รักเหนือรัก
เรื่องเล่าจากความโหดร้าย

คัดลอกจากจุลสาร "ก้าวใหม่"
ซึ่งเป็นจุลสารของเพื่อนร่วมวิชาชีพ เพื่อสร้างฉันทามติในการก้าวไปสู่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างมีส่วนร่วม
ปีที่ 4 ฉบับที่ 41 ประจำเดือนกันยายน 2550
ฉบับนี้ เพิ่งได้รับเมื่อวานนี้
ที่หน้าปกมีข้อความ
"ยืนหยัดอย่างมีค่ากลางเปลวไฟ"

"วชิระ เวียงจันทร์ นักวิชาการสาธารณสุข สถานีอนามัยทุ่งพอ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ถูกลอบยิงปางตายหลังจากใช้ชีวิตทำงานอยู่ที่นี่นานถึง 20 ปี
หลังจากเรียนจบจาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
วชิระเริ่มต้นชีวิตการทำงานของเขาที่สถานีอนามัยแห่งนี้
หนึ่งในงานประจำของเขาคือการเยี่ยมบ้าน
ซึ่งทำให้วชิระรู้จักคนในชุมชนเป็นอย่างดี
“รู้จักกันหมด บอกได้หมดว่าเป็นใคร ทำอาชีพอะไรพ่อแม่เป็นใคร บ้านอยู่ตรงไหน เด็กรุ่นหนุ่มในหมู่บ้านเรียกว่าผมรู้จักเขาตั้งแต่ยังไม่เกิด เพราะแม่มาฝากท้องที่สถานีอนามัย
พอคลอดผมนี่แหละเป็นคนไปหยอดวัคซีนแรกเกิดให้กับพวกเขา” ด้วยความใกล้ชิดเช่นนี้ วชิระจึงไม่เคยคิดเลยว่าตนเองจะเจอประสบการณ์เลวร้าย
วันที่ 27 ตุลาคม 2549 คือวันที่วชิระจะไม่ลืมชั่วชีวิต วันนั้นเขาและเพื่อนร่วมงานอีก 2 คน ไปตรวจความดันและเบาหวานให้คนในหมุ่บ้าน วชิระเล่าว่าวันนั้นทำงานสนุกมาก หัวเราะ หยอกล้อกับชาวบ้านตลอด เมื่องานเสร็จเขาขี่มอเตอร์ไซด์ออกจาหมู่บ้านแห่งนั้นพร้อมๆ กับเพื่อนร่วมงาน
ระหว่างทางเขาทักเด็กๆ ที่กำลังกระโดดน้ำเล่น ช่วงนั้นเอง วชิระได้ยินเสียงมอเตอร์ไซด์เร่งตีคู่ขึ้นมา แต่ก็ไม่ระแวงแคลงใจเพราะคิดว่าเป็นวัยรุ่นในหมู่บ้าน เขาเริ่มเอะใจเมื่อเด็กๆ ไม่ทักตอบเขาเหมือนเคย วินาทีที่เขาหันไปมองคนขับมอเตอร์ไซด์คันนั้น คือวินาทีที่เขาถูกยิง รถเขาล้มลง คนร้ายที่จอดรถดูผลอยู่ไม่ไกลเดินมายิ่งซ้ำอีก 4 นัด โชคดีที่กระสุนไม่ถูกจุดสำคัญกระสุนส่วนใหญ่ทะลุ ยกเว้นนัดแรกที่เข้าที่ไหล่แล้วไปตุงที่บริเวณกระดูกต้นคอ
ระว่างที่วชิระนอนรักษาตัวมีชาวบ้านมาเยี่ยมเขาเกือบ 5,000 คน รวมทั้งเด็กหนุ่มในหมู่บ้านด้วย เด็กหนุ่มเหล่านั้นเล่าให้วิชระฟังว่าพวกเขาถูกคนในหมู่บ้านกล่าวหาว่าเป็นคนลงมือ การมาเยี่ยมคือการมาดูลาดเลาอีก แต่พวกเขายืนยันว่า ต้องมาอธิบายกับวชิระให้ได้ว่าพวกเขาไม่ได้ทำ
หลังจากนั้นวชิระขอย้ายออกจากพื้นที่สะบ้าย้อย และไม่เคยกลับไปที่แห่งนั้นอีกเลย บาดแผลกระสุนทั้ง 5 นัดหมดไปจากร่างกายเขาแล้ว แต่บาดแผลในจิตใจยากที่จะเยียวยา ทุกวันนี้เขายังพยายามหาสาเหตุของการเข่นฆ่าอยู่เสมอว่า “ทำไม”





เปลวไฟ อันร้อนแรงที่เริ่มปะทุในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปี 2547 ไม่เพียงเผาไหม้วัตถุ ทรัพย์สิน สวัสดิภาพและคุณภาพชีวิตของผู้คนในพื้นที่ให้มอดมลาย แต่ยังลามเลียไปถึงขวัญ กำลังใจ และสุขภาพจิตของผู้คนที่มีบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือ ดูแลชีวิตและสุขภาพจิตของผู้คนที่มีบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือดูแลชีวิต และสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ไปพร้อมกัน
กว่า 3 ปี แห่งการทำงานในสภาพวิกฤต เกิดความรุนแรงขึ้นในพื้นที่มากกว่า 6 พันครั้ง ส่งผลให้ผู้คนล้มตายมากกว่า 2.3 พันราย บาดเจ็บอีกกว่า 6 พันราย
โดยที่บางคนเป็นบุคลากรสาธารณสุขที่ประสบเหตุขณะกำลังปฏิบัติหน้าที่ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคนอื่นๆ จะตกอยู่ในสภาพความวิตกกังวลเช่นไร
ความเชื่อเดิมที่ว่า “เขาไม่ทำครู ไม่ทำหมอ “ ไม่มีน้ำหนักใดๆ อีกต่อไป ในเมื่อความเป็นจริงตรงหน้าชี้บอกถึงสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ทางเลวร้ายกว่าที่เคยเป็น



ระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ที่ผ่านมา
สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต ได้จัดอบรมหลักสูตร "ชีวิตสดใส พลังใจเข้มแข็ง" เพื่อกอบกู้กำลังใจ ทัศนคติที่ดี ความเชื่อมั่นและแนวทางในการใช้ชีวิตและทำงานท่ามกลางสถานการณ์วิกฤติ ให้แก่บุคลากรสาธารณสุขและผู้ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีสถานการณ์รุนแรงในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสงขลา



ในเมื่อชีวิตยังต้องดำเนินต่อไป ..แล้วจะทำอย่างไร จึงจะผลักดันให้สองเท้าก้าวเดินต่อไปข้างหน้าได้
ปรับสายตามองหาด้านสว่างแห่งชีวิต
คนเรามีความสามารถที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขได้ แต่สถานการณ์รอบด้านทำให้หันไปเพ่งมองเห็นแต่ความกลัวหรือความเศร้า จนลืมภาวะหนึ่งที่ทำให้ความสามารถในการมีชีวิตอยู่ได้ของตัวเองได้” นั่นคือมุมมองที่วิทยากรของการอบรมพยายามชี้ชวนให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมองเห็น
กิจกรรมหนึ่งคือการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ บางคนเล่าถึงชีวิตที่ผกผันครั้งใหญ่ หลังสามีถูกยิงเสียชีวิต” แรงสนับสนุนด้านบวก ที่โอบล้อมคนผู้นั้นหลังเกิดเหตุการณ์ การมีเพื่อนบ้านดูแลลูกๆ คอยเป็นกำลังใจ เพื่อนร่วมงานที่เข้าอกเข้าใจ สิ่งเหล่านี้ทำให้ชีวิตดำเนินมาได้ แต่คนส่วนใหญ่มักลืมหันมามอง และตระหนักถึงคุณค่า เพราะปล่อยให้ตนเองถูกครอบงำด้วยความเครียดและความเศร้า



“คนทุกข์คนเศร้าก็เหมือนคนที่รับประทานอาหารเข้าไปมาก ถ้าได้พูดมันออกมาอย่างถูกวิธี ก็เหมือนเป็นการช่วยย่อยอาหารเหล่านั้น ทำให้รู้สึกปลอดโปร่ง มากขึ้น “ อ.สมพร อินทร์แก้ว หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาระบบงานสุขภาพจิต สำนักงานพัฒนาสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข



เอาใจให้รอดเมื่อปัญหารุมเร้า
จากทักษะในไม่ปล่อยตนเองให้จมทุกข์จมกับอดีต งมีทักษาหนึ่งคือการจัดการกับอารมณ์และการปรับมุมมอง โดยฝึกเปิดมุมมองทางความคิดและฝึกคิดอย่างมีทางออก
ต้องฝึกคิดว่า เมื่อเจอปัญหาต้องมองหาทางออกและปัญหาก็มีทั้งแบบที่แก้ได้เลย บางอย่างต้องรอ แต่ระหว่างรอต้องทำอย่างไร “
โลกนี้ไม่ได้ปล่อยให้เราอยู่อย่างโดดเดี่ยว อย่างน้อยหนึ่งคนที่ให้กำลังใจได้คือตัวเอง ลองสื่อสารกับตัวเองและเพื่อนร่วมงานอย่างสร้างสรร ขอโทษกันบ้าง ขอบคุณกันเสมอ เป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่งในภาวะเช่นนี้” อาจารย์สมพร กล่าว
วิทยากรได้สอนให้ทุกคนหัดนวดตัวเองไปพร้อมกับพูดคุยกับตัวเองอย่างสร้างสรรค์ โดยนวดจากศรีษะ ไล่ไปจนถึงเท้า ระหว่างนั้นได้กล่าวขอโทษตัวเองที่ช่วงนี้คิดมาก และขอบคุณที่ทำงานได้ดี และย้ำว่า ขอให้ทำดีเช่นนี้ทุกเช้าก่อนไปทำงาน





ในเมื่อชีวิตยังต้องดำเนินต่อไป ..แล้วจะทำอย่างไร จึงจะผลักดันให้สองเท้าก้าวเดินต่อไปข้างหน้าได้

....
ขอมอบดอกไม้เป็นกำลังใจแด่เพื่อนร่วมวิชาชีพ
ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่แดนไกล




Create Date : 19 ตุลาคม 2550
Last Update : 19 ตุลาคม 2550 17:24:50 น. 5 comments
Counter : 914 Pageviews.

 
ให้กำลังใจคนที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยันขันแข็งทุกท่านค่ะ


โดย: แพนด้ามหาภัย วันที่: 19 ตุลาคม 2550 เวลา:18:02:20 น.  

 


*** สวัสดีคะ แวะมาเยี่ยม มีเวลาว่างอย่าลืม แวะไปทักทาย..หน่อยอิง..บ้าง ขอให้มีความสุขทุก ๆ วันนะคะ ***



โดย: หน่อยอิง วันที่: 19 ตุลาคม 2550 เวลา:19:30:00 น.  

 
รูปสวยสบายตาดีครับ...


โดย: คนนอก IP: 58.9.74.86 วันที่: 19 ตุลาคม 2550 เวลา:21:40:58 น.  

 
เมฆหมอกยังปกคลุมดินแดนนั้นอยู่จริงๆ
เรายังไม่อยากเชื่อเลยว่าหัวใจคนที่อยู่ เขาอยู่ได้อย่างไรนะ
การอยู่อย่างหวาดกลัว คือความทรมานอย่างยิ่ง..

บางครั้งก็คิดว่านี่ไม่ใช่ประเทศไทยหรอก
เป็นเพียงอีกดินแดนหนึ่งในฝันร้ายน่ะ อีกไม่นานก็ตื่นคืน
แต่ก็เพียงคิด และฝัน...


โดย: ยิปซีสีน้ำเงิน วันที่: 20 ตุลาคม 2550 เวลา:20:15:19 น.  

 
สวยทุกภาพค่ะ

แต่พออ่านข้อความแล้วให้รู้สึกท้อใจ
จนบางแว้บ เผลอคิดไป ว่าเหมือนไม่ใช่ประเทศไทย
หรือ "สยามเมืองยิ้ม" ที่ต่างประเทศเคยประทับใจว่า
เมืองไทย สงบสุข ร่มเย็น

ก็รู้ค่ะว่าไม่ควรจะคิดแบบนั้น
เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็คือแผ่นดินไทย และคนไทยเหมือนกันค่ะ


โดย: maru วันที่: 21 ตุลาคม 2550 เวลา:22:07:33 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

filmgus
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เวบblog ของคุณแม่ลูกสอง ที่ชอบถ่ายรูป
อ่านหนังสือ ดูหนัง และฟังเพลง
เดิมใช้พื้นที่บลอกโพสภาพและเขียนไดอารีเรื่อยเปื่อยเท่านั้น แต่ตอนนี้ แม่ฟิล์มกัส ขอใช้พื้นที่บลอก เขียนเรื่องราว
แรงบันดาลใจที่ได้ผ่านการอบรมศีล 5 กับคุณแม่สีใบตอง บุญประดับ มาเผยแพร่ให้เพื่อนๆ ชาวบลอกและผู้ที่หลงเข้ามาอ่าน เผื่อได้เป็นประโยชน์ต่อชีวิต
เป็นแรงบันดาลใจ และ ทำให้ชีวิตมีความสุขขึ้นนะคะ
โดยเนื้อหาต่างๆ ได้อ้างอิงจากหนังสือประกอบการดำเนินงาน โครงการ "คืนมนุษย์สู่เหย้า เพื่อเฝ้าเมือง" ที่สร้างหลักสูตรโดย ทันตแพทย์หญิงสีใบตอง บุญประดับ ผู้อำนวยการบ้านเกื้อรัก Love Line Family Center
ส่วนเรื่องราวและรูปภาพที่เป็นฝีมือแม่ฟิล์มกัสในนี้
ถ้าท่านใดต้องการนำไปใช้ประโยชน์สามารถคัดลอก หยิบจับ หรือ จกเอาไปได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาต




แม่ฟิล์มกัส ขอเชิญชวนทุกๆคนที่หลงเข้ามา
ลองครองตนให้มีศีล 5 ดูนะคะ
เริ่มจากสิ่งเล็กๆ ก่อน
ทำไปทีละนิด แล้ววันหนึ่ง ไม่นานเลย
จะพบความสุขอย่างมหัศจรรย์ขึ้นในใจ
โดยไม่ต้องใช้เงินทองซื้อหามา

รักคนอ่านทุกคน จ้า



บลอกล่าสุดค่ะ



พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง) แปล



การพัฒนาตนเอง เพื่อการพ้นทุกข์



หลุมพรางชีวิต




คนเต็มรัก



กุญแจสำคัญของทุกชีวิตที่ต้องการความสุข


เติมรักด้วยรัก



ความสุขอยู่ในอุ้งมือเรา


บทนำ





Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
19 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add filmgus's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.