ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
15 มีนาคม 2554
 
All Blogs
 
สารกัมมันตรังสี รั่วไหล!! คาดถึงโตเกียวใน 10 ชม.

เหตุการณ์เศร้าโศก ยังไม่คลายกลับเพิ่มซ้ำเติมอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะการหวาดหวั่นเกี่ยวกับรังสีของสารกัมมันตรังสีที่กำลังสร้างความหวาดกลัวอยู่ขณะนี้ โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่นและประเทศใกล้เคียง

ล่าสุด

สารกัมมันตรังสี รั่วไหล!! คาดถึงโตเกียวใน 10 ชม.




บ่อหล่อเย็น เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ 2 โรงงานไฟฟ้าในฟุกุชิมะ เกิดระเบิด เจ็บ 15 ราย ขณะที่เตาหมายเลข 4 เกิดไฟไหม้ ชี้สารรั่วไหลรุนแรง สั่งอพยพคนแล้ว คาดลมพัดกัมมันตรังสีถึงโตเกียวใน 10 ชม.

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2554 สำนักข่าวของญี่ปุ่น รายงานว่า เวลา 06.10 น. ตามเวลาท้องถิ่น เกิดเหตุบ่อหล่อเย็นข้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ 2 ในโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะได้ระเบิดขึ้น ทำให้เตาปฏิกรณ์ได้รับความเสียหาย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 15 คน รัฐบาลญี่ปุ่น คาดมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการรั่วไหลอย่างรุนแรง เร่งอพยพประชาชนในรัศมีโดยรอบแล้ว

ทั้งนี้ บริษัท โตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ ระบุว่า สถานการณ์ระเบิดที่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 2 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ เมื่อเช้านี้ อาจอยู่ในขั้นหลอมละลาย ซึ่งถือว่าเป็นขั้นที่อันตราย แรงระเบิดทำให้ระบบควบคุมแรงดันเสียหาย ส่งผลให้ระดับการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีเพิ่มสูงขึ้นทันทีเป็น 965.5 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ก่อนพุ่งสูงขึ้นเป็น 8,217 ไมโครซีเวิร์ตในอีกไม่กี่ชั่วโมงถัดมา ซึ่งตัวเลขนี้สูงกว่าถึง 8 เท่าของระดับที่ประชาชนจะได้รับตามธรรมชาติในเวลา 1 ปี อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทได้สั่งให้อพยพคนงานออกจากโรงไฟฟ้าแล้ว ยกเว้นคนที่มีหน้าที่สำคัญในการระบายความร้อนของเตาปฏิกรณ์

สำหรับ ซีเวอร์ต คือหน่วยที่ใช้วัดปริมาณของรังสีที่เนื้อเยื่อได้รับ โดยปกติแล้วคนเราจะรับสารกัมมันตรังสีต่อปีที่ 1,000 ไมโครซีเวอร์ต


เกิดไฟไหม้ เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4




นายนาโอโตะ คัง นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ออกแถลงการณ์ แสดงความเป็นห่วงต่อประชาชนในเมืองฟุกุชิมะ หลังจากเกิดระเบิดที่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 1 - 3 ระเบิด และมีรายงานว่า ได้เกิดไฟไหม้ ที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ด้วย โดยเตือนให้ประชานอยู่ในบ้านอย่างสงบ และรอการอพยพออกจากพื้นที่รัศมีโดยรอบ 30 กิโลเมตร เพื่อความปลอดภัย ซึ่งทางโฆษกญี่ปุ่น เปิดเผยว่า การที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ไฟไหม้ ทำให้มีการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีเพิ่มมากขึ้นด้วย

ด้าน นายยูกิโอะ เอดาโนะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในฐานะโฆษกรัฐบาล กล่าวว่า ยังไม่สามารถยืนยันถึงความเสียหาย และการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีแต่อย่างใด ส่วนโฆษกของหน่วยงานด้านความปลอดภัยนิวเคลียร์ญี่ปุ่น นายชิเกกาสึ โอมุคาอิ กล่าวว่า แกนของนิวเคลียร์ ไม่ได้รับความเสียหาย แต่อาจจะทำให้อุปกรณ์ครอบแกนได้รับความเสียหาย


คาดกัมมันตฃรังสี ถึงโตเกียวใน 10 ชม.

นายกรัฐมนตรี นาโอโตะ คัง ของญี่ปุ่น ได้ออกประกาศทางสถานีโทรทัศน์ให้ประชาชน ในรัศมี 30 กิโลเมตร ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟูกิชิมะ ออกจากพื้นที่โดยด่วน เนื่องจากมีค่าระดับสารกัมมันตภาพรังสีเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังเตือนไปถึงประชาชนว่า ควรอยู่ให้ไกลรัศมี 20-30 กิโลมเมตร รวมถึงไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศ หรือพัดลม ที่จะมีการดูดอากาศแต่อย่างใด และต้องปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด เพื่อความปลอดภัยจากสารกัมมันรังสีที่รั่วไหล

ขณะที่ นายยูคิโอ เอดาโน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในฐานะโฆษกรัฐบาล เผยว่า ในเวลานี้ยังไม่มีสัญญาณไฟไหม้ที่ใกล้กับเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ หมายเลข 4 จะดับลง และจากเหตุไฟไหม้นี้ ทำให้ระดับสารกัมมันตรังสีรั่วไหลสูงขึ้นด้วย

ด้าน สถานทูตฝรั่งเศสในญี่ปุ่น ออกแถลงการณ์เตือนพลเมืองของตนเองว่า รังสีที่รั่วไหล อาจถึงกรุงโตเกียวใน 10 ชั่วโมง ประชาชนจึงไม่ควรออกจากบ้าน และควรปิดประตูหน้าต่างมิดชิด เพื่อป้องกันสารกัมมันตภาพรังสีด้วย


คาด 160 คน อาจได้รับสารกัมมันตภาพรังสี

หน่วยงานความปลอดภัยทางอุตสาหกรรมและนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น กล่าวว่า มีผู้คน 160 ราย อาจได้รับสารกัมมตภาพรังสีรอบโรงงาน และมีพนักงาน 3 ราย ได้รับสารกัมมตภาพรังสีอย่างเต็มขั้น นอกจากนี้ ยังมีรายงานเปิดเผยว่า มีประชาชนได้รับสารกัมตภาพรังสีเพิ่มขึ้นอีก 19 คน อย่างไรก็ตาม หน่วยงานด้านความปลอดภัยนิวเคลียร์ของฝรั่งเศส ยังวิตกว่า ลมอาจพัดพาสารกัมมตภาพรังสีของโรงงานพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ เหนือทะเลแปซิฟิกด้วย

สำหรับโรงงานไฟฟ้าฟุกุชิมะ ไดอิจิ มีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งสิ้น 6 เตา เตาหมายเลข 1 เป็นเตาที่มีอายุการใช้งานมากที่สุด โดยเริ่มปฏิบัติงานนับตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ.1971 ขณะที่เตาหมายเลข 2 เริ่มปฏิบัติการเชิงพาณิชย์เมื่อปี ค.ศ.1974 ขณะที่เตาหมายเลข 3 เริ่มใช้งานอีก 2 ปีต่อมา


สหรัฐฯ ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์ไปญี่ปุ่น

มีรายงานว่า ทางสหรัฐอเมริกา ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษ และผู้จัดการด้านพลังงานนิวเคลียร์ เดินทางไปญี่ปุ่นเพิ่มเติมอีก 8 คน ตามการร้องขอ ซึ่งทีมดังกล่าว จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือด้านคำแนะนำ และเทคนิคอื่น ๆ เพื่อพยายามปิดการทำงานของเตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์ รวมทั้งศึกษาป้องกันถึงผลกระทบของรังสีที่รั่วไหลออกมา อันอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมโดยรอบ โดยทีมงานจะเดินทางถึงโตเกียว ภายในวันพุธที่ 16 มี.ค.นี้


ทำความรู้จักกับ สารกัมตภาพรังสี

สารกัมมันตรังสี คือ สารที่สลายตัวปลดปล่อยรังสีออกมา โดย รังสี คืออนุภาคหรือคลื่นที่ปลดปล่อยออกมาจากอะตอมของกัมมันตรังสี จึงไม่มีสี กลิ่น หรือสิ่งที่ทำให้สังเกตเห็นได้ สามารถจำแนกตามลักษณะการเกิดได้จาก 2 แหล่ง ดังนี้

1. จากธรรมชาติ สารกัมมันตรังสีจากธรรมชาติ เช่น ยูเรเนียม 235 , ยูเรเนียม 238, คาร์บอน 14 ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการเกิดของโลก

2. จากมนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาเอง เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู (Nuclear reactor) หรือในเครื่องเร่งอนุภาค ซึ่งสารกัมมันตรังสีที่ได้จากการผลิต เช่น โคบอลต์ 60, ไอโอดีน 131 , ซีเซียม 137, นิวตรอน

สำหรับสารกัมมันตรังสีทั้ง 2 กลุ่มนี้ จะให้รังสีออกมา ได้แก่ รังสีแอลฟ่า , รังสีเบต้า , รังสีแกมมา นิวตรอน นอกจากนี้ รังสีที่เป็นที่รู้จักกันดีและใช้กันอย่างกว้างขวางมีประโยชน์มากมาย ได้แก่ รังสีเอกซ์(X-ray) สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางการแพทย์ อุตสาหกรรม การเกษตรและงานวิจัยต่าง ๆ ขณะเดียวกัน รังสี ก็มีอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ได้เช่นเดียวกัน

อันตรายจากรังสีต่อมนุษย์

1. การได้รับรังสีจากแหล่งกำเนิดรังสีจากภายนอก ( External exposure ) ความรุนแรงของการบาดเจ็บ ขึ้นอยู่กับความแรงของแหล่งกำเนิดและระยะเวลาที่ได้รับรังสี แต่ตัวผู้ที่ได้รับอันตรายไม่ได้สารกัมมันตรังสีเข้าไปในร่างกาย จึงไม่มีการแผ่รังสีไปทำอันตรายผู้อื่น

2. การได้รับสารกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกาย ( Internal exposure ) มักพบในกรณีมีการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี ที่เป็นก๊าซ ของเหลว หรือฝุ่นละอองจากแหล่งเก็บสารกัมมันตรังสี หรือที่เก็บกากสารกัมมันตรังสีจากการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เช่น ที่เชอร์โนบิล ประเทศรัสเซีย การระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์ ที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น

ทั้งนี้ การกระจายของสารกัมมันตรังสีจะฟุ้งไปในอากาศ น้ำ มนุษย์อาจได้รับรังสีเข้าสู่ร่างกาย ทางการหายใจฝุ่นละอองของรังสี, กินของที่เปรอะเปื้อน, การฝั่งสารกัมมันตรังสีเพื่อการรักษา สารกัมมันตรังสีที่อยู่ในร่างกายจะแผ่รังสีออกมา ทำอันตรายต่อร่างกายเป็นระยะเวลานาน จนกว่าจะถูกกำจัดออกไปจากร่างกายจนหมด และยังสามารถแผ่รังสีไปทำอันตรายคนที่อยู่ใกล้เคียงได้


ผลกระทบจากสารกัมตภาพสังสีต่อร่างกายมนุษย์

องค์การสากลในการป้องกันอันตรายจากรังสี หรือ International Commission on Radiological Protection (ICRP) ได้รวบรวมผลกระทบจากรังสีต่อร่างกายไว้ ดังนี้



มิลลิซีเวิร์ต คือ หน่วยวัดปริมาณรังสีที่ร่างกายได้รับ โดยคำนึงถึงผลของรังสีที่มีต่อเซลล์ของสิ่งมีชีวิต

รังสีที่มีความถี่สูงมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต มีดังนี้



ที่มา
//hilight.kapook.com/view/57087


Create Date : 15 มีนาคม 2554
Last Update : 15 มีนาคม 2554 11:48:12 น. 1 comments
Counter : 3300 Pageviews.

 
น่ากลัว โหดร้ายจริงๆเลย น่าสงสาร ถ้าเป็นเรา....แย่แน่ๆ ขอแสดงความเสียใจและเอาใจช่วยให้เหตุการณ์ดีขึ้นเร็วๆค่ะ


โดย: ต้นกล้าต้นนี้ วันที่: 15 มีนาคม 2554 เวลา:12:37:00 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.