<<
กุมภาพันธ์ 2559
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
2829 
 
12 กุมภาพันธ์ 2559
 

โรคหัวใจสลาย…เป็นแล้วถึงตายจริงเหรอ?

โรคหัวใจสลาย…เป็นแล้วถึงตายจริงเหรอ?

ขอนำเนื้อหานี้จากกรุงเทพธุรกิจรายวัน มารวบรวมไว้เพื่อการศึกษา
โรคหัวใจสลาย,รุนแรง,เสียชีวิต

หัวใจสลายจนขาดใจตาย คิดว่าหลายคนคงเคยตั้งคำถามในใจว่า “หัวใจสลาย” มีอยู่จริงหรือ และมันรุนแรงมากจนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้จริงหรือไม่?

“วันวาเลนไทน์” เชื่อว่าเป็นอีกวันหนึ่งที่หลายคนคงตั้งหน้าตั้งตาคอยให้มาถึง เพราะเป็นวันแห่งความรัก เป็นวันที่ทำให้ใครหลาย ๆ คนมีความสุข เพราะมีโอกาสได้บอกรักใครบางคนหรืออาจจะมีใครบางคนมาบอกรัก สำหรับคนที่สมหวังในรักคงไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง แต่คนที่ไม่สมหวังในรักหรือที่ถูกเรียกว่า “คนอกหัก” บางคนอาจจำเป็นต้องมาพบแพทย์โดยด่วน…!!!


เวลาอกหัก โดนบอกเลิก หรือได้รับการแจ้งข่าวร้ายที่ทำให้เสียใจมาก ๆ ทันทีทันใด เช่น ป่วยเป็นมะเร็ง หรือคนในครอบครัวเสียชีวิตกระทันหัน อาจมีอาการเจ็บบริเวณหน้าอก หรือหายใจไม่ออก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วหัวใจของเราไม่ได้เป็นอะไร แต่เชื่อว่าคนที่ชอบอ่านนิยายคงต้องเคยอ่านเจอเรื่องราวที่ตัวละครไม่สมหวังในรัก หรือต้องพรัดพรากจากคนรักจนถึงขั้นขาดใจตายกันมาบ้างแล้ว แม้แต่ในวรรณคดีไทยเองก็พบเจอได้อยู่บ่อย ๆ เช่น ตอน พระสังข์หนีนางพันธุรัต จนทำให้นางพันธุรัตเสียใจอย่างมาก หัวใจสลายจนขาดใจตาย คิดว่าหลายคนคงเคยตั้งคำถามในใจว่า “หัวใจสลาย” มีอยู่จริงหรือ และมันรุนแรงมากจนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้จริงหรือไม่?


คงต้องบอกว่าทุกเรื่องราวในนิยายมักจะมีความจริงปนอยู่ ภาวะหัวใจสลาย ในทางการแพทย์มีชื่อเรียกอยู่หลายชื่อครับ อาทิ กลุ่มอาการหัวใจสลายหรือกลุ่มอาการอกหัก (Broken Heart Syndrome) โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมที่ถูกเหนี่ยวนำจากภาวะเครียด (Stress Induced Cardiomyopathy) กลุ่มอาการที่หัวใจห้องล่างส่วนปลายโป่งพอง (Apical Ballooning Syndrome) หรือในญี่ปุ่นจะใช้ชื่อว่า “Takotsubo Cardiomyopathy” ซึ่งเป็นกลุ่มโรคหัวใจอีกชนิดหนึ่งที่กำลังเป็นที่สนใจ โดยผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอกขึ้นมา หรือหายใจไม่ออกภายหลังจากการเผชิญกับภาวะที่บีบคั้นทางอารมณ์อย่างรุนแรง


อาการดังกล่าวเกิดจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนบีบตัวได้น้อยลง ซึ่งสาเหตุหรือกลไกที่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติไปยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด (Stress hormone) ถูกหลั่งออกมาในระดับที่สูงมากทันทีทันใด ซึ่งจะไปมีผลต่อหลอดเลือดหัวใจ และกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง ส่งผลทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนบีบตัวได้น้อยลงหรือนิ่งไป โรคนี้ถูกนิยามเป็นครั้งแรกโดยแพทย์ชาวญี่ปุ่นในปี ค.ศ.1990 โดยเรียกภาวะนี้ว่า “Takotsubo Cardiomyopathy” เนื่องจากว่าเมื่อฉีดสีเข้าไปในห้องหัวใจโดยตรง และบันทึกภาพการเคลื่อนไหวของหัวใจด้วยเอ็กซเรย์ในผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ จะเห็นหัวใจโป่องพองเป็นกระเปาะเหมือนไหที่ประมงชาวญี่ปุ่นใช้ใส่ปลาหมึก (“Tako” แปลว่า ปลาหมึก, “Tsubo” แปลว่า ไห)


โรคหัวใจสลายนี้พบได้ทั่วโลก และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะสตรีที่หมดประจำเดือน ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่ร่างกายขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทนต่อ ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด หรือ Stress hormone ได้น้อยลง อย่างไรก็ตามโรคนี้สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องมีประวัติโรคหัวใจร่วมด้วยหรือไม่ ผู้ป่วยโรคนี้มักมีอาการคล้ายกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน คือ เจ็บแน่นหน้าอก หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ หน้ามืด นอกจากนี้ยังอาจตรวจพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และตรวจพบความผิดปกติของผลเลือดเหมือนที่ตรวจพบในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้ ดังนั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยการฉีดสีเพื่อตรวจดูหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งในผู้ป่วยโรคหัวใจสลายนี้มักตรวจไม่พบว่ามีร่องรอยของหลอดเลือดหัวใจอุดตัน


อย่างไรก็ตามเนื่องจากว่าอาการที่เกิดขึ้นเกิดจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจของผู้ป่วยบีบตัวได้น้อยลง ซึ่งผู้ป่วยบางรายพบว่าหัวใจสามารถบีบตัวได้แค่ร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับหัวใจของคนปกติ ดังนั้นผู้ป่วยภาวะหัวใจสลายจึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาแบบประคับประคอง และติดตามเฝ้าระวังภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างน้อย 24 ชั่วโมงในโรงพยาบาล ซึ่งโดยทั่วไปอาการต่าง ๆ จะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 1-8 สัปดาห์ แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจรุนแรงมากจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ใครที่มีอาการดังกล่าวจึงควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายว่ามีความผิดปกติของการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจหรือภาวะหัวใจล้มเหลวร่วมด้วยหรือไม่

 

ดร. นพ.เกริกวิชช์ ศิลปวิทยาทร
เมธีวิจัย สกว.
อาจารย์ประจำศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่/จบ

.............................................................................................................................




Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2559 21:54:36 น. 1 comments
Counter : 695 Pageviews.  
 
 
 
 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาทักทาย สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
 
 

โดย: nokyungnakaa วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:11:22:35 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com