ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2552
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
15 พฤษภาคม 2552
 
All Blogs
 

โรคชิคุณกุนยา (Chikungunya )

โรคชิคุณกุนยา (Chikungunya )

โรคชิคุณกุนยา ฟังชื่อแล้ว..ท่านคงจะมีคำถามว่า. โรคนี้เกิดจากอะไร และพบได้ที่ไหนบ้าง..เป็นแล้วจะเสียชีวิตไหม.. และคงอีกหลายคำถามที่อยากจะทราบ โรคชิคุณกุนยา เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชิคุณกุนยา ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีอาการคล้ายไข้เด็งกี่(ไข้เลือดออก) แต่ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีอาการช็อค โรคนี้จะพบมากในฤดูฝน เมื่อประชากรยุงเพิ่มขึ้นและมีการติดเชื้อในยุงลายมากขึ้น พบโรคนี้ได้ทุกกลุ่มอายุ ซึ่งแตกต่างจากไข้เลือดออกและหักเยอรมัน ที่ส่วนมากพบในอายุน้อยกว่า 15 ปี

ในประเทศไทยพบมีการตรวจพบครั้งแรกและเป็นครั้งรกในทวีปเอเชีย เมื่อ พ.ศ.2501 ที่โรงพยาบาลเด็ก กรุงเทพมหานคร และตรวจพบมีการติดเชื้อนี้อีกครั้งในปี 2531 ปี พ.ศ. 2534 พบมีการระบาดที่จังหวัดขอนแก่น และ ในปี พ.ศ. 2538 มีการระบาดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดหนองคาย หลังจากนั้นไม่เคยมีรายงานการระบาด สำหรับในปี 2551 กระทรวงสาธารณสุข ได้รับรายงานการระบาดของกลุ่มอาการไข้ออกผื่น ร่วมกับปวดข้อ สงสัยโรคชิคุณกุนยา ในอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส มีผู้ป่วย จำนวน 82 ราย กระจายใน 5 หมู่บ้าน การระบาดเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน 2551 โดยจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะนี้มีผู้ป่วยประปราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่วัยทำงาน นับถือศาสนาพุทธ ประชาชนในพื้นที่ระบาดมีการเดินทางติดต่อระหว่างประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย หรือเดินทางระหว่างจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดสงขลาอยู่เป็นประจำ นอกจากนี้ ยังมีข้าราชการทหารและพลเรือนมาปฏิบัติหน้าที่และเดินทางกลับภูมิลำเนาในจังหวัดอื่น จึงมีความเสี่ยงที่การระบาดจะขยายไปพื้นที่จังหวัดอื่น

นอกจากนี้ พบว่ามีรายงานการระบาดของ โรคชิคุณกุนยา ในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ระหว่างเดือนกรกฏาคม – สิงหาคม 2551

การติดต่อกันของโรคชิคุณกุนยา
มียุงลาย เป็นพาหะนำโรค เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง(ประมาณวันที่ 2- 4) ซึ่งเป็นระยะที่มีเชื้อไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุงลายและเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงลายที่มีเชื้อไวรัสชิคุณกุนยาไปกัดคนอื่น ก็จะปล่อยเชื้อโรคไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นป่วยได้

อาการป่วยโรคชิคุณกุนยา
... โดยหลังจากถูกยุงลายที่มีเชื้อไวรัสชิคุณกุนยากัดแล้ว โดยทั่วไปประมาณ 1- 12 วันจึงจะมีอาการป่วย แต่ที่พบบ่อยอาการพบว่า 2 – 3 วัน จะมีอาการป่วย โดยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย และอาจจะมีอาการคันร่วมด้วย พบมีตาแดง แต่ไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว ส่วนใหญ่แล้วเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าผู้ใหญ่ ในผู้ใหญ่อาการที่เด่นชัดคือ อาการปวดข้อ ซึ่งอาจพบข้ออักเสบได้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อ เปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ อาการจะหายไปภายใน 1-2 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นมาได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี ไม่พบผู้ป่วยอาการรุนแรงถึงช็อค ซึ่งแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก อาจพบการทดสอบจุดเลือดออกที่ผิวหนัง( ทูนิเก้เทส )ให้ผลบวก และอาจพบจุดเลือดออกใต้ผิวหนังได้

การรักษา..
การรักษาไม่มีการรักษาจำเพาะเจาะจง การรักษาเป็นแบบประคับประคอง เช่น ให้ยาลดอาการไข้ ปวดข้อ และการพักผ่อน

ประชาชนโดยทั่วไปเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคชิคุณกุนยาหรือไม่..จะทำอย่างไร เนื่องจากโรคนี้แพร่ระบาดได้รวดเร็ว และยุงลายมีอยู่อย่างชุกชุมในประเทศไทย อีกทั้ง อาการของโรคชิคุณกุนยา คล้ายกับโรคไข้เลือดออก หรือหัดเยอรมัน จึงต้องสังเกตและเฝ้าระวังไว้โดย..โรคนี้พบได้กับประชาชนทุกกลุ่มอายุ และมีอาการปวดข้อที่เด่นชัด ซึ่งแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก..ส่วนความแตกต่างจากโรคหัดเยอรมัน เพราะโรคหัดเยอรมันจะไม่เป็นกับทุกกลุ่มอายุและมักจะพบการระบาดในช่วงต้นฤดูหนาว ดังนั้น ให้สงสัยว่าเป็นโรคชิคุณกุนยา กรณี มีอาการไข้สูง ร่วมกับมีอาการอย่างน้อยหนึ่งอาการ ดังนี้ มีผื่น ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกหรือข้อ ปวดศรีษะ ปวดกระบอกตา มีเลือดออกตามผิวหนัง จึงขอให้ไปรับการรักษาที่สถานบริการใกล้บ้านทันที เพื่อได้รับการวินิจฉัยที่ถุกต้อง มีการสวบสวนโรค และ ดำเนินการควบคุมการระบาดของโรคในชุมชนต่อไป นอกจากนี้ ประชาชน ควรป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด และช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในบริเวณบ้านและชุมชนอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์

การระบาดของโรคชิคุณกุนยาในปัจจุบัน พบในหลายหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย ได้แก่ หมู่เกาะ Comoros หมู่เกาะทางด้านชายฝั่งตะวันออกของอาฟริกา เกาะ Reunion ,Mauritiusและ Seychellis ปี 2548 – 2549 และ ปี 2549 พบมีรายงานผู้ป่วยในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ที่เดินทางกลับจากหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย

โรคชิคุณกุนยา ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่ขณะนี้ University of Maryland กำลังศึกษาทดลองผลิตวัคซีน ซึ่งอยู่ระหว่างการทดลอง phase 2 ในเรื่องของความปลอดภัยของวัคซีนและทดสอบการสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้ในร่างกาย

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

- เอกสาร รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ปีที่ 37 ฉบับที่ 8 วันที่ 3 มีนาคม 2549

- หนังสือราชการ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ 0419/......ลงวันที่...ตุลาคม 2551 เรื่อง แจ้งเตือนการระบาดโรคชิคุณกุนยา

- หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก ประจำวันที่ 19 ตุลาคม 2551 คอลัมน์รู้ไว้ใช่ว่า

สรุปและเรียบเรียง

นายทีปวัฑฒ์ มีแสง นักวิชาการสาธารณสุข 8 ว (ด้านบริการทางวิชาการ) ฝ่ายสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา / วันที่ 24 ตุลาคม 2551

ที่มา
//pr.skho.moph.go.th/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2.doc




 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2552
2 comments
Last Update : 15 พฤษภาคม 2552 0:54:24 น.
Counter : 889 Pageviews.

 

บ้านเราอยู่สงขลา โรคนี้ฮิตมากเลยค่ะ ใครเป็นอินเทรนสุด ๆ เราเคยเป็นตอนเด็กๆ แล้ววันก่อนน้องที่บ้านก็เป็นเพิ่งหาย ตัวร้อนมากกก จนเพ้อเลย

 

โดย: Nanga 15 พฤษภาคม 2552 19:46:34 น.  

 

ศึกษารายละเอียดในเว็บไซด์นี้ อาจเปลี่ยนชีวิตคุณได้

//www.i-amagel.com/leader.php?id=salakchit

 

โดย: pjpaphs 16 พฤษภาคม 2552 22:10:35 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.