บันทึกอิเล็กทรอนิกส์
 
มกราคม 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
16 มกราคม 2551
 
 

การต่อตัวต้านทานแบบต่างๆ

การต่อตัวต้านทานมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี
1การต่อแบบอนุกรมหรืออันดับ (Series)
การต่อแบบอนุกรมหรืออันดับ ให้นำปลายด้านหนึ่งของตัวต้านทานแต่ละตัวมาต่อกับอีกตัวหนึ่งส่วนปลายที่เหลือก็นำไปต่อใช้งานดังรูป

ผลจากการต่อตัวต้านทานแบบอนุกรมจะทำให้ค่าความต้านทานเพิ่มขึ้นจะมีค่าเท่ากับค่าของตัวต้านทานทุกตัวรวมกันแต่ค่าการทนอัตราการทนกำลังวัตต์รวม(อัตราทนไฟ) จะเท่ากับตัวที่มีวัตต์น้อยที่สุด

สูตรของการต่อตัวต้านทานแบบอนุกรมมีสูตรอยู่ว่า
Rt = R1+R2+R3+………+Rn
เมื่อ Rt = ค่าความต้านทานรวม
R1,R2,R3,Rn คือค่าความต้านทานของแต่ละตัว

ตัวอย่างเช่น


จากสูตร Rt = R1+R2+R3
= 5K + 10K + 20K
= 25K
วัตต์เท่ากับตัวที่น้อยที่สุด = 1/4 W

2การต่อแบบขนาน (Parallel)
การต่อแบบขนานเป็นการต่อโดยการนำปลายของตัวต้านทานแต่ละข้างทั้งสองข้าง มาต่อรวมกับตัวอื่นๆดังรูป

ผลของการต่อตัวต้านทานแบบขนานนี้จะให้ค่าความต้านทานลดลงและวัตต์จะเพิ่มขึ้นเท่ากับวัตต์ของทุกตัวรวมกัน

สูตรของการต่อตัวต้านทานแบบขนาน
กรณีที่มีค่าต่างกัน 1/Rt = 1/R1 + 1/R2 + 1/R3… 1/Rn
กรณีตัวต้านทานมีค่าเท่ากันทุกตัว Rt = R/n
เมื่อ n เท่ากับจำนวนของตัวต้านทาน
และ R เท่ากับค่าของตัวต้านทาน

ตัวอย่างเช่น กรณีที่มีค่าเท่ากัน



จากสูตร Rt = R/n
R/n
= 300โอห์ม/3ตัว
= 100 โอห์ม
วัตต์รวมจะมีค่าเท่ากับ = 1W + 1W + 1W
= 4W
ดังนั้นจึงได้ค่า 100โอห์ม 4วัตต์

ตัวอย่างต่อไปแบบค่าความต้านทานไม่เท่ากัน

จากสูตร 1/Rt = 1/R1 + 1/R2 + 1/R3
แทนค่า 1/Rt = 1/500 + 1/400 + 1/300
= 127.6 โอห์ม
วัตต์รวมจะมีค่าเท่ากับ = 1W + 1W + 2W
= 4W
ดังนั้นจึงได้ค่า 127.6โอห์ม 4วัตต์


3การต่อแบบผสม (Series-Parallel)
เป็นการต่อโดยการนำเอาแบบอนุกรมและแบบขนานมาต่อรวมกันดังรูป



ส่วนการหาค่าความต้านทานรวมก็ใช้สูตรของ อนุกรมและขนานโดยการหาแต่ละชุดก่อนดังนี้
R1,R2,R3 ต่ออนุกรมกันอยู่ 1 ชุดโดยให้เป็น Rt1
R4,R5 ต่ออนุกรมกันอยู่ 1 ชุดโดยให้เป็น Rt2


เมื่อได้ค่า Rt1 และ Rt2 แล้วก็เขียนวงจรใหม่ได้ดังนี้



คราวนี้ก็เหลือเป็นรูปขนานแล้วก็ใช้สูตรขนานหาค่าความต้านทานรวมได้
ตัวอย่าง สมมุติให้ เหมือนดังรูปข้างบนแล้วกำหนดค่าดังนี้ R1 = 1K, R2 = 2K, R3 = 2K, R4 = 3K, R5 = 3K
จากสูตร Rt1 = R1+R2+R3
= 1K + 2K + 2K
Rt1 = 5K
Rt2 = R4 +R5
= 3K + 3K
= 6K
เมื่อได้ค่า Rt1 และค่า Rt2 มาแล้วเราจะมาหาค่า Rt รวมของวงจรกันต่อ
หาค่า Rt จากสูตร 1/Rt = 1/Rt1 + 1/Rt2
1/Rt = 1/5K + 1/6K
= 2.72K
ดังนั้นค่าความต้านทานรวม(Rt) มีค่าเท่ากับ 2.27K

"เขียนโดย bosszi"


เว็บบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ของ bosszi




 

Create Date : 16 มกราคม 2551
0 comments
Last Update : 23 มกราคม 2551 15:52:29 น.
Counter : 53896 Pageviews.

 

bosszi
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ช่างอิเล็กทรอนิกส์ วันทั้งวันก็ยุ่งอยู่กับงาน ทดลองวงจรที่ไม่มีประโยชน์ไร้สาระไปวันๆ
[Add bosszi's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com