แหล่งรวมเกร็ดความรู้เรื่องการเงินในทุกมิติของทุกช่วงชีวิต โดยทีมให้คำปรึกษาและวางแผนการเงิน K-Expert
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
27 สิงหาคม 2555
 
All Blogs
 
แนวทางการประหยัดภาษีสำหรับวัยเริ่มต้นทำงาน

สวัสดีครับ

วัยเริ่มต้นทำงานมีอายุตั้งแต่20-26 ปี ซึ่งเป็นวัยที่ยังไม่คุ้นเคยกับเรื่องของภาษีเงินได้ส่วนบุคคลและเป็นวัยที่ยังใช้สิทธิ์ลดหย่อนทางภาษีได้ไม่เต็มที่เช่น บางคนยังไม่ได้วางแผนซื้อบ้าน จึงไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนดอกเบี้ยบ้านได้หรือหลายๆ คนยังไม่สนใจลงทุนในกองทุน RMF ซึ่งเป็นกองทุนประหยัดภาษีด้วยความที่ไม่เห็นถึงประโยชน์ในระยะยาว หรือไม่ก็คิดว่าเป็นเรื่องของคนใกล้เกษียณเท่านั้นดังนั้นวันนี้ผมจึงอยากนำเสนอแนวทางการประหยัดภาษีสำหรับวัยเริ่มต้นทำงานครับ

ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่าเงินได้ที่ถึงเกณฑ์เสียภาษีคือตั้งแต่ 150,000 บาทต่อปีขึ้นไปซึ่งเป็นรายได้สุทธิหลังหักค่าลดหย่อนต่างๆ ออกแล้วถึงจะต้องเสียภาษีครับหากมีรายได้สุทธิหลังหักลดหย่อนแล้วต่ำกว่า 150,000 ก็ไม่ต้องเสียภาษีครับส่วนคนที่มีรายได้สุทธิเกิน 150,000 บาทก็มาดูกันครับว่ามีตัวเลือกอะไรที่ช่วยให้ประหยัดภาษีได้บ้างครับ

เบี้ยประกันชีวิต

สำหรับเบี้ยประกันชีวิตสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาทแต่ต้องเป็นประกันที่มีอายุกรมธรรม์ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปเท่านั้นจึงจะสามารภนำมาลดหย่อนภาษีได้ นอกจากนี้วัยเริ่มทำงานเป็นวัยที่เหมาะสมกับการซื้อประกันชีวิตเพราะเป็นวัยที่อายุยังน้อย เบี้ยประกันไม่สูง อีกทั้งยังเป็นการออมเงินเพื่ออนาคตอีกด้วยเพราะโดยทั่วไปแล้ว การจ่ายเบี้ยประกันจะเป็นการจ่ายระยะยาว 10-20 ปี ดังนั้นหากเรายิ่งเริ่มต้นไว ก็จะยิ่งได้เงินคืนเร็วขึ้นนั่นเอง

กองทุนรวมหุ้นระยะยาว(LTF)

LTF เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงแต่ก็ให้ผลตอบแทนที่สูงเช่นกัน ตามคอนเซปท์ High Risk, High Return ซึ่งวัยเริ่มต้นทำงานอายุยังน้อย ความรับผิดชอบทางการเงินยังไม่เยอะจึงเป็นวัยที่รับความเสี่ยงได้มากและ LTF ก็เป็นทางเลือกการลงทุนหนึ่งที่เหมาะกับวัยนี้อีกทั้งยังสามารถนำยอดเงินที่ลงทุนใน LTF มาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน15% ของรายได้ และไม่เกิน 500,000 บาทต่อปีอีกด้วย

ค่าเลี้ยงดูบุพการี

วัยเริ่มต้นทำงานส่วนใหญ่มีพ่อแม่ที่เกษียณอายุแล้วหรือไม่ก็ใกล้เกษียณอายุขอให้จำสิทธิ์ข้อนี้ไว้ว่า เราสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบุพากรีได้สูงสุด60,000 บาท (พ่อ 30,000 และแม่ 30,000) ทั้งนี้ พ่อแม่ต้องมีอายุตั้งแต่ 60 ขึ้นไปและต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี/คนโดยพ่อแม่ต้องออกหนังสือรับรองว่าลูกคนใดคนหนึ่งเป็นผู้เลี้ยงดูไม่สามารถให้สิทธิ์ซ้อนกันได้ แต่พ่อและแม่สามารถให้สิทธิ์ลูกแยกกันได้ เช่นทั้งพ่อและแม่ยกสิทธิ์เลี้ยงดูให้นายสมชายเพียงคนเดียวนายสมชายจะได้สิทธิ์ลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบุพการีสูงสุด 60,000 บาทแต่ถ้าหากพ่อให้สิทธิ์แก่สมชาย ส่วนแม่ให้สิทธิ์แก่สมหญิงสมชายและสมหญิงจะได้สิทธิ์ลดหย่อยค่าเลี้ยงดูบุพการีคนละ 30,000 บาท เป็นต้น

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(ProvidentFund)

โดยปกติแล้ว บริษัทต่างๆมักจะมีสวัสดิการเพื่อการเกษียณให้กับพนักงานโดยผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งเป็นกองทุนที่ลูกจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนได้สูงสุดที่ 15% ของเงินเดือนโดยที่บริษัทก็ต้องจ่ายสมทบในจำนวนที่ไม่น้อยกว่าลูกจ้างซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วก็จะจ่ายกันอยู่ที่ 3-5% และบริษัทก็มักจะจ่ายในอัตราเท่าๆกับลูกจ้าง

หากสามารถเลือกอัตราการจ่ายสมทบได้สำหรับคนที่ไม่มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องก็ขอแนะนำว่าให้เลือกจ่ายในอัตราที่สูงไว้ก่อนเพื่อจะได้รับประโยชน์จากเงินสมทบจากนายจ้าง รวมถึงสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษีอีกด้วยเพราะเราสามารถนำเงินที่จ่ายสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาลดหย่อยภาษีได้สูงสุด 15% ของเงินเดือนและไม่เกิน500,000 บาทต่อปี เมื่อรวมกับ RMF กบข. และประกันบำนาญแล้ว

นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกในการประหยัดภาษีอื่นๆ อีกมากมายที่วัยเริ่มทำงานสามารถเลือกใช้ได้นะครับเช่น เงินบริจาค ประกันสังคม RMF หรือค่าซ่อมแซมบ้าน/รถยนต์ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยเมื่อปีที่แล้วเป็นต้น

ท้ายนี้หากใครมีข้อสงสัยหรือสนใจเกี่ยวกับการวางแผนประหยัดภาษี สามารถส่งอีเมลมาสอบถามผู้เชี่ยวชาญการวางแผนการเงินของK-Expert ได้ฟรี ที่ k-expert@kasikornbank.com หรือเข้าไปที่ www.askkbank.com/k-expert หรือใครที่ชอบรับข่าวสารทาง Twitter ก็สามารถ follow@KBank_Expert ได้ที่ //twitter.com/KBank_Expert ครับ

Credit: ภาพประกอบจาก fisho.com




Create Date : 27 สิงหาคม 2555
Last Update : 27 สิงหาคม 2555 11:53:33 น. 0 comments
Counter : 1591 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Expert Blog
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




เกร็ดความรู้ทางการเงินสำหรับชีวิตประจำวันในทุกมิติของชีวิต
Friends' blogs
[Add Expert Blog's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.