พฤศจิกายน 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
12 พฤศจิกายน 2552
 

ว่าด้วยการอยู่ไฟ


ประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อของการอยู่ไฟ
การอยู่ไฟหลังคลอดนั้น มิใช่มีแต่การอยู่ไฟแบบไทยๆ เท่านั้น แต่มีอยู่หลายประเทศในแถบเอเชีย แม้แต่ประเทศญี่ปุ่นก็นิยมการอยู่ไฟ เวียดนาม ลาว เขมร มาเลเซีย ต่างก็มีการอยู่ไฟหลังคลอดกัน ซึ่งแต่ละประเทศการอยู่ไฟจะมีความแตกต่างกันไปบ้างในวิธีการ แต่ความเหมือนกันคือ มีการใช้ความร้อนเป็นสิ่งสำคัญของการอยู่ไฟ เพราะคนโบราณมีความเชื่อว่า ความร้อนจากการอยู่ไฟ จะให้ความอบอุ่นทางจิตใจและบรรเทาความเจ็บปวดเมื่อยล้า ดังนั้นการอยู่ไฟทำให้คุณแม่หลังคลอดได้มีการพักผ่อนอย่างเต็มที่ การที่ได้ทับอิฐ นึ่งหม้อเกลือ ประคบสมุนไพร อาบน้ำร้อน กินน้ำร้อนจะช่วยให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น มดลูกมีการหดรัดตัวดี ทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น น้ำคาวปลาก็แห้งเร็ว ปากมดลูกปิดเร็วขึ้น ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อในโพรงมดลูกและตกเลือดหลังคลอด หากคุณแม่หลังคลอดไม่ได้อยู่ไฟ ต่อไปเมื่อเจ็บป่วยผู้ใหญ่มักจะโทษว่าเป็นเพราะไม่ได้อยู่ไฟหลังคลอดบุตร

การดูแลคุณแม่หลังคลอดแบบแผนไทยประยุกต์
ในการดูแลคุณแม่ที่คลอดบุตรใหม่ๆ แบบดั้งเดิมของสังคมไทยนั้น นับว่าเป็นวัฒนธรรมที่บ่งบอกถึงความเอาใจใส่ดูแลของคนในสมัยโบราณที่ให้ความสำคัญต่อสุขภาพของผู้ที่เป็นแม่หลังการคลอดเป็นอย่างยิ่ง เพราะสุขภาพของผู้ที่เป็นแม่เมื่อคลอดลูกออกมานั้น นอกจากในด้านการเตรียมจิตใจเพื่อรับภาระอันยิ่งใหญ่ในการเป็นแม่แล้ว ด้านร่างกายยังต้องแบกรับภาระของความเจ็บปวดจากการคลอด ร่างกายยังต้องปรับสภาพเพื่อเตรียมการให้น้ำนมแก่ลูก การขับน้ำคาวปลาและสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่ในร่างกาย หลังจากการตั้งครรภ์ตลอดเวลา 9 เดือน ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญต่อการดูแลหลังคลอดเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นของไทย ก็จะมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่วิถีชีวิตสภาพแวดล้อมของพืชสมุนไพรที่นำมาใช้ แต่โดยภาพรวมของกิจกรรมการดูแล ก็เพื่อขับสิ่งสกปรกออกจากร่างการ ทำให้มดลูกแห้งและเข้าอู่เร็วขึ้น การบอกกล่าวเป็นการสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ มาสู่รุ่นลูกหลานในปัจจุบัน เป็นวิธีการที่ถือว่า เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ทำกันมานานหลายชั่วอายุคน

เหตุใดจึงต้องดูแลหลังคลอด (อยู่ไฟ)
ในปัจจุบัน การแพทย์สมัยใหม่มีส่วนช่วยทำให้ภาวะการคลอดสะดวกสลายมากยิ่งขึ้น จนดูคล้ายกับว่าความจำเป็นของการดูแลสุขภาพหลังคลอดไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นแม่หลายคน เมื่อเวลาป่านไปหลายปีปรากฎว่า มีอาการหนาวสั่นมากและมากขึ้นเรื่อยๆ โดยหาสาเหตุไม่ได้ บ้างก็บอกว่า "แค่ฝนตั้งเค้ามาก็หนาวสะท้านแล้ว"
แพทย์แผนปัจจุยันตอบคำถามของอาการอันเกิดจากการไม่ได้อยู่ไฟว่า เกิดจาก สมองส่วนที่ควบคุมอุณหภูมิในร่างกายทำงานผิดปกติ เพราะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน จึงทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบ หรือหนาวสะท้าน ในหญิงวัยหมดประจำเดือน(วัยทอง) แต่ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ หรือในวัยที่ยังไม่หมดประจำเดือน ยังคงมีอาการหนาวสะท้าน บางครั้งความหนาวทำให้เจ็บไปถึงภายในร่างกายหรือไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้ เป็นเพราะเหตุใดก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้

เบญจขันธ์
องค์ประกอบแห่งชีวิต
เบญจขันธ์ หรือ ขันธ์ 5 เป็นองค์ประกอบแห่งชีวิต มี 5 หมวด ได้แก่รูปขันธ์ ซึ่งเป็นส่วนกาย 1 หมวดและนามขันธ์ ซึ่งเป็นส่วนใจอีก 4 หมวด ได้แก่
1. รูป ...
เจ้าเรือน
มนุษย์ทุกคนต้องมีตรีโทษะ ทำงานร่วมกันจึงจะทำให้ชีวิตอยู่ได้ ตรีโทษะในแต่ละคนมีสัดส่วนที่ไม่เหมือนกัน การที่แต่ละคนมีธรรมชาติพื้นฐานแตกต่างกัน ท่านอธิบายว่าเป็นเรื่องของ เจ้าเรือน หรือที่ภาษาสันสกฤติ เรียกว่า ปรปฤติ
การรู้ถึงเจ้าเรือนหรือปรปฤติของแต่ละคนนั้นมีความสำคัญต่อการตรวจวินิจฉัยการรักษา การปรับอาหาร พฤติกรรม และการปรับตำรับยา ให้เหมาะสมกับคนแต่ละคน
ในห้องซึ่งมีอากาศสม่ำเสมอกันทั้งห้อง คนบางคนอาจรู้สึกว่าสบาย บางคนอาจรู้สึกร้อน บางคนอาจรู้สึกว่าหนาว ความแตกต่างนี้ ไม่ใช่เป็นเพราะการนุ่งห่มเสื้อผ้าที่แตกต่างกันเท่านั้น แต่ขึ้นกับเจ้าเรื่อนของแต่ละคนด้วย
บางคนกนินของเผ็ดร้อนแล้วจะรู้สึกสบาย บางคนกินแล้วท้องไส้ปั่นป่วน ปวดท้องหรือท้องเสียได้ง่ายๆ ในขณะที่บางคนกินกล้วยหอมแล้วอึดอัด ท้องขึ้นท้องเฟ้อ นี่เป็นผลจากการที่แต่ละคนมีเจ้าเรือนแตกต่างกัน
คำว่า "ลางเนื้อชอบลางยา" ซึ่งคนโบราณมักพูดอยู่เสมอๆ นั้น มิได้หมายความว่าให้หมอลองยากับผู้ป่วยไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบยาที่ถูกกับโรคของผู้ป่วย แต่ลางเนื้อชอบลางยา เตือนให้หมอตระหนักอยู่เสมอว่า ยาตำรับเดียวกันใช่ว่าจะรักษาโรคเดียวกันได้กับผู้ป่วยทุกๆ ราย เพราะนอกจากอาการของโรคอาจจะแตกต่างกันแล้ว ผู้ป่วยแต่ละรายยังมีเจ้าเรือนแตกต่างกันด้วย

ในคัมภีร์วรโยคสารท่านได้กล่าวถึง ปรกฤติลักษณะว่า คือความเป็นปรกติของคนเรา ซึ่งมี 5 ประการคือ
วาตะปรกติบุรุษ คือ ผู้ที่มีวาตะเป็นเจ้าเรือน
ปิตตะปรกติบุรุษ คือ ผู้ที่มีปิตตะเป็นเจ้าเรือน
เสมหะปรกติบุรุษ คือ ผู้ที่มีเสมหะเป็นเจ้าเรือน
ทุวันทะปรกติบุรุษ คือ ผู้ที่มีธาตุ 2 ธาตุเป็นเจ้าเรือน แบ่งเป็น
4.1 ผู้ที่มี วาตะ - ปิตตะ เป็นเจ้าเรือน
4.2 ผู้ที่มี วาตุ - เสมหะ เป็นเจ้าเรือน
4.3 ผู้ที่มี ปิตตะ - วานะ เป็นเจ้าเรือน
4.4 ผู้ที่มี ปิตตะ - เสมหะ เป็นเจ้าเรือน
4.5 ผู้ที่มี เสมหะ - วาตะ เป็นเจ้าเรือน
4.6 ผู้ที่มี เสมหะ - ปิตตะ เป็นเจ้าเรือน
สันนิปาตะปรกติบุรุษ คือ ผู้ที่มีทั้ง วาตะ - ปิตตะ- เสมหะ เป็นเจ้าเรือน
มนุษย์ส่วนใหญ่มีเจ้าเรือนแบบทุวันทะปรกติบุรุณ คือ มีธาตุหนึงอยู่ในสัดส่วนที่สูง ในขณะที่อีกธาตุมีน้อยกว่า การวินิจฉัยว่าแต่ละคนมีธาตุใดเป็นเจ้าเรือนนั้น ท่านให้พิจารณา ลักษณะของร่างกาย พฤติกรรมรวมทั้งอารมณ์ และจิตใจ

ผักและผลไม้พื้นบ้านที่เหมาะกับธาตุเจ้าเรือน

ธาตุดิน
คนธาตุดิน มักมีร่างกายและกล้ามเนื้อที่แข็งแรง ควรรับประทาน ผักผลไม้ พื้นบ้านที่มีรสฝาด รสหวาน รสเค็ม เช่น เงาะ มังคุด ฝรั่งดิบ ฟักทอง กล้วย เผือก มัน มะละกอ ถั่วต่างๆ น้ำอ้อย น้ำนมเกลือ ฯลฯ
ธาตุน้ำ
คนธาตุน้ำ มักจะมีรูปร่างสมส่วนท้วมถึงอ้วน มีผิวพรรณสดใส ควรรับประทานผักและผลไม้พื้นบ้านที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะเขือเทศ สับปะรด มะนาว มะกรูด ยอดมาะขามอ่อน ส้มเขียวหวาน ฯลฯ
ธาตุลม
คนธาตุลม มักมีรูปร่างโปร่ง ไม่อ้วน ผิวหนังแห้ง ควรรับประทานผัก และผลไม้พื้นบ้านที่มีรสเผ็ด เช่น กะเพรา ตะไคร้ โหระพา กระชาย พริกไทย ข่า กระเทียม ขิงยี่หร่า ฯลฯ
ธาตุไฟ
คนธาตุไฟ มักมีรูปร่างผอม ผิวคล้ำตกกระ กล้ามเนื้อและกระดูกหลวม ควรรับประทานผักและผลไม้พื้นบ้านที่มีรสขม รสเย็น รสจืด เช่น ผักบุ้ง ตำลัง บัวบก บวบ ขี้เหล็ก สะเดา แตงโม หัวผักกาด ฟักเขียว แตงกวา คะน้า มะเขือ ฯลฯ

พฤติกรรมที่เป็นสาเหตุก่อนให้เกิดโรค
นอกจากสาเหตุการเสียสมดุลของธาตุทั้ง 4 จากปัจจัยภายนอกและภายในร่างกายแล้ว การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน อาจก่อให้เกิดการเสียสมดุลของธาตุทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้เช่นกัน ดังนี้

กินอาหารมากหรือน้อยเกินไป กินอาหารบูด หรืออาหารที่ไม่เคยกิน กินอาหารไม่ถูกกับธาตุ ไม่ถูกกับโรค
ฝืนอิริยาบถ ได้แก่ การนั่ง ยืน เดิน นอน ไม่สมดุลกัน ทำให้โครงสร้างร่ายกายเสียสมดุลและเสื่อมโทรม
อากาศไม่สะอาด อยู่ในที่อากาศร้อนหรือเย็นเกินไป
การอด ได้แก่ การอดข้าว อดนอน อดน้ำ ขาดอาหาร
การกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ
ทำงานเกินกำลังมาก หรือมีกิจกรรมทางเพศมากเกินไป
มีความเศร้าโศกเสียใจ หรือดีใจจนเกินไป ขาดอุเบกขา
มีโทสะมากเกินไป ขาดสติ


หลังการตกไข่ ไข่จะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 12-18 ชั่วโมง ถ้าไม่ได้รับการผสมจะสลายตัวไป ส่วนอสุจิใช้เวลาไม่กี่นาทีเคลื่อนที่ออกจากช่องคลอดเข้ามาถึงท่อนำไข่ จะมีชีวิตอยู่ได้ 24-48 ชั่วโมง การหดตัวของมดลูกและท่อนำไข่เนื่องจากฮอร์โมนออกซิโตซิน จากต่อมใต้สมองส่วนหลัง ช่วยในการเคลื่อนที่ของอสุจิ ใท่ออสุจิเจาะเข้าผนังหุ้มไข่ นิวเคลียสของไข่จะเริ่มแบ่งตัว ไข่ที่ผสมแล้วขั้นปฐมภูมิจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลอีกครั้งหนึ่งได้ไข่ผสมขั้นทุติยภูมิจึงจะสมบูรณ์พร้อมที่จะผสมกับอสุจิ เมื่อผสมแล้วได้ตัวอ่อน ซึ่งจะเดินทางไปยังมดลูกมีการแบ่งตัวเข้าสู่ระยะต่อไป
ในวันที่ 7 หลังจากการตกไข่จึงฝังตัวกับผนังมดลูก ห่อหุ้มตัวไว้ รกจะเกิดขึ้นเชื่อมระหว่างตัวอ่อนและผนังมดลูก ทำหน้าที่เป็นต่อมไร้ท่อ
4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์จะให้โฮโมนฮิวแมนโคลริโอนิค (HCG) ซึ่งถูกขับออกทางปัสสาวะ ในปริมาณที่วัดได้ ภายใน 11-12 วัน หลังจากตกไข่ จึงใช้เป็นดัขนีหนึ่งในการวินิจฉัยการตั้งครรภ์ระดับ HCG จะสูงสุดใน 6-7 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ในระหว่างนี้จะมีคอร์พัสลูเทียม
สร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เพื่อช่วยรักษาผนังมดลูก เชื่อกันว่า HCG มีส่วนช่วยให้คอร์พัสลูเทียมยังคงอยู่ทั้งๆ ตามปกติมันจะเสียไปในเวลาเพียงไม่กี่วัน

รก
สร้างเอสโตรเจนและโปรเจนเตอโรน แทนรังไข่ได้เมื่ออายุครรภ์ได้ 2 เดือน ระดับเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ในระหว่างตั้งครรภ์ และจะสูงสุดใน 2-3 วันก่อนคลอด ระหว่างคลอดระดับเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะลดลงทันที พร้อมกับระดับออกซิโตซินเพิ่มขึ้น ทำให้มดลูกบีบตัว และรกหลุดลออกออก เมื่ออายุครรภ์ครบ 10 เดือนทางจันทรคติ หรือ 280 วันหลังจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย เมื่อครบกำหนดปากมดลูกจะคลายตัวออก มดลูกจะบีบตัว การหดตัวของคล้ามเนื้อผนังหน้าท้องจะช่วยให้ทารกเคลื่อนออกจากมดลูก ทำให้ทารกคลอดออกมา

การสร้างและหลั่งน้ำนม
เอสรโตรจนและโปรเจนเตอโรนช่วยสร้างต่อมน้ำนม ระหว่างตั้งครรภ์ระดับฮอร์โมนทั้งสองตัวนี้สูงมาก จึงทำให้ต่อมน้ำนมเจริญดีขึ้น โปรแลคตินจะช่วยสร้างน้ำนมและปล่อยลงสู่ท่อน้ำนม นอกจากนี้ ACTH, TSH, GH และอินซูลินก็มีส่วนร่วมด้วย

หลังคลอดระดับเอสโตจรเจนและโปรเจสเตอโรนลดระดับลง การหลั่งน้ำนมเป็นรีเฟล็กซ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการดูดนม ตัวรับรู้ที่หัวนมจะส่งคลื่นประสาทไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งจะกระตุ้นให้ต่อมใต้สมองส่วนหลังหลั่งออกซิโตซินออกมาสู่ระบบไหลเวียนในขณะที่ออกซิโตซินสูงขึ้นจะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆ ต่อมน้ำนมหดตัวดันน้ำนมให้ไหลออกมา ทำให้น้ำนมเริ่มไหลภายใน 1-3 วัน หลังคลอดน้ำนมที่ไหลออกมาในวันแรกๆ จะมีลักษณะใสสีเหลือง เรียนรกคอลอสตรัม ซึ่งมีปริมาณโปรตีสสูงและมีภูมิคุ้มกันโรคที่จะถ่ายทอดไปยังบุตรได้ รีเฟล็กซ์นี้จะถูกยับยั้งด้วยอารมณ์เครียดและเอพิเนฟฟริน

นอกจากนี้ออกซิโตซินกระตุ้นให้มดลูกหดตัว มดลูกจึงกลับสู่สภาพเดิมได้เร็วขึ้น การดูดน้ำนมและโพรแลคตินยับยั้งการทำงานของแกนไฮโบธาลามัส และต่อมใต้สมองและรังไข่ทำให้ไม่มีการตกไข่ มารดาที่ไม่ได้เลี้ยงดูบุตรด้วยน้ำนมตัวเองจะมีประจำเดือนเร็ว ภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอด แต่ในรายที่ให้นมบุตรอยู่เสมอประจำเดือนจะขาดไปนาน 25-30 สัปดาห์ ดังนั้นการให้นมบุตร จึงเป็นการคุมกำเนิดชั่วคราวแบบธรรมชาติ

การดูแลหลังการคลอดมีความสำคัญมาก และถือว่าเป็นหัวใจอย่างหนึ่ง ในเรื่องของการดูแลสุขภาพของสตรีหลังการคลอดให้มีสุขภาพดี แข็งแรงเร็ว ผิวพรรณงามและสวยตามวัยคุณแม่ โดยปกติหลังการคลอดบุตร สุขภาพของผู้เป็นแม่จะทรุดโทรมจากการคลอด สรีระของผู้เป็นแม่เกือบทุกส่วนจะมีการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่ผิวพรรษ ระบบการไหลเวียนโลหิต และการขายตัวของส่วนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุขภาพอนามัยส่วนตัวที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ดังนั้นหากไม่ทำการดูแลให้ดีก็อาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้ โดยผู้ที่เป็นแม่หลายท่านจะมีสุขภาพที่อ่อนแอลงหลังการคลอดดังนั้น การดูแลคุณแม่หลังคลอดจึงเป็นภูมิปัญญาที่บรรพบุรุณของไทย ได้สร้างแบบอย่างของวิธีปฏิบัตินี้ไว้ ให้คนรุ่นหลังได้ปฏิบัติตามใน 30 วันแรกของการคลอดบุตร

ทำไมจึงต้องอยู่ไฟ
การอยู่ไฟ เป็นกระบวนการดูแลสตรีหลังการคลอดบุตร ซึ่งคนไทยคุ้นเคยกับคำนี้มาเป็นเวลาช้านาน แต่ไม่ทราบวิธีปฏิบัติและขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการเหล่านี้ แพทย์แผนปัจจุบันตอบคำถามของอาการอันเกิดจากการมาได้อยู่ไฟว่าเกิดจากสมองส่วนที่ควบคุมอุณหภูมิในร่างกายทำงานผิดปกติ เพราะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนจึงทให้เกิดอาการร้อนวูบวาบ หรือหนาวสะท้านในหญิงวัยหมดประจำเดือน (วัยทอง) แต่ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ หรือวัยที่ยังไม่หมดประจำเดือน ยังคงมีอาการหนาวสะท้าน บางครั้งความหนาวทำให้เจ็บไปถึงภายในร่างกาย หรือไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้ เป็นเพราะเหตุใดก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ในทางการแพทย์ไทยตอบคำถามนี้ว่า อาการเหล่านี้เกิดจากภาวการณ์เสียสมดุลของวาโยธาตุ (ธาตุลม) อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ปัถวีธาตุ (ธาตุดิน) และเตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ของร่างกาย เนื่องจากในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ จนกระทั่งคลอด ร่างกายจะอยู่ในภาวะที่ทุกส่วนขยายออก แม้แต่เส้นเลือดเส้นเล็กๆ ก็ขยายออกตามสภาวะการเบ่งท้องคลอดดังนั้น การจะทำให้สภาวะหลังการคลอดเข้าสู่สภาวะปกติได้ดีนั้น จะต้องมีกระบวนการที่ละเอียดอ่อนและมีความจำเป็นต่อสุขภาพคุณแม่ให้ได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องโดยสมบูรณ์ ไม่ว่า ผลสรุปจะออกมาเป็นลักษณะใดก็ตาม การจะอยู่ไฟหรือไม่ จึงเป็นความสบายใจของผู้ที่ได้รับการบริการ การดูแลความงามหลังการคลอดซึ่งเป็นการฟื้นฟูด้านร่างกายและจิตใจ

...เราห่างเหินกับสิ่งดีๆ ที่บรรพบุรุณของเราได้ทิ้งไว้ ถึงเวลาแล้วที่เราจะหันมาสนใจสิ่งดีๆ เหล่านี้ให้คงอยู่ต่อไป...

กิจกรรมการดูแลสุขภาพหลังการคลอด
การนวดเพื่อผ่อนคลาย ใช้วิธีนวดคล้ายกับการนวดตัวโดยทั่วไป แต่ไม่หนักและแรงเท่ากับการนวดสำหรับบุคคลทั่วไป โดยยกเว้นท่านวดที่จะทำให้เกิดการเกร็งหน้าท้อง บริเวณมดลูก หลังและไหล่

การทับหม้อเกลือ อุปกรณ์ที่ใช้ คือ หม้อดิน ที่ทำขึ้นเฉพาะการทับหม้อเกลือ มีความหน้าและมีลายเส้น เป็นแนวยาวเพื่อให้เกิดความฝืด และไม่ลื่น ทำให้อบหม้อเกลือได้ดี มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.6 นิ้ว จำนวน 2 ใบ, เกล็ดเม็ด เพื่อช่วยอุ้มความร้อน ประมาณ 200 กรัม, ใบพลับพลึง หรืออาจใช้ใบยอหรือสมุนไพรสด เช่น ไพล ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ก็ได้ การทับหม้อเกลือใช้หลักการของการแผ่รังสีความร้อนจากหม้อเกลือ ผ่านสมุนไพรลงไปยังผิวหนังทีละชั้น เหมือนการย่างปลาโดยใช้ไฟอ่อนๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้มดลูกแห้ง และกลับเข้าอยู่ได้เร็วขึ้น ร่างกายจะแข็งแรงขึ้น

การประคบสมุนไพร เป็นการใช้สมุนไพรอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เป็นภูมิปัญญาของบรรพชนไทยที่มีมาช้านาน การใช้ตัวยาจะแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เนื่องจากประเทศไทยมีความหลากหลายของพืชสมุนไพรดังนั้นจึงมีหลายตำรับที่ใช้กันในแต่ละท้องถิ่น ในที่นี้เป็นสูตรของสถาบันการแพทย์แผนไทย โดยมีสมุนไพร เช่น ไพล ขมิ้นอ้อย ตะไคร้ ใบมะขาม ใบส้มป่อย ผิวมะกรูด การบูร ซึ่งตามตำราแล้วเราจะต้องใช้อย่างต่ำ 2 ลูกขึ้นไป เพื่อให้เกิดการใช้อย่างต่อเนื่องสลับไปมา เมื่อลูกหนึ่งเย็นก็ใช้ลูกที่นึ่งอยู่มาทำการประคบ จึงจะเกิดการต่อเนื่องของตัวยา และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดของการใช้ลูกประคบในปัจจุบันมิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะสตรีหลังการคลอดเท่านั้นที่ใช้ลูกประคบ แต่ควมถึงการบริการแก่บุคคลทั่วไปด้วยเพื่อคลายความปวดเมื่อยจากการทำงาน

การอบสมุนไพร จะต้องใช้ยาอบตัวหลังการคลอดโดยเฉพาะ เช่น มีส่วนผสมของว่านชักมดลูก ว่านมหาเมฆ ไพล ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ใบหญ้าคา หรือสมุนไพรอื่นๆ ที่มีสรรพคุณช่วยระงับความเจ็บปวดหลังการคลอด ซึ่งมีหลายชนิดและใช้ได้ดีกับสตรีหลังการคลอด นอกจากนี้ การอบสมุนไพร ยังสามารถใช้ได้ดี กับบุคคลทั่วไป ไม่ใช่เฉพาะสตรีหลังการคลอดเท่านั้น เพราะการแพทย์แผนปัจจุบัน ต่างยอมรับว่า การอบตัวเป็นการขับของเสียออกจากร่างกายทางผิวหนังทางหนึ่งและยังทำให้ผิวพรรณสดใสนอนหลับสบาย เบาเนื้อเบาตัวอีกด้วย

การอาบน้ำสมุนไพร ส่วนใหญ่จะใช้ตะไคร้สด ต้มในน้ำผสมน้ำพออุ่นอาบ เนื่องจากตะไคร้มีคุณสมบัติในการดับกลิ่นคาว ของเลือดหรือน้ำคาวปลา หรือสิ่งสกปรกที่ขับออกมาจากเหงื่อ ทำให้ร่างกายสดชื่น สบายเนื้อสบายตัวดีมาก

การต้มน้ำสมุนไพรดื่ม ส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรที่ใช้ประโยชน์ต่อร่างกายของคุณแม่หลังคลอด ที่มีคุณสมบัติในการปรับความสมดุล เสริมสร้างวิตามิน เกลือแร่ ซึ่งปัจจุบันมีน้ำสมุนไพรต่างๆ มากมายที่ทำขึ้นเพื่อช่วในการฟื้นฟู้สุขภาพ

การนั่งถ่าน เป็นกิจกรรมอีกอย่างหนึ่ง ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสังคมไทย ปัจจุบันยังมีบางส่วนในชนบทที่ยังใช้อยู่ เป็นการใช้ความร้อนจากเตาถ่าน และกานำสมุนไพรดรยลงบนถ่านที่ติดไฟ
การนอนแคร่ เป็นการนอนบนแคร่ที่ทำจากไม้ไผ่ โดยสุมไฟไว้ใต้แคร่ หรือข้างๆ แคร่ที่นอนเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น หลังการคลอดที่คุณแม่ต้องเสียน้ำและเลือดไปเป็นจำนวนมาก ทำให้ร่างกายเกิดภาวะเสียสมดุล ในส่วนของการควบคุมอุณภูมิ การนอนแคร่จึงเป็นการสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นในร่างกาย ทำให้ร่างกายอบอุ่น และยังช่วยให้น้ำนมเดินได้สะดวก ไม่คัดตึงเต้านม

การนั่งอิฐ เป็นกิจกรรมที่สำคัญอีกประการหนึ่งในสมัยโบราณ นับเป็นความฉลาดของบรรพบุรุษไทยในเรื่องของการดูแลสุขภาพหลังการคลอด โดยการนำเอาอิฐมาเผาไฟให้ร้อน แล้วนำมาห่อด้วยใบพลับพลึง นำมาวางไว้บนเก้าอี้ตัวเตี้ยๆ แล้วนั่งลงบนก้อนดิฐนั้น ให้ไอร้อนผ่านขึ้นมาสัมผัสบริเวณปากกมดลูกเพื่อให้แผลแห้ง และหายเร็วขึ้น
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอีกหลายหลาย ซึ่งแล้วแต่ความเชื่อ ประเพณีและสมุนไพรที่หาได้ในท้องถิ่น


กิจกรรมหลักของการดูแลหลังคลอด
เริ่มจากคุณแม่และลูกน้อยกลับจากโรงพยาบาล จะให้อาบน้ำต้มตะไคร้สด เพื่อดับกลิ่นคาว อันเกิดจากกระบวนการคลอดบุตร โดยอาบน้ำด้วยน้ำอุ่นๆ จะรู้สึกสบายเนื้อสบายตัว

การนวดผ่อนคลายเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ และตามด้วยการประคบด้วยลูกประคบสมุนไพรซึ่งจะได้รับน้ำมันหอมระเหยตามธรรมชาติ ช่วยทำให้ระบบหมุนเวียนเลือดลมดีขึ้น

การนวดด้วยน้ำมันงาบริสุทธิ์ หรือการนวดด้วยน้ำมันหอมระเหยก็ได้ แล้วใช้ลูกประคบที่ทำด้วยเมล็ดงา เพื่อขจัดความเจ็บปวด และยังได้รับคุณสมบัติของน้ำมันงา ที่ออกมาจากลูกประคบ ช่วยกระตุ้นการทำงานของเส้นประสาทต่างๆ ได้ดี และได้รับวิตามินอีที่มีในน้ำมันงาอีกด้วย ที่มีคุณสมบัติซึมเข้าผิวหนังได้ทุกสภาพผิว ทำให้ผิวหนังชุ่มชื่น

การทับหม้อเกลือ ทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ช่วยขับน้ำคาวปลา คุณแม่จะแข็งแรงมากขึ้น

การอบสมุนไพร เป็นการขับสารพิษที่มีอยู่ในร่างกาย ทำให้ผิวพรรณสดใส

ต้มน้ำสมุนไพรดื่ม เป็นการปรับสภาพความสมดุลภายในร่างกายและขับของเสียที่คั่งค้าง

การอาบน้ำต้มสมุนไพร แก้ผดผื่นคันตามผิวหนัง ช่วยให้ผิวพรรณสดใส สวยตามวัยคุณแม่

กิจกรรมเสริมความงามหลังคลอด
การนวดหน้าและการกดจุดคลายเครียดบนใบหน้า เป็นกาฟื้นฟูผิวหน้าหลังคลอด ซึ่งอาจจะเป็นสิวหรือผดผื่นคันและเป็นจุดด่างดำบนใบหน้าได้

การขัดผิวด้วยสมุนไพร เป็นการดูแลผิวพรรณของคุณแม่หลังคลอด เพื่อขจัดเซลล์ของผิวหนังที่หมดอายุแล้ว หรือสิ่งสกปรกที่ตกค้างบนผิวหนัง

การบำบัดด้วยน้ำมันหอมระเหย เพื่อเป็นการปรับความสดดุลของร่างกายในรูปแบบต่างๆ แล้วแต่ชนิดของน้ำมันหอมระเหยนั้นๆ

การนวดกดจุดฝ่าเท้า เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและเป็นการต้านทานโรคได้อีกด้วย

การนาบหม้อเกลือ หรือ การทับหม้อเกลือ

วัตถุประสงค์ ในสตรีหลังคลอดบุตรใหม่ๆ ช่วยให้มมดลูกเข้าอู่ ขับน้ำคาวปลา ละลายไขมันส่วนเกิน กระจายเลือดลมในท้อง แก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ท้องเสีย ปวดประจำเดือน ขับเบา แก้ปวดเมื่อย คลายเครียด แก้นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง กระตุ้นเต้านมให้มีน้ำนม

ข้อระวัง
ไม่ควรทำในกรณีที่สงสัยว่าเริ่มตั้งครรภ์
ระหว่างทำการทับหม้อเกลือ ไม่ควรมีลมแรงหรือเปิดแอร์เย็นเกินไป
หลังจากทำเสร็จใหม่ๆ ควรนอนพักสักอึดใจหนึ่ง ไม่ควรลุกนั่งหรือยืนทันที
ไม่ควรทำหลังจากรับประทานอาหารอิ่มๆ ถ้าปวดปัสสาวะควรไปถ่ายเสียก่อน
ไม่ควรทำในกรณีที่ปวดท้องรุนแรงหรือมีไข้ หรือสงสัยว่าอวัยวะภายในได้รับบาดเจ็บหรืออักเสบอยู่ก่อนแล้ว
บริเวณปุ่มกระพูกต่างๆ เช่น ลิ้นปี่ ริมชายโครง ปุ่มกระดูกเชิงกราน สะโพก หัวเหน่า สันหลัง อาจช้ำระบมหรือพองได้
สำหรับสตรีที่คลอดบุตรโดยการผ่าตัด ควรรอให้พ้น 1 เดือนก่อนจึงจะเริ่มนาบหรือทับหม้อเกลือที่ท้องน้อยเบาๆ ได้ ระวังแผลผ่าตัด

การนั่งถ่าน

ประโยชน์การนั่งถ่าน มีประโยชน์ เพื่อสมานแผลจากการคลอดบุตรและขับน้ำคาวปลา ให้ทำวันละ 1 ครั้งๆ ละ ครึ่งชั่วโมง ทำภายหลังการนาบหม้อเกลือแล้ว

ตำรับยาที่ใช้ในการนั่งถ่าน: ขมิ้นผง, เหง้าไพล ใบหมาก หัวว่านน้ำ ชานหมาก เหง้าขมิ้นอ้อย ผิวมะกรูดแห้ง เหง้าว่านนางคำ เปลือกต้นชะลูด

ขั้นตอนในการนั่งถ่าน
หั่นหัวยาสมุนไพรให้ละเอียดแล้วตากแดดให้แห้ง
ก่อเตาไฟเล็กๆ กลบด้วยขี้เถ้าให้ร้อนพอทนได้ นำเก้าอี้ไม้เจาะรูตรงกลางโตกว่าฝ่ามือเล็กน้อย วางครอบเตาไฟ
เอาตัวยาสมุนไพรโรยเตาถ่านจะเกิดควันจากการเผาไหม้ ตัวยาจะพุ่งขึ้นมาข้างบน
ผู้รับบริการนั่งบนเก้าอี้ ให้ควันและความร้อนเข้าสู่ช่องคลอด ทำให้แผลแห้งเร็วขึ้น

การนวดอิฐ
การนวดอิฐแทนการทับหม้อเกลือ ถ้าไม่มีหม้อเราก็จะต้องใช้อิฐมอญ ซึ่งสมัยโบราณเขาจะเอาถังหรือกะละมังใส่เกลือให้มากๆ ใส่น้ำลงไป จากนั้นก็จะนำอิฐมอญลงไปแช่หรือไปจุ่มในน้ำเกลือ แล้วนำไปตั้งหรือย่างบนเตาพ่านให้อิฐร้อนจนแดง นำมารดด้วยน้ำก่อนจากนั้นก็จะเอาอิฐมาห่อเป็นลูกประคบ ใช้ประคบที่หน้าท้อง เพื่อช่วยให้น้ำคาวปลาเดินสะดวก และลดการอักเสฐของมดลูกและช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ใช้ประคบที่บริเวณสะโพก เพราะเวลาคลอดบุตรบริเวณเชิงกรานจะขยับกว้าง ทำให้มีอาการปวดที่สะโพกทั้ง 2 ข้าง และมีอาการปวดเอว ปวดท้อง จึงใช้อิฐนวดเบาๆ ตรงบริเวณต่างๆ ที่ต้องการ

วิธีนั่งอิฐ
เอาอิฐแดงมาย่างหรือเผาไฟให้ร้อน แล้วเอาออกมาวางไว้บนวัตถุที่ทนร้อน ใช้ใบพลับพลังหรือใบเปล้าหลวง วางซ้อนๆ กันหลายชั้น ให้นั่งทับ เวลานั่งให้ค่อยๆ นั่ง เพราะนั่งทีเดียวจะร้อน โดยให้ความร้อนเข้าทางปากมดลูก ผู้อยู่ไฟจะรู้สึกสบาย ร่างกายแข็งแรงเร็ว ห้ามสระผมภายใน 7 วัน หลังจาก 7 วันสระผมด้วยน้ำอุ่นได้ (เป็นวิธีการพื้นบ้านทางภาคเหนือ) อีกวิธีหนึ่ง ใช้อิฐย่างไฟให้ร้อน แล้วนำมารดด้วยน้ำ ห่อด้วยฟ้าขาวม้าตามยาว ม้วนผ้าขาวม้าให้รอบอิฐ นำมาผูกไว้บริเวณตำแหน่งของมดลูกที่หน้าท้อง เพื่อให้ความร้อนผ่านเข้าสู่หน้าท้องทำให้มดลูกแห้งเร็วขึ้น เป็นการอยู่ไฟอีกวิธีหนึ่ง

การประคบสมุนไพร
การประคบสมุนไพร หมายถึง การนำเอาสมุนไพรทั้งสดหรือแห้งหลายๆ ชนิดโขลกพอแหลกและคลุกวมกัน ห่อด้วยผ้า ทำเป็นลูกประคบ นึ่งด้วยไปความร้อนและนำไปประคบบริเวณที่ต้องการบำบัด รักษาอาการต่างๆ ตามร่างกาย การประคบสมุนไพร เป็นวิธีการบำบัดรักษาของการแพทย์แผนไทยอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งสามารถนำไปใช้ควบคู่กบการนวดไทย โดยมากมักใช้วิธีการประคบสมุนไพร หลังการทำการนวดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผลของการรักษาด้วยการประคบสมุนไพร เกิดจากผลของความร้อนที่ได้จากการประคบและผลจากการที่ตัวยาสมุนไพรซึมผ่านชั้นผิวหนังเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังและทางระบบหายใจ เพราะจะได้น้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติ เป็นการบำบัดโรควิธีหนึ่ง

ประโยชน์ของการประคบสมุนไพร
ช่วยให้เนื้อเยื่อพังผืดยืดตัวออก
บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามรางกาย
ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย
ลดการติดขัดของข้อต่อบริเวฯที่ประคบ
ช่วยกระตุ้นหรือเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
ลดอาการบวมอักเสบของกล้ามเนื้อ (ปวด ปวม แดงร้อน) หรือบริเวณเส้นเอ็น หรือข้อต่อต่างๆ หลังเกิดอาการอักเสบประมาณ 24-48 ชั่วโมง

การอบไอน้ำสมุนไพร
สมุนไพรที่ใช้ในการอบขึ้นอยู่กับความสะดวกในการจัดหาในท้องถิ่นนั้น การนำเอาสมุนไพรสดมาใช้ในการอบไม่จำกัดชนิด อาจเพิ่มหรือลดชนิดของสมุนไพร ตามความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ และความยากว่ายในการจัดหาโดยยึดหลักสมุนไพร ในการอบ 4 กลุ่มดังนี้
สมุนไพรที่มีกลิ่นหอม
สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว
สมุนไพรที่เป็นสารประกอบ
สมุนไพรที่ใช้รกัษาเฉพาะโรคและอาการ

โรคหรืออาการที่สามารถบำบัดด้วยสมุนไพร
โรคภูมิแพ้ที่ไม่รุนแรง
ความดันโลหิตสูง กรณ๊ที่มีอาการเวียนศรีษะ หน้ามืดร่วมด้วย ไม่ควรทำการอบ
เป็นหวัดเรื้อรัง
อัมพฤกษ์ อัมพาต ในระยะเริ่มแรก
ปวดเมื่อยตามร่างกายทั่วๆ ไป

การอบไอน้ำสมุนไพร
การอบตัวด้วยไอน้ำ ที่ได้จากการต้มสมุนไพร เป็นวิธีบำบัดรักษาอย่างหนึ่งซึ่งเริ่มต้นจากประสบการณ์ การนั่งกระโจมในหญิงหลังคลอด โดยใช้ผ้าทำเป็นกระโจมหรือนั่งในสุ่มไก่ที่ปิดไว้มิดชิด และมีหม้อต้มสมุนไพรซึ่งเดือด ทำให้สามารถอบและสูดดมไอน้ำสมุนไพรได้ ผิวหนังได้สัมผัสไอน้ำด้วย ช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ทำให้ร่างกายสดชื่น ผิดพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล ต่อมาเป็นที่นิยมในหมู่ประชาชนทั่วไป

การอบตัวด้วยไปน้ำ มี 2 แบบ คือ
การอบแห้ง หรือเรียกทับศัพท์ว่า “เซาว์น่า” คล้ายคลึงกับการอยู่ไฟของไทยซึ่งนิยมในต่างประเทศ โดยใช้ความร้อนจากถ่านหินบนเตาร้อน
การอบเปียก เป็นวิธีที่คนไทยนิยมและแพร่หลายในปัจจุบัน โดยพัฒนาจาการอบแบบเข้ากระโจม มาเป็นห้องอบไอน้ำสมุนไพรที่ทันสมัยขึ้น ให้บริการได้คราวละหลายคน โดยใช้หม้อต้มสมุนไพรที่มีท่อส่งไอน้ำเข้าไปภายในห้องอบ

การอบตัวด้วยความร้อน นับเป็นวิธีการที่ทางการแพทย์ในปัจจุบันยอมรับว่าสามารถช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตและน้ำเหลือบริเวณผิวหนังดีขึ้น ส่วนไอน้ำของสมุนไพรจะมีสรรพคุณตามคุณสมบัติของสมุนไพรนั้น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ช่วยให้ร่างกายเกิดความสดชื่น

ประโยชน์ของการอบไอน้ำสมุนไพร
ช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น คลายความตึงเครียด
ช่วยชำระล้าง และขับของเสียออกจากร่างกายทางผิวหนัง
ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น บรรเทาอาการปวดเมื่อย
ช่วยทำให้ระบบหารหายใจดีขึ้น
ช่วยบำรุงผิวพรรณ บรรเทาอาการคัน รักษาผดผื่น
บรรเทาอาการโรคภูมิแพ้บางชนิด
ช่วยรักษาโรคผิดหนังชนิดไม่ร้ายแรงและไม่ติดเชื้อ
ช่วยให้น้ำหนักร่างกายลดลงได้ชั่วคราว
บรรเทาอาการปวดประจำเดือนที่ไม่มีไช้ร่วม และหญิงหลังคลอดบุตรช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ขับน้ำคาวปลา ละลายไขมันส่วนเกิน บรรเทาอาการบวม เหน็บชา และอาการลมพิษ
โรคหืดและอาการบางอย่าง เช่น ยอก โรคเก๊าท์ อัมพฤกษ์ เป็นต้น
การส่งเสริมสุขภาพ อาจใช้ร่วมกับการรักษาอื่นๆ ตามความเหมาะสม

ข้อห้ามสำหรับการอบสมุนไพร
หญิงตั้งครรภ์
เด็กอายุต่ำกว่า 10ปี
อ่อนเพลีย อดนอน อดอาหาร
มีอาการอักเสบจากบาดแผลต่างๆ
ปวดศีรษะ ชนิดเวียนศีรษะ คลื่นไส้
โรคติดต่อร้ายแรงทุกชนิด เช่น วัณโรค ไวรัสตับอักเสบ
ความดันโลหิตสูง หรือมีอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ
ขณะมีไข้สูง (มากกว่า 37 องศาเซลเซียส) หรือหลังฟื้นไข้ใหม่ๆ
สตรีขณะมีประจำเดือนวันแรกร่วมกับอาการไข้ และปวดศีรษะ มึนศีรษะ
หลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ (ควรกินอาหารก่อน ½ - 21 ชั่วโมง)
มีโรคประจำตัว อันได้แก่ โรคไต โรคหัวใจ โรคลมชัก หอบหืด และโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ




 

Create Date : 12 พฤศจิกายน 2552
2 comments
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2552 11:33:49 น.
Counter : 2004 Pageviews.

 
 
 
 
 
 

โดย: Kingkimson วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:1:17:04 น.  

 
 
 
หากได้อยู่ไฟดีมากๆครับ
 
 

โดย: varagorn วันที่: 25 ธันวาคม 2553 เวลา:19:32:57 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

น้องข้าวตัง
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ขอต้อนรับเข้าสู่ Blog ของเรา...อั๋น & กอล์ฟ...
[Add น้องข้าวตัง's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com