แหล่งรวมเกร็ดความรู้เรื่องการเงินในทุกมิติของทุกช่วงชีวิต โดยทีมให้คำปรึกษาและวางแผนการเงิน K-Expert
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
7 พฤศจิกายน 2555
 
All Blogs
 
ความต่างของการ “ฝากเงินกับธนาคาร” กับการ “ทำประกัน”

สวัสดีครับ

ผมได้รับอีเมล์จากเพื่อนผู้อ่านหลายคนที่ส่งเข้ามาปรึกษาเรื่องการออมและการลงทุนซึ่งมีหลายคนที่ยังเข้าใจว่าการซื้อประกันก็เหมือนการฝากเงินไว้กับธนาคาร แต่จริงๆแล้วการ “ฝากเงินกับธนาคาร” กับการ “ทำประกัน” นั้นมีความต่างกันอยู่หลายด้านครับ และเพื่อให้เป็นประโยชน์กับเพื่อนผู้อ่านทุกคนวันนี้ผมจึงได้หยิบยกเรื่องนี้มาอธิบายให้ฟังครับ ก่อนอื่นไปดูสรุปง่ายๆ สั้นๆที่ผมสรุปให้ในตารางด้านล่างนี้ก่อนเลย

เงินฝาก

ประกัน

สภาพคล่อง

สูง

ต่ำ

ความคุ้มครองชีวิต

ไม่มี

มี

ลดหย่อนภาษี

ไม่ได้

ได้

ผลตอบแทน

ดอกเบี้ย

ผลประโยชน์+ปันผล

จากตารางเรามาดูรายละเอียดกันครับ

สภาพคล่อง

สำหรับประกันชีวิตเรา(ผู้รับผลประโยชน์)จะได้รับเงินและผลตอบแทนอื่นๆ เมื่อครบอายุกรมธรรม์หรือหากเราเสียชีวิตก่อนครบอายุบริษัทประกันก็จะจ่ายเงินให้ผู้รับประโยชน์ตามจำนวนที่ระบุไว้ในกรมธรรม์แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดนะครับ นอกจากนี้ยังมีในกรณีของการจ่ายเบี้ยไม่ครบงวดซึ่งจะมีผลให้กรมธรรม์สิ้นผลบังคับ จะทำให้เราได้ผลประโยชน์ไม่เต็มจำนวนหรือที่เรียกว่า “เงินเวนคืน”โดยจะได้เฉพาะกรณีที่เราจ่ายเบี้ยไปจนกรมธรรม์มีอายุ 2 ปีขึ้นไปเท่านั้นนะครับ

สำหรับบัญชีเงินฝากเราสามารถฝากหรือถอนเมื่อไรก็ได้ โดยจะไปที่ธนาคารสาขาใกล้บ้าน หรือตู้ ATM ก็ได้และเมื่อปิดบัญชีก็จะได้เงินต้นคงเหลือพร้อมดอกเบี้ยเรียกได้ว่ามีสภาพคล่องสูงครับ

ความคุ้มครองชีวิต

จุดสำคัญของการทำประกันแน่นอนว่าเพื่อซื้อความคุ้มครองให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของตัวเราเองและครอบครัวซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ไม่คาดคิดและทำให้ครอบครัวสามารถรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้อย่างแข็งแกร่งขึ้นครับ

ซึ่งในส่วนนี้จะต่างจากเงินฝากอย่างชัดเจนเพราะเงินฝากธนาคารไม่มีความคุ้มครองด้านสุขภาพหรือทรัพย์สินให้ครับยกเว้นในกรณีของบัญชีฝากบางประเภทของธนาคารบางแห่งที่จะมีความคุ้มครองชีวิตหรืออุบัติเหตุให้แต่ก็จะมีเงื่อนไขที่ผู้ถือบัญชีต้องยอมรับ เช่น การกำหนดเงินคงเหลือขั้นต่ำในบัญชีหรือเป็นการฝากประจำบางประเภท เป็นต้น

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

ค่าเบี้ยกรมธรรม์ที่มีอายุความคุ้มครองตั้งแต่10 ขึ้นไป สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจริง สูงสุด 100,000 บาท นอกจากนี้เงินที่ได้รับคืนเมื่อครบสัญญาและเงินปันผลที่ได้ระหว่างสัญญายังได้รับการยกเว้นภาษีอีกด้วยครับ

สำหรับเงินฝากธนาคารเราไม่สามารถนำเงินฝากมาลดหย่อนภาษีได้อีกทั้งดอกเบี้ยที่ได้รับจากบัญชีเงินฝากก็ยังต้องเสียภาษีอีก 15% หากดอกเบี้ยนั้นมียอดสูงกว่า20,000 บาทต่อปีครับ

ผลตอบแทน

สำหรับผลตอบแทน บัญชีเงินฝากจะให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยซึ่งเราก็จะรู้อัตราดอกเบี้ยที่แน่ชัด และสามารถคาดได้ว่าจะได้ดอกเบี้ยเป็นเงินเท่าไรส่วนการทำประกันนั้น จะได้ผลตอบแทนในรูปแบบของผลประโยชน์ในด้านต่างๆทั้งผลประโยชน์ที่เป็นความคุ้มครองและตัวเงิน ทั้งในรูปแบบของเงินปันผลและเงินก้อนที่คิดจากวงเงินประกัน

การฝากเงอนกับธนาคารและการทำประกันมีจุดเด่นที่ต่างกันตอบโจทน์ความต้องการได้ต่างกัน ซึ่งถ้าถามว่าเลือกแบบไหนดีกว่าก็ต้องบอกว่ามันขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละคน หากเราต้องการสภาพคล่องก็เลือกฝากเงินกับธนาคาร แต่หากต้องการความคุ้มครองและสิทธิทางภาษีก็ให้เลือกซื้อประกัน

ที่กล่าวมาทั้งหมดขอสรุปจุดเด่นของเงินฝากและการทำประกันเป็นใจความสั้นๆ ดังนี้ครับ

ประกันชีวิตมีจุดเด่นคือ “คุ้มครองชีวิต พร้อมรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี”

เงินฝากมีจุดเด่นคือ “สภาพคล่องสูง ฝากถอนได้ทุกวัน”

สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยทุกเรื่องการเงินสามารถส่งอีเมล์มาปรึกษากับทีมผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่ k-expert@kasikornbank.com หรือเข้าไปอ่านสาระดีๆ และใช้เครื่องมือคำนวณออนไลน์เพื่อวางแผนการเงินด้วยตัวเองได้ที่เว็บไซต์ www.askkbank.com/k-expert และหากใครสนใจรับข้อมูลข่าวสารด้านการเงินการลงทุน ก็สามารถ follow@KBank_Expert ได้ เพื่อรับสาระดีๆ จากทีมผู้เชี่ยวชาญได้ทุกวันครับ

Credit: ภาพประกอบจาก kriengsak.com




Create Date : 07 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2555 15:23:58 น. 1 comments
Counter : 2055 Pageviews.

 
ขอบคุณ สาระความรู้ ครับ


โดย: rustred9 วันที่: 7 พฤศจิกายน 2555 เวลา:20:39:16 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Expert Blog
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




เกร็ดความรู้ทางการเงินสำหรับชีวิตประจำวันในทุกมิติของชีวิต
Friends' blogs
[Add Expert Blog's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.