วิธีรักษาอาการนอนกรน
คลินิกนอนกรน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อธิบายเรื่องแนวทางการตรวจรักษาอาการนอนกรน ดังนี้ มีสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ 2 อย่าง ประการแรกคือการหาตำแหน่งของทางเดินหายใจที่แคบที่เป็นปัญหา และประการที่สองคือการประเมินความรุนแรงของอาการนอนกรนว่าเป็นนอนกรนเสียงดังชนิดไม่อันตราย หรือนอนกรนชนิดอันตรายที่มีการหยุดหายใจจากทางเดินหายใจอุดตันขณะนอนหลับ ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ ผู้ป่วยไม่สามารถทราบได้เอง จำเป็นต้องรับการตรวจจากแพทย์เฉพาะทางโดยตรง

ทั้งนี้ แพทย์ที่ให้การดูแลปัญหาเรื่องนอนกรนมี 2 กลุ่ม กลุ่มแรก อาจจะเป็นอายุรแพทย์หรือกุมารแพทย์สาขาโรคระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งจิตแพทย์ที่วชาญด้านการนอนหลับ โดยแพทย์ในกลุ่มนี้มีความชำนาญในการประเมินความรุนแรงของโรคและรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด กลุ่มสอง คือศัลยแพทย์ด้านหู คอ จมูก ที่วชาญเฉพาะโรคนอนกรน มีความสามารถในการตรวจวินิจฉัยหาตำแหน่งทางเดินหายใจที่แคบหรืออุดตัน และให้การรักษาโดยวิธีผ่าตัด

เมื่อไปปรึกษาแพทย์ จะได้รับแบบสอบถามสำหรับบันทึกประวัติที่สำคัญที่แพทย์ต้องการทราบ อาทิ อาการสำคัญที่นำมาพบแพทย์ โรคประจำตัว การใช้ยา ดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ และอาการอื่นๆ ที่มี เพื่อนำมาประเมินความรุนแรงของการนอนกรนอย่างคร่าวๆ ชั่งน้ำหนักและวัดความสูง ตรวจความดันเลือด วัดรอบคอ ตรวจลักษณะโครงสร้างใบหน้า ตรวจจมูก ช่องคอ และตรวจร่างกายอย่างละเอียด จากนั้นแพทย์จะใช้กล้องส่องตรวจขนาดเล็กสอดเข้าไปทางรูจมูก เพื่อตรวจสภาพทางเดินหายใจส่วนบนอย่างละเอียด และส่งตรวจเอกซเรย์ Lateral cephalogram เพื่อหาตำแหน่งอุดตัน และดูรายละเอียดทางเดินหายใจส่วนบน เพื่อ
การรักษาการนอนกร

ถ้าผลการตรวจข้างต้นมีลักษณะผิดปกติที่ทำให้แพทย์วินิจฉัยว่าน่าจะเป็นโรคนอนกรนชนิดอันตราย แพทย์จะแนะนำให้ตรวจการนอนหลับเพื่อให้ทราบว่าเป็นโรคนอนกรนชนิดอันตรายจริงหรือไม่ รุนแรงมากน้อยเท่าใด การหยุดหายใจมีผลกระทบต่อสมองและหัวใจแค่ไหน และสุดท้ายต้องการทดสอบว่าการรักษาจะได้ผลดีหรือไม่

การซักประวัติผู้ป่วยนอกจากจะได้ประวัติการนอนหลับ การตื่นในตอนกลางคืน การมีอาการง่วงนอนมากในตอนกลางวัน การซักถามจากคนใกล้ชิด สามี ภรรยา ญาติ พี่น้อง เพื่อน จะช่วยการวินิจฉัยได้เป็นอย่างมาก ลักษณะความผิดปกติเหล่านี้เกิดในขณะที่ผู้ป่วยหลับ ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวว่าตนมีอาการนอนกรนเสียงดังมาก ไม่รู้สึกถึงการหายใจไม่สม่ำเสมอ หรือเหตุการณ์ต่างๆ เช่น การกระสับกระส่ายอยู่บนเตียง การนอนกรนแล้วเสียงกรนหยุดหายไปชั่วขณะแล้วกลับมาหายใจอีก และกรนเสียงดังอีกเป็นระยะๆ แล้วหยุดหายใจอีก ประวัติเหล่านี้จะบอกเล่าได้โดยผู้ใกล้ชิด

หากแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคนอนกรนชนิดอันตรายแน่นอนแล้ว ในชั้นต้นอาจให้ผู้ป่วยลองใช้การรักษาโดยใช้เครื่อง CPAP ซึ่งเป็นเครื่องช่วยหายใจสำหรับติดที่จมูกสำหรับใส่ตอนนอนเพื่อเป่าลมเข้าไปถ่างไม่ให้ทางเดินหายใจอุดตัน โดยทั่วไปผู้ป่วยที่ใช้เครื่อง CPAP จะรู้สึกไม่สะดวกสบายในช่วงแรก เพราะไม่เคยชิน แต่เมื่อผ่านไปสักไม่กี่วัน จะรู้สึกว่านอนหลับสนิทขึ้น ตื่นเช้ามารู้สึกสดชื่นแจ่มใส อาการง่วงเหงาหาวนอนจะหายไปเป็นปลิดทิ้ง ส่วนผู้รู้สึกว่าไม่สะดวกที่จะใช้เครื่อง CPAP ไปตลอดชีวิต หรือมีปัญหาในการใช้เครื่อง อาจเลือกการรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งปัจจุบัน มีผลการรักษาอยู่ในเกณฑ์ดี




Create Date : 01 เมษายน 2556
Last Update : 1 เมษายน 2556 22:22:16 น.
Counter : 896 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

EZ2DJ
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



~ฉันไม่เคยรักใคร ด้วยหัวใจไม่เต็ม หากยังไม่พร้อม ก็จะไม่ยอมให้ใจ~
เมษายน 2556

 
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30