<<
ตุลาคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
7 ตุลาคม 2558
 

′สาร′ ย้อนแย้ง จาก อาเดม คาราดัก ใน คำ ′สารภาพ′

  ขออนุญาตมติชนรายวันนำเนื้อหานี้ มารวบรวมไว้เพื่อการศึกษา

′สาร′ ย้อนแย้ง จาก อาเดม คาราดัก ใน คำ ′สารภาพ′



การยอมรับ "สารภาพ" ของนายอาเดม คาราดัก ในคดีวางระเบิดศาลท้าวมหาพรหมและท่าเรือตากสิน สาทร อาจทำให้ตำรวจเจ้าของคดีถอนหายใจด้วยความโล่งอก

สามารถ "ปิดคดี" ได้

แต่ภายในคำสารภาพในลักษณะ"ยอมรับ" นั้น เมื่อสำรวจ "สาร"แต่ละสารอัน นายอาเดม คาราดัก สื่อออกมา

ก็มากด้วย "เงื่อนปม" และ"ละเอียด" อ่อน

สาร 1 ซึ่งสำคัญเป็นอย่างมาก คือ สารอันยืนยันว่าเขาเป็น "อุยกูร์"อันมีพื้นฐานมาจากมณฑลซินเจียง ประเทศจีน

สาร 1 ปฏิบัติการครั้งนี้เขา "รับงาน" มาด้วยความเต็มใจ
อาจเป็นเพราะมีข้อแลกเปลี่ยนคือ เขาจะได้รับการช่วยเหลือให้เดินทางจากไทยไปยังมาเลเซียและต่อจากนั้นอาจเป็นตุรกี
ยืนยันด้วยว่า เป็นการทำงานโดยมิได้รับ "ค่าจ้าง"
ลำพังเพียงข้อยืนยันในความเป็น "อุยกูร์" ก็ทรงความหมายเป็นอย่างสูง เพราะเมื่อเอ่ยถึงอุยกูร์ย่อมสัมพันธ์กับจีน ย่อมสัมพันธ์กับเงื่อนงำการส่งอุยกูร์ 109 คนไปยังจีนอันอื้อฉาว
นี่คือภาวะ "ละเอียดอ่อน" ยิ่งในทาง "การเมือง"
นับแต่เกิดระเบิดที่ศาลท้าวมหาพรหม แยกราชประสงค์ และตามมาด้วยระเบิดท่าเรือตากสิน สาทร แม้จะมีความพยายามตัดประเด็นในเรื่องการส่งอุยกูร์ไปยังจีน
แต่ยิ่งสอบสวนสืบสวนก็ยิ่งวนไปโดยรอบ

1 บรรดาผู้ต้องหาส่วนใหญ่ซึ่งออกหมายจับมีเพียง 2 คนเท่านั้นที่ระบุว่าเป็นคนไทย แต่อีก 10 กว่าคนล้วนเป็น "ชาวต่างประเทศ"

และชาวต่างประเทศนั้นล้วนเป็น "แขกขาว"

แม้การบุกจับ นายอาเดม คาราดัก ในเบื้องต้นยังไม่ชี้ชัดลงไปว่าเขามาจากไหนและถือพาสปอร์ตชาติอะไร

แต่ยิ่งสาว ยิ่งเห็นชัดว่ามิได้เป็น "คนไทย"

ขณะเดียวกัน 1 แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะพยายามเน้นครั้งแล้วครั้งเล่าว่าสัมพันธ์กับผลประโยชน์ในเรื่องการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะชนเผ่าอุยกูร์

เมื่อเสียผลประโยชน์ก็ก่อ "ปฏิกิริยา" รุนแรง เกรี้ยวกราด

กระนั้น เมื่อพิจารณารายละเอียดในการเข้ามาของ 2 ชนเผ่าอันอื้อฉาว ได้แก่ โรฮีนจา 
และอุยกูร์ จะประจักษ์ในจุดต่างอย่างมีนัยสำคัญ โรฮีนจา เป็นเรื่องของการหนีออกมาเพื่อแสวงโชค แต่อุยกูร์ เป็นเรื่องของการหนีออกมาเพื่อไปอยู่ในเทศะอันดีกว่า

1 สะท้อนปัญหา "เศรษฐกิจ" 1 สะท้อนปัญหา "การเมือง"

ปัญหาของชาวอุยกูร์จึงมิใช่ขบวนการอพยพอย่างธรรมดา หากแต่เป็นขบวนอพยพอันสะท้อนทั้งปัญหาศาสนาและการเมืองระคนกัน

การบริหารจัดการจึงต้องมากด้วย "ความประณีต"

ถามว่าเหตุใดเมื่อตอนที่รัฐบาลไทยจัดส่งอุยกูร์จำนวน 109 คนคืนกลับให้กับรัฐบาลจีนจึงกลายเป็นปัญหา

ไม่เพียงแต่เป็นปัญหาอันมาจาก "สภาอุยกูร์โลก"

ตรงกันข้าม หน่วยงานสิทธิมนุษยชนอย่างแอมเนสตี้ก็ไม่เห็นด้วย หรือแม้กระทั่งสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติก็ไม่เห็นด้วย

การสารภาพของ นายอาเดม คาราดัก จึงสำคัญ

สำคัญ 1 อาจช่วยให้คดีที่คาราคาซังปิดลงได้ ขณะเดียวกัน สำคัญ 1 เท่ากับเป็นปฏิบัติการที่สร้างความแจ่มชัดในทางการเมือง

เป็นลักษณะ "พลีชีพ" ผ่าน "คำสารภาพ"

ไม่ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะสังหรณ์หรือไม่ก็ตาม แต่คำสารภาพของ นายอาเดม คาราดัก ดำเนินไปเหมือนกับเป็น "คำประกาศ"

เป็นคำประกาศจาก "ชาวอุยกูร์" ว่ากรณีของเขาเป็นเรื่อง "การเมือง"

เป็นการเมืองที่สามารถโยงให้สัมพันธ์กับกรณีการส่งอุยกูร์ 109 คนได้โดยอัตโนมัติ

จากนี้จึงเห็นได้ว่า ปฏิบัติการลอบวางระเบิด ณ ศาลท้าวมหาพรหมน่า เป็นอาชญากรรมอันมีลักษณะทางการเมือง

แม้ทิศทางการสืบสวนสอบสวนของไทยจะนำไปสู่บทสรุปเรื่อง "ผลประโยชน์" อันสัมพันธ์กับขบวนการค้ามนุษย์ แต่ "คำสารภาพ" นายอาเดม คาราดัก กลับกลายเป็นใบเสร็จ "ทางการเมือง"

"คำสารภาพ" จึงดำเนินไปอย่าง "ย้อนแย้ง" พลิกไพล่/จบ
.....................................................................................................

 





 

Create Date : 07 ตุลาคม 2558
0 comments
Last Update : 7 ตุลาคม 2558 11:00:13 น.
Counter : 1153 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com