สิงหาคม 2554
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
26 สิงหาคม 2554
 

อ่านมุมมอง"ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง"กันคะ

เตือนใจ เจริญพงษ์
ขอนำสาระความรู้....
เรื่อง ...."ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง"
ของ ....นายอิสระ บุญยัง
นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร มาฝากกันคะ
.................................................................................................
ในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมา .....
ได้มีความพยายามผลักดันร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีไปแล้ว
ทั้งนี้รัฐบาลปัจจุบันได้มีนโยบายหลายประการ
ที่จำเป็นต้องใช้เงินงบประมาณ เพื่อดำเนินการตามนโยบาย
ที่ได้หาเสียงไว้และแม้ว่าพระราชบัญญัติภาษีที่ดิน
และสิ่งปลูกสร้างจะมิได้อยู่ในนโยบายสำคัญที่ได้หาเสียงไว้
.................................................................................................
แต่การที่รัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก
พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างน่าจะเป็นกลไกสำคัญ
ที่จะทำให้รัฐบาลสามารถลดภาระภาษีจากส่วนกลาง
และทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น
และแข็งแรงขึ้น
................................................................................................. ผู้เขียนมีความเห็นและข้อสังเกตในร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูก
สร้าง คือ .....
.................................................................................................
ข้อดีของ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
.................................................................................................
1. เป็นการกระจายอำนาจทางการคลังไปสู่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างแท้จริง ท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการรายได้ด้วยตนเอง ลดการพึ่งพางบประมาณจากรัฐบาลกลาง
.................................................................................................
2.ท้องถิ่นประมาณการรายรับได้แน่นอนจากฐานของทรัพย์สินมิใช่จากฐานของรายได้ ทำให้รายรับค่อนข้างสม่ำเสมอไม่ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรและจัดสรรงบประมาณประจำปีสำหรับการพัฒนาท้องถิ่นได้ค่อนข้างแน่นอน
.................................................................................................
3.ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ที่ดินเนื่องจากผู้ถือครองที่ดินจำนวนมากก็ต้องเสียภาษีมากโดยเฉพาะหากปล่อยไว้รกร้างว่างเปล่า ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ ก็ต้องเสียภาษีในอัตราสูงสุด ซึ่งจะทำให้ผู้ถือครองที่ดินจำนวนมากต้องนำที่ดิน ออกให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ในรูปของการให้เช่า หรือให้ทำประโยชน์เพื่อมิให้รกร้างว่างเปล่า ซึ่งจะเป็นการลดภาระภาษีและจะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อท้องถิ่นและต่อประเทศด้วย
.................................................................................................
4.ประชาชนในท้องถิ่น จะให้ความสำคัญกับการบริหารและการบริการ ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมากยิ่งขึ้นเนื่องจากทุกครัวเรือนต้องเสียภาษีทุกๆปีทำให้เกิดการตรวจสอบ และมีส่วนร่วมในการปกครองส่วนท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น
.................................................................................................
ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ
.................................................................................................
1.หากพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีผลบังคับใช้ ก็ควรมีช่วงเวลาสำหรับการยกเว้นหรือทยอยการจัดเก็บ สำหรับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเดิมซึ่งไม่เคยเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินหรือภาษีบำรุงท้องที่
.................................................................................................
2.ท้องถิ่นจะสามารถใช้พระราชบัญญัตินี้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมหรือชะลอการเติบโต หากให้อำนาจของท้องถิ่นในการเพิ่มหรือลดอัตราภาษีมากกว่าที่ให้อำนาจไว้ในมาตรา 30 เช่นท้องถิ่นใดมีความหนาแน่นสูงหรืออุตสาหกรรมมากจนก่อมลภาวะ อาจกำหนดอัตราภาษีสูงสุดสำหรับผู้จะลงทุนใหม่ หรือท้องถิ่นใดที่ต้องการให้เกิดการพัฒนาจะอาจใช้อัตราภาษีต่ำสุดหรือยกเว้นการจัดเก็บภาษี5หรือ10ปี เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา หรือการก่อสร้างประเภทใดไม่สอดคล้องกับผังเมืองรวมของจังหวัดหรือของท้องถิ่น ก็อาจจัดเก็บในอัตราสูงสุดซึ่งจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการพัฒนาเมืองหรือพัฒนาท้องถิ่น
.................................................................................................
3.ท้องถิ่นใดซึ่งมีนโยบายในการอนุรักษ์พื้นที่เพื่อเกษตรกรรม หรือสิ่งแวดล้อม จะมีอัตราการพัฒนาต่ำ ซึ่งจะมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีต่ำด้วย กรณีดังกล่าวรัฐควรมีมาตรการในการให้การสนับสนุนงบประมาณจากส่วนกลางเป็นกรณีพิเศษ
.................................................................................................
4.กรณีสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรรหรือนิคมอุตสาหกรรม ควรยกเว้นในส่วนที่เป็นสาธารณูปโภค เช่น ถนน ทางเท้า สวนสาธารณะ ฯลฯ เพราะสาธารณูปโภคที่จำเป็นดังกล่าวเป็นปัจจัยที่ทำให้ที่ดินแปลงย่อยแต่ละแปลงมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น และเป็นฐานในการประเมินราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยเฉพาะตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน สาธารณูปโภคเมื่อยังอยู่ในความดูแลของผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการจะต้องดูแลรักษาโดยไม่สามารถจัดเก็บค่าบำรุงรักษาจากผู้อยู่อาศัยได้ (ก่อนจัดตั้งนิติบุคคล)
.................................................................................................
5.เมื่อมีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้วตาม พ.ร.บ.จัดสรรที่ดินพ.ศ2543 ให้มีการจัดเก็บค่าสาธารณูปโภค และบริการสาธารณะจากผู้อยู่อาศัยตามกฎหมายเป็นประจำทุกเดือน เพื่อบำรุงรักษา ถนน ท่อระบายน้ำ สวนสาธารณะ ระบบไฟส่องสว่าง ระบบรักษาความปลอดภัย ฯลฯ ซึ่งก็ควรมีมาตรการในการลดหย่อนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพราะโครงการเหล่านี้จะลดภาระการดูแลของท้องถิ่นได้เป็นจำนวนมาก แต่ทั้งนี้หากโครงการจัดสรรใด ได้ยกสาธารณูปโภคต่างๆ ให้เป็นสาธารณะประโยชน์แล้ว ผู้อยู่อาศัยในโครงการจัดสรรก็ควรต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเต็มจำนวน เพราะท้องถิ่นต้องทำหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามปกติ
.................................................................................................
6.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เพื่อการสันทนาการเพื่อการศึกษา ควรมีอัตราที่แตกต่างกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรมอื่นๆ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล สนามกีฬา สวนสนุก ฯลฯ ก็ไม่ควรจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตราเดียวกับอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษ สถานบันเทิงหรือสถานบริการอาบอบนวด เป็นต้น
.................................................................................................
7.หากมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ก็ควรมีการทบทวนโครงสร้างภาษีและค่าใช้จ่ายทุกประเภทที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนมือการซื้อขาย หรือการโอนกรรมสิทธิ์ เพราะปัจจุบันแม้ว่าอาคารจำนวนมากจะมิได้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินหรือภาษีบำรุงท้องที่ แต่ก็จะเสียภาษีที่เกิดจากการเปลี่ยนมือทุกทอด คือ ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% (จากราคาซื้อขาย) ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม2% (ของราคาประเมิน) ภาษีเงินได้อีก 2-10% (ขึ้นอยู่กับฐานภาษีและจำนวนปีที่ถือครอง) เพราะหากต่อไปที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทุกประเภทต้องเสียภาษีทุกปี ก็ควรต้องทบทวนโครงสร้างภาษีและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการโอนกรรมสิทธิ์หรือซื้อขายไปพร้อมกันด้วย
.................................................................................................
ผู้เขียนเห็นว่า.....
พระราชบัญญัติที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะเป็นเครื่องมือสำคัญ
ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับท้องถิ่น และประเทศชาติ
ในระยะยาว และ ขอให้กำลังใจสำหรับรัฐบาล
และ รัฐสภาที่จะผลักดันพระราชบัญญัติฉบับนี้ออกมา
ซึ่งอาจกระทบต่อคะแนนเสียง
และเกิดการต่อต้านจากผู้ถือครองทรัพย์สิน
ซึ่งปัจจุบันไม่ต้องเสียภาษี
................................................................................................. แต่ขั้นตอนหรือกระบวนการที่จะให้ผู้เสียภาษี
มีระยะเวลาในการรับรู้ในการปรับตัวในการทำความเข้าใจ
รวมถึงการที่ท้องถิ่นต่างๆ ก็ต้องมีความเข้าใจในบทบาท
หน้าที่ของตนเองก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
และ สิ่งสำคัญคืออัตราภาษีที่กำหนดในเบื้องต้น
ควรเหมาะสมกับภาวะของเศรษฐกิจและสังคมไทย
ซึ่งไม่อาจเปรียบเทียบได้กับประเทศในยุโรป
เพราะประเทศในยุโรปจัดเก็บภาษีในอัตราสูง
แต่ทั้งนี้สวัสดิการที่ได้รับจากรัฐหรือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ก็มากด้วยเช่นเดียวกัน (18 สิงหาคม 2554)
.................................................................................................
"ผู้เขียน" ในที่นี้คือ.... อิสระ บุญยัง
ขอขอบพระคุณมากนะคะที่ได้เขียนเรื่องดีๆมาฝากกัน
และแฟนคลับคงได้ประโยชน์กันมากมายนะคะ
.................................................................................................




Create Date : 26 สิงหาคม 2554
Last Update : 19 กันยายน 2558 17:46:19 น. 0 comments
Counter : 2163 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com