<<
กุมภาพันธ์ 2559
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
2829 
 
24 กุมภาพันธ์ 2559
 

ฎีกาชาวบ้าน: ภาษีธุรกิจเฉพาะ การขายบ้าน ใครต้องจ่าย?

ฎีกาชาวบ้าน: ภาษีธุรกิจเฉพาะ การขายบ้าน ใครต้องจ่าย?

ขอนำสาระความรู้เรื่องนี้จากมติชนรายวัน มารวบรวมไว้เพื่อการศึกษา

ตามปกติ ค่าธรรมเนียมในการโอนบ้าน หรืออสังหาริมทรัพย์ทั่วไปนั้น ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถตกลงกันได้ว่า ใครเป็นผู้จ่าย หรือจะจ่ายฝ่ายละเท่าใด แต่หากไม่ได้ตกลงกัน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๕๗ กำหนดว่า ค่าฤชาธรรมเนียมทำสัญญาซื้อขายนั้น ผู้ซื้อผู้ขายพึงออกใช้เท่ากันทั้งสองฝ่าย

นอกจากค่าธรรมเนียมในการโอนแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายที่น่าสนใจอีกตัวหนึ่งคือ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งภาษีตัวนี้ เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ.2535 พร้อมกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่น การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตามได้แก่ บ้านจัดสรร ห้องชุด คอนโดมีเนียม รวมถึงบุคคลธรรมดา ที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์มา แล้วถือครองไว้ไม่ครบ 5 ปี หากต้องการจะขายออกไปก็ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะเช่นกัน

ทีนี้มาถึงคำถามว่า ใครมีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ?

ประมวลรัษฎากร มาตรา 91/10 กำหนดไว้ว่า ผู้ขายหรือผู้ประกอบกิจการอสังหาริมทรัพย์เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2540 ตัดสินไว้ ดังนี้

ภาษีธุรกิจเฉพาะ มิใช่ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน แต่เป็นภาษีอากรที่ประมวลรัษฎากรมาตรา 91/2(6) บังคับให้ผู้ประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นผู้เสีย และมิใช่ภาษีหัก ณ ที่จ่าย แต่เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบกิจการ จะต้องไปยื่นชำระภายในวันที่15ของเดือนถัดไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/10

โจทก์เป็นผู้ขายที่ดินให้แก่จำเลย โจทก์จึงเป็นผู้รับผิดชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมโจทก์และจำเลยจะตกลงกันให้ค่าภาษีอากรในการโอนทั้งหมดออกกันคนละครึ่ง ก็จะแปลให้จำเลยต้องชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะครึ่งหนึ่งด้วยไม่ได้

หมายเหตุ : รายการฎีกาชาวบ้าน เป็นรายการกฎหมายใกล้ตัว ออกอากาศ ทาง //www.matichon.co.th โดยมี นายโอภาส เพ็งเจริญ คอลัมนิสต์สัพเพเหระคดี หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน และนางสาวเสาวลักษณ์ สวัสดิ์กว้าน เป็นผู้ดำเนินรายการ

อ้างอิง

ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ.2535 พร้อมกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

กิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ต้องเป็นผู้จ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/2 (6)

กิจการที่จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะได้แก่ การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ในราชอาณาจักร โดยกิจการนั้น ไม่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ

การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 (ใช้บังคับตั้งแต่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป) ดังต่อไปนี้

การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ถือว่าเป็นทางการค้าหรือหากำไรตามพระราชกฤษฎีกาฯ ได้แก่ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ดังต่อไปนี้

(1) การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการจัดสรรที่ดิน
(2) การขายห้องชุดของผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ขอจดทะเบียนอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วย อาคารชุด
(3) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อขาย รวมถึงการขายที่ดินอันเป็นที่ตั้งของ อาคารดังกล่าว
(4) การขายอสังหริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) หรือ (3) เฉพาะกรณีที่มีการแบ่งขาย หรือแบ่งแยกไว้เพื่อขาย โดยได้จัดทำถนนหรือสิ่งสาธารณูปโภคอื่น หรือให้คำสั่นว่าจะจัดให้มีสิ่งดังกล่าว
(5) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการเฉพาะของบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วน ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล องค์การของรัฐบาล สหกรณ์ และองค์กรอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นนิติบุคคล
(6) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) (4) (5) ที่ได้กระทำภายในห้าปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น เว้นแต่
(ก) การขายหรือการถูกเวนคืนตามกฎหมาย ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
(ข) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางมรดก
(ค) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญที่ผู้ขายมีชื่อ อยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีที่นับแต่วันที่ได้มาซึ่ง อสังหาริมทรัพย์นั้น ในกรณีที่ที่ดินและอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตาม (ค) ได้มาไม่พร้อมกัน กำหนดเวลาห้าปีตามความใน (16) ให้ถือตามระยะเวลาการได้มาซึ่งที่ดินหรืออาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มาภายหลัง
(ง) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่มีค่าตอบแทน ให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายของตน แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม
(จ) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ทางมรดกให้แก่ทายาท โดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม
(ฉ) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ส่วนราชการหรือ องค์การของรัฐบาลโดยไม่มีค่าตอบแทน
(ช) การแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์กับส่วนราชการ หรือองค์การของรัฐบาลเฉพาะในกรณีที่ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลนั้นมิได้มีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นอย่าง อื่น นอกจากอสังหาริมทรัพย์ที่แลกเปลี่ยนนั้น

หมายเหตุ ผู้มีเงินได้ที่ได้รับเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์ตาม (6) ซึ่งได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะไว้แล้ว เมื่อถึงกำหนดยื่นรายการเสียภาษีเงินได้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวมาคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 376 พ.ศ.2544)





 

Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2559
0 comments
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2559 21:34:45 น.
Counter : 951 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com