พุทธธรรมที่อาจบิดเบือนไป ใน"Cloud Atlas"

                               

  เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้มีโอกาสได้ดูหนังเรื่องหนึ่งครับ ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่งในหนังที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งในปีนี้ แม้ว่าจะเป็นหนังที่ไม่ได้ทำรายได้มากมาย แต่ก็ถือว่าคนทำหนังเรื่องนี้มีจุดยืนที่ชัดเจน ที่จะนำเสนอภาพยนต์ในรูปแบบใหม่ๆ ไม่ซ้ำเดิม ไม่ตามกระแส และให้แง่คิดอย่างมาก โดยเฉพาะหนังเรื่องนี้ได้อธิบายถึงแนวคิดของพระพุทธศาสนาออกมาได้อย่างแนบเนียน จนได้รับคำชมจากชาวพุทธบ้านเรามากมาย(แต่ฝรั่งดูแล้วอาจจะงงนิดหน่อย หรือบางคนก็อาจจะเกิดความคิดโต้แย้งน่ะครับ) เนื้อเรื่องย่อๆมีอยู่ว่า 

   Cloud Atlas สร้างขึ้นจากนิยายเบสท์เซลเลอร์โดย เดวิด มิทเชล Cloud Atlas ได้สำรวจถึงการที่การกระทำและผลแห่งการกระทำของปัจเจกบุคคลส่งผลต่ออีกหนึ่งชีวิตทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต แอ็คชั่น ปริศนาและความรักได้ร้อยเรียงกันอย่างน่าสนใจในเรื่องราวนี้ เมื่อชีวิตหนึ่งได้ถูกหล่อหลอมจากฆาตกรกลายเป็นวีรบุรุษ และความเมตตาเพียงครั้งด้วยได้ส่งผลไปอีกหลายร้อยปีข้างหน้า กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการปฏิวัติขึ้นในอนาคตไกลโพ้น

  แน่นอนครับว่า หนังต้องการจะสื่อถึงหลัก อิทัปปัจจยตาและปฏิจจสมุปบาท (หลักนี้แปลสั้นๆได้ว่า สรรพสิ่งทั้งปวงย่อมมีความเกี่ยวเนื่องและอิงอาศัยกันเกิดขึ้น) นั่นเองครับ

ผมขอยกเอาบทสนทนาในหนังมาบทหนึ่งนะครับ                        

                      

 

                                                             ชีวิตของเรา หาใช่เป็นของเรา
                                             เราล้วนผูกสัมพันธ์ไว้กับผู้คนนับไม่ถ้วน
                                                     ตราบอดีตจวบปัจจุบัน
                                              ทุกความชั่วช้า และทุกความดีงาม
                                            เราเป็นผู้ให้กำเนิด...อนาคตของเราเอง

 
                                                   Our lives are not our own. 
                                                     We are bound to others. 
                                                         Past and present. 
                                           And by each crime; and every kindness 
                                                        we birth our future.
 
 แต่สิ่งที่ผมเองอดหวั่นใจไม่ได้ ก็คือ ใจความหลักและแง่คิดของหนังนี้ อาจถูกบิดเบือนไปในสายตาของผู้ชมบางท่าน(โดยเฉพาะชาวพุทธเรานี่ล่ะครับ) หรือแม้แต่ชาวต่างชาติที่อาจจะยังมีพื้นฐานทางพุทธศาสนาไม่มากนักนั่นก็คือการไปยึดว่า หลักการเวียนว่าย ตายเกิด และกฏแห่งกรรม นั้นคือแก่นของศาสนาพุทธ ซึ่งจริงๆแล้วแนวคิดเหล่านี้ยังไม่เรียกว่าเป็นแก่นพุทธศาสตร์นะครับ ผมขอยกเอาบทความของท่านพุทธทาสภิกขุที่ท่านเขียนไว้ในหนังสือ"ตัวกู ของกู" นะครับว่า
เรื่องกรรม
ที่ว่าทำดี-ได้ดี ทำชั่ว-ได้ชั่วและ บุคคลผู้ทำ เป็นผู้ได้รับ ผลแห่งกรรม นั้น นี่เป็นหลักที่มีมาก่อนพุทธกาล และมีกันทั่วไป ในทุกศาสนาใหญ่ๆ ฉะนั้น การที่จะถือเอาว่า หลักเรื่องกรรม เพียงเท่านี้ เป็นหลักของพุทธศาสนานั้น จึงเป็นเรื่องที่ยังไม่ถูกต้องนักครับ ทั้งนี้เพราะ ความจริงมีอยู่ว่า พุทธศาสนา แสดงเรื่องกรรม มากไปกว่านั้น คือ กรรมที่3 ที่มุ่งการฝึกตนให้บรรลุ มรรคผลนิพพาน  เพราะ พระพุทธศาสนา มีความมุ่งหมาย ที่จะช่วยมนุษย์ ให้อยู่เหนือความที่จะต้องเป็นไปตามกรรม ฉะนั้น มันจึงไม่ใช่ลัทธิ ทำดีได้ดี ทำชั่ว-ได้ชั่ว ทำบุญไปสวรรค์ ทำบาปไปนรก
เรื่องการเวียนว่ายตายเกิดทางร่างกาย
กล่าวได้ว่า ไม่ใช่หลักของพุทธศาสนา สัตว์หรือคน ก็ตาม ตายแล้วเกิดใหม่ เรื่อยไป แทบจะไม่มีที่สิ้นสุด คือมีตัวตน หรือวิญญาณที่ถาวร ซึ่งเวียนว่ายตายเกิด เรื่อยไปในวัฏฏสงสารจะมีจุดจบต่างๆ กันตามแต่ลัทธินั้นๆ จะบัญญัติไว้อย่างไร เพราะพระพุทธเจ้า ท่านมุ่งเน้นการปฏิบัติเพื่อสลายความมีตัว มีตนนั่นเองครับ ดังนั้นการที่มายืนยันว่า พุทธศาสนา มีหลักเรื่องการตายแล้วเกิดใหม่ ในทำนองความเชื่อแห่งยุคศาสนาพราหมณ์โบราณ ย่อมเป็นเป็นความไม่ยุติธรรมต่อพุทธศาสนา                                                  
                     

 

Cloud Atlas เป็นหนึ่งในหนังที่ผมคิดว่า พวกเราชาวพุทธ หรือผู้ที่สนใจในพุทธศาสนาควรติดตามชมครับ แต่หลังชมภาพยนตร์จบแล้วก็ควรพิจารณาและศึกษาต่อด้วยครับว่า แท้จริงแล้วหนังต้องการจะให้แง่คิดกับเราในด้านใด โดยเราควรเปิดใจให้กว้างขึ้น ไม่โน้มเอียงไปกับประสบการณ์หรือความเชื่อเดิมๆที่เรามี(เหมือนเทน้ำชาที่แทบจะล้นถ้วยออกบ้างน่ะครับ) แล้วจะพบว่าหนังเรื่องนี้มีคุณค่าและให้แง่คิดที่ดีจริงๆครับ SmileySmiley

 




Create Date : 06 ธันวาคม 2555
Last Update : 6 ธันวาคม 2555 22:31:30 น.
Counter : 2453 Pageviews.

14 comments
  
เข้าใจผิดแล้วครับ
หลักเวียนว่ายตายเกิด เป็นพุทธแท้ๆ ล้วนๆ
พุทธทาสต่างหากครับ ที่สอนไม่ตรงหลักพุทธะ
เพราะท่านเป็นอุจเฉททิฏฐิ คือสุดโต่งไปด้านตายแล้วสูญ
โดย: cantona_z (cantona_z ) วันที่: 6 ธันวาคม 2555 เวลา:3:03:49 น.
  
อรุณสวัสดิ์ครับคุณหมอ


เดี๋ยวคงต้องไปหาแผ่นหนังเรื่องนี้มาดูบ้างแล้วล่ะครับ






โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 ธันวาคม 2555 เวลา:6:33:08 น.
  
ขอบคุณความเห็นของคุณcantonaครับ สำหรับผมไม่อาจจะบอกได้ครับว่า ใครผิดหรือใครถูก เพียงแต่คิดทบทวน ด้วยตัวเองแล้ว คิดว่าการเวียนว่ายตายเกิดนั้นคงมีอยู่จริง(ท่านอาจารย์พุทธทาสก็ว่ามีอยู่จริง) แต่พระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้ไปให้ความสำคัญแก่หลักนี้ คำสอนของศาสนาพุทธก็คือ มุ่งเน้นให้ปฏิบัติแล้วหลุดออกจากวัฏสงสาร ที่นำมาซึ่งการเกิดทุกข์ทั้งปวง ฉะนั้นแก่นพุทธศาสน์ คือ ทำเช่นไรให้พ้นจากกิเลส กองทุกข์ ไม่ใช่สอนให้ทำเช่นไร เพื่อให้เราเกิดใหม่ชาติหน้าแล้วอยู่ในฐานะใดๆก็ตามที่ไม่ลำบาก เป็นต้น ครับ
โดย: หมอหว่อง (หมอหว่อง ) วันที่: 6 ธันวาคม 2555 เวลา:6:33:21 น.
  
พีี่ก๋า อาจจะต้องดูเรื่องนี้คนเดียวนะครับ เพราะหมิง หมิงดูด้วย
อาจจะยิงคำถามจนจบเรื่องได้เลยครับ แหะๆ
โดย: หมอหว่อง (หมอหว่อง ) วันที่: 6 ธันวาคม 2555 เวลา:6:38:41 น.
  
หนังแนวนี้ไม่ได้ดูกับลูกและเมียเลยครับ 555
ชอบดูคนเดียวครับ ใส่หูฟังแล้วก็จากคอมเอาครับ

นี่พี่ก๋าเพิ่งอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง
เกี่ยวกับการดูแลคนไข้และผู้ป่วยหนักระยะสุดท้ายจบไปครับ

ชื่อ ความตายและภาวะใกล้ตาย
เป็นหนังสือแปลที่เก่ามาก

ไม่น่าเชื่อนะครับ
ว่าตอนนี้แนวความคิดในเรื่องนี้
จะกลับมาเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันแล้ว


โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 ธันวาคม 2555 เวลา:8:29:31 น.
  
จริงครับพี่ก๋า ผู้ที่ทำด้านนี้มากๆก็เห็นจะเป็นพระอาจารย์ไพศาล วิสาโลล่ะครับ หลักการของท่านก็เข้าใจง่ายดี
แต่ยังไงผมว่าผู้ที่ใกล้ชิดกับพวกเค้าเหล่านี้จริงๆก็ยัง เห็นความสำคัญน้อย โดยมุ่งเน้นแต่การรักษาทางกาย เป็นกำลังใจให้พี่ทำหนังสือออกมาเร็วๆนะครับ คงช่วยเยียวยาคนไข้ได้อีกมาก
โดย: หมอหว่อง (หมอหว่อง ) วันที่: 6 ธันวาคม 2555 เวลา:22:46:16 น.
  
อรุณสวัสดิ์ครับคุณหมอ


ผมไม่มีความชำนาญและความเชี่ยวชาญ
ในการพูดคุยกับผู้ป่วยระยะสุดท้ายเลยครับ

ในเมืองไทยคงมีพระไพศาล
และก็พยาบาลคุณกานดาวศรีนะครับ
ที่ทำงานด้านนี้อย่างจริงจังเลย

ในส่วน รพ. คงไม่ค่อยให้ความสำคัญด้านการเยียวยาจิตใจเท่าใดนัก
เพระาบุคคลากรยังขาดแคลน
และการดูแลจิตใจเช่นนี้ ใช้เวลามกาจริงๆ

งานใน รพ. รัฐนี่เห็นแล้วสงสารทั้งหมอและคนไข้ครับ
คนมากมายมหาศาลในแต่ละวัน
แค่หมอตวรจ รักษา จ่ายยา ก็หมดวันแล้ว
โอกาจะได้คุยกับคนไข้ดีดี ยากมากจริงๆนะครับคณหมอ






โดย: กะว่าก๋า วันที่: 7 ธันวาคม 2555 เวลา:6:28:01 น.
  
ประเด็นนี้ก็น่าเป็นห่วงอย่างคุณหมอว่า
อาจไปเชื่อตามหนังก็ได้
เอ้น่าจะมีงานวิจัยเรื่องนี้ก็ดีครับ

โดย: moresaw วันที่: 7 ธันวาคม 2555 เวลา:23:30:02 น.
  
อรุณสวัสดิ์ครับคุณหมอหว่อง





โดย: กะว่าก๋า วันที่: 8 ธันวาคม 2555 เวลา:6:28:00 น.
  
อรุณสวัสดิ์ครับคุณหมอ






โดย: กะว่าก๋า วันที่: 9 ธันวาคม 2555 เวลา:6:23:13 น.
  
โดยส่วนตัวไม่มีความรู้ด้านพระพุทธศาสนาลึกซึ้งมากคะ แต่จากประเด็นข้างต้นขอแสดงความคิดเห็นส่วนตัวว่า

หลักการเวียนว่าย ตายเกิด และกฏแห่งกรรม เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่ช่วยเตือนสติให้เราตระหนักรู้ได้ว่า ไม่มีตัวกู ของกู จงอย่ายึดติดให้ชีวิตต้องทุกข์และวนเวียนอยู่ในวัฎจักรเหล่านี้

แต่หากเรากลับใช้หลักการดังกล่าวมาใช้เป็นแนวทางในการผลักดันให้ทำดี เพื่อชีวิตที่ดีในภายภาคหน้า ก็จะทำให้เราติดอยู่ในกับดักแห่งการเวียนว่ายตายเกิด ไม่จบไม่สิ้น

โดยส่วนตัวคิดว่า อะไรถูกจริตเรา ทำให้เรารู้สึกสงบ โดยไม่เบียดเบียนใคร ก็เป็นสิ่งที่ควรจะเลือกทำ ยึดถือ และปฏิบัติตาม ส่วนจุดหมายปลายทางจะจบลงที่ใด หากจุดนั้น เรามีความสุข เราก็จะพบคำตอบคะ

อาจจะเป็นเพราะ โลกนี้มีความจริงหลายชุด และมันอยู่ที่ว่าเราเลือกที่จะเชื่อความจริงชุดไหน

โดย: เมฆกับฟ้า วันที่: 9 ธันวาคม 2555 เวลา:14:14:17 น.
  
ขอบคุณและเห็นด้วยมากครับ
โดย: หมอหว่อง (หมอหว่อง ) วันที่: 9 ธันวาคม 2555 เวลา:21:55:30 น.
  
ขอบคุณครับคุณหมอ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 10 ธันวาคม 2555 เวลา:8:29:56 น.
  
อรุณสวัสดิ์ครับคุณหมอ





โดย: กะว่าก๋า วันที่: 11 ธันวาคม 2555 เวลา:6:44:28 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหว่อง
Location :
เชียงใหม่  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 26 คน [?]



ธันวาคม 2555

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31