ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
3 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 

เทคนิคการเตรียมตัวเรียนต่างประเทศ

เทคนิคการเตรียมตัวเรียนต่างประเทศ

ความพร้อมด้านพื้นฐานการศึกษา

1. คะแนนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรของตนเองที่สำเร็จการศึกษา

1.1. สถานศึกษาในต่างประเทศหากเป็นสถานศึกษาที่ได้รับความนิยม จะรับพิจารณานักศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรีด้วยคะแนน GPA = 3.00 ขึ้นไป

1.2. นักศึกษาควรที่จะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยมีคะแนน GPA อย่างน้อย 2.75 สำหรับระดับปริญญาโท GPA = 3.50 ขึ้นไป


2. เลือกประเทศที่จะไปศึกษา หาข้อมูลการเรียนการสอนประเทศต่างๆ

3. ศึกษาหลักสูตรของสถานศึกษาแต่ละแห่งตรงตามความต้องการหรือไม่

4. อย่าเลือกเพราะ ตามเพื่อน, สถาบันมีชื่อเสียง, อันดับของมหาวิทยาลัย,
ตามใจครอบครัว, ไม่ต้องสอบTOEFL, E-Leaming เป็นต้น

ความพร้อมด้านภาษา
ผู้ที่ประสงค์จะไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ จะต้องมีความพร้อมทางด้านภาษาและทักษะด้านต่างๆ โดยนักศึกษาจะต้องทำคะแนนในการสอบแต่ละประเภทให้ได้ตามเกณฑ์ที่แต่ละคณะและสถาบันการศึกษานั้น ๆ กำหนด
ผลการสอบแต่ละประเภทที่สถาบันการศึกษาในต่างประเทศใช้เป็นเกณฑ์ในการรับนักศึกษามีดังนี้
- TOEFL (Test of English as a Foreign Language)
- GMAT (Graduate Management Admission Test)
- GRE (Graduate Record Examination)
- IELTS (International English Language Testing System)


การเลือกสาขาแฃะสถาบัน
แนวทางการพิจารณา

- หลักสูตรการศึกษา
-- USA = Pre-requisite courses (B+), MBA, MA,MS,MM,Ph.D.
-- Europe, AUS. ,.. =Pg.Cert., Pg.Dip., MBA, M.Commerce,
M.Phil
- ระยะเวลาของหลักสูตร, ระบบการศึกษาแต่ละประเทศ
- การรับเข้าศึกษา Condition, Thesis, Comprehensive Exam, Project, Exhibition เป็นต้น
- ข้อกำหนดในการศึกษา Research , Coursework, etc.
- ค่าใช้จ่ายในการศึกษา

ข้อมูลประกอบการเลือกสถานศึกษา
- มีสาขาวิชาที่ต้องการ/โครงสร้างของหลักสูตรการวิจัย
- ที่ตั้งของสถานศึกษาและสภาพแวดล้อม
- มาตรฐานสถาบัน การรับรองสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ
- เกณฑ์การรับนักศึกษาของสถาบันเหมาะสมกับตนเอง
- ค่าใช้จ่ายในการศึกษา
- ขนาดของสถานศึกษา ระบบการศึกษา วิธีการเรียนการสอน
- เนื้อที่/จำนวนนักศึกษา/สัดส่วนนักเรียน : อาจารย์เลือกที่ตั้ง/ขนาด/สิ่งอำนวยความสะดวก
- ห้องสมุด และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน
- เครื่องอำนวยความสะดวกอื่นๆ

การเตรียมตัวก่อนเดินทาง
- ตั๋วเครื่องบิน
จัดการจองตั๋วเครื่องบินเสียแต่เนิ่น ๆ เพราะบางช่วงมีคนเดินทางมากอาจหาซื้อตั๋วได้ยาก ควรกำหนดให้ถึงที่เรียนอย่างน้อย 3 - 7 วันก่อนวันลงทะเบียนเรียน สำหรับผู้ที่ถือวีซ่านักเรียนสามารถเข้าสหรัฐได้ 90 วันก่อนวันที่ระบุไว้ใน I- 20 และจะเข้าหลังวันที่ระบุนี้ไม่ได้

ในการสำรองที่นั่งกับสายการบิน ให้ตรวจสอบด้วยว่าได้มีการสำรองที่นั่งไว้เรียบร้อยทุก ๆ ช่วงที่มีการหยุด หากนักศึกษาจำเป็นต้องต่อเครื่องบินจากเมืองแรกที่เข้าประเทศไปยังเมืองอื่นในประเทศ ควรเผื่อเวลาสำหรับผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากรของประเทศนั้น ๆ ไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง

- กระเป๋าเดินทาง
โดยปกติเมื่อซื้อตั๋วเครื่องบิน จะมีการกำหนดน้ำหนักและจำนวนกระเป๋าที่จะนำไปด้วย เช่น ผู้โดยสารชั้นธรรมดา (ECONOMY CLASS) ไม่ควรมีน้ำหนักสัมภาระเกิน 20 กิโลกรัม หรือผู้โดยสารชั้นหนึ่ง (FIRST CLASS) ไม่ควรมีน้ำหนักสัมภาระเกิน 30 กิโลกรัม

*กระเป๋าสะพาย (CARRY-ON) ที่นำติดตัวขึ้นเครื่องบินนั้น น้ำหนักไม่ควรเกิน 5 กิโลกรัม เพื่อจะได้เก็บไว้ในตู้เหนือที่นั่งเครื่องได้

- เสื้อผ้า
ศึกษาสภาพภูมิอากาศของเมืองที่กำลังจะเดินทางไปอยู่ และเตรียมเสื้อผ้าที่เหมาะสมไปให้พอใช้ในช่วงแรก เสื้อผ้าสำหรับอากาศหนาวจัดสามารถซื้อได้เพิ่มเติมเมื่อเดินทางไปถึงแล้วโดยทั่วไปเสื้อผ้าที่จะได้ใช้มากที่สุดควรจะเป็นกางเกงยีนส์ เพราะนอกจากจะสบายสมบุกสมบันแล้ว ยังไม่ค่อยต้องซักและไม่ต้องรีดด้วย
*สำหรับเสื้อผ้าชุดไทย หรือชุดสากล จะไม่ค่อยได้ใช้บ่อยนักแต่ก็ควรจัดเตรียมไปบ้างเพื่อใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น งานนักศึกษานานาชาติ เป็นต้น

- เอกสาร
ตรวจเอกสารและสิ่งสำคัญก่อนออกเดินทางจากบ้านไปยังสนามบินให้ครบ คือ

--หนังสือเดินทางซึ่งประทับตราวีซ่านักเรียนแล้ว
--ตั๋วโดยสารเครื่องบิน
--เงินที่นำติดตัว (ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด)
--ใบตอบรับจากสถานศึกษา
--ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ของบุคคลที่ต้องไปติดต่อ หรือขอความช่วยเหลือ เช่น เพื่อน ญาติ อาจารย์ที่ปรึกษา นักศึกษาต่างชาติ


- คำศัพท์เกี่ยวกับการเดินทางไปศึกษาต่างประเทศ
- การนำเงินติดตัว เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของการศึกษาระยะแรกที่เดินทางถึง ประเทศนั้น ๆ
- การโอนเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างศึกษาในต่างประเทศ

การเตรียมหาที่พักก่อนการเดินทาง
เรื่องที่พักอาศัยควรเริ่มศึกษาหาข้อมูลตั้งแต่ทำการติดต่อสถานศึกษา โดยศึกษาจากเอกสารของสถานศึกษาว่า มีหอพักสำหรับนักศึกษาหรือไม่นักศึกษาส่วนใหญ่เริ่มสำรองที่พักเมื่อได้รับการตอบรับเข้าเรียนจากสถานศึกษาที่สมัครแต่ก็ยังมีสถานศึกษาบางแห่งที่มีหอพักจำนวนจำกัดที่อาจแนะนำให้นักศึกษาสำรองที่พักล่วงหน้าตั้งแต่ในขั้นตอนการสมัครเลยก็มี โดยทั่วไปการสำรองที่พัก สถานศึกษามักจะเก็บเงินมัดจำค่าสำรองที่พักด้วย

สำหรับนักศึกษาในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย มีทั้งที่พักในสถานศึกษา (ON CAMPUS HOUSING) และที่พักนอกสถานศึกษา (OFF CAMPUS HOUSING)

ที่พักอาศัย
การไปศึกษาในต่างประเทศนั้น นักศึกษามีที่พักอาศัยที่จะกระทำได้
2 ประการ คือ
-- ON CAMPUS HOUSING
-- OFF CAMPUS HOUSING
การทิป
เป็นสิ่งจำเป็นประการหนึ่งในการดำรงชีวิตอยู่ในต่างประเทศ การทิปควรจะเป็น 10 - 15 % ของมูลค่าของที่เราซื้อ และในบริการบางอย่างที่ไม่มีมูลค่า เช่น ผู้ขนกระเป๋า หรือเด็กขนของในโรงแรมก็ควรจะมีการให้ทิปในราคาพอสมควรคือไม่ต่ำกว่า 15% และผู้ให้บริการที่เรา สมควรให้ทีป ได้แก่ คนขนกระเป๋าที่สนามบิน คนขนของที่โรงแรม พนักงานเสิร์ฟ คนขับรถแท็กซี่ เป็นต้น

การใช้โทรศัพท์
ระบบโทรศัพท์แบ่งแยกตามท้องที่/เมืองและภาคโดยมี AREA CODE ซึ่งเป็นเลขรหัส 3 หลักเฉพาะของเมืองหรือภาคนั้น นอกเหนือจากเลขหมายโทรศัพท์ 7 หลัก เช่นเดียวกับประเทศไทย

ถ้าโทรศัพท์ภายในท้องที่ใช้ AREA CODE เดียวกันไม่ต้องหมุนรหัสทางไกล หากโทรศัพท์ต่างท้องที่AREA CODE ต่างกัน ต้องหมุนรหัสทางไกลด้วยทุกครั้ง

การใช้โทรศัพท์สาธารณะจะมีคำแนะนำติดอยู่กับโทรศัพท์ทุกเครื่อง
มีหลายประเภท เช่น เครื่องใช้เหรียญเครื่องใช้บัตรโทรศัพท์ โดยโทรได้ทั้งภายใน และต่างประเทศ

รายละเอียดและวิธีการใช้โทรศัพท์ในรายละเอียด สามารถศึกษาได้จากสมุดโทรศัพท์ของท้องถิ่นนั้น ๆ

การไปรษณีย์
ในสถานศึกษาบางแห่งหจะมีที่ทำการไปรษณีย์อยู่ภายในสถานศึกษาหรืออาจจะอยู่ใกล้ ๆ กับสถานศึกษาซึ่งสามารถจะไปรับบริการได้ ไปรษณีย์ในต่างประเทศ จะทำงานอาทิตย์ ละ 6 วัน จันทร์–เสาร์ หยุดวันอาทิตย์ ในการส่งจดหมายหรือเอกสารต่าง ๆสามารถนำไปติดแสตมป์และส่งเอกสารได้โดยจะมีเจ้าหน้าที่การไปรษณีย์ โดยเสียค่าเช่าเป็น
รายปีหรือราย3เดือนหรือ 6เดือนก็ได้

บริการด้านไปรษณีย์มีหลายประเภท เช่น เฟริส์คลาสเมล์ (FIRST CLASS MAIL) ซึ่งขนส่งทางอากาศ ไปรษณีย์รับรอง (CERTIFIED MAIL) ไปรษณีย์ลงทะเบียน (REGISTERED MAIL) ไปรษณีย์จัดส่ง (SPECIAL DELIVERY) ไปรษณีย์ด่วน (EXPRESS AMIL) เป็นต้น ตลอดจนมีบริการส่งเงินระหว่างประเทศทางไปรษณีย์ซึ่งสามารถสอบถามรายละเอียดได้จาก ที่ทำการส่งพัสดุนั้น

เมื่อมีการย้ายที่อยู่ใหม่ ก็สามารถแจ้งได้ที่การไปรษณีย์เพื่อขอให้นำจดหมายที่ส่งมาถึงที่อยู่เติมตามไปที่อยู่ใหม่

การเดินทางไปต่างเมือง
การเดินทางโดยรถโดยสารเป็นวิธีการที่นิยมแพร่หลายและไม่แพงนัก สามารถสอบถามตารางการเดินรถและเวลารถออกได้จากสถานีรถโดยสารตลอด 24 ชั่วโมง และควรสอบถามเรื่องดังกล่าวทางโทรศัพท์ก่อน เพื่อให้ทราบกำหนดเวลาแน่นอน ประเทศในยุโรป นิยมเดินทางไปต่างเมืองด้วยรถไฟ เพราะสถานีรถไฟอยู่ในใจกลางเมืองราคาค่าโดยสาร
ไม่แพง มีรถเข้าออกเกือบ 24 ชั่วโมง

การเดินทางโดยเครื่องบิน แม้ว่าค่าโดยสารจะแพงแต่ก็สะดวกและประหยัดเวลามากและเครื่องบินโดยสารมีเชื่อมแทบจะทุกจุดทุกเมืองซึ่งก่อนจะเดินทางควรมีการเตรียมการ ล่วงหน้า 5 – 7 วันโดยติดต่อกับบริษัทสายการบินเพื่อสอบถาม จอง และรับตั๋วให้เรียบร้อย และในวันเดินทางควรไปยังสนามบินก่อนเวลาเป็นเวลาพอสมควร หากเป็นการเดินทางในประเทศ ไปถึงสนามบินก่อนล่วงหน้า 1 ชั่วโมงถ้าเป็นการเดินทางระหว่างประเทศไปถึงสนามบินก่อน ล่วงหน้า 2 ชั่วโมง

ธนาคารในต่างประเทศ

การประกันสุขภาพ
การประกันสุขภาพมีความจำเป็นสำหรับนักเรียนต่างชาติมาก เพราะหากเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา ค่ารักษาพยาบาลในสหรัฐอเมริกาแพงมาก ดังนั้น หากมีการประกันแล้วจะเป็นประโยชน์ และช่วยประหยัดเงินได้มาก โดยปกติแล้ว สถานศึกษาทุกแห่งจะมีการแจ้ง ให้นักเรียนซื้อประกันสุขภาพได้ เมื่อเปิดภาคการศึกษานักเรียนควรจะปฏิบัติตามเป็นอย่างยิ่ง การประกัน สุขภาพมีได้หลายชนิดซึ่งแต่ละชนิดการประกันครอบคลุมแตกต่างกัน และอัตราในการประกันแตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรศึกษานโยบายการประกันให้เข้าใจก่อนว่ามีผลอย่างไรบ้างและหากเกิดการเจ็บป่วยขึ้นมาจะได้ทราบว่าเราสามารถจะเรียกร้องจากบริษัทประกันได้หรือไม่เพียงใด

การประกันรถยนต์
มีความสำคัญเช่นกัน ในบางรัฐมีระเบียบไว้เลยว่า ผู้มีรถยนต์ทุกคนจะต้องมีประกันรถยนต์ด้วย และการประกันก็มีหลายแบบด้วยกัน เช่น
อาจจะเป็นเพียง LIABILITIES หรือ THIRD PARTY POLICY ซึ่งจะมีผลครอบคลุม แต่เพียงผู้ที่ถูกชนเท่านั้น ถ้าเราเป็นผู้ผิดทางบริษัทจะไม่จ่ายให้หรือจะช่วยจ่ายให้ เพียงแต่ในบางกรณีหรือบางส่วนหรือจะเป็นCOMPREHENSIVE PLAN ซึ่งครอบคลุมทุกอย่าง ดังนั้นจึงควรศึกษานโยบายการประกันรถยนต์ให้ดีเสียก่อน และถ้าคิดว่าไม่มีเงินจ่าย
ค่าประกันรถยนต์แล้วก็ไม่ควรจะซื้อรถยนต์อย่างเด็ดขาด

การซื้อของ
การซื้อของในต่างประเทศ โดยทั่วไปแล้วจะไม่มีการต่อรองอย่างเด็ดขาด เพราะทุกร้านจะมีการปิดราคาตายตัว นอกจากในบางกรณีเท่านั้น เช่น การซื้อรถยนต์หรือการซื้อของให้แล้ว ซึ่งสามารถต่อได้ ดังนั้น การซื้อจึงเป็นเรื่องของแต่ละบุคคลต้องสืบดูราคาจากร้านต่าง ๆ เอาเองว่าร้านไหนราคาถูกที่สุดควรจะซื้อร้านนั้น และของทุกชิ้นที่ซื้อจะต้องเสียภาษีการขาย SALE TEX หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม (VALUE ADDED TAX) ภาษีนี้ จะแตกต่างกันไปแต่ละเมืองแต่ละรัฐ หรือแต่ละประเทศ** ดังนั้น ราคาที่แท้จริงก็คือ ราคาขายที่ปิดที่ร้านค้า + ราคาภาษี


ขอบคุณบทความจากสำนักงานก.

ที่มา
//news.interscholarship.com/content.php?id=446




 

Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2553
0 comments
Last Update : 3 กุมภาพันธ์ 2553 13:00:26 น.
Counter : 1037 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.