Group Blog
 
<<
มกราคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
27 มกราคม 2552
 
All Blogs
 
จันทร์จิรา เอกอารีจิตต์ เธอผู้ไม่แพ้

จันทร์จิรา เอกอารีจิตต์

ผู้หญิงที่ใช้ความสามารถลดข้อจำกัดทางด้านร่างกายของเธอให้หมดไป จนได้รับ
การยอมรับให้เป็นคนพิการคนเดียวที่ทำงานในหน้าที่ผู้เรียบเรียงข่าวต่างประเทศองค์การ
สื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย สำนักข่าวไทย

จันทร์จิรา เอกอารีจิตต์ เป็นคนกรุงเทพโดยกำเนิดเธอป่วยเป็นโรคโปลิโอเมื่ออายุ
ได้ 3 ขวบ จันทร์จิราเล่าว่าคุณแม่พาไปรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช อาการของเธอเหมือน
คนเป็นไข้หวัด และหมอวินิจฉัยว่าเป็นไข้หวัดและฉีดยาให้ แต่เนื่องจากอาการเกิดจาก
ไวรัสคนละตัวกับเชื้อหวัด กว่าจะทราบว่าอาการเนื่องมาจากสาเหตุใดก็ผ่านไปครึ่งวัน
และมีอาการขาลีบเล็กลงแล้ว ตอนนั้นโรคโปลิโอกำลังระบาดและวัคซีนป้องกันโปลิโอ
ยังไม่แพร่หลาย การรักษาในสมัยนั้นทำได้แค่กายภาพบำบัดที่โรงพยาบาลศิริราชเป็น
เวลา 2 ปี หลังจากนั้นเธอเข้าเรียนที่โรงเรียนศรีสังวาลย์ โดยใช้เบรสและเดินด้วยไม้ค้ำยัน
2 ข้างมาตั้งแต่เด็ก จันทร์จิราบอกว่าไม่รู้สึกอะไรกับข้อจำกัดทางร่างกายนี้ เพราะเป็น
ความเคยชินมาตั้งแต่เด็กกับการต้องใช้ไม้เท้าและการต้องช่วยเหลือตนเองมาโดยตลอด
ที่โรงเรียนศรีสังวาลย์ครูจะปฏิบัติต่อนักเรียนเหมือนเด็กปกติ ทำให้นักเรียนในโรงเรียน
ไม่รู้สึกอะไรกับข้อจำกัดเหล่านี้

จันทร์จิราเรียนจบระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่โรงเรียนศรีสังวาลย์และสอบได้ที่ 1-2
มาตลอด และเริ่มต้นเรียนกับเด็กปกติในสายอาชีวศึกษา
ได้พบเพื่อนที่ดี ครูดี เพียงแต่ลำบากในเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวก เพราะจะไม่มีสิ่ง
อำนวยความสะดวกเหมือนโรงเรียนเดิม ความยากลำบากของจันทร์จิราคือต้องเข้าห้องน้ำ
มาจากบ้าน และคอยจนกว่าจะกลับบ้านจึงได้เข้าห้องน้ำ เนื่องจากในสมัยนั้นเรียนเพียง
ครึ่งวัน จันทร์จิราจึงทำเช่นนั้นได้ จันทร์จิราบอกว่าตัดสินใจเลือกเรียนสายอาชีพตามใจ
พ่อแม่ โดยเลือกเรียนโรงเรียนพาณิชยการแห่งหนึ่งแถวฝั่งธนบุรี และสอบได้ที่ 1 เช่นเคย
เธอใช้เวลาเรียนแค่ 2 ปี ก็สอบเข้าเรียนต่อในคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จันทร์จิราบอกว่าเป็นคนที่ชอบเรียนภาษาอังกฤษมาก และเลือกคณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วย แต่เลือกเป็นลำดับรองจากคณะเศรษฐศาสตร์เนื่องจากสมัย
นั้นไม่มีการแนะแนวเหมือนในปัจจุบัน จันทร์จิราบอกว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สอน
ให้มีความคิดที่เป็นตัวของตัวเอง ไม่มีการแบ่งแยกชนชั้น ธรรมศาสตร์สอนให้ช่วยเหลือ
ตนเองและให้กลับมามองสังคม เธอเปรียบเทียบก้าวหนึ่งของเพื่อนๆ เดินได้ 1 เมตร แต่
1 เมตรของเธอจะต้องเดินถึง 4-5 ก้าว ความพยายามในการเรียนของเธอจึงต้องมีมากเป็น
ทวีคูณ เธอเดินทางไปเรียนหนังสือด้วยรถประจำทาง เธอเล่าด้วยความภาคภูมิใจถึง
ความรู้สึกว่า เธอได้ใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่าและไม่เป็นภาระของทางบ้าน แม้จะอยู่คณะ
เศรษฐศาสตร์แต่เธอเลือกเรียนภาษาอังกฤษเกือบเท่าวิชาเอก และเลือกทำงานทางด้าน
ภาษาเพราะเป็นคนที่ชอบภาษาอังกฤษเป็นทุนเดิม

เธอเคยวางแผนในชีวิตว่าเธอจะทำงานแปลเป็นอาชีพ เธอเริ่มต้นด้วยการทำงานที่บริษัทเล็กๆมีหน้าที่ติดต่อด้านการค้าขายระหว่างประเทศ ได้ประสบการณ์การทำงานร่วมกับคนปกติและสังคมที่ค่อนข้างโอบอ้อม
ผู้บังคับบัญชาที่มีทัศนคติที่เปิดกว้างกับคนพิการ ทำให้เธอมีความสุขกับการทำงาน
และไม่ค่อยมีอุปสรรคในการทำงาน หลังจากนั้นเธอมาหาประสบการณ์ใหม่ที่หนังสือพิมพ์วัฏจักรฝ่ายแปลข่าวต่างประเทศ
ในส่วนข่าวเศรษฐกิจ ทักษะในการทำงานของเธอเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นทักษะเฉพาะของการแปลข่าวและที่ทำงานแห่งนี้ เริ่มมีการใช้ความพร้อมทางร่างกายมากีดกันความสามารถเธอต้องใช้ความอดทนในระดับที่สูงมาก และอยู่ที่หนังสือพิมพ์วัฏจักรได้ประมาณ 3 ปี เธอเริ่มรู้สึกว่าอายุมากขึ้น เริ่มเรียนรู้ว่างานที่ทำอยู่ขณะนั้นไม่ค่อยจะมั่นคงเท่าไร จึงคิดที่จะทำงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ และตัดสินใจไปสมัครสอบที่สำนักข่าวไทยในสายข่าวเศรษฐกิจ

เธอทราบดีว่าอสมท.เป็นหน่วยงานที่ใหญ่มาก แต่ด้วยสัญชาตญานของการต่อสู้มาโดยตลอด
จันทร์จิราสอบผ่านข้อเขียนแต่ไม่ผ่านการสัมภาษณ์ เหตุผลเพราะ อสมท.ไม่เคยรับคนพิการ
เข้าทำงาน ความรู้สึกขณะนั้นว่าจะทำอย่างไรดีอุตส่าห์สอบผ่านข้อเขียนแล้ว แต่ อสมท.ไม่
เรียกตัวเข้าทำงานสักที จึงตัดสินใจโทรศัพท์ถามฝ่ายบุคคลว่า อสมท.มีนโยบายเปิดกว้างรับ
คนพิการเข้าทำงานหรือไม่ ฝ่ายการพนักงานให้คำตอบไม่ได้ พอดีหัวหน้าฝ่ายข่าวต่างประเทศ
ในขณะนั้น (คุณวีรวรรณ วรรุตม์) ได้ทราบข่าวนี้ และอยากให้โอกาสกับคนพิการจึงเรียกเธอ
กลับมาสัมภาษณ์อีกครั้ง และได้ทำงานในที่สุดด้วยเหตุผลว่า อสมท.ใช้สมองกับมือของเธอ
เธอมาทราบภายหลังว่า การได้เข้าทำงานครั้งนี้มีหัวหน้าฝ่ายข่าวท่านนี้รับประกันให้เธอและ
เธอยังจำบุญคุณในครั้งนั้นได้เสมอ

จันทร์จิราต้องทดลองงานอยู่ 1 ปี จึงได้เป็นพนักงานประจำ 10ปีที่ผ่านมาประสบการณ์
ที่สั่งสมมาในด้านการแปลข่าวจาก อสมท. บวกกับ ในปี 2540 ได้ทุนของอาเซียนที่ได้รับการ
สนับสนุนโดยรัฐบาลสิงคโปร์ให้ไปเรียนต่อที่ประเทศสิงคโปร์ ด้านการวิเคราะห์สถานการณ์
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เธอได้รับความไว้วางใจให้ทำงานในแผนกข่าวออนไลน์
หลังกลับจากเรียนที่สิงคโปร์ อสมท. เริ่มนำระบบออนไลน์มาใช้ มีแผนกข่าวออนไลน์เพิ่ม
ขึ้นอีกหนึ่งแผนก อสมท.มั่นใจในการทำงานของเธอ จึงให้ใช้ที่พักส่วนตัวทำเป็นสำนักงาน
ไปในตัวโดยใช้คอมพิวเตอร์ต่อโมเดมเชื่อมกับระบบใหญ่ของ อสมท. ซึ่งสามารถทำงานที่ไหน
ก็ได้

การแปลข่าวไทยเป็นข่าวภาษาอังกฤษเป็นงานที่ยากแต่เธอสามารถทำได้อยู่ในเกณฑ์ที่
น่าพอใจ จันทร์จิราจะเป็นผู้ดึงข่าวจากที่ผู้สื่อข่าวแผนกต่างๆ ส่งเข้ามาทางระบบออนไลน์
นำมาแปลและเรียบเรียงเป็นภาษาอังกฤษ ส่งขึ้นเว็บไซด์ของ อสมท. ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ
และส่งข่าวไปต่างประเทศตามข้อตกลงแลกเปลี่ยนข่าวระหว่างสำนักข่าวของรัฐบาลในกลุ่มอาเซี่ยน
และรัฐบาลในกลุ่มเชียและแปซิฟิก เนื่องจากเป็นคนที่รับผิดชอบต่อตัวเอง ต่องานที่ได้รับมอบหมายทำให้เธอได้รับความไว้วางใจมาจนถึงปัจจุบัน

ความใฝ่ฝันของจันทร์จิราคือ ตำแหน่งหน้าที่การงานที่ดีขึ้น เนื่องจากความรับผิดชอบของเธออยู่ใน
เกณฑ์ที่ใช้ได้แล้ว แต่คนปกติรับไม่ได้ที่จะให้คนพิการมาเป็นหัวหน้าแต่ความรับผิดชอบ
ของเธอขณะนี้เทียบเท่าระดับหัวหน้าแผนกแล้วนอกจากนี้เธอคิดอยากจะก้าวเข้าช่วยเหลือ
สังคมคนพิการบ้างในช่วงบางเวลาที่เธอสามารถแบ่งให้ได้ แต่ข้อจำกัดเรื่องหน้าที่รับ
ผิดชอบทำให้เธอช่วยเหลือสังคมคนพิการได้ไม่เต็มที่เธอมีความรู้สึกว่าองค์กรคนพิการของ
เมืองไทยยังไม่มีความเป็นเอกภาพเมื่อถามถึงคนในดวงใจเธอตอบโดยไม่ต้องคิดว่า เธอ
เทอดทูลคุณแม่ของเธอมาก เธอรู้สึกว่าที่เธอเป็นอยู่ในทุกวันนี้เป็นเพราะคุณแม่ให้

ส่วนบุคคลที่เธอทึ่งคือคุณวีรวรรณ วรรุตม์ที่เป็นคนเก่งมีคุณธรรมและให้โอกาสเธอเริ่มประจักษ์
กับตัวเองว่าถ้าคนพิการมีความสามารถอย่างเดียวแต่ไม่มีผู้ใหญ่ที่มีทัศนคติที่เปิดกว้างและ
ให้การสนับสนุนระดับหนึ่งคนพิการจะไปถึงจุดที่ประสบความสำเร็จยากมากการที่ตัวเอง
ได้มีโอกาสมาอยู่ตรงกลางของสังคมคนปกติและคนพิการเป็นประสบการณ์ที่มีค่าอนันต์
เพราะเธอจะต้องมีการปรับตัวตลอดเวลา

สิ่งที่จันทร์จิราอยากฝากสังคมคือการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนปกติกับคนพิการยังมีน้อยจึงอยากให้พิจารณาคนพิการเป็นส่วนๆแม้เธอจะพิการ
ขาเสียทั้ง 2 ข้าง แต่เธอยังมีสมองและมือ 2 ข้าง ขอสังคมอย่ามองภาพรวมคนพิการว่าไม่มี
ศักยภาพ อยากให้คนพิการมีส่วนร่วมมากขึ้น กฎหมายเพื่อคนพิการมีมากขึ้นแต่ในส่วน
ของการปฏิบัติก็ยังมีช่องโหว่ต่างๆ มากมาย เธอหวังจะให้อนุชนคนพิการรุ่นหลังๆ มี
คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเรื่อยๆ การต่อสู้ที่หนักหนาสาหัสที่เธอเคยพบ หากลดลงมาได้โดยการ
เข้าใจกันของทั้งในส่วนของคนปกติและคนพิการก็จะทำให้สังคมการอยู่ร่วมกันระหว่างคนพิการและ
คนปกติดีขึ้น

สัมภาษณ์ :: จันทร์จิรา เอกอารีจิตต์ ในรายการวิทยุเพื่อคนพิการ
“โลกกว้างทางการศึกษา”
อังคารที่ 9 ธันวาคม 2546




Create Date : 27 มกราคม 2552
Last Update : 27 มกราคม 2552 11:40:52 น. 4 comments
Counter : 1122 Pageviews.

 
เดี๋ยวจะก๊อปไปให้พี่เหน่งอ่านค่ะ


โดย: พี่แหม๋ว (ฟ้าคงสั่งมา ) วันที่: 27 มกราคม 2552 เวลา:18:28:09 น.  

 
ผมขอเป็นกำลังใจให้เธออีกคน
และผมก็เห็นด้วยกับกฎหมายคนพิการที่มีมากมายแต่การปฎิบัติกลับมีช่องโหว่มากมาย


โดย: สยาม จำปาทอง IP: 202.29.99.13 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:10:40:59 น.  

 
I do admire Khun Flowery for providing this good article to her blog readers. I think it encourages ones who lose their self - courage and it reminds us of how lucky we are today.

All the best


โดย: chai IP: 121.72.22.120, 121.72.22.120 วันที่: 8 กรกฎาคม 2552 เวลา:16:39:05 น.  

 
ตุ๊กตาเองค่ะ พี่เหน่ง ฟังคลื่อน 96.5 มีsport หนึ่งนำเสนอเรื่องราวของพี่เหน่ง อดปลื้มไม่ได้ ว่าเราก็เป็นเพื่อนกับผู้หญิงเก่งและแกร่งคนนี้ จึงพยายามหาข้อมูลที่จะติดต่อหลับมายังพี่
หากได้รับข้อความ โปรดแจ้งข้อมูล การติดต่อของพี่มาด้วยนะคะ

รัก และคิดถึง
ตุ๊กตา มสธ 02 5047487
089 763 9593


โดย: จุฑารัตน์ IP: 202.14.117.6 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2555 เวลา:10:19:18 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Flowery
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




Flowery รักการเขียน รักการเรียนรู้ รักภาษาอังกฤษ รักการแปล และรักที่จะแบ่งปันประสบการณ์ความรู้
Friends' blogs
[Add Flowery's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.