<<
พฤษภาคม 2558
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
8 พฤษภาคม 2558
 

กรณีศึกษา:การตีความฐานความผิดของคุณหญิงเป็ด

                             กรณีศึกษา:ความผิดของคุณหญิงเป็ด

                                                                                เตือนใจ เจริญพงษ์

      ตามข้อเท็จริงที่ปรากฎว่า ....
คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน 
กรณีการอนุมัติให้การอบรมหลักสูตรผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญยุคใหม่ 
ไปศึกษาดูงานที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โดยมิชอบ
เรื่องนี้ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ 
จึงนำผลการตีความ การพิจารณาคดีที่ว่านี้ของ กรรมการ ป.ป.ช. 
และผู้รู้ทางกฎหมาย สปช.มารวบรวมไว้
........................................................................................................
นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. 
เปิดเผยกรณีที่สื่อมวลชนเสนอข่าวว่า ป.ป.ช.เสนอไม่ถอดถอน
คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน 
กรณีการอนุมัติให้การอบรมหลักสูตรผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญยุคใหม่ 
ไปศึกษาดูงานที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ 
อิตาลี โดยมิชอบ เนื่องจากคุณหญิงจารุวรรณ ได้พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ต้องส่งเรื่องถอดถอน

นายวิชา ยืนยันว่า 
ข่าวดังกล่าวมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไม่ตรงข้อกฏหมาย
เพราะ กรรมการ ป.ป.ช.ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้วมีมติว่า
มีมูลความผิดเพียงการปฎิบัติหน้าที่บกพร่อง 
ประพฤติตนไม่เหมาะสม ไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของทางราชการ 
ไม่ถึงขั้นเป็นความผิดอาญา และเนื่องจากตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงิน
แผ่นดิน ไม่มีกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับวินัย 
จึงไม่สามารถดำเนินการทางวินัยได้

อย่างไรก็ตาม มาตรา 92 วรรคท้าย  พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 
ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 
กำหนดว่ากรณีไม่มีกฏหมาย  เมื่อกรรมการ ป.ป.ช.
มีมติว่าผู้ถูกกล่าวหาดังกล่าว ได้กระทำผิดในเรื่องที่ถูกกล่าวหา  
ให้ประธานกรรมการส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่
พร้อมทั้งความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไปยังผู้บังคับบัญชา 
หรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน เพื่อดำเนินการตามหน้าที่ต่อไป  
แต่ในกรณีนี้ คุณหญิงจารุวรรณ ได้พ้นจากหน้าที่ไปแล้ว  
ป.ป.ช.จึงทำหนังสือ เเจ้งไปยังผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนรับทราบ  
นั่นคือ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่มีอำนาจ
ในการถอดถอนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน   
แต่ในขั้นตอนของการแจ้งให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนทราบ 
เกิดความคลาดเคลื่อน โดยส่งไปที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ 
คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติให้ สำนักงาน ป.ป.ช.แก้ไขให้ถูกต้อง  
โดยมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบ
และมีหนังสือแจ้งให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งเป็นผู้มีอำนาจ
แต่งตั้งถอดถอนทราบด้วย 
ที่มาข้อมูล:มติชนรายวัน 8 พค.2558
.......................................................................................................

นางสาวสมลักษณ์ จัดกระบวนพล อดีตกรรมการ ป.ป.ช. 
กล่าวถึงกรณีที่ ป.ป.ช.มีมติ
ไม่ส่งสำนวนถอดถอนคุณหญิงจารุวรรณเข้าสู่กระบวนการถอดถอน
ของ สนช.ว่า ส่วนตัวมองว่า ป.ป.ช.ต้องส่งสำนวนถอดถอนให้ 
สนช.พิจารณา ตามที่ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 92 วรรคสาม 
ระบุว่า ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งไม่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับวินัย 
หากกระทำผิดในเรื่องที่ถูกกล่าวหา ให้ประธานกรรมการส่งรายงาน
และเอกสารที่มีอยู่ พร้อมทั้งความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ไปยังผู้บังคับบัญชา หรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนเพื่อดำเนินการ
ตามอำนาจหน้าที่ต่อไป เหมือนกับกรณีของนายมนัสที่โดนชี้มูลความผิด 
เนื่องจากหน่วยงานของนายมนัสมีบทลงโทษทางวินัยและส่งให้ 
สนช.ดำเนินการตามกระบวนถอดถอน เพราะเป็นข้าราชการระดับสูงเหมือนกัน 
และเนื่องจากอำนาจของการถอดถอนมีผลผูกพัน 
ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5 ปีด้วย จึงไม่อาจระบุได้ว่า 
เพราะพ้นจากตำแหน่งไปแล้วจึงไม่ส่งสำนวนให้ สนช.พิจารณา

นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช.ชี้แจงว่า ป.ป.ช.ได้พิจารณา
เรื่องที่กล่าวหาดังกล่าวแล้วมีมติว่าคุณหญิงจารุวรรณเพียงปฏิบัติหน้าที่
โดยบกพร่อง ประพฤติตนไม่เหมาะสม ไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์
ของทางราชการ ไม่ถึงขั้นเป็นความผิดทางอาญา 
และเนื่องจากตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินไม่มีกฎหมาย ระเบียบ 
ข้อบังคับเกี่ยวกับวินัย จึงไม่สามารถดำเนินการทางวินัยได้ 
และได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ป.ป.ช.
จึงมีมติให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนทราบ 
ที่มาข้อมูล : มติชนรายวัน 8 พค.2558
......................................................................................................
นายดิเรก ถึงฝั่ง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) 
กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไม่ส่งคดีพิจารณาถอดถอนคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา 
อดีตประธานผู้ตรวจเงินแผ่นดินให้สภานิติบัญญัติพิจารณา 
ว่า เหตุผลของผลคดีในคำวินิจฉัยของป.ป.ช. 
หากทุจริตก็ถือว่าเป็นเรื่องทางคดีอาญา ซึ่งตามมาตรฐานตั้งแต่ต้น 
ป.ป.ช. ต้องส่งสำนวนคดีนี้ให้ สนช.พิจารณา

แต่สิ่งที่เกิดขึ้น ตนมีความรู้สึกงง และคลางแคลงใจ
กับ
การกระทำของ ป.ป.ช. เพราะเป็นเรื่องยากที่จะทำให้คนทั่วไปเข้าใจ 
ในเมื่อ ป.ป.ช. ส่งคนกลุ่มหนึ่งเข้าสู่กระบวนการพิจารณาถอดถอน
ของ สนช. แต่เลือกที่จะไม่ส่งคนอีกกลุ่มหนึ่ง 
ทั้งที่ดูแล้วเป็นกรณีเดียวกัน 
จึงทำให้คู่กรณีที่เคยผ่านกระบวนการถอดถอนนั้น
มีความรู้สึกว่าได้รับความเป็นธรรมจริงหรือไม่

ตนย้ำมาตลอดว่าสังคมต้องมีองค์กรอย่างป.ป.ช. 
เพราะหากไม่มี ป.ป.ช.นั้นจะทำให้การทุจริตมีเพิ่มมากขึ้น 
แต่พอดูการทำงานแล้วมีข้อครหาเรื่องสองมาตรฐาน
ที่นับวันจะยิ่งเพิ่มขึ้น อาจส่งผลให้สังคมหมดความศรัทธา 
ต่อไปผู้คนก็จะไม่กลัวต่อคำวินิจฉัยของป.ป.ช. 
และประเด็นนี้อาจส่งผลกระทบต่อเรื่องความปรองดอง 
จึงขอให้ ป.ป.ช.ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดหลักนิติรัฐนิติธรรมอย่างตรงไปตรงมา 
เพราะถ้าไม่มีความเป็นธรรมแล้ว ความสามัคคีก็ยังไม่เกิด

ส่วนกรณีที่ หากป.ป.ช. ส่งสำนวนดังกล่าวให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
เป็นผู้พิจารณาแล้ว สนช.ต้องยืนยันในสิทธิ์อำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเรื่องถอดถอนออกจากตำแหน่งหรือไม่นั้น เห็นว่า ถ้าป.ป.ช.ไม่ส่งเรื่องมาให้ 
สนช.ก็คงเรียกร้องหรือไปแตะต้องอะไรไม่ได้อีก เพราะเป็นหน้าที่ของ ป.ป.ช.
ที่จะส่งสำนวนไปที่ใด

ที่มาข้อมูล:มติชนรายวัน 8 พค.2558
...................................................................................................

หมายเหตุ - นักวิชาการด้านกฎหมาย ให้ความเห็นกรณี ป.ป.ช. 

ไม่เสนอถอดถอนคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน 

(สตง.) ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) 

กรณีอนุมัติให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญยุคใหม่ 

ไปศึกษาดูงานที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์

 อิตาลี โดยมิชอบ เนื่องจากคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ได้พ้นจากตำแหน่ง

ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ต้องส่งเรื่องไปยังผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน แตกต่างจากคดีอื่นๆ

เอกชัย ไชยนุวัติ
นักวิชาการด้านกฎหมาย


ต้องบอกว่า ต้องแยกเป็นสองกรณี คือ หนึ่งกระบวนการทางกฎหมาย 

กับกระบวนการทางการเมือง กระบวนการทางการเมืองคือการถอดถอน

ออกจากตำแหน่ง หมายความว่ากฎหมาย ป.ป.ช. และรัฐธรรมนูญปี 2550 

ให้อำนาจกับวุฒิสภาเดิมในการใช้กระบวนการทางการเมือง 

ถอดถอนบุคคลที่มีตำแหน่งออกจากตำแหน่ง 


ข้อเท็จจริงคือ บุคคลนั้นต้องดำรงตำแหน่ง

ถึงจะถอดถอนได้ แต่รัฐธรรมนูญปี 2550 ถูกยกเลิก วุฒิสภาถูกยกเลิก 

และมีการใช้รัฐธรรมนูญปี 2557 และมีการตั้ง สนช.ขึ้นมาแทน 

ผลสุดท้ายคือการอ้างอำนาจ สนช. เทียบเท่าวุฒิสภาเดิม 

และรัฐธรรมนูญเดิม ปี 2550 ในการถอดถอนบุคคลพ้นตำแหน่ง

ไปแล้วออกจากตำแหน่ง เช่น อดีตนายกฯ และอดีตรัฐมนตรี 

และนายมนัส สร้อยพลอย อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ 

ผลก็คือแม้จะไม่มีตำแหน่งแล้ว 

แต่เมื่อถูกถอดถอนจะถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี 

และสุดท้ายคือรัฐธรรมนูญใหม่ ปี 2558 ระบุไม่ให้บุคคลถูกถอดถอนนั้น

ลงสมัครรับเลือกตั้ง หมายความว่า บุคคลนั้นถูกตัดสิทธิทางการเมืองตลอดไป

ป.ป.ช. ไม่ส่งเรื่องคุณหญิงจารุวรรณนั้นถูกต้องแล้วเพราะไม่มีตำแหน่ง

ให้ถอดถอนอีกแล้ว แต่ในเรื่องบุคคลอื่นที่ไม่มีตำแหน่งให้ถอดถอน ป.ป.ช. 

ปฏิบัติแตกต่างกันไป

สำหรับกระบวนการทางกฎหมาย ป.ป.ช. สามารถดำเนินการได้

โดยไม่เกี่ยวกับการถอดถอน ประเด็นสำคัญคือ ป.ป.ช. 

ต้องตอบคำถามให้ได้ว่า การนำเงินราชการไปใช้อย่างไม่ถูกวัตถุประสงค์ 

ทำไมถึงไม่ชี้มูลความผิด ขณะที่กรณีอื่น บุคคลผู้ถูกกล่าวหายังไม่พบหลักฐาน

ว่ามีการทุจริต กลับมีการดำเนินคดี


เอกชัย ไชยนุวัติ-ยอดพล เทพสิทธา-พัฒนะ เรือนใจดี



ยอดพล เทพสิทธา
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


ถ้ามองจริงๆ กรณีคุณหญิงจารุวรรณถือเป็นเรื่องที่ ป.ป.ช. ตัดสินถูกแล้ว คือเป็นกรณีตามหลักว่าพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว เราก็ไม่ดำเนินคดีอะไรเขาแล้ว เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ อาจจะถามว่าสองมาตรฐานไหมก็ชัดเจนอยู่ในตัวแล้ว แทบไม่ต้องพูดอะไรกัน 

เพราะเหตุผลมันคือเหตุผลเดียวกัน 


คือในตอนนั้นมีคนทักท้วงเรื่องของ

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า

นางสาวยิ่งลักษณ์ถูกถอดถอนไปแล้ว และพ้นจากตำแหน่งจาก

เหตุการณ์รัฐประหารไปแล้ว แล้วก็ยุบสภาไปแล้วอีกด้วย 

ถามว่าสองมาตรฐานไหม ก็สองมาตรฐานอยู่แล้ว 


แต่ประเด็นน่าสนใจอีกอย่างคือ ป.ป.ช.เองกำลังเรียกให้นางสาวยิ่งลักษณ์

ชดใช้ความเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าวประมาณห้าแสนล้านบาท 

ถ้าเข้าใจไม่ผิด ก็แปลกอย่างหนึ่งคือกรณีคุณหญิงจารุวรรณ 

ถ้ามองกันจริงๆ คือทำในขณะตัวเองไม่มีตำแหน่ง ก็เหมือนกัน 

กรณีทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างเดียวกัน 


ฉะนั้นคือ ถ้าจะเอามาตรฐานของคุณหญิงจารุวรรณไปใช้ 

ก็ต้องใช้ทุกกรณีด้วย

อย่างนางสาวยิ่งลักษณ์ หรือนายมนัส สร้อยพลอย 

ไม่เหมือนกรณีคุณหญิงจารุวรรณเพราะน่าจะมีชุดความคิดที่แตกต่างกัน 

อย่างของนางสาวยิ่งลักษณ์ อาจจะมองว่าการจำนำข้าว

ทำในขณะเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ แต่ของคุณหญิงจารุวรรณ 

ไม่แน่ใจว่ากรณีคุณหญิงจารุวรรณเอาเงินหลวงไปใช้

เป็นกรณีคุณหญิงจารุวรรณเอาไปใช้ขณะดำรงตำแหน่งอยู่หรือเปล่า 

แม้จะเอาเงินหลวงไปใช้หลังพ้นจากตำแหน่งก็มีความผิดอยู่แล้ว 

เพราะเอาไปใช้โดยไม่มีสิทธิก็มีความผิดอีกอย่างหนึ่ง 

คือไม่ว่าคุณจะพ้นหรือไม่พ้นจากตำแหน่ง แต่การเอาเงินไปใช้โดย

ไม่มีสิทธิ ไม่มีอำนาจใช้ ก็ผิดอยู่แล้ว คนตั้งข้อกังขา

ก็คือเหตุผลที่ ป.ป.ช. ให้คือคุณหญิงจารุวรรณพ้นจากตำแหน่งแล้ว 


เป็นเหตุผลเดียวกับตอนที่ ป.ป.ช. ชงเรื่องของนางสาวยิ่งลักษณ์ว่า

ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง ทั้งที่นางสาวยิ่งลักษณ์พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว 

ไม่เหมือนกัน ไม่รู้ว่าตัวของคุณหญิงจารุวรรณจะเป็นกรณีชงเรื่องเข้าไปใน 

ป.ป.ช. เพื่ออะไร แต่ของนางสาวยิ่งลักษณ์นั้นชงเรื่องเข้าไปใน ป.ป.ช. 

เพื่อส่งต่อให้ สนช. ถอดถอน โดยกรณีของนางสาวยิ่งลักษณ์ไม่ควรจะมี

การถอดถอนแล้ว เพราะตัวพ้นจากตำแหน่งแล้ว แต่ของคุณหญิงจารุวรรณ 

จะต้องมีการดำเนินคดีเกิดขึ้นเพราะไม่ใช่การถอดถอน 

เป็นเรื่องของวินัยราชการ คนละแบบ ของนางสาวยิ่งลักษณ์เป็นคดีการเมือง

แน่นอนอยู่แล้วว่ากรณีนางสาวยิ่งลักษณ์นั้น

เป็นการยื่นเรื่องเพื่อให้เกิดการตัดสิทธิทางการเมือง ถ้ามองง่ายๆ 

ว่าของนางสาวยิ่งลักษณ์เป็นคดีการเมือง เรื่องการถอดถอน 

แต่ของคุณหญิงจารุวรรณนั้นเป็นคดีวินัยของทางราชการ

 และอย่างที่บอกว่าวินัยราชการต่อให้พ้นจากตำแหน่งไปแล้วก็ต้อง

มีความผิดเกิดขึ้นไม่อย่างนั้นคนก็ชิงลาออกกัน 

แต่ขอนางสาวยิ่งลักษณ์เป็นกรณีความผิดทางการเมือง

จะขอให้มีการถอดถอน ฉะนั้นเมื่อลาออกก็จบแค่นั้น 

อย่างคุณหญิงจารุวรรณก็ไม่มีเจตนาจะตัดสิทธิทางการเมืองคุณหญิงอยู่แล้ว

เพราะลักษณะของคดี คุณหญิงจารุวรรณนั้นไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยตรง แต่เป็นกรรมการขององค์กรอิสระ ไม่เหมือนนางสาวยิ่งลักษณ์

เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยตรง

พัฒนะ เรือนใจดี
อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ 

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ต้องดูว่ากฎหมายฉบับนี้ออกมาเพื่อจุดประสงค์ใด การถอดถอน 

ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 

ออกมาเพื่อจุดประสงค์ใด เขาดูสาระสำคัญของการดำรงอยู่ในตำแหน่งหรือไม่ 

ถ้าเขาไม่ได้ดูสาระสำคัญของการดำรงอยู่ในตำแหน่ง 

เขาดูว่าแม้พ้นไปแล้วก็มุ่งจะตัด อันนี้ก็ว่ากันอีกเรื่องหนึ่ง 

ต้องดูเจตนารมณ์ของกฎหมาย กฎหมายของ ป.ป.ช. 

เราต้องดูว่ามีเจตนารมณ์อะไรแล้วค่อยมาขยายความต่อว่า

ดูในขณะดำรงตำแหน่งอยู่หรือพ้นไปแล้ว

ไม่ต้องเอากรณีคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา 

หรือเอากรณี มนัส สร้อยพลอย มาตั้ง 

ดูกันที่ว่าเขาต้องการเล่นงานในขณะที่ดำรงตำแหน่งหรือเล่นงาน

ขณะพ้นจากตำแหน่ง นั่นจะเป็นคำตอบ เรื่องนี้ต้องหาข้อยุติก่อน

 ขึ้นอยู่กับ สนช.ว่าจะว่าอย่างไร เพราะ สนช.ก็ดำเนินการมาหลายเรื่องแล้ว 

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เรื่องนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ 

อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สังคมเขาพูดกันว่า สนช.ไม่ใช่ ส.ว. 

เมื่อ สนช.ไม่ใช่ ส.ว. แล้วทำหน้าที่ตามธรรมนูญ 2557 ได้หรือไม่ เมื่อไม่ใช่ ส.ว.แล้วก็ยังมาทำหน้าที่ในการถอดถอนได้อีก แล้วก็ถอดถอนยิ่งลักษณ์ไปแล้ว คำถามก็คือ ถ้าท่านคิดว่าท่านใช่ ทำไมถึงเป็นสองมาตรฐาน เท่านั้นเอง

มีปัญหาอยู่ 2 จุดที่ตั้งประเด็น จุดแรกคือ ดูเจตนารมณ์ของกฎหมายนี้

ให้ชัดเจนว่ามุ่งในขณะดำรงตำแหน่ง หรือแม้พ้นจากตำแหน่งแล้วก็เล่นงานได้ 

ต้องได้ข้อยุติตรงนี้ก่อน ส่วนความสงสัยของสังคมว่า 

สนช. มีอำนาจหรือไม่นั้น สนช.ได้พิพากษาดำเนินการไปแล้วว่าตนมีอำนาจ 

ตรงนี้ไม่ได้ผ่านกระบวนการในการตรวจสอบของศาลรัฐธรรมนูญเข้ามา

ตรวจสอบเลย สนช.ดำเนินการตีความไปเองเลยว่า ตัวเองคือ ส.ว. 

เพราะปัจจุบันนี้ไม่มี ส.ว. ตัวเองเป็นทั้ง ส.ส.และ ส.ว. 

ทั้งที่กฎหมายในขณะกระทำความผิดนั้นเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญถูกยกเลิก

ไปแล้ว

2 ประเด็นนี้เป็นประเด็นต้องทำให้กระจ่างก่อน 

คือ เรื่องเจตนารมณ์ของกฎหมายและอำนาจของ สนช. 

ส่วนการรับทราบหรือไม่เป็นเรื่องของ ป.ป.ช.ส่งไป สนช. 

สนช.ก็อาจรับทราบและดำเนินการก็ได้ถ้าคิดว่าเรื่องดังกล่าวมีมูล 

และเป็นหน้าที่ของตน สนช.ก็รับทราบและดำเนินการได้ 

แต่ถ้าดูแล้วไม่เกี่ยว สนช.ก็เตะออกไป

ไม่ทราบรายละเอียด ไม่รู้ว่าผิดหรือไม่อย่างไร ความจริงก็เริ่มแบบนี้ดีแล้ว 

แจ้งให้เขาทราบ เพียงแต่ว่าจะต้องไม่เลือกปฏิบัติเท่านั้นเอง 

สิ่งที่สังคมตั้งข้อสังเกตก็คืออย่าเลือกปฏิบัติ แล้วควรจะมีการถ่ายทอดให้

ประชาชนได้รับทราบ มีรายละเอียดให้สังคม 

สังคมจะได้รู้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นความผิดเข้าตามที่กฎหมายระบุไว้หรือไม่

 ที่มาข้อมูล:มติชนรายวัน 11 พ.ค.2558

....................................................................................................







 

Create Date : 08 พฤษภาคม 2558
0 comments
Last Update : 11 พฤษภาคม 2558 20:58:06 น.
Counter : 1471 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com