การสอบเข้าเรียนระดับปริญญาเอกในประเทศเยอรมนีและประสบการณ์ของข้าพเจ้า :)
ตั้งใจมานานแล้วว่าจะเขียนเกี่ยวกับการสอบเข้าเรียนระดับปริญญาเอกเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ให้กับน้องๆ
หรือเพื่อนๆ บางคนที่อยากจะศึกษาต่อในระดับนี้ในประเทศเยอรมนี

แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่าง รวมถึงเรื่องภาษาด้วย ลังเลว่าจะเขียนเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยดี เนื่องจากมีเพื่อนๆ อยู่หลายๆ ชาติด้วยกัน อยากแบ่งปันให้พวกเขารับทราบด้วย

อย่างไรก็ดี วันนี้ก็ได้โอกาสที่จะเล่าให้ฟัง โดยคิดว่าเขียนเป็นภาษาไทยน่าจะเป็นประโยชน์ที่สุด :)

การเรียนปริญญาเอกในประเทศเยอรมนี คนที่นี่ถือว่า ไม่ใช่เป็นการเรียน แต่เป็นการค้นคว้าเพื่อหาความสุดยอดทางวิชาการและนำเสนอออกมาเป็นผลงานของตัวเอง
โดยความยากอยู่ที่ 1. ไม่มีชั้นเรียน 2. นร.ด๊อกเตอร์ ต้องศึกษาค้นคว้า และบริหารเวลาด้วยตัวเอง
(จริงๆ ชอบมากที่ระบบการทำปริญญาเอกของที่นี่เป็นแบบนี้ แต่ยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลยจริงๆ)

เมื่อระบบการทำปริญญาเอกเป็นเช่นนี้ ระบบการสอบเข้า จึงไม่ใช่ลักษณะของการสอบแข่งขัน แต่เป็นลักษณะของการค้นหา และการได้รับการยอมรับจากศาสตราจารย์ หรือบิดาทางวิชาการ หรือ Doktorvater /

การค้นหาก็ว่ายากแล้ว เพราะต้องค้นหาศาสตราจารย์ที่เขาสนใจจะร่วมงานกับเราจริงๆ นั่นหมายถึง ศาสตราจารย์ที่ยอมรับเรานั้น
ไม่ได้ยอมรับเราในฐานะนักเรียน แต่ต้องการยอมรับเราในฐานะ "ผู้ร่วมงาน" ที่จะสร้างผลงานด้วยกัน / ดังนั้น การได้รับการยอมรับที่จะได้ทำงานด้วยกันกับศาสตราจารย์ที่นี่ก็ยากกกกยิ่งกว่า นั่นหมายถึง เราต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ อันเป็นการวัดมาตรฐานว่าเราจะได้ทำผลงานปริญญาเอกในเยอรมนีหรือไม่

ขั้นตอนต่างๆ มีดังต่อไปนี้ คือ
1. ค้นหาศาสตราจารย์ที่มีความสนใจในงานวิชาการและร่างวิทยานิพนธ์ของเรา
จากประสบการณ์ส่วนตัว ก็ได้สมัครไว้หลายที่ บางที่สนใจร่างวิทยานิพนธ์ที่ส่งไป แต่ศาสตราจารย์เฉพาะด้านอายุใกล้เกษียณแล้ว จึงไม่มีโอกาสได้ทำตามหัวข้อที่ได้เสนอไป
จริงๆ แล้วกับมหาวิทยาลัยสตุ๊ทการ์ท ศาสตราจารย์ของพี่ ณ ปัจจุบัน ก็ไม่ได้สนใจในหัวข้อที่พี่เสนอท่านไปในตอนแรก แต่ท่านถามมาว่า แล้วเธอสนใจที่จะทำเกี่ยวกับ
ประชาธิปไตยไหม ตอนนั้นก็ไม่กลัวที่จะตอบไปว่าสนใจค่ะ ทั้งที่ตัวเองจบมาทั้งตรีและโทในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไม่ใช่ด้านการปกครองแบบที่ศาสตราจารย์
เสนอมา ทั้งนี้เป็นเพราะเป็นคนอ่านหนังสือเยอะมาก และที่ชอบที่สุดคือ ด้านการเมืองและประวัติศาสตร์ ดังนั้น ก็เลยตอบตกลงไปอย่างกล้าหาญมาก
ศาสตราจารย์ก็ให้เวลาในการไปออกแบบร่างวิทยานิพนธ์มา โดยเขียนติดต่อกับท่านผ่านทางอีเมลล์เท่านั้นในเวลานี้
อย่างไรก็ตาม เรื่องไม่ได้จบเพียงเท่านี้ มิฉะนั้น คงง่ายเกินไป เพราะขั้นตอนต่อไป คือ

2. การตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับการเรียนและสถาบันการศึกษาทั้งปริญญาตรีและโทของเรา
ทางมหาวิทยาลัยของเยอรมนีจะมีลิสต์วัดระดับว่าในระดับมหาวิทยาลัยของไทย มีมหาวิทยาลัยใดบ้างที่มีระดับมาตรฐานเทียบเท่ากับมหาวิทยาลัยในเยอรมนีหรือในยุโรป
หากเราไม่ได้จบในมหาวิทยาลัยที่เทียบเท่า ก็จะไม่ผ่านเกณฑ์ในการคัดเลือก (คัดเลือกให้ไปสอบต่อนะ ไม่ใช่คัดเลือกให้ผ่าน)
ในข้อนี้ ส่วนตัวไม่มีปัญหาอะไรทั้งมหาวิทยาลัยที่เรียนในทั้งปริญญาตรีและโท รวมถึงเรื่องคะแนนเฉลี่ยด้วย ผ่านฉลุย

3. การสอบสัมภาษณ์
ในขั้นนี้ หลังจากติดต่อพูดคุยกับศาสตราจารย์ประจำตัวแล้ว ก็ได้รับจดหมายเชิญให้ไปสอบสัมภาษณ์ หรือไปดูตัว
ขอบคุณพระเจ้ามากที่การได้รับคำเชิญให้ไปสอบสัมภาษณ์นั้น เป็นเวลาเดียวกับที่ได้รับทุนจากองค์กรทางการเมืองของเยอรมนี Friedrich Naumann Stiftung
ให้ไปร่วมสัมมนาที่เมืองโคโลญจน์ ประเทศเยอรมนี อย่างพอดิบพอดี ซึ่งในทุนนี้ก็จ่ายทั้งค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าที่พัก ค่าอาหาร พ๊อกเก็ตมันนี่ ให้อยู่ในประเทศเยอรมนีได้
เป็นเวลาหนึ่งเดือน ดังนั้น ในช่วงเวลานี้ก็ขอประธานองค์กร FNF นี้เดินทางจากโคโลญจน์ไปเมืองสตุ๊ทการ์ทเพื่อไปสอบสัมภาษณ์และพูดคุยกับศาสตราจารย์ประจำตัว
ประสบการณ์ครั้งนี้ทำให้รู้สึกตื่นเต้นมาก เพราะนอกจากจะเดินทางในประเทศเยอรมนีคนเดียวครั้งแรกแล้ว ยังต้องไปถูกสัมภาษณ์ความรู้ด้านการเมืองด้วยภาษาอังกฤษ
สำเนียงไทยแท้คนเดียวอีกต่างหาก แต่เป็นประสบการณ์ที่คุ้มมาก ไม่ใช่เพราะทำได้ดีมากนะ ทำได้ไม่ค่อยดีต่างหาก เนื่องจากไม่ได้จบด้านการเมืองมาโดยตรง
แม้อ่านมาเยอะ แต่พอมาสนทนาทางการเมืองด้วยภาษาที่ไม่ใช่ภาษาแม่ของตัวเอง ไอ้ที่ว่ายากก็ยากมากกกกกกกกกกกกกกกกก อย่างไรก็ตาม ผลดีที่ได้คือ แรงฮึด
ที่จะต้องขยันมากขึ้นทั้งในเรื่องความรู้ทางการเมืองและด้านภาษา

4. การสอบปากปล่าว 2 วิชาหลัก กับ 2 ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญ วิชาละ 30 นาที เป็นภาษาอังกฤษ หรือเยอรมัน
ในที่สุดเมื่อสัมมนาจาก FNF สิ้นสุดลง ก็ต้องเดินทางกลับประเทศ ในเวลานั้น คือ เดือนกรกฎาคม 2008 และต้องเดินทางกลับมายังประเทศเยอรมนีอีกครั้ง
ในเดือนตุลาคม2008 เพื่อทำการสอบปากเปล่าวิชา การเมืองเปรียบเทียบ และทฤษฎีการเมือง
หากสอบไม่ผ่าน ก็ต้องกลับประเทศไทย เนื่องจากวีซ่าที่ได้เป็นวีซ่าชั่วคราวสามเดือนเท่านั้น
วันที่ 7 ตุลาคม 2008 พี่ก็เดินทางมายังประเทศเยอรมนีอีกครั้ง ด้วยหนังสือเต็มกระเป๋า มาถึงก็ไปพักกับเพื่อนหญิงชาวจีน พี่ก็อ่านหนังสือทั้งวันทั้งคืน
อ่านไปอ่านมาพบว่า อ่านเท่าไรก็ไม่เข้าใจและไม่จำ เนื่องจากต้องอ่านเป็นภาษาอังกฤษล้วนๆ กับวิชานเฉพาะที่ยากและไม่ได้จบเอกด้านการเมืองเปรียบเทียบ
กับทฤษฎีการเมืองมา ก็ท้อใจเพราะมีเวลาเตรียมตัวเพียงเดือนเดียว ศาสตราจารย์นัดสอบทั้งสองวิชาในเดือนพฤศจิกายน เฮ้อ ทำอย่างไรดี เพราะหากไม่ผ่าน
ก็กลับบ้านสถานเดียว ก็ตัดสินใจอธิษฐานกับพระเจ้า และสร้างแรงใจให้กับตัวเอง และนึกขึ้นได้ว่า ตอนัวเองอยู่ ม.6 เคยท่องจำหนังสือสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่มี
ความหนากว่า 500 หน้าเกือบทั้งเล่มได้ และนึกได้ว่า บางครั้งความจำมันนำมาซึ่งความเข้าใจ ก็เลยฮึดขึ้น นั่งย่อความสำคัญจากหนังสือทฤษฎีต่างๆ และท่องจำ
ทั้งวัน ทั้งคืน กิน นอน ฝันถึงข้อสอบทั้งสองวิชา จริงๆ น่าจะผอม แต่ก็ไม่ อิอิอิ ในที่สุดความมั่นใจก็บังเกิดขึ้น
วันสอบมาถึง จำได้ว่าแต่งตัวสวยมาก สูทสีดำ กรีดตาด้วยนะ เพิ่มความมั่นใจ 5555
สอบวิชาแรกกับศาสตราจารย์ Gabriel วิชาทฤษฎีการเมือง จำได้ว่า ตื่นเต้นมาก แต่ตอบคำถามได้ทุกข้อเลย ผลสอบออกมาคือ ดีมาก และได้รับคำชมมากๆ
ท่านบอกว่า ท่านไม่เคยเห็นใครมีความมุ่งมั่นพยายามเท่าพี่มาก่อน 555 ภูมิใจจริงๆ
วิชาสุดท้าย คือ วิชาการเมืองเปรียบเทียบโดยศาสตราจารย์ประจำตัวของพี่เอง ศาสตราจารย์ Dieter Fuchs ก่อนสอบท่านมีแซวว่า โอวว ได้ยินข่าวว่าทำคะแนนได้ดี
ในวิชาของศาสตราจารย์การเบรียลใช่ไหม พี่ก็เขินๆ และบอกเพียงว่า ท่านก็ว่าอย่างนั้นค่า แต่ในใจกลัวว่า อาจจะทำวิชาของท่านได้ไม่ดีก็ได้นะ
อย่างไรก็ตาม สำหรับวิชาการเมืองเปรียบเทียบ พี่ก็ตอบได้ทุกคำถาม และได้รับคำชมอย่างมากมายอีกครั้ง ดีใจมาก ในที่สุดก็ผ่านฉลุยทั้งสองวิชา อย่างดีเลิศด้วย
ขอบคุณพระเจ้าผู้แสนดี :)
อย่างไรก็ดี ขั้นตอนทั้งหมดยังไม่เสร็จสิ้น เห็นไหมว่า มันหินมากที่นี่ เวลานี้พี่ยังไม่ได้เป็น PhD.Student หรือ ภาษาเยอรมันที่ว่า Doktorandin นะ
มันต้องผ่านขั้นตอนที่สุดท้ายนี้เสียก่อน นั่นคือ

5. การเขียนวิทยานิพนธ์บับย่อฉจำนวน 60 หน้า !!!!
ขั้นตอนนี้ บางคนใช้เวลานานกว่าจะผ่าน เป็นปีเลยก็มี แต่สำหรับพี่แล้ว การเริ่มต้นให้ตรงเวลาและเร็วที่สุดสำคัญมาก เพราะคิดว่า ไมงั้นเสียเวลา
พี่ก็เลยอ่านและเขียนทั้งวันทั้งคืน จนในที่สุดใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือนก็เขียนวิทยานิพนธ์ฉบับย่อจำนวน 60 หน้ากว่าๆ จบ

พอไปส่งปุ๊ป อีกประมาณหนึ่งเดือนก็ทราบผล ผลก็คือ วิทยานิพนธ์ผ่านและได้รับการยอมรับให้เป็นนักเรียนด๊อกเตอร์ของมหาวิทยาลัยสตุ๊ทการ์ทอย่างเต็มภาคภูมิ เย้!

พอจบขั้นตอนทั้งหมดก็เริ่มเขียนตัววิทยานพนธ์ของจริงสักที :)



Create Date : 08 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2555 17:19:50 น.
Counter : 1437 Pageviews.

9 comments
  
ได้ความรู้ ขอบคุณครับ
โดย: rustred9 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2555 เวลา:17:47:16 น.
  
ดีครับ
โดย: dum IP: 202.29.105.5 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2555 เวลา:19:13:43 น.
  
อ่านแล้วชื่นชมยินดีด้วยจริงๆค่ะ
คนไทยคนเก่งในต่างแดน
จะต้องเก่งจริงๆแน่นอน
ยินดีด้วยจากใจค่ะ
โดย: Willkommen วันที่: 8 พฤศจิกายน 2555 เวลา:19:30:32 น.
  
คารวะหนึ่งจอก
โดย: supersupy วันที่: 8 พฤศจิกายน 2555 เวลา:20:49:39 น.
  
สุดยอดคะ ขอบคุณที่แบ่งปันประสบการณ์ดีๆให้เป็นแรงฮึดและแรงบันดาลใจคะ :))
โดย: Phicha IP: 101.108.150.137 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2555 เวลา:23:52:35 น.
  
โอ้โห...สุดยอดมากค่ะ นับถือในความสามารถ ความตั้งใจจริง อยากให้มีคนไทยเก่ง ๆ แบบนี้เยอะ ๆ เรียนจบแล้วนำความรู้ไปพัฒนาบ้านเมืองเรา ไม่ให้เขาว่าได้อีก...เมืองไทยใช้ภาษาอังกฤษได้ยอดแย่ค่ะ แต่คุณทำได้ขนาดนี้ สุดยอดจริง ๆ
โดย: Maeboon วันที่: 8 พฤศจิกายน 2555 เวลา:23:53:57 น.
  
*** Adding: every step of being selected as a PhD student in Germany is not leaned on only Professors who we want to work with but it must have a group of committees from the faculty and university considering our documents and thesis together too. So, when some of their committees says No, maybe we would be able to get rejected too !!!
โดย: saneyaha (saneyaha ) วันที่: 12 พฤศจิกายน 2555 เวลา:13:31:25 น.
  
*** Adding 2: One thing that I feel so much appreciated in my two Professors who tested me in the two oral exams at that time is about their intelligence to make a set of questions. I found that it was quite interesting because they didn't need such answer just yes or no or absolute answers but they needed some reasons behind as well as how to apply what we replied for their theories too. And I think this is the quality of German intellectual,that makes me so much impressed and want to be.
โดย: saneyaha (saneyaha ) วันที่: 12 พฤศจิกายน 2555 เวลา:13:32:32 น.
  
Thank you for your sharing.
โดย: Dok-aor IP: 61.19.233.102 วันที่: 3 ธันวาคม 2555 เวลา:17:39:08 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

onceuponatime
Location :
  Germany

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]



ชีวิตของผู้หญิงไทยในต่างแดนคนหนึ่ง ที่เป็นทั้งคุณแม่ลูกสามที่มีดีกรีด๊อกเตอร์จากประเทศเยอรมนี เปิดบันทึกเพื่อเล่าให้ฟังถึงประสบการณ์ผจญภัยที่แสนจะตื่นเต้นของเธอในต่างแดน ไม่ว่าจะเป็น การสอบเข้าและเรียนปริญญาเอกที่สุดหิน ความรักข้ามขอบฟ้าที่แสนโรแมนติก การสร้างครอบครัวที่อบอุ่น แถมพ่วงด้วยลูกเล็กอีกสามที่มีพรสวรรค์ด้านดนตรีอย่างเหลือเชื่อ พร้อมทั้งแบ่งปันเคล็ดลับและแรงดลบันดาลใจที่นำไปสู่ความสำเร็จแบบ
"นกอินทรีต้องบินสูง" ของเธอ
พฤศจิกายน 2555

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
10
11
14
16
17
18
19
20
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog