<<
กุมภาพันธ์ 2559
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
2829 
 
12 กุมภาพันธ์ 2559
 

‘จดหมายจากใจ ถึงอาจารย์ป๋วย’

‘จดหมายจากใจ ถึงอาจารย์ป๋วย’
ขอรวบรวมเนื้อหาดีๆนี้จากกรุงเทพธุรกิจรายวันเพื่อการศึกษา


ผมได้หนังสือเล่มนี้จาก ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อต้นสัปดาห์นี้ก่อนการสัมภาษณ์ ถึงทุกประเด็นที่น่าสนใจสำหรับคนไทย ที่ติดตามการทำงานของธนาคารกลางของชาติ

“จดหมายจากใจถึงอาจารย์ป๋วย... ศาสตร์และศิลป์บนเส้นทางของ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย” ซึ่งเป็นการรวบรวมบทความที่เขียนในรูปจดหมาย 20 ฉบับเขียนโดย ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าฯแบ็งก์ชาติคนก่อน เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ของธนาคารกลาง รวมทั้งเหตุการณ์บ้านเมืองในช่วงปี 2553-2558

ปีนี้เป็นปีพิเศษสำหรับ ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ผู้ว่าฯแบ็งก์ชาติคนที่ 7 ระหว่าง พ.ศ. 2502-2514 เพราะเป็นปีที่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) มีมติยกย่องท่านเป็นบุคคลสำคัญของโลกในโอกาสครบรอบ 100 ปีชาตกาลของท่านในวันที่ 9 มีนาคม 2559 นี้

ใครได้อ่าน “จดหมายจากใจถึงอาจารย์ป๋วย” เล่มนี้จะได้ความรู้และความเข้าใจที่ลึกซึ้ง ว่าทำไมอาจารย์ป๋วยจึงเป็นที่เคารพยกย่อง ในฐานะเป็นคนทำงานทุ่มเท เสียสละและซื่อสัตย์สุจริตสำหรับคนไทยทุกวงการ

ด้วยการยึดคุณธรรม 3 ประการนั่นคือ ความจริง ความงาม ความดี

หลายตอนที่ ดร.ประสาร อ้างคำกล่าวและหลักยึดของ ดร.ป๋วยสมควรจะได้รับการตอกย้ำในสังคมไทยทุกวันนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะหลักการทำงานเช่นว่านี้ดูเหมือนจะเสื่อมลงไปมาก

ดร.ประสาร อ้างถึงข้อคิดที่อาจารย์ป๋วยเคยให้ไว้

นั่นคือหากมีตำแหน่งคือ public office แต่ขาด public trust คือความเชื่อถือของประชาชนก็เปล่าประโยชน์

“หลักของธนาคารกลางก็เช่นเดียวกับหลักการธนาคารทั่ว ๆ ไปคือ เครติดและ Faith คือความเชื่อถือกันทั้งภายในและภายนอก ถ้าขาดเครดิตแล้ว เลิกพูดเรื่องการธนาคารได้”

ทำให้นึกถึงนักการเมืองบางคนบางกลุ่มที่มุ่งแต่จะแสวงหา public office คือทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ตำแหน่งแห่งหนและไม่เคยสนใจจะสร้าง public trust หรือความไว้เนื้อเชื่อใจของสาธารณชน เพราะหลงเข้าใจว่าหากได้ตำแหน่งแล้วผู้คนก็จะเคารพนับถือหรือยอมศิโรราบเอง อันเป็นความเข้าใจผิดอย่างมหันต์ และเป็นที่มาของความเสื่อมทรามแห่งศรัทธา ต่อคนที่ต้องการมีตำแหน่งแต่ไม่สนใจสร้างความน่าไว้วางใจ

ดร.วิรไท อ้างถึงคำที่ ดร. ป๋วยกล่าวไว้ซึ่งสะท้อนถึงหลักการดำรงชีวิตที่เรียบง่าย ตรง และสุดยอดของตรรกะแห่งการดำรงชีวิตอย่างมีจริยธรรม

“คนเราถ้าไม่พะวงรักษาเก้าอี้ ก็จะทำสิ่งที่ถูกต้องได้เสมอ...”

หรือที่ท่านเคยพูดไว้เป็นสัจธรรมจนถึงทุกวันนี้ว่า

“นักเศรษฐศาสตร์มักจะเพ่งเล็งแต่เฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ ถ้าเป็นเช่นนี้ จะนับว่ามีการพัฒนาสมบูรณ์มิได้ จำเป็นต้องพิจารณาเลยไปถึงการพัฒนาทางสังคมด้วย...”

อีกประโยคหนึ่งของ ดร. ป๋วยที่อ่านครั้งใดก็ทำให้คิดถึงสภาพสังคมไทยทุกครั้งไป

“เงินเลวย่อมขับเงินดีออกจากตลาด

ธนบัตรเลวไม่ว่าใครจะเป็นผู้พิมพ์ ย่อมขับธนบัตรดีออกจากตลาด

สินเชื่อที่เลวย่อมขับการธนาคารจากตลาด

ระบบผูกขาดที่เลวย่อมขับสมรรถภาพและความสัตย์สุจริตออกจากอุตสาหกรรมและการค้า

นโยบายเศรษฐกิจและการเงินที่เลวนั้นย่อมขับอะไร ๆ ทั้งหมดที่ดีออกจากทุกสิ่งทุกอย่าง...”

ที่อาจารย์ป๋วยไม่ได้พูดแต่ก็คงจะมีความหมายไปในทางเดียวกันก็คือ

การเมืองเลว ๆ ก็จะขับคนดี ๆ ออกจากวงการ

จึงเป็นเรื่องน่ายินดีที่ ดร.วิรไท บอกผมว่าจะยังยึดหลักการ 4 ข้อที่ ดร.ประสารได้บัญญัติเอาไว้ตามแบบฉบับที่ได้จากอาจารย์ป๋วย สำหรับคนของธนาคารแห่งประเทศไทยทุกคนว่า

“ยืนตรง” คือทำในสิ่งที่ควรทำ ไม่ทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ

“มองไกล” คือให้คิดถึงอนาคตในระยะยาว ไม่เน้นเฉพาะผลในระยะสั้น

“ยื่นมือ” คือต้องทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี ทั้งภายในและภายนอกองค์กร

“ติดดิน” คือเข้าใจโลกในความเป็นจริง ถ่อมตน เข้าถึงง่าย/จบ

...............................................................................................................................





Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2559 21:48:29 น. 0 comments
Counter : 1352 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com