<<
ธันวาคม 2560
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
29 ธันวาคม 2560
 

ธ สถิตในดวงใจไทย ตราบนิจนิรันดร์



สถิตในดวงใจไทย ตราบนิจนิรันดร์/เตือนใจ เจริญพงษ์


  พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เป็นพระราชพิธีที่ รัฐบาลไทยจัดขึ้นเพื่อถวายความอาลัยเป็นครั้งสุดท้ายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชณ พระเมรุมาศ มณฑลพิธี ท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ 25 - 29 ตุลาคมพ.. 2560 หมายกหนดการให้วันที่ 26 ตุลาคม พ.. 2560 เป็นวันถวาย พระเพลิง พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯเริ่มเตรียมการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.. 2559 เรื่อยมา มีการสร้างพระเมรุมาศ และอาคารประกอบ การบูรณปฏิสังขรณ์พระมหาพิชัยราชรถราชยาน และเครื่องประกอบพระราชพิธี รวมถึงจัดงานมหรสพในงาน ออกพระเมรุ

..........................................................................................................................

พระเมรุมาศครั้งนี้ ยึดหลักราชประเพณีโบราณตามสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ โดยศึกษารูปแบบพระเมรุมาศของพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 และพระบาทสมเด็จพระ ปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่8 อีกทั้งได้ยึดหลักไตรภูมิ ตามคัมภีร์พระพุทธศาสนา และความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ คือ สมมติเทพ ตามระบบเทวนิยม ที่มีแนวคิดว่าพระนารายณ์อวตาร ลงมาเป็นพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์เป็นดั่งสมมติเทพ อวตารลงมายังโลกมนุษย์เพื่อคุ้มครองให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข เมื่อสวรรคตก็เสด็จกลับสู่สรวงสวรรค์ จากธรรมเนียมปฎิบัติตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยา มีการจัดพระราชพิธีพระบรมศพอย่างยิ่งใหญ่ หลายขั้นตอนตั้งแต่การสรงน􀄞้ำพระบรมศพ การประกอบพิธี 􀄞ำเพ็ญพระราชกุศล สวดพระอภิธรรม โดยพระพิธีธรรมเป็น 􀄞ำนองหลวง มีการท􀄞ำพิธีกงเต็กหลวงเพื่อถวายพระราชกุศลแด่ ดวงพระวิญญาณของพระมหากษัตริย์ กระทั่งถึงขั้นตอนการ จัดงานพระบรมศพ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ เริ่มตั้งแต่การก่อสร้างพระเมรุมาศ และเครื่องประกอบต่างๆ อาทิ พระโกศจันท์นการบูรณะปฎิสังขรณ์ราชรถ ราชยาน เป็นต้น

.............................................................................................................................

พระเมรุมาศในรัชกาลที่ 9 ถือเป็นงานศิลปกรรมชั้นสูง ที่มีการผสมผสานศิลปะแขนงต่างๆ มาประยุกต์เข้ากับโครงการอัน เนื่องมาจากพระราชด􀄞ำริกว่า 4,000 โครงการได้อย่างกลมกลืน และถ่ายทอดพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านไว้อย่างงดงาม และเป็นรูปธรรม

ผู้เขียนได้รวบรวมเรื่องราวของพระเมรุมาศ ซึ่งเป็นศูนย์ รวมแห่งศาสตร์และศิลป์ทุกแขนงในการถวายพระเกียรติยศแด่พระเจ้าแผ่นดินหลังจากเสด็จสวรรคต รายละเอียดน่าสนใจอย่างยิ่ง กล่าวคือ

การก่อสร้างพระเมรุมาศครั้งนี้ ยังคงแก่นความสคัญ สะท้อนความจงรักภักดีของปวงชนชาวไทยที่มีต่อพระองค์ท่าน ผ่านส่วนประกอบต่างๆ ที่ทให้พระเมรุมาศสมพระเกียรติที่สุด นับ จากนี้ คือ9 ใจความส􀄞ำคัญของพระเมรุมาศ ที่เรียบเรียงมานเสนอ

...............................................................................................................................

1. พระเมรุมาศ เปรียบเหมือน เขาพระสุเมรุ ใจกลางหลัก จักรวาล ตั้งอยู่เหนือ น้ำ 84,000 โยชน์ มีภูเขารองรับ3 ลูก โดย ส่วนฐาน คือ ตรีกูฏ(สามเส้าหรือสามยอด) มีภูเขาล้อมรอบ7 ทิว เรียกว่า สัตตบริภัณฑคีรี ประกอบไปด้วยทิวเขา ยุคนธร กรวิก อิสิ นธร สุทัศ เนมินธร วินตก และอัสกัณ มีเทวดาจตุมหาราชิก และ บริวารสถิตอยู่ ซึ่งทิวเขาเหล่านั้นก็คือ อาคารประกอบ ได้แก่ ประดุจโบสถ์ วิหาร มีระเบียงล้อมรอบ ซึ่งเรียกว่าทับเกษตร หรือ ที่พักบนยอดเขาพระสุเมรุ คือ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งยอดบนสูงสุด ของพระเมรุมาศ มีการจารึกพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และ เศวตฉัตร

.............................................................................................................................

การสร้างพระเมรุมาศในแต่ละครั้งถือเป็นงานใหญ่ มีหลัก ฐานปรากฏมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สืบทอดเป็นแบบแผนให้ กับงานพระราชพิธีจนมาถึงปัจจุบัน ถือเป็นงานสถาปัตยกรรมชั้น สูงที่ต้องเรียนรู้การสร้างอาคารหมู่ และอาคารหลังเดี่ยวทั้งเล็กและ ใหญ่ รู้กระบวนการช่างไทยทุกสาขา ทั้งด้านศิลปกรรม และ

สถาปัตยกรรมรวมกันทุกแขนง

.....................................................................................................................................

2. ลักษณะพระเมรุมาศที่ปรากฏมาแต่โบราณมีทั้ง พระเมรุทรงปราสาท และ พระเมรุทรงบุษบก

พระเมรุทรงปราสาท คือ อาคารพระเมรุมีรูปลักษณะ อย่างปราสาท สร้างเรือนบุษบกบัลลังก์ คือ พระเมรุทองซ้อนอยู่ ภายใน พระเมรุทองประดิษฐานบนเบญจา พระจิตกาธานรองรับ พระโกศพระศพ ปิดทองล่องชาด พระเมรุทรงปราสาทนี้ยังแยกได้ อีก2 ลักษณะ คือ พระเมรุทรงปราสาทยอดปรางค์ และ พระเมรุ ทรงปราสาทยอดมณฑป ซึ่งปรากฏในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์

................................................................................................................................

พระเมรุทรงบุษบก คือ พระเมรุที่สร้างบนพื้นที่ราบ โดย ดัดแปลงอาคารปราสาทเป็นเรือนบุษบกขยายพระเมรุทองใน ปราสาทที่ เป็ นเรือนบุ ษบกบั ลลั งก์ แต่ เดิ มให้ ใหญ่ขึ้ นเพื่ อการถวาย พระเพลิ งตั้ งเบญจาพระจิ ตกาธานรับพระโกศพระบรมศพ ซึ่ งเกิด ขึ้นครั้งแรกในงานถวาย พระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

...................................................................................................................................

3. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรา นุวัตติวงศ์ ทรงสันนิษฐานเกี่ยวกับ คติการสร้าง “พระเมรุ” ว่าได้ ชื่อมา แต่การปลูกสร้างปราสาทอันสูงใหญ่ ท่ามกลางปราสาทน้อย มีลักษณะดุจเขาพระสุเมรุตั้งอยู่ท่ามกลางเขาสัตตบริภัณฑ์ล้อม รอบ จึงเรียกว่าพระเมรุ

..............................................................................................................................

ภายหลัง เมื่อท􀄞ำย่อลง ไม่มีอะไรล้อม เหลือแต่ยอดแหลมๆ ก็ยังคงเรียกเมรุ ด้วยคนไทยมีความเชื่อ และยึดถือ เรื่องไตรภูมิ ตามคติทางพระพุทธศาสนาที่กล่าวถึงภาพจักรวาล มีเขาพระสุเมรุ เป็นศูนย์กลางของภูมิทั้งสาม รายล้อมด้วยสรรพสิ่งนานา อันเป็น วิมานของท้าวจตุโลกบาล และเขาสัตตบริภัณฑ์ ดังนั้น จึงนําคติ ความเชื่อจากไตรภูมิมาเป็นแนวทางในการจัดพิธีถวายพระเพลิง เพื่อได้ถึงภพแห่งความดีงามอันมีแดนอยู่ที่เขาพระสุเมรุ สิ่งก่อสร้าง ในพระราชพิธีถวายพระเพลิง จะจําลองให้ละม้ายกับดินแดนเขาพระสุเมรุด้วย

 .............................................................................................................................

4.ความสำคัญของการจัดพระราชพิธีพระบรมศพนั้น นอกจากจะถือเป็นการถวายพระเกียรติยศ แสดงความเคารพอย่าง สูงส􀄞ำหรับพระมหากษัตริย์แล้ว ในสมัยโบราณ พระราชพิธีนี้ ยัง ถือเป็นการประกาศความมั่นคงของบ้านเมือง เนื่องจากเป็น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคาบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแผ่นดินสืบสันตติวงศ์ ต่อไป

ส่วนหนึ่ง ดูจากการสร้างพระเมรุมาศประกอบพระราช พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพว่า สามารถท􀄞ำได้ยิ่งใหญ่เพียงใด เพราะส่วนที่บ่งบอกถึงฐานะ และอ􀄞ำนาจของพระมหากษัตริย์ พระองค์ใหม่ได้อย่างดีประการหนึ่ง จึงถือได้ว่า งานพระเมรุเป็น ศักดิ์ศรีและเป็นเกียรติยศที่ปรากฏแผ่ไพศาลตั้งแต่ต้นแผ่นดิน

................................................................................................................................

5.ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น นิยมปลูกสร้างเป็นรูปพระเมรุขนาดใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ถือ เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงการสร้างพระเมรุมาศให้มีขนาด “ย่อมลง” อันเป็นไปตามพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงต้องการให้จัดงานแต่เหมาะสม มิให้สูงถึง 2 เส้นดังแต่กาลก่อน โดยยกพระเมรุชั้นนอกทรง ปราสาทออกเสีย สร้างแต่องค์ใน คือ พระเมรุทองหรือพระเมรุมาศ ภายในตั้งพระจิตกาธานส􀄞ำหรับประดิษฐานพระโกศพระบรมศพ

................................................................................................................................

ครั้นถึงรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชบันทึกตัดทอนการปลูกสร้างพระเมรุมาศ และการบเพ็ญ พระราชกุศลของพระองค์ลงอีกหลายประการ งานพระเมรุจึงลดขนาดลงนับตั้งแต่นั้นมา

................................................................................................................................

6. นอกจากขนาดของพระเมรุมาศแล้ว ในสมัยงาน พระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมี พระบรมราชโองการแสดงพระราชประสงค์ให้รวบรัดหมาย 􀄞ำหนดการให้น้อยลง เพื่อประหยัดตามกาลสมัย โดยพระราช พินัยกรรมระบุถึงการจัดงานพระบรมศพให้งดราชประเพณีเก่าๆ หลายอย่าง อาทิ การงดการโยงโปรย ยกเลิกนางร้องไห้ ซึ่งรบกวน พระราชหฤทัยตั้งแต่งานพระบรมศพพระราชบิดา เป็นเหตุให้ ประเพณีดังกล่าวงดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา การยกเลิกการถวาย พระเพลิงพระบุพโพกลางแจ้งด้วยวิธีการเคี่ยว เป็นต้น

..............................................................................................................................

7. ในอดีตการถวายพระเพลิงพระศพแต่โบราณ มี รายละเอียดมาก กําหนดเป็นงานใหญ่ในช่วงฤดูกาลที่ไม่มีฝนอย่าง เดือนเมษายน ใช้เวลาประมาณ 14 วัน 14 คืน เป็นเกณฑ์ มักจะ เริ่มงาน ตั้งแต่ขึ้น 5 􀄞่ำ หรือ 6 􀄞่ำ ไปจนถึงแรม 4 􀄞่ำ ที่เป็นแบบ นั้น ก็เพราะในสมัยโบราณ จําเป็นต้องอาศัยแสงจันทร์ช่วยให้ความสว่างด้วยนั่นเอง

 ...............................................................................................................................

8. หรับรายละเอียดในงานออกพระเมรุ จะเริ่มด้วยการ อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกสู่พระเมรุพระราชาคณะสวด พระพุทธมนต์ในวันแรก แล้วค่อยจัดสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ ด้วยการจุดดอกไม้ไฟในค􀄞่ำวันที่ 2 ก่อนจะอัญเชิญพระบรมอัฐิออก สู่พระเมรุ สมโภช 1 วัน กับ 1 คืน แล้วจึงอัญเชิญกลับ จากนั้นจึง อัญเชิญพระบรมศพออกจากพระมหาปราสาทไปสมโภช พระ เมรุมาศ 7 วัน 7 คืน โดยหลังจากถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว ก็จะ สมโภชพระบรมอัฐิ อีก 3 วัน 3 คืน รวม 14 วัน 14 คืน

...............................................................................................................................

ปัจจุบัน มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียด และตัดทอนพิธี กรรมหลายๆ อย่างลง เช่น งดการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และ พระบรมอัฐิออก สมโภชก่อนงานพระราชพิธีอัญเชิญพระบรมศพ พระศพ ทําให้ตัดทอนพิธีอื่นๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็น การจุดดอกไม้ ไฟสมโภช หรือ ลดการสมโภชพระศพเมื่อประดิษฐานบนพระเมรุ แล้ว เป็นต้น ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช งานภูมิสถาปัตยกรรม เชื่อมโยงกับตัวอาคาร เข้ากับสิ่งที่แสดงถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 อันมีความเกี่ยวพันกับโครงการพระราชด􀄞ำริ ในพื้นที่ด้านทิศเหนือ เป็นทางเข้าหลักสู่พระเมรุมาศ มีการสร้างสระน􀄞้ำบริเวณ 4 มุม การจ􀄞ำลองนาขั้นบันได หญ้าแฝก แก้มลิง และกังหันน􀄞้ำชัยพัฒนา รวมทั้งพันธุ์ข้าวจากภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ พันธุ์ปทุมธานี 1 เป็น ตัวแทนของข้าวภาคกลาง พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นตัวแทน ของข้าวในภาคอีสานและเหนือที่นิยมปลูกข้าวพันธุ ์นี้ พันธุ ์ข้าว กข 31 หรือพันธุ์ปทุมธานี 80 ที่ตั้งชื่อเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติใน โอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา โดยออกแบบ แปลงนาเชิงสัญลักษณ์ให้เป็นเลขเก้าไทยสีดินทอง เป็นสัญลักษณ์ สื่อว่าพระเมรุมาศนี้สร้างขึ้นเพื่อในหลวงรัชกาลที่ 9 กษัตริย์นักพัฒนา

 ................................................................................................................................

9. พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช บรมนาถบพิตร ประกอบด้ วยอาคารทรงบุษบก 􀄞ำนวน 9 องค์ ตั้งอยู่บนฐานชาลารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 3 ชั้น มีบันไดทางขึ้น ทั้ง 4 ทิศ ทิศตะวันตกหันหน้าเข้าพระที่นั่งทรงธรรม ทิศตะวันออก ติดตั้งลิฟต์ และทิศเหนือติดตั้งสะพานเกรินส􀄞ำหรับเชิญพระบรม โกศจากราชรถปืนใหญ่ขึ้นบนพระเมรุมาศ

...............................................................................................................................

โดยโครงสร้างพระเมรุมาศ ประกอบด้วย ลานอุตราวรรต หรือ พื้นรอบฐานพระเมรุมาศ มีสระอโนดาดทั้งสี่ทิศ และเขามอ 􀄞ำลอง มีประติมากรรมสัตว์หิมพานต์ ได้แก่ ช้าง โค สิงห์ ม้า และ สัตว์หิมพานต์ตระกูลต่างๆ ประดับโดยรอบ

ฐานชาลาชั้นที่ 1 มีฐานสิงห์เป็นรั้วราชวัตร ฉัตร แสดง อาณาเขตพระเมรุมาศ และมีเทวดานั่งคุกเข่าถือบังแทรก

ฐานชาลาชั้นที่ 2 มีหอเปลื้องทรงบุษบกรูปแบบเดียวกัน ตั้ งอยู่ที่ มุ มทั้งสี่ ใช้ส􀄞 ำหรั บจั ดเก็บพระโกศทองใหญ่และพระโกศไม้ จันทน์ รวมถึงอุปกรณ์ส􀄞ำหรับงานพระราชพิธี

ฐานชาลาชั้นที่ 3 ฐานบุษบกประธานประดับประติมากรรม เทพชุมนุม 􀄞ำนวน 132 องค์ โดยรอบ รองรับด้วยฐานสิงห์ซึ่ง ประดับประติมากรรมครุฑยุดนาคโดยรอบอีกชั้นหนึ่ง มุมทั้งสี่ของ ฐานชั้นที่ 3 นี้ เป็นที่ตั้งของซ่างทรงบุษบกยอดมณฑปชั้นเชิงกลอน 5 ชั้น

...........................................................................................................................

จุดกึ่งกลางชั้นบนสุดมีบุษบกองค์ประธานตั้งอยู่ เป็น อาคารทรงบุษบกยอดมณฑปชั้นเชิงกลอน 7 ชั้น ภายในมีพระ จิตกาธาน เป็นที่ประดิษฐานพระบรมโกศ ผนังโดยรอบเปิดโล่ง ติดตั้งพระวิสูตร (ม่าน) และฉากบังเพลิงเขียนภาพพระนารายณ์ อวตารตอนบน และภาพโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด􀄞ำริ ตอนล่าง ที่ยอดบนสุด ประดิษฐานนพปฎลมหาเศวตฉัตร

..................................................................................................................................

บรรยากาศครั้งนี้ แม้รัฐบาลได้จัดเตรียมพระเมรุมาศ ำลองไว้ทั่วประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ก็ตาม แต่ปรากฎว่ามีประชาชนนับแสนคนยังคงหลั่งไหลจากทั่ว ประเทศเดินทางมาร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยทยอยผ่านจุดคัดกรอง 9 จุด คือ แยกสะพานมอญ, ท่าช้าง, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พระแม่ธรณีบีบมวยผม, ถนนกัลญาณ ไมตรี, แยกสะพานช้างโรงสี, แยกพระเชตุพน, แยกท่าพระจันทร์ และใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะปิดจุด คัดกรองในเวลา 06.00 . โดยมีประชาชนเข้าพื้นที่ กว่า 110,000 คน

..............................................................................................................................

ส่วนบรรยากาศที่ บริเวณถนนราชด􀄞 ำเนินกลาง ประชาชน ยังคงทยอยเดินทางเข้ามาในพื้นที่สนามหลวงอย่างเนืองแน่น เพื่อ จับจองพื้นที่ที่ใกล้ที่สุดแม้จะเข้าไปในส่วนพระราชพิธีไม่ได้ก็ตาม โดยส่วนใหญ่ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง ในการเดินเข้ามาพื้นที่ ด้านใน แม้จะไม่สามารถหาที่นั่งได้ แต่ส่วนใหญ่ไม่ย่อท้อ โดยระบุ ว่าขอพยายามเดินเข้าไปให้ใกล้สนามหลวงมากที่สุด

...............................................................................................................................

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพย วรางกูร รัชกาลที่ 10 และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงร่วมริ้วขบวน พระบรมราชอิสริยยศอัญเชิญพระบรมศพไปยังพระเมรุมาศ พสกนิกรชาวไทยต่างร่ำไห้ ด้วยความอาลัยอย่างหาที่สุดมิได้

....................................................................................................................................

เมื่อริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศเคลื่อนผ่านมีประชาชน มาเฝ้าชมตลอด 2 ข้างฝั่งบริเวณฟุตปาธเป็นจ􀄞ำนวนมาก ทั้งถนน มหาราช ถนนท้ายวัง ถนนสนามไชย หน้าวัดพระเชตุพนวิมล มังคลาราม ถนนสนามไชย เข้าสู่ถนนราชดเนินใน โดยประชาชน ต่างใส่เสื้อสีด􀄞ำสุภาพ อยู่ในอาการส􀄞ำรวม มีใบหน้าที่เศร้าหมอง แต่ มี 􀄞 ำลั งใจที่มุ่งมั่ นเพื่ อจะเข้าร่ วมในพิ ธี ประวัติ ศาสตร์ เพื่ อส่ งเสด็ จในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่บางคนถึงกับกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ ร้องไห้ออก มา แม้แดดจะร้อนแต่ก็ไม่ย้อท้อ ขอเพียงให้ได้อยู่ใกล้ชิดริ้วขบวน และเมื่อริ้วขบวนเคลื่อนผ่านหรือใกล้เข้ามาต่างชูภาพพระบรมฉายาลักษณ์ไว้เหนือศีรษะ บ้างถือไว้แนบอก บางคนก้มกราบแนบ พื้นน้ำตาคลอ และยกโทรศัพท์มือถือขึ้นมาถ่ายภาพประวัติศาสตร์ที่ทุกคนจะไม่มีวันลืมเลือน

...............................................................................................................................

อนึ่ง งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาท สมเด็ จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ครั้งนี้ ปรากฎว่ามีสมาชิก ราชวงศ์และบุคคลส􀄞ำคัญจาก 42 ประเทศ ประกอบด้วย พระ ประมุข ประมุข และพระราชวงศ์ รวม 24 ประเทศ อาทิ สมเด็จ พระราชินีซิลเวียแห่งสวีเดน, สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระ ราชินีแห่งภูฏาน, จ้าชายอะกิชิโนะ และพระชายา แห่งญี่ปุ่น, แก รนด์ดยุก กีโยม ฌอง โจเซฟ มารี รัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์ก เป็นต้น และรองประมุข หัวหน้ารัฐบาล และผู้แทนพิเศษ รวม 18 ประเทศ เช่น นายเจมส์ แม็ตติส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แห่งสหรัฐอเมริกา, นายจาง เกาลี่ รองนายกรัฐมนตรีจีน, นาย ฌอง-มาร์ก อายโรลต์ อดีตนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส และภริยา เป็นต้น ได้เดินทางเข้าร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เพื่อน้อมร􀄞ำลึกถึงองค์พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ตอกย􀄞้ำความ สัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างราชอาณาจักรไทยและนานาประเทศ พร้อมกับถวายดอกไม้จันทน์ เมื่อวันที่ 26 .. 2560 พระ เมรุมาศ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร

...............................................................................................................................

เนื้อหาดังกล่าว ได้เผยแพร่ในวารสารนนทรี 

สมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์

ฉบับที่ 3 ปี2560-2561 เดือนตุลาคม-มกราคม




Create Date : 29 ธันวาคม 2560
Last Update : 30 ธันวาคม 2560 18:27:22 น. 0 comments
Counter : 1316 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com