<<
กุมภาพันธ์ 2559
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
2829 
 
24 กุมภาพันธ์ 2559
 

‘ชิปนิติวิทย์ฯ’สุดยอดระดับโลก

‘ชิปนิติวิทย์ฯ’สุดยอดระดับโลก

ขอนำเนื้อหาความรู้เรื่องนี้จากกรุงเทพธุรกิจรายวัน มารวบรวมไว้เพื่อการศึกษา

เนคเทคขานรับความต้องการตลาดด้วย “ชิปขยายสัญญาณรามาน” (SERS Chips) พลิกโฉมมาตรฐานการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์ทั้งการปลอมแปลงเอกสาร ร่องรอยสารเคมี-วัตถุระเบิด ยาปลอมและสารเสพติด การตรวจทางคลินิกและการศึกษาวิเคราะห์สารเคมีทั่วไป นำร่องส่งออกไปสหรัฐอเมริกาเดือนละ 300 ชิ้น พร้อมประกาศส่งต่อสิทธิบัตรให้ผู้สนใจรับไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ 


“ชิปอัจฉริยะนี้ประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย ทั้งมีขนาดเล็ก ราคาถูก รู้ผลเร็ว ใช้ตัวอย่างหรือสิ่งส่งตรวจในปริมาณน้อย สามารถตอบความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมั่นใจว่าผลงานคิดค้นนี้มาถูกทาง โดยไม่ต้องไปสร้างตลาดเอง เพราะตลาดมีความต้องการอยู่แล้ว” ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กล่าว


เปลี่ยน(ไอเดีย)แล้วเวิร์ค


ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุ การที่จะได้มาซึ่งวัตถุพยานและผลการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการนั้น ต้องมีผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้รวมถึงเครื่องมือวิเคราะห์และเทคนิคในการวิเคราะห์ที่ดีประกอบกัน ซึ่งหนึ่งในเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์วัตถุพยานเรียกว่า “รามานสเปคโตรสโคปี” หรือเครื่องตรวจวัดสัญญาณรามาน พัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์สัญชาติอินเดีย


“แนวโน้ม 2-3 ปีเครื่องวัดสัญญาณรามานจะได้รับความนิยมใช้เพิ่มขึ้นทั่วโลก ไม่จำกัดวงเฉพาะการวิจัยอีกต่อไป พวกเราจึงพัฒนาเทคโนโลยีชิปอัจฉริยะนี้ขึ้นมาใช้ต่อยอดหรือปิดจุดด้อยให้กับเครื่องวัดสัญญาณรามาน ซึ่งไม่สามารถวัดร่อยรองขนาดเล็กที่เป็นคราบบางๆ หรือผงที่ตามองไม่เห็น” นพดล นันทวงศ์ นักวิจัยห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีฟิล์มบางเชิงแสง เนคเทค กล่าว


ทั้งนี้ เครื่องวัดสัญญาณรามานมีผู้ผลิตจำนวนมาก มีการพัฒนาให้มีขนาดเล็ก พกพาสะดวก ขณะที่ชิปที่มีคุณสมบัติตรวจหาร่องรอยสารเคมีมีผู้ผลิตน้อยเพราะต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง แม้ว่าที่ผ่านมามีเทคนิค
หลากหลายแต่ส่วนใหญ่ต้องนำตัวอย่างกลับไปตรวจในแล็บด้วยเครื่องราคาแพง มีขั้นตอนยุ่งยาก ใช้เวลานานและสิ้นเปลือง เช่น การตรวจวัดยาฆ่าแมลงใช้เวลา 2-3 วันกว่าจะรู้ผล
นักวิจัยเนคเทคมองเห็นปัญหาดังกล่าวแล้วพลิกให้เป็นโจทย์วิจัย ที่มีผลต่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์ในอนาคต ด้วยความที่เป็นนักวิจัยเลือดใหม่ที่ใส่ใจถึงผลลัพธ์หลังจากทำวิจัย จึงมองว่าควรจะพัฒนาชิปที่ช่วย ขยายสัญญาณรามานที่กำลังเป็นที่นิยม จนในที่สุดได้ออกมาเป็น “ชิปขยายสัญญาณรามาน” (SERS Chips) สำหรับใช้งานด้านต่างๆ ทั้งความมั่นคง การเกษตร วงการยา โดยใช้คู่กับเครื่องวัดสัญญาณรามาน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจละเอียดขึ้นจากเพียงแค่ร่องรอยหรือคราบ


และที่สำคัญคือสามารถนำไปใช้นอกห้องปฏิบัติการได้ทุกที่ ใช้เวลาแค่ 1-2 นาที จากปกติต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงหรือเป็นวัน ทั้งยังใช้ปริมาณสารตัวอย่างในการตรวจสอบน้อย ที่สำคัญมีความแม่นยำสูง ส่วนขั้นตอนต่อไปคือ การวิจัยพัฒนาเครื่องผลิตชิปให้สามารถผลิตในระดับอุตสาหกรรม เพื่อให้ชิปมีราคาลดลงโดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ชิ้นละ 100-200 บาทจากปัจจุบัน 1,000 บาท เพื่อเพิ่มโอกาสให้กลุ่มผู้ใช้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น


ชิปไทยเข้าสู่ตลาดนวัตกรรม


ผู้อำนวยการเนคเทคยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ประโยชน์ชิปดังกล่าว เช่น หมึกปากกาบนเอกสาร เช่น เช็ค อาจมีการปลอมแปลงหรือการเปลี่ยนแปลงตัวเลข ผู้เชี่ยวชาญอาจดูไม่ออกแต่ถ้าใช้ชิปตัวนี้ก็สามารถแยกได้ว่า เป็นปากกาคนละด้าม หรือการตรวจวัตถุระเบิดที่เป็นเพียงร่องรอยคราบสารเคมี ตัวชิปก็สามารถช่วยวิเคราะห์ได้ เช่นเดียวกับการตรวจยาปลอมและสารเสพติดต่างๆ


ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ผลิต SERS Chips 4 ราย แต่ผลจากการนำชิปเนคเทคไปให้ผู้ผลิตเครื่องวัดสัญญาณรามานทดสอบพบว่า มีประสิทธิภาพดีกว่าแถมยังราคาถูกกว่าครึ่งหนึ่ง ทำให้เป็นที่สนใจและยอมรับจากผู้ผลิตเครื่องวัดสัญญาณรามานในต่างประเทศ ดังนั้น แนวทางการพัฒนาต่อจากนี้ไปของเนคเทคคือ การพัฒนาเครื่องผลิตชิปให้สามารถผลิตชิปเพิ่มเป็นเดือนละ 1,000 ชิ้น จากปัจจุบันผลิตได้ 300 ชิ้นต่อเดือนเพื่อเตรียมพร้อมรองรับความต้องการของตลาด


ชิปอัจฉริยะนี้กำลังจะนำเข้าบัญชีสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรม ถือว่าเป็นชิ้นงานที่สร้างโอกาสให้ประเทศ จากเดิมที่ต้องตั้งรับด้วยการใช้เครื่องมือตามมาตรฐานของประเทศอื่น แต่เมื่อมีนวัตกรรมนี้เราอาจเสนอขอทำ มาตรฐานของตนเองขึ้นมาได้ โดยผ่านหน่ายงานภาครัฐที่มีหน้าที่ตรวจวัดมาตรฐานต่างๆ อยู่แล้ว เช่น นิติวิทยาศาสตร์ที่ใช้พิสูจน์หลักฐาน หรือกลุ่มทหาร รวมทั้งภาคเอกชน ขึ้นอยู่กับโมเดลธุรกิจในอนาคต เช่น อาจนำไปตรวจธาตุอาหารในดินให้ชาวไร่ชาวนาฟรี แล้วนำเสนอปุ๋ยที่ช่วยแก้ปัญหา เป็นต้น  อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการพัฒนานวัตกรรมที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหา และตอบสนองความต้องการของตลาด ผู้ใช้ในแต่ละกลุ่มภายในประเทศแล้ว ยังสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อีกด้วย/จบ

....................................................................................................................................




 

Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2559
0 comments
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2559 7:28:44 น.
Counter : 1144 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com