แหล่งรวมเกร็ดความรู้เรื่องการเงินในทุกมิติของทุกช่วงชีวิต โดยทีมให้คำปรึกษาและวางแผนการเงิน K-Expert
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2556
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
8 พฤษภาคม 2556
 
All Blogs
 
สิทธิประโยชน์จากประกันสังคมน่ารู้ เมื่อออกจากงาน

สวัสดีครับ

พนักงานบริษัทหรือที่เรียกกันอย่างคุ้นปากว่า“มนุษย์เงินเดือน” นั้น แน่นอนว่าเป็นกลุ่มคนที่คุ้นเคยกับคำว่า “ประกันสังคม” เป็นอย่างดีอยู่แล้วเพราะเป็นหนึ่งในรายจ่ายสมทบที่เราต้องถูกหักจากเงินเดือน 5% หรือไม่เกิน 750 บาทต่อเดือนซึ่งเป็นการประกันตนโดยบังคับโดยเราจะได้รับสิทธิประโยชน์มากมาย ทั้งในด้านการลดหย่อนภาษีการรักษาพยาบาล รวมถึงค่าชดเชยต่างๆ แต่ความจริงก็คือว่าคนเราส่วนใหญ่มักจะละเลยสิทธิประโยชน์เหล่านี้ ซึ่งเป็นการละเลยที่เกิดจาก “ความไม่รู้”ว่าเราจะได้ประโยชน์อะไรจากสิ่งเหล่านี้บ้าง วันนี้ผมจะมานำเสนอสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมที่เราควรรู้เมื่อลาออกจากงานครับโดยจะนำเสนอเป็น 2 ส่วน ดังนี้ครับ

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน

มีเงื่อนไขในการรับสิทธิ์คือเราจะต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนออกจากงาน โดยต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน30 วันหลังลาออกจากงานและต้องไม่ใช่ผู้มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพจากกองทุนประกันสังคมโดยสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานมีดังนี้ครับ

  • กรณีถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินทดแทนปีละไม่เกิน 180 วันในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง โดยจะคิดจากค่าจ้างตามจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
  • กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง ได้รับเงินทดแทนปีละไม่เกิน 90 วันในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง โดยจะคิดจากค่าจ้างตามจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

โดยปกติแล้วเมื่อเราสมัครเข้าประกันสังคม เราจะกลายเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33แต่เมื่อว่างงานลงและใช้สิทธิ์เงินทดแทน เราจะกลายเป็นผู้ประกันตนตามมาตร 38(ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจ่ายเงินสมทบ) ในช่วงเวลาสูงสุด 6 เดือน (180 วัน)พร้อมได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครอง 4 กรณี ได้แก่ ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยเสียชีวิต ทุพพลภาพ และคลอดบุตรครับ

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับเมื่อสมัครประกันสังคมต่อหลังจากออกจากงาน

หากเราลาออกจากงานแล้วแต่ยังต้องการได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากประกันสังคมต่อไปเราก็สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 ภายใน 6 เดือนหลังสิ้นสุดสภาพการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา33 และต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพลลภาพจากกองทุนประกันสังคมโดยที่เราจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ได้แก่ ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยเสียชีวิต ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และชราภาพ

สำหรับการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมแบบสมัครใจนี้ปกติ เราต้องจ่ายสมทบเข้าในอัตราร้อยละ 9 ของค่าจ้างโดยกำหนดฐานค่าจ้างคงที่อยู่ที่ 4,800 บาทต่อเดือนเท่ากันทุกคน เท่ากับว่าเราต้องส่งเงินสมทบ 4,800 × 9% = 432 บาทและรัฐจะจ่ายเงินสมทบให้อีก 2.5% โดยเงินที่จ่ายสมทบไปนี้ จะแบ่งจ่ายสมทบกรณีเจ็บป่วย/เสียชีวิต/ทุพพลภาพ/คลอดบุตร3% และกรณีสงเคราะห์บุตร/ชราภาพ 6% ซึ่งเราจะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพเมื่อเราอายุครบ55 ปีบริบูรณ์เท่านั้นครับ

อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 2556 นี้ รัฐบาลได้มีนโยบายลดอัตราการเก็บเงินสมทบประกันสังคมลงเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระประชาชนโดยเก็บเงินสมทบในอัตราร้อยละ 4 หรือจ่ายสูงสุดอยู่ที่ 600บาทต่อเดือน และการสมัครประกันสังคมเองโดยสมัครใจ ก็จ่ายลดลงเหลือร้อยละ7 หรือจ่ายอยู่ที่ 336 บาทต่อเดือนตลอดปี 2556 นี้ครับ

และนี่ก็เป็นรายละเอียดสิทธิประโยชน์ที่เราควรรู้เมื่อลาออกจากงานนะครับในเมื่อเราจ่ายเงินสมทบโดยบังคับแล้ว เราก็ควรจะศึกษาสิทธิประโยชน์ต่างๆและใช้อย่างเหมาะสมคุ้มค่านะครับ

ท้ายนี้หากใครมีมีคำถามเรื่องการเงิน สามารถปรึกษา K-Expert ได้ตามช่องทางต่อไปนี้ครับ

Email ปรึกษาทุกเรื่องการเงินอย่างเป็นส่วนตัว: k-expert@kasikornbank.com

Website รวมบทความและเครื่องมือคำนวณทางการเงิน: www.askkbank.com/k-expert

Twitter @KBank_Expert: //twitter.com/KBank_Expert





Create Date : 08 พฤษภาคม 2556
Last Update : 8 พฤษภาคม 2556 12:09:58 น. 1 comments
Counter : 2383 Pageviews.

 
ประกันสังคมมีประโยชน์มากครับ


โดย: บัณฑิต IP: 49.230.103.171 วันที่: 25 สิงหาคม 2557 เวลา:19:36:34 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Expert Blog
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




เกร็ดความรู้ทางการเงินสำหรับชีวิตประจำวันในทุกมิติของชีวิต
Friends' blogs
[Add Expert Blog's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.