<<
สิงหาคม 2558
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
30 สิงหาคม 2558
 

′สมคิด′ผนึก4กระทรวง ปลุกโอท็อปแก้เศรษฐกิจ กระตุ้นรากหญ้า-หนุนเอสเอ็มอี

เรื่องนี้จำได้ว่าครั้งหนึ่งผู้คนกล่าวโทษเรื่องนี้กันหนักหนา 
ตอนนี้เราเห็นประโยชน์และยอมรับว่าดี
เข้าถึงชาวบ้านรากหญ้าอย่างมีประสิทธิภาพ

′สมคิด′ผนึก4กระทรวง ปลุกโอท็อปแก้เศรษฐกิจ 

กระตุ้นรากหญ้า-หนุนเอสเอ็มอี

ขออนุญาตนำเรื่องนี้จากมติชนรายวัน มารวบรวมไว้เพื่อการศึกษาดังนี้  

กองทุนหมู่บ้านขยับขั้นตอนอัดฉีดวงเงิน 5.9 หมื่นล้าน 
ต้องถูกใช้ตามวัตถุประสงค์ เผย′สมคิด′นั่งประธานโอท็อป 
กุมบังเหียนกระตุ้นรากหญ้าและหนุนเอสเอ็มอี ใช้ 4 กระทรวงหลักขับเคลื่อน ประชุมนัดแรก 31 ส.ค.
//www.matichon.co.th/online/2015/08/14409194031440919534l.jpg

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ 
กรณีกระทรวงการคลังเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน
กับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ให้พิจารณาแล้ว
และเห็นด้วย 3 มาตรการ วงเงินรวมกันประมาณ 1.1 แสนล้านบาท 
คาดว่านายสมคิดจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 1 กันยายนนี้ ว่า 

มาตรการดังกล่าวจะนำเข้า ครม.วันที่ 1 กันยายนนี้หรือไม่ขึ้นกับนายสมคิด 
ส่วนกรณีที่มีข้อกำหนดมาตรการที่การปล่อยกู้รากหญ้าดอกเบี้ย 0% 
เป็นเวลา 2 ปี และปีที่ 3-5 คิดอัตราดอกเบี้ยปกติผ่านกลไก
ของกองทุนหมู่บ้านว่าจะต้องไม่นำไปรีไฟแนนซ์หนี้เดิม 
เพื่อให้เงินได้ใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจและต้องไม่กระจุกตัว 
และถูกตั้งข้อสังเกตว่าจะดำเนินการตามข้อกำหนดได้จริงหรือไม่ 
เชื่อว่ากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจะมีหลักเกณฑ์และระเบียบ
ที่จะเข้าไปดูแลเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดได้

นายนที ขลิบทอง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) กล่าวถึงหลักเกณฑ์การเตรียมใช้งบประมาณของกองทุนหมู่บ้าน
จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการหารือนอกรอบกับผู้แทนกองทุนหมู่บ้านในพื้นที่จังหวัดต่างๆ และผู้แทนธนาคารแล้ว 
เพื่อดูลู่ทางการปฏิบัติให้สอดคล้องกับมาตรการปล่อยกู้สำหรับผู้มีรายได้น้อย 0% เป็นเวลา 2 ปี ผ่านกองทุนหมู่บ้าน วงเงิน 5.9 หมื่นล้านบาท 
จากการหารือทำให้มีการเตรียมการในส่วนของกรรมการติดตาม 
กำกับการใช้เงิน ให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่รัฐบาลวางไว้

"ได้หารือคร่าวๆ ถึงการกำหนดแบบฟอร์ม หรือคู่มือทำความเข้าใจ
กับผู้เข้ามาร่วมโครงการนี้ ภายใต้คู่มือต้องระบุหลักเกณฑ์ เงื่อนไข 
คุณสมบัติ เพดานวงเงิน หรือวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ 
แต่การหารือดังกล่าวยังไม่ตกผลึกต้องรอจนกว่าจะผ่านความเห็นชอบ
จากมติคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ให้ชัดเจนถึงวงเงินที่แน่ชัด เงื่อนไขต่างๆ 
ว่าจะเป็นอย่างไร" นายนทีกล่าว

นายนทีกล่าวอีกว่า หากนโยบายผ่าน ครม. จะต้องนำเรื่องเข้าคณะกรรมการ สทบ.เพื่อให้เห็นชอบเงื่อนไข หลักเกณฑ์ วิธีการดำเนินงาน 
โดยมาตรการเร่งด่วน 3 มาตรการที่คลังได้นำเสนอ 
และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้รับทราบแล้วนั้น 
มีแนวโน้มว่าจะเข้า ครม.ในวันที่ 1 กันยายนนี้ 
แต่ต้องขึ้นอยู่กับนายสมคิดว่าจะตัดสินใจนำเข้า ครม.หรือไม่

แหล่ข่าวหน่วยงานดูแลผลิตภัณฑ์ชุมชนหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 
(โอท็อป) กล่าวถึงความคืบหน้าการพัฒนาสินค้าโอท็อปตามนโยบาย
ของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ว่าวันที่ 31 สิงหาคมนี้ 
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโอท็อป ทั้งกระทรวงมหาดไทย 
กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เตรียมพร้อม
เพื่อประชุมร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ มุ่งเน้นกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น 
หารือเกี่ยวกับการค้าในท้องถิ่น กระตุ้นจ้างงานท้องถิ่น เพิ่มการลงทุนท้องถิ่น 
เน้นพัฒนาโอท็อปและผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม 
หรือเอสเอ็มอี ข้อสรุปจากการหารือครั้งนี้เชื่อว่าทางกระทรวงพาณิชย์
น่าจะเสนอมาตรการกระตุ้นในภาพรวมเสนอต่อนายสมคิดเพื่อพิจารณาต่อไป

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ไม่มั่นใจว่ามาตรการด้านโอท็อปจะมีการนำเสนอพร้อมกับมาตรการกระตุ้นเอสเอ็มอีหรือไม่ แต่เชื่อว่าจากขั้นตอนการหารือและเสนอต่อนายสมคิด เพื่อพิจารณาภาพรวมและมีการปรับแก้ให้สอดคล้องบูรณาการร่วมกันทั้ง 4 กระทรวงหลัก คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็จะนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุม ครม.ได้วันที่ 8 กันยายนนี้

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับรายละเอียดการพัฒนาสินค้าโอท็อปนั้น มีคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (กอ.นตผ.) มีรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน เบื้องต้นคาดว่านายสมคิดจะนั่งเป็นประธานเอง และคาดว่าจะมีการประชุมนัดแรกหลังจากมีประธานคนใหม่ในเร็วๆ นี้ ส่วนการทำงานนั้นปัจจุบันมีการแบ่งกลุ่มการพัฒนาเป็น 4 กลุ่ม กำหนดไว้ตั้งแต่ปี 2547 คือ กลุ่มดี จะมีกรมการพัฒนาชุมชน สังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ดูแลตั้งแต่เริ่มลงทะเบียน จัดตั้ง จากนั้นหากมีการพัฒนาเป็นสินค้าที่ตลาดต้องการ มีการผลิตจำนวนครั้งละมากๆ ก็จะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มซี หากมีการพัฒนาเป็นสินค้าที่มีความเฉพาะทาง มีการดึงเอกลักษณ์ภูมิปัญญาไทย เป็นสินค้าที่ผลิตจำนวนน้อยชิ้น แต่มูลค่าสูงก็จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มบี ซึ่งทั้งซีและบีทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมหรือ กสอ. สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม จะเข้าไปดูแล สนับสนุน หากเป็นสินค้าที่สามารถไปได้ไกล สามารถทำตลาดต่างประเทศได้ ทาง กสอ.ก็จะส่งให้กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ดูแล สนับสนุนต่อไป

ส่วนสินค้าที่ถูกจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่มสินค้าโอท็อปนั้น จะแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ อาหาร เครื่องดื่ม ผ้าและเครื่องประดับ ของใช้ของประดับตกแต่งและของที่ระลึก และสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร กรมการพัฒนาชุมชนยังแบ่งการผลิตเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ผลิต และภูมิปัญญาไทย นอกจากนี้ยังกำหนดสินค้าในแต่ละพื้นที่เป็นหมู่บ้านโอท็อปเพื่อทำให้สินค้ามีความน่าสนใจมากขึ้นผ่านศูนย์โอท็อปในย่านการค้าต่างๆ เพื่อกระจายสินค้าไปยังตลาดผู้บริโภค

วันเดียวกัน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) แจ้งว่า นายสุพจน์ อาวาส ได้ขอลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการเอสเอ็มอีแบงก์ เนื่องจากมีปัญหาด้านสุขภาพมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2558 และอาการทรุดลง ครอบครัวขอให้หยุดพักรักษาตัว ทำให้การลาออกของนายสุพจน์มีผลตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2558 และได้ขอลาพักรักษาตัวตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2558 คณะกรรมการธนาคารจึงได้มีมติแต่งตั้งให้นางอินทิรา โภคปุณยารักษ์ รองกรรมการผู้จัดการ ขึ้นดำรงตำแหน่งรักษาการกรรมการผู้จัดการเอสเอ็มอีแบงก์แทน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2558 เป็นต้นไป/จบ
........................................................................................................
ขออนุญาตนำข้อมูลต่อไปนี้จากกรุงเทพธุรกิจรายวัน 
มารวบรวมไว้เพื่อการศึกษา...

เมื่อสินค้าไทยไร้เวทียืนในตลาดโลก!
ไทยเราเตรียมปรับเปลี่ยนตัวเอง เพื่อให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงโลกหรือยัง?  ttp://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635507#sthash.oobQi5BC.dpuf


ไทยเตรียมตัวอย่างไรกรณีประเทศจีน ที่เคยเป็นผู้นำเข้าเจ้าใหญ่สินค้าอุตสาหกรรม และเกษตรเช่นเหล็กและยางหยุดซื้อ เพราะจีนเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ?

วันก่อน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จัดงานสัมมนาวิชาการ ประจำปี 2558 “นวัตกรรมการคลังการเงินเพื่อการปฎิรูปประเทศ” ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงบริบทใหม่ (New Normal) ของภาคธนาคาร จะอยู่รอดได้อย่างไร ไว้อย่างน่าสนใจ

ตอนหนึ่ง ดร.วิชิตยกตัวอย่างแผนธุรกิจแบบเดิมๆ ก่อนปี 1997 จากอดีต เน้นลูกค้ารายใหญ่ๆ รายกลางรายเล็กไม่ใช่รายได้หลัก หลังปี 1997 หากสถาบันการเงินยังดำเนินแผนธุรกิจแบบเดิม ก็จะ “เจ๊ง”

คุณวิชิตบอกว่าวิกฤติต้มยำกุ้งทำให้สถาบันการเงินต้องเปลี่ยนแผนธุรกิจเพื่อความอยู่รอด

วิกฤติช่วงนั้นเกิดขึ้นเพราะ “เราทำเอง” ด้วยการกู้เงินต่างประเทศขณะที่ยุโรปและสหรัฐอเมริกาไม่ได้เกิดวิกฤติ ดังนั้นวิธีแก้ไขจึงไม่ยาก เพราะตลาดส่งออกไปสหรัฐฯ ยุโรปยังดีอยู่ ของยังขายได้ สถาบันการเงินหลายแห่งเปลี่ยน business model ให้รับกับ new normal

“แต่ปัจจุบันมี new normal ใหม่ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ในช่วงมีวิกฤติซับไพร์ม ในสหรัฐฯ คนแปลกใจทำไมกระทบภูมิภาคเอเชียน้อย คำตอบอยู่ที่ประเทศจีนที่ลงทุนเดินหน้าพัฒนาประเทศอย่างมาก โดยเฉพาะด้านอสังหาริมทรัพย์ ในปี 2009 พบว่า 40% ทองแดงของทั้งโลกจีนเป็นผู้ซื้อ 50% ของแร่เหล็กจีนเป็นผู้ซื้อ ดังนั้นจีนเป็นผู้ค้ำจุนประเทศในเอเชีย ช่วง 2009 - 2011 ที่สหรัฐฯ มีวิกฤติจนต้องออก มาตรการ QE พยุงเศรษฐกิจ” 

คุณวิชิตบอกว่าตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมา การเปลี่ยนแปลง new normal มาอยู่ที่จีน ผลจากพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างมหาศาลแต่ขายไม่ออก เริ่มสะดุด เกิดฟองสบู่ภาคอสังหาริมทรัพย์ เพราะกำลังซื้อไม่พอ ตามมาด้วยการลดค่าเงินหยวน และตลาดหุ้นโดนถล่มอย่างที่เห็นช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่าน

ในความเห็นของคุณวิชิต จีนสามารถเอาตัวรอดได้แม้จะมีภาระหนี้และสถานการณ์ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตก

แต่คนที่เจ็บตัวคือ ประเทศที่ส่งออกสินค้าไปจีน โดยเฉพาะของที่เข้าข่าย อุตสาหกรรมหนัก (heavy industry) เพราะราคาเหล็กลงไป 45% ไม่ต่างกับราคายางที่ร่วงลงมาอย่างแรง

“New normal ตลาดนี้จะซบเซานานพอสมควร และใครที่คิดว่า 3-4เดือนฟื้นก็คงยาก จีนมีปัญหาในภาคอุตสาหกรรมหนัก ต้องใช้เวลาย่อย แต่กำลังซื้อภาคครัวเรือนของจีนยังดีอยู่ ฉะนั้นผมเชื่อว่า จีนยังแข็งแรงพอ” คุณวิชิตบอก

คำถามใหญ่สำหรับคนไทยก็คือ: เราเตรียมพร้อมอย่างไร? จีนที่เคยเป็นผู้นำเข้าเหล็กและยางรายใหญ่ ตอนนี้เริ่มลดการสั่งเข้า 

เราจะขายของอย่างเดิมไปจีนอีกหรือไม่? ยิ่งต้องคิดหนักเมื่อจีนอยู่ในช่วงเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ จากการต่อเรือใหญ่ๆและก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เป็นบริโภคในครัวเรือนและหันไปเน้นหนักภาคบริการ เทคโนโลยี

“เราเลิกสนใจจีนไม่ได้ ยังไงๆตลาดจีนก็ยังเป็นคู่ค้าสำคัญ เราต้องปรับมาผลิตสินค้าที่จีนต้องการ เราเองต้องรู้ว่าเขาเปลี่ยนแล้ว หากไม่ปรับตามขายของเดิมๆ ตลาดจะเล็กลงเรื่อยๆ ขณะที่สหรัฐฯ ยุโรปก็มีวิกฤติ หนี้สินทั่วโลกโตอย่างไม่น่าโตเลย”นายแบ็งก์ไทยพาณิชย์เตือน

ประเด็นหลักสำหรับประเทศไทยคือเมื่อคู่ค้าสำคัญเปลี่ยนโครงสร้างแล้ว เราไม่เปลี่ยนตามได้หรือไม่? คนไทยพร้อมเปลี่ยนหน้าที่การงาน เปลี่ยนแนวคิดหรือไม่?

ผมจำได้ อดีตรัฐมนตรีที่วันนี้มีบทบาทสำคัญในรัฐบาลเคยบอกผมว่า “ไปเมืองจีนทุกครั้ง รัฐบาลจะฝากผมให้ขอให้รัฐบาลจีนซื้อยางกับข้าวของเรา เราไม่มีอะไรอย่างอื่นที่จะขายเลย ผมอายเขาจริง ๆ!”

เมื่อสินค้าไทยไม่มีเวทียืนในตลาดโลก คำว่า “วิกฤต” ก็อาจจะเบาเกินไปด้วยซ้ำ/จบ

..................................................................................................................................

ขออนุญาตนำข้อมูลบางส่วนจากกรุงเทพธุรกิจรานวันมารวบรวมไว้เพื่อการศึกษา

นายสมคิด กล่าวว่า การหยิบยกโครงการกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งเป็นกลไกที่เกิดขึ้นมาหลายปีแล้วมาเป็นกลไกหนึ่งในการบริหารราชการของรัฐบาลขณะนี้ เพราะช่วงที่ผ่านมาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ทำให้ชาวนารายได้ไม่พอ ประกอบกับสิ่งที่รัฐบาลให้ไปไม่เพียงพอ เมื่ออำนาจซื้อไม่เพียงพอทำให้เศรษฐกิจโดยรวมขาดพลัง เปรียบเหมือนคนแก่ที่ร่างกายยังดี แต่ชีพจรเต้นไม่แข็งแรง ช่วงแรกไม่เป็น แต่หากปล่อยนานไปชีพจรไม่เลี้ยงร่างกายสุดท้ายทั้งร่างก็จะเกิดปัญหา เหมือนประเทศที่ขณะนี้ธุรกิจระดับบนยังแข็งแรง บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ยังดี แต่อำนาจการซื้อของฐานรากอ่อนแอก็จะทำให้ผลประกอบการรายใหญ่ชะลอตัว ลักษณะดังกล่าวหากปล่อยไว้นานจะเกิดปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ อีกทั้งความขัดแย้งจะเกิดขึ้น คนจนจะคิดว่าเราละเลยทำให้ใครมาปลุกปั่นได้ง่ายมาก ซึ่งภาพรวมนี้ รัฐบาลจึงตัดสินใจใช้ 2 กลไก คือ 1.กลไกกองทุนหมู่บ้านให้บริหารจัดการกันเอง และ 2.กลไกตำบลละ 5 ล้านบาท เพื่อเป็นการหว่านเมล็ดให้เกิดโครงการที่ยั่งยืนได้ ซึ่งสิ่งที่ตนบอกนายกฯ คือทำอย่างไรให้โครงสร้างเศรษฐกิจสองขาเท่ากัน คือขาการส่งออก และขาของชนบทที่จะทำอย่างไรให้แข็งแรงสมบูรณ์ เป็นที่มาของการปฏิรูปการเกษตร การท่องเที่ยว และการทำให้บรรยากาศการค้าขายคึกคัก ซึ่งความสามารถของประเทศจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเราสร้างความเข้มแข็งภายในได้ 

นายสมคิด กล่าวต่อว่า 30 ปีที่ผ่านมาเราเน้นแต่การส่งออก ทั้งที่สิ่งสำคัญสุดคือ เศรษฐกิจภายในประเทศ เมื่อการส่งออกดีก็ปลื้มใจว่า ตัวเลขจีดีพีดีน่าพอใจ แต่จุดมุ่งหมายการพัฒนาประเทศไม่ใช่การมองจีดีพี เพราะจีดีพีเป็นบั้นปลาย เมื่อฉีดเงินเข้าไป จีดีพีก็ดีขึ้นมา แต่สุดท้ายมันก็ตก จึงเป็นที่มาของการปฏิรูป อะไรที่ทำได้ก่อนให้ทำเลย ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาล และคสช. เนื่องจากมีเวลาทำงานอีก 1 ปีครึ่งตามโรดแม็ปใหม่ ทั้งนี้ ประเทศไทยต้องพิจารณา 3 ด้านหลัก คือ 1.ทำอย่างไรให้โครงสร้างเศรษฐกิจ 2 ขาเท่ากัน คือขาการส่งออกกับขาชนบท ซึ่งตนเชื่อว่าทำได้แต่ทำยาก เพราะการบริหารราชแผ่นดินของเรายังล้าสมัย 2.ความสามารถของประเทศ ที่ผ่านมาความสามารถของประเทศเราอยู่ที่การส่งออก แต่วันนี้ขาที่แข็งแรงของการส่งออกเริ่มจะเป็นเก๊า กระดูกเริ่มพรุน เราต้องเสริมเหล็ก ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่มีอยู่เริ่มล้าสมัย ดังนั้น ต้องดูตัวอย่างของเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และอิตาลี ว่าทำอย่างไร รวมทั้งระบบการศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยที่เน้นผลิตบุคลากรโดยไม่ตอบโจทย์ความต้องการพื้นฐานทางเศรษฐกิจแต่ละพื้นที่ เช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีความเข้มแข็งด้านการท่องเที่ยว และการประมง แต่กลับผลิตนักศึกษาให้เหมือนกับส่วนกลาง

นายสมคิด กล่าวว่า 3.ระเบียบวีธีการบริหารราชการแผ่นดินที่ยังล้าสมัย เช่น การจัดสรรงบประมาณที่ยังเป็นแบบรายจ่าย รายรับมีเพียงการจัดเก็บภาษี เรื่องเทคโนโลยีหรือไอซีที ที่ยุคสมัยนี้ เพราะระบบข้อมูลสื่อสาร เป็นเรื่องที่สำคัญ ทำอย่างไรให้ระบบข้อมูลของทุกหน่วยงานสามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้ ทั้งเศรษฐกิจ การศึกษาฯ แต่เป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสท.) ทำเรื่องระบบดิจิตอลที่ให้เป็นประโยชน์แต่กลับไปทำแต่เรื่องประมูลเพียงอย่างเดียว ซึ่งนายกฯบอกว่า มีเวลาเพียงปีครึ่งเท่านั้นที่จะเดินตามโรดแมป แต่เวลาปีครึ่งก็ไม่ยาวไม่สั้น ต้องเลือกทำเรื่องใหญ่ๆที่ทำแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลง ยืนยันว่า ตนไม่กลับมาการเมืองอีก เพราะอนาคตทางการเมืองไม่มี

“ดังนั้น การปฏิรูปจะทำได้หรือไม่อยู่ที่รัฐบาล แต่หัวใจของการปฏิรูปคือการขับเคลื่อนของประชาชน ถ้ายังไม่สามารถทำให้ประชาชนตื่นตัวได้ก็ยังไม่สามารถปฏิรูปได้และการแก้ปัญหาคอรัปชั่น ถ้าประชาชนไม่ตื่นตัวก็ไม่สำเร็จ เพราะคนหน้าด้านยังอยู่ ไม่ใช่ฝ่ายข้าราชการที่หน้าด้าน แต่ถ้าภาคเอกชนไม่ให้ เขาก็ไม่รับอยู่แล้ว“ นายสมคิด กล่าว/จบ

.....................................................................................................................................

 

 





Create Date : 30 สิงหาคม 2558
Last Update : 20 กันยายน 2558 6:20:07 น. 0 comments
Counter : 809 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com