินอาหาร ทำให้ฟองอากาศเล็กๆ รวมตัวกันง่าย และถูกขับออกจากร่างกายทางปากหรือทางทวารหนักได้ดีขึ้น โดยที่ตัวยาจะไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และไม่มีปฏิกิริยาต่อยาอื่นๆ ที่ทานร่วมกัน อย่างเช่น ยาลดกรด ที่กระตุ้นการบีบตัวกระเพาะอาหาร เป็นต้น

“ปัจจุบันอาการท้องอืดนั้น เกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย ทั้งนี้ทุกคนควรรู้จักการดูแลรักษาสุขภาพ ตลอดจนการป้องกันตนเอง เพื่อให้ห่างไกลจากอาการเหล่านี้ ด้วยวิธีง่ายๆ เช่น รับประทานอาหารให้ตรงเวลา เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ไม่รับประทานอิ่มจนเกินไป ไม่พูดคุยขณะรับประทานอาหาร หลังจากรับประทานอาหารก็ไม่ควรนอนทันที และควรรักษาสมดุลการทำงานไม่ให้ตนเองตกอยู่ในภาวะเครียด พร้อมออกกำลังกายและพักผ่อนอย่างพอดี เหมือนกับประโยคที่ว่า “สุขภาพที่ดีมีได้ด้วยตัวเราเอง” มาสร้างสมดุลย์ให้กับชีวิตกันดีกว่า” นายแพทย์สุริยา กล่าวทิ้งท้าย


ที่มา
//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000043920


Create Date : 07 เมษายน 2555
Last Update : 7 เมษายน 2555 22:59:49 น. 0 comments
Counter : 1075 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.