Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
27 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 

Assessing the Constitution of Islamic States

//news.thaieasyjob.com/crime/show_news-8902-4.htmlประเทศที่ประกาศอย่างเป็นทางการไว้ในรัฐธรรมนูญว่า มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ มีจำนวน 30 ประเทศ เช่น รัฐอิสลามอัฟกานิสถาน สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน สาธารณรัฐอิสลามมอริเตเนีย สหพันธ์สาธารณรัฐอิสลามคอโมโรส ซาอุดีอาระเบีย โซมาเลีย ตูนิเซีย โมร็อกโก แอลจีเรีย ลิเบีย อียิปต์ จอร์แดน คูเวต บาห์เรน มัลดีฟส์ บังกลาเทศ บรูไน มาเลเซีย อิรัก โอมาน กาตาร์ อิสราเอล สาธารณรัฐประชาธิปไตยชาห์ราวีอาหรับ สาธารณรัฐโซมาลีแลนด์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักรเยเมน โมนาโก แอนดอร์รา นอร์เวย์ มอลตา เอธิโอเปีย ยูเครน ฮังการี

โดยในรัฐธรรมนูญของ ประเทศมาเลเซีย บัญญัติว่า "อิสลามเป็นศาสนาแห่งสหพันธรัฐมาเลเซีย แต่ก็อาจปฏิบัติศาสนาอื่นได้ด้วยสันติและสามัคคีในทุกส่วนของสหพันธรัฐ"

รัฐธรรมนูญของ ประเทศอัฟกานิสถาน บัญญัติว่า "ศาสนาอิสลามที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นศาสนาแห่งอัฟกานิสถาน ในสาธารณรัฐอัฟกานิสถานจะไม่มีกฎหมายใดขัดแย้งกับหลักการของศาสนาอิสลามที่ศักดิ์สิทธิ์"
รัฐอิสลาม - ปัญหาคาใจ โดย มุสตาฟา อาลี

เรื่องรัฐธรรมนูญ, ศาสนา
และความเป็นชาติที่เพิ่งถกเถียงกันไปสดๆร้อนๆในบ้านเรานั้นไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง โดยเฉพาะประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม

เรื่องนี้เมื่อถูกจุดประเด็นเมื่อไหร่ ก็เป็นเรื่องใหญ่เมื่อนั้น ซึ่งไม่แปลกแต่อย่างไรเพราะเรื่องของ 'ชาติ'กับ 'ศาสนา' นั้นนับเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่และอ่อนไหวอย่างยิ่งในสังคมมนุษย์ ยิ่งเมื่อเอาสองเรื่องนี้มารวมกันแล้ว ความอ่อนไหวก็ยิ่งเพิ่มเป็นหลายเท่าทวีคูณ

อินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลกนั้น ระบุไว้อย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นหลังการประกาศเอกราชจากดัชท์ว่า ตนเองเป็นรัฐที่มีระบบการปกครองที่ไม่ถูกกำหนดโดยหลักการทางศาสนา อีกนัยหนึ่งคือเป็นรัฐแบบ secular state

หลังจากนั้นไม่นาน เรื่องนี้ก็นำไปสู่ชนวนสงครามกลางเมืองโดยกลุ่มที่มีชื่อว่า 'Darul Islam'นำโดยผู้นำทางศาสนา ก่อตั้งขบวนการเรียกร้องให้เปลี่ยนประเทศเป็นรัฐอิสลาม กว่าสงครามจะเลิกก็บาดเจ็บล้มตายกันจำนวนมาก กลุ่ม Darul Islam พ่ายแพ้ไปในที่สุด

ในมาเลเซียประเด็นอ่อนไหวนี้ถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งในรัฐสภาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เมื่อนาย ลิม กิต เสียง หัวหน้าพรรค DAP ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านของชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน ตั้งคำถามสำคัญต่อ 'ป๊ะลาห์' หรือนายกฯ อับดุลลาห์ บาดาวี ขึ้นมาคำถามหนึ่ง

นาย ลิม กิต เสียง เป็นนักการเมืองรุ่นเฮวี่เวท ซึ่งครองตำแหน่งหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านมานานพอๆกับที่อดีตนายกรัฐมนตรีมหาเธร์เป็นหัวหน้าพรรครัฐบาล แล้วตอนนี้ก็ขยับเป็นนานกว่าเพราะมหาธีร์เป็นฝ่ายโบกมืออำลาไปก่อน ความอยู่ยงคงกระพันในฐานะผู้นำพรรคฝ่ายค้านในสังคมการเมืองที่มีแต่ฝ่ายรัฐบาลเท่านั้นที่อยู่รอดเป็นเครื่องพิสูจน์อยู่ในตัวว่านายลิม กิต เสียง ผู้นี้เก๋าเพียงใด

ลิม กิต เสียง เขียนคำถามอย่างเป็นทางการยื่นให้ ป๊ะลาห์ ในรัฐสภาว่า ประเทศมาเลเซียนั้นเป็นรัฐอิสลาม (Islamic state) หรือไม่

นับว่า ลิม กิต เสียง ได้ตั้งคำถามที่คาใจคนจำนวนมากขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ความคาใจนี้เกิดจากปัจจัยหลายอย่างรวมกัน เริ่มจากสัดส่วนของประชากรเชื้อสายต่างๆที่นับถือศาสนาต่างๆของมาเลเซียที่นับเป็นสัดส่วนที่ยากต่อการปกครอง

นั่นก็คือในบรรดาประชากรราว 25 ล้านคนของมาเลเซียนั้น แบ่งคร่าวๆเป็นชาวมลายูนับถือศาสนาอิสลามราวๆ 60 เปอร์เซนต์ ชาวจีน 27 เปอร์เซนต์ ชาวอินเดียอีก 7 เปอร์เซนต์ ที่เหลือเป็นประชาชนเชื้อสายต่างๆคละเคล้ากันไป ศาสนาอื่นๆที่นับถือกันอยู่ตามเชื้อชาติคือพุทธ คริสต์ และฮินดู

จะเห็นได้ว่าถึงแม้ชาวมาเลเซียเชื้อสายมลายูนับถือศาสนาอิสลามนั้นจะเป็นชนส่วนใหญ่ แต่สัดส่วนของประชากรที่ไม่นับถือศาสนาอิสลามนั้นก็มีอยู่ไม่น้อย ต้องอาศัยรัฐบาลที่เป็นธรรมและระมัดระวังอย่างแท้จริงจึงจะแบ่งปันผลประโยชน์ให้คนกลุ่มต่างๆอย่างทั่วถึงได้

แต่ชนกลุ่มน้อยต่างๆรู้สึกว่าความเป็นธรรมแบบนี้ยังไม่เกิดในมาเลเซีย จึงนำไปสู่ความคาใจเรื่องใหญ่ นั่นก็คือความไม่เท่าเทียมของการดูแลของรัฐต่อพวกเขา

ในมาเลเซียนั้น เรื่องชาติพันธุ์มลายูกับศาสนาอิสลามนั้นถือเป็นเรื่องที่แยกกันไม่ออก ประชาชนที่อยู่ใกลุ่มนี้เรียกว่าเป็นกลุ่ม 'ภูมิบุตร' หรือบุตรของแผ่นดิน ซึ่งได้รับสิทธิพิเศษทางเศรษฐกิจและการศึกษาจากรัฐบาลมากกว่าประชากรกลุ่มอื่นๆอย่างเห็นได้ชัด ถือเป็นประเด็นทางการเมืองที่อ่อนไหวอย่างยิ่งของมาเลเซีย

ประเด็นเรื่องรัฐอิสลามจึงถูกมองโดยชาวมาเลเซียผู้นับถือศาสนาอื่นว่าเป็นช่องทางการขยายอิทธิพลของกลุ่มภูมิบุตรที่มีมากอยู่แล้วให้มากขึ้นโดยส่วนหนึ่งผ่านการใช้เอากฎหมายอิสลามแบบเข้มข้น

ปัจจุบันนี้ กฎหมายแพ่งและอาญาตามระบบอังกฤษ ถือเป็นกฎหมายหลักของประเทศ ในขณะที่กฎหมายอิสลามได้ถูกนำมาใช้ในกิจการเรื่องครอบครัวของชาวมุสลิมโดยเฉพาะ

เมื่อพรรคพาส (PAS) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน รณรงค์เรื่องให้มาเลเซียเป็นรัฐอิสลามและใช้กฎหมายอิสลามในกิจการอื่นๆของชาวมุสลิมเช่นเรื่องทางอาญาด้วยนั้น พาสเสียเสียงสนับสนุนประชาชนที่ไม่นับถือศาสนาอิสลามอย่างมาก เพราะคนเหล่านี้ไม่แน่ใจต่อผลกระทบที่อาจจะมีต่อตนเองในอนาคต แม้ว่า พาสจะยืนยันว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของชาวมุสลิมเพียงกลุ่มเดียว

พรรคอัมโน (UMNO) ของป๊ะลาห์ซึ่งถือว่าพาสเป็นคู่แข่งในเรื่องเสียงของชาวมลายูนั้น ไม่เคยฟันธงในเรื่องรัฐอิสลาม เพราะในขณะที่อัมโนต้องรักษาฐานเสียงของชาวมุสลิมด้วยการทำให้คนเหล่านั้นเชื่อว่ารัฐบาลนี้เป็นตัวแทนของตน อัมโนจะต้องไม่ทำการอันใดที่จะทำให้ตัวเองเสียเสียงสนับสนุนของชาวจีนและอินเดียด้วย

เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา รองนายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัค คู่แข่งคนสำคัญของป๊ะลาห์ที่จ่อคิวรอตำแหน่งหัวหน้าพรรคอัมโนและตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป กล่าวในการประชุมแห่งหนึ่งว่า มาเลเซียนั้นเป็นรัฐอิสลาม ไม่มีใครรู้ว่านายนาจิบกล่าวเช่นนั้นอย่างตั้งใจหรือไม่ แต่ใครต่อใครก็พากันหันมาหาป๊ะลาห์เพื่อขอ 'คอมเม้นท์'

เสือเฒ่าลิม กิต เสียง เห็นดังนั้นจึงไม่รอช้า รีบถามตัวนายกฯทันทีว่า ที่นาจิบ ราซัค เขาว่านั้น ใช่หรือไม่อย่างไร

เรื่องนี้คนอย่างลิม กิต เสียง รู้ดีว่าไม่ว่าป๊ะลาห์จะตอบอย่างไรก็มีแต่เสียกับเสีย ดีไม่ดีคำตอบของเขายังจะขยายความขัดแย้งที่มีกับนายนาจิบยิ่งขึ้น

ป๊ะลาห์ตอบนายลิม กิต เสียงด้วยการเขียนอย่างเป็นทางการเป็นภาษามลายู ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในรัฐสภา คำตอบของเขาสรุปได้ว่า ประเทศมาเลเซียนั้นเป็น 'เนการา อิสลาม'(Negara Islam) แต่ไม่ใช่ประเทศที่ปกครองตามความเชื่อทางศาสนา

ปัญหามีอยู่ว่า ในภาษามลายูตามที่เข้าใจกันในประเทศมาเลเซียนั้น คำว่า เนการา แปลได้ทั้งสองความหมาย นั่นก็คือ 'ประเทศ'(country) และ 'รัฐ'(state)

ถ้าป๊ะลาห์อยากจะพูดว่ามาเลเซียเป็นประเทศอิสลาม (Islamic country) ความลึกซึ้งก็มีไม่มาก เพราะเป็นการอธิบายแบบกลางๆไม่เฉพาะเจาะจง แต่ถ้าเขาหมายความว่ารัฐอิสลาม (Islamic state) ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายเฉพาะ ก็นับเป็นเรื่องใหญ่ เพราะแปลว่าป๊ะลาห์มองเห็นทิศทางของมาเลเซียว่าพร้อมที่จะเป็นอย่างอิหร่านซึ่งปกครองโดยระบบกฎหมายอิสลาม และมีผู้นำทางศาสนาที่มีบทบาทสูงทางการมือง

พูดง่ายๆว่า ป๊ะลาห์ตอบนายลิม กิต เสียง แบบมีลีลาให้ตีความได้หลายแบบตามความพอใจของคนฟัง เพื่อเลี่ยงการจุดไฟความไม่พอใจในหมู่ประชาชน

จะว่าไปแล้ว แม้กระทั่งในรัฐธรรมนูญของมาเลเซียเองก็มีช่องให้ตีความเช่นเดียวกัน โดยขณะที่รัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาหลักของมาเลเซีย แต่ไม่ได้บอกชัดเจนว่ามาเลเซียเป็นรัฐอิสลาม

สรุปแล้วเรื่องนี้ก็ยังคงต้องตีความกันต่อไป คำถามแบบ ลิม กิต เสียง ก็คงโผล่มาให้เห็นเป็นครั้งคราว ป๊ะลาห์เองก็คงจะต้องใช้วิชากำลังภายในพลิ้วตัวหลบไปเรื่อยๆตราบเท่าที่ยังคงอยู่ในตำแหน่ง

สำหรับ ลิม กิต เสียงนั้น คงรู้อยู่แล้วตั้งแต่ต้นว่าคำตอบที่ได้คงไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน แต่คนอย่างเขารู้ดีว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องสำคัญ สิ่งที่สำคัญจริงๆก็คือโอกาสได้ต้อนนายกรัฐมนตรีให้เหงื่อตกเล่น พร้อมๆกับสะท้อนความไม่พอใจของชนกลุ่มน้อยของประเทศไปด้วย

รัฐธรรมนูญใหม่อัฟกานิสถาน ตั้ง'รัฐอิสลาม'-ชู'สิทธิสตรี'
6 มกราคม 2547 กองบรรณาธิการ

ถึงแม้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของอัฟกานิสถานจะมีเนื้อหาเป็นประชาธิปไตย แต่ก็ยังไม่อาจลบล้างความแตกแยกระหว่างชนต่างเชื้อชาติได้

สมัชชาตัวแทนชาวอัฟกันได้ตกลงผ่านร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันอาทิตย์หลังอภิปรายโต้แย้งกันดุเดือดมา 3 สัปดาห์ รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นชัยชนะของประธานาธิบดี ฮามิด การ์ไซ ที่ได้ผลักดันให้ใช้ ระบบประธานาธิบดี จนสำเร็จ ซึ่งการเลือกตั้งประธานาธิบดีจะมีขึ้นในเดือนมิถุนายน
ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ อัฟกานิสถานจะเป็น "สาธารณรัฐอิสลาม" มีประธานาธิบดีปกครองร่วมกับสภาซึ่งจะมีสองสภา คือสภาประชาชนกับสภาผู้อาวุโส มีรองประธานาธิบดี 2 คนซึ่งผู้สมัครประธานาธิบดีเป็นคนเสนอตั้งแต่ตอนจะเลือกตั้ง
จุดเด่นของรัฐธรรมนูญมี 2 เรื่อง คือ รับรองสิทธิสตรีว่ามีความเท่าเทียมกับบุรุษ และมีการกันที่นั่งราว 1 ใน 5 ของสภาประชาชนไว้สำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ และมีการยอมรับให้แต่ละถิ่นมีภาษาของชนชาติเป็นภาษาทางการของตนเอง โดยมีภาษาปัชโตของชาวปัชตุนกับภาษาดารีของชาวทาจิก ซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่เป็นภาษาราชการ
กรณีการยอมรับภาษาถิ่นเป็นภาษาทางการของแต่ละชนชาตินี้ ประธานาธิบดีการ์ไซซึ่งเป็นชาวปัชตุนถูกวิจารณ์ว่ายอมอ่อนข้อให้แก่บรรดาชนชาติต่างๆ มากเกินไป เป็นการแลกกับการใช้ระบอบประธานาธิบดี หลายเสียงบอกว่าการ์ไซได้ตอกย้ำการแบ่งแยกทางเชื้อชาติให้ถ่างกว้างออกไปอีก
แต่ไหนแต่ไรมา ภาษาปัชโตถือเป็นภาษาประจำชาติ เมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดเช่นนี้ ทำให้ชาวปัชตุนไม่พอใจ มองว่าเป็นการยอมอ่อนข้อให้แก่พวกชนชาติส่วนน้อย ทว่า ต่อประเด็นอันละเอียดอ่อนยิ่งนี้ ประธานาธิบดีการ์ไซได้วิงวอนขอให้เห็นแก่เอกภาพของประเทศชาติมากกว่าความเป็นชนชาติ
ในระบอบประธานาธิบดีนี้ ผู้นำประเทศจะมีอำนาจมาก แต่ก็ถูกตรวจสอบถ่วงดุลโดยสภาซึ่งจะมีสิทธิเสียงในเรื่องนโยบายพื้นฐานต่างๆ กับนโยบายด้านการเงิน รวมทั้งมีสิทธิออกเสียงไม่ไว้วางใจบรรดารัฐมนตรีในคณะรัฐบาล
ประเด็นที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ ศาสนิกของศาสนาอื่นมีอิสระในการประกอบศาสนกิจ แต่ "ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย" และบรรดาบทบัญญัติของกฎหมายต่างๆ นั้น "ต้องไม่ขัดแย้งกับความเชื่อและหลักปฏิบัติของอิสลาม"
นอกจากนี้ ถึงแม้รัฐธรรมนูญบอกว่าอัฟกานิสถานจะยอมรับในหลักสิทธิมนุษยชนตามแบบสากล แต่ก็บอกด้วยว่า "กฎหมายต่างๆ ต้องไม่ขัดแย้งกับบทบัญญัติและหลักการของอิสลาม"

Assessing the Constitution of Islamic States




 

Create Date : 27 ตุลาคม 2550
1 comments
Last Update : 28 มิถุนายน 2551 17:39:17 น.
Counter : 583 Pageviews.

 

งงค่ะ นอร์เวย์ ยูเครน ฮังการี เนี่ยประกาศใน รธน. ด้วยเหรอคะว่าศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ แปลกจัง ตามที่เข้าใจ 3 ประเทศนี้น่าจะเป็นคริสต์

 

โดย: bebek 24 มิถุนายน 2551 17:59:41 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


Aisha
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับสู่
Aisha's blog ขอบคุณที่แวะมาค่ะ

Friends' blogs
[Add Aisha's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.