ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
มกราคม 2556
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
28 มกราคม 2556
 
All Blogs
 

ศธ. ชงปฎิรูปหลักสูตร ป.1-ม.6 เลิกเรียนวิชาซ้ำ - ลดชั่วโมงเรียน




ศธ. ชงปฎิรูปหลักสูตร ป.1-ม.6 เลิกเรียนวิชาซ้ำ - ลดชั่วโมงเรียน

ศธ. หารือปฎิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ป.1 - ป.6 ยกเลิกเรียนวิชาที่ซ้ำกันในแต่ละปี ปรับลดชั่วโมงเรียน พร้อมเสนอปรับโครงสร้าง ศธ. แยกการอุดมศึกษาออกเป็นอีกกระทรวงหนึ่ง

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2556 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอให้ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ลงนามตั้งคณะกรรมการ 2 ชุด เพื่อดำเนินการศึกษาเรื่องการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยจะมีการประชุมหารือเกี่ยวกับการทบทวนโครงสร้างหลักสูตรตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1( ป.1) - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) ซึ่งที่ผ่านมามีนักวิชาการจำนวนมากสะท้อนว่า เนื้อหา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ของไทยต่ำกว่ามาตรฐานเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ โดยคาดว่า จะได้ข้อสรุป และสามารถทดลองใช้หลักสูตรใหม่ได้ประมาณปลายปีนี้

นายภาวิช กล่าวว่า คณะกรรมการทั้ง 2 ชุด จะมีผู้ทรงวุฒิด้านการศึกษา ครู และสมาคม หรือองค์กรด้านศึกษา มาช่วยระดมความเห็นในการปรับแก้ โดยประเด็นหลัก ๆ ที่ต้องหารือ เช่น การปรับโครงสร้างหลักสูตรตั้งแต่ชั้น ป.1-ม.6 และรายวิชาเรียนของแต่ละช่วงชั้น เพราะปัจจุบันทุกช่วงนั้นเรียนวิชาซ้ำ ๆ กัน ในอนาคตอาจจะปรับเปลี่ยนรายวิชาการเรียนใหม่ อาจแบ่งเป็นช่วงชั้นช่วงละ 3 ปี เช่น วิชานี้เริ่มเรียนตั้งแต่ ป.1-3 อีกวิชาเริ่มเรียนในชั้น ป.4-6 เป็นต้น นอกจากนี้ ต้องทบทวนจำนวนชั่วโมงเรียนในแต่ละวันด้วยว่าควรต้องลดลงหรือไม่ เพราะปัจจุบันเด็กไทยเรียนเฉลี่ยวันละ 7-8 ชั่วโมง ส่วนใหญ่มองว่าชั่วโมงเรียนมากเกินไป

ในส่วนของกรณีที่นายพงศ์เทพลงนามเห็นชอบร่างโครงสร้าง ศธ. ใหม่ โดยยกฐานะสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ขึ้นเป็นแท่งหนึ่งของ ศธ. ยกฐานะสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) มีฐานะเทียบเท่ากรม และเป็นนิติบุคคลภายใต้สำนักงานปลัด ศธ.และให้การเสนองานต่าง ๆ ขององค์กรหลักอื่น ๆ ต้องผ่านสำนักงานปลัด ศธ. นั้น ทั้งนี้ เป็นการดีที่ ศธ. จะปรับปรุงโครงสร้างใหม่ทั้งหมด เพราะถ้ายังเป็นโครงสร้างที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน การศึกษาของชาติจะยิ่งอ่อนแอ โดยเฉพาะในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่หลังจากรวมกับ ศธ. แล้ว การอุดมศึกษาไทยอ่อนแอลงอย่างชัดเจน

โดยนายภาวิช เสนอว่า หากต้องการให้การอุดมศึกษา และการศึกษาขั้นพื้นฐานเข้มแข็ง ควรแยกการอุดมศึกษาออกเป็นอีกกระทรวงหนึ่ง ซึ่งมีหลายรูปแบบ ได้แก่
1. แยก สกอ. ออกเป็นกระทรวงใหม่
2. นำงานอุดมศึกษาไปรวมกับงานวิจัยและตั้งเป็นกระทรวงใหม่ เพราะ 80 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ที่ทำงานวิจัยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
3. นำการอุดมศึกษา การอาชีวศึกษาและงานวิจัย รวมกันเป็นกระทรวงใหม่


อย่างไรก็ดี นายภาวิช กล่าวว่า ขณะนี้โครงสร้างในส่วนของเขตพื้นที่การศึกษายังคลุมเครือ ถึงแม้จะแยกเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา แต่ยังมีปัญหาเรื่องของเขตกับโรงเรียน และปัญหาการกระจายอำนาจที่ยืดเยื้อมานาน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้ส่งรูปแบบในการกระจายอำนาจมาแล้ว ซึ่งตนได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการ ศธ. ให้ดูแล เบื้องต้นพบว่ายังไม่สมบูรณ์ ต้องหารือกันอีกสักระยะหนึ่ง


ด้านนางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า การดำเนินการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น สพฐ.ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้น 1 ชุด มีสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (สวก.) เป็นหน่วยงานหลักที่จะดำเนินการ โดยจะต้องดูตัวชี้วัด และโครงสร้างเวลาเรียนของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ที่จะเป็นหลักสูตรที่อิงมาตรฐานให้สถานศึกษานำไปจัดการเรียนการสอนเองซึ่งจะต้องดูในประเด็นของเนื้อหาการเรียนการสอนว่าแน่นไปหรือไม่ และต้องทบทวนรายวิชาต่าง ๆ ให้ทันสมัย จะต้องดูในมิติของสถานศึกษา และต้องนำเอาผลคะแนนเฉลี่ยสะสม (จีพีเอ) และผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) มาประกอบด้วย เพื่อให้เห็นว่าเนื้อหามากและเนื้อหาน้อย ส่งผลต่อการเรียนรู้มากน้อยแค่ไหน


ขณะที่ แหล่งข่าวจากเจ้าหน้าที่ สพฐ. กล่าวว่า สวก. ในฐานะที่ได้รับมอบหมายจาก สพฐ. ให้ดูแลการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับทีมของนายภาวิช ทาง สวก. ได้กำหนดแนวทางการดำเนินการไว้แล้ว เช่น ทบทวนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าเป็นอย่างไร ในแต่ละกลุ่มวิชาต้องเรียนมากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะต้องเปรียบเทียบข้อมูลการใช้หลักสูตรของประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา เกาหลี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และกลุ่มประเทศอาเซียน นอกจากนี้ จะต้องดูความซ้ำซ้อนของตัวชี้วัดที่กำหนดเป็นรายชั้นปีของหลักสูตรว่าซ้ำซ้อนหรือไม่ ส่วนเนื้อหาในแต่ละวิชาต้องดูด้วยว่าทันสมัยหรือไม่ หากไม่ทันสมัยต้องปรับใหม่ ทั้งนี้ ในวันที่ 6-8 กุมภาพันธ์ จะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในเรื่องหลักสูตรจากครูผู้สอนทั่วประเทศ ส่วนครั้งที่ 2 จะเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการมาร่วมแสดงความคิดเห็น และครั้งที่ 3 จะเปิดเป็นเวทีโต๊ะกลมให้ทุกฝ่ายเข้าร่วม รวมถึงนักเรียนด้วย


ที่มา
//education.kapook.com/view55433.html




 

Create Date : 28 มกราคม 2556
1 comments
Last Update : 28 มกราคม 2556 17:11:18 น.
Counter : 2372 Pageviews.

 

ปัญหานักเรียนนักเลง คุณแม่วัยทีน เหล่านี้เกิดจากการขาดสามัญสำนึกซึ่งสมัยก่อนจะปลูกฝังกันมาตั้งแต่เด็กเพือให้เด็กละอายต่อการทำบาปไม่กล้ากระทำการเช่นเด็กทุกวันนี้ น่าจะกลับไปดูหน่อยซิว่าสมัยก่อนปู่ย่าตายายสอนลูกหลานอย่างไรจึงจะเป็นคนดี ไม่ใช่แค่เก๋งไม่มีประโยชน์ใด ๆ ต่อประเทศชาติหากพวกเขาเอาความเก่งไปใช้ในทางที่ผิด ควรสอนย้ำ ๆ ให้เด็กรู้จักผิดชอบชั่วดีในทุกชั้น ครูจะเหนื่อยน้อยลงถ้าเด็กดีเชื่อฟังคุณครู สังคมก็จะดีขึ้นถ้าช่วยกันทำผ้าขาวให้สวยงามอย่างสม่ำเสมอ

 

โดย: ณัฐฐา ดีก่อผล IP: 223.206.244.207 31 มกราคม 2556 18:19:48 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.