การปฏิบัติอานาปานสติ 16 ขั้น

ในมหาสติปัฎฐานสูตรอันดับแรกที่องค์พระพุทธเจ้าทรงหยิบเอาอานาปานุสตติกรรมฐานขึ้นมาก่อน ถ้าไม่ดีแล้วก็คงไม่ยกนำมาเป็นอันดับแรกก่อนกรรมฐานกองอื่น สำหรับอานาปานุสสติกรรมฐาน หมายถึงการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้ทุกอิริยาบถที่ทรงอยู่ ให้เอาใจกำหนดจับอานาปานุสสติกรรมฐานเป็นปกติ จิตไม่มีเวลาว่างจากการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ไม่มีอารมณ์เลวเกิดขึ้น ไม่มีอกุศลใด ๆ แทรกเข้ามาได้ ขณะใดที่ใจยังตื่นอยู่ แม้ตาจะหลับให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเสมอ เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออกในด้านของสติปัฏฐานสี่ แม้เวลาพูดคุยกัน จิตใจก็กำหนดลมหายใจเข้าออกไปด้วย แม้ใหม่ ๆ อาจจะลืมบ้าง แต่ต้องตั้งใจไว้ทรงสติไว้ว่าเราจะหายใจเข้าหายใจออก หายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวก็รู้อยู่ แม้พระอรหันต์ก็ไม่ทิ้งลมหายใจ แม้พระพุทธเจ้าก็ตรัสแก่พระสารีบุตรว่า "สารีบุตรดูก่อน สารีบุตรเราเองก็เป็นผู้มากไปด้วยอานาปานุสสติกรรมฐาน" คำว่า "มาก" ก็หมายความว่า พระพุทธเจ้าทรงกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นปกติ ทั้งนี้เพราะอานาปานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานระงับกายสังขาร คือเป็นกรรมฐานคลายอารมณ์เครียดของจิตใจ และเป็นกรรมฐานคลายอารมณ์เครียดทางร่างกาย มีทุกขเวทนา เป็นต้น เราทรงอานาปานุสสติกรรมฐานได้ ก็เหมือนกับคนฉีดมอร์ฟีน เป็นยาระงับ ระงับเวทนา อานาปานุสติกรรมฐานจงทำให้มาก จงอย่าละ ถ้าใครแสดงอาการเลว แสดงว่าคนนั้นทิ้งกำหนดลมหายใจเข้าออก

ถ้าการกำหนดลมหายใจเข้าออกว่างเกินไป ก็ใช้คำภาวนาควบ เวลาหายใจเข้านึกว่า "พุท" เวลาหายใจออกนึกว่า "โธ" พยายามกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกไว้เป็นปกติ ทำให้เกิดฌานสมาบัติ ตั้งใจไว้เสมอไม่ว่า นั่ง นอน กิน เดิน คุย อย่างเลวที่สุดระยะต้นภายใน ๑ เดือนจะทรงฌาน ๔ การปฏิบัติก็จะเป็นผลโดยไม่ยุ่งกับอำนาจของความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ผู้ทรงฌานจะไม่มองดูความดีและความเลวของคนอื่น ไม่ติใคร จะมีความกตัญญูรู้คุณต่อผู้มีคุณ
ขอจงกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ควบคู่กับการภาวนา "พุทโธ"

จะใช้กรรมฐานกองใดกองหนึ่งก็ตามจงใช้กรรมฐานกองนั้นให้ถึงอรหัตตผล ขอเพียงให้มีกำลังใจเข้มแข็ง กำลังใจดูตัวอย่างขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า "เลือดและเนื้อของเราจะเหือดแห้งก็ตามที ชีวิตอินทรีย์ของเราจะสลายไปก็ตาม ถ้าไม่สำเร็จพระสัมโพธิญาณเพียงใด เราจะไม่ยอมลุกจากที่นี้"

ในการปฏิบัติในตอนแรกเราอาจจะรู้สึกว่ายาก คำว่า "ยาก" เพราะว่ากำลังใจของเรายังไม่เข้มแข็ง เพราะใจของเราหยาบมาก่อน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนำให้ใช้อานาปานุสสติกรรมฐาน เพื่อดับอารมณ์ฟุ้งซ่านของจิต ต่อไปจะเจริญสมถะกองไหนก็ตาม หรือวิปัสสนากองใดก็ตาม จะเว้นอานาปานุสสติกรรมฐานไม่ได้ อันดับแรกของให้ทำอานาปานุสสติกรรมฐานถึงฌาน ๔ ความกลุ้มจะเกิดนิดหน่อยเพราะใหม่ ๆ จะทำให้ใจทรงอยู่ ก็คงจะคิดไปโน่นไปนี่ ก็อย่าเพิ่งตกใจว่าเราจะไม่ดี ถ้าบังเอิญเราทำกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ควบพุทธานุสสติกรรมฐาน ไปได้สัก 1-2 นาที จิตนี้เกิดอารมณ์พล่าน แล้วต่อมามีความรู้สึกตัว ว่า "โอหนอ นี่ใจเราออกไปแล้วหรือ" เราก็ดึงอารมณ์เข้ามาที่อานาปานุสสติกรรมฐานควบคู่กับพุทธานุสสติกรรมฐานใหม่ การทำอย่างนี้จงอย่าทำเฉพาะเวลา พยายามใช้เวลาตลอดวันไม่ว่าจะทำอะไรที่ไหน อย่างไร ใช้เวลาเป็นปกติ เวลาพูดรู้ลมหายใจเข้าออกได้หรือไม่ เวลาทำงานก็รู้ลมหายใจเข้าออกไปด้วย ลืมบ้างไม่ลืมบ้าง ขอให้มีความตั้งใจของจิต ควรจะตั้งเวลาทรงฌานไว้ด้วย เพื่อประโยชน์ในขณะที่จิตของท่านเข้าถึงฌานด้วยอำนาจของพุทธานุสสติกรรมฐาน หรือด้วยอำนาจของอานาปานุสสติกรรมฐาน

เวลาที่พอจะภาวนาได้ หายใจเข้านึกว่า "พุท" หายใจออกนึกว่า "โธ" ถ้าพูดไม่ได้ก็ใช้แต่อานาปานุสสติกรรมฐาน งานก็จะไม่เสีย เพราะอานาปานุสสติกรรมฐานเป็นอารมณ์ที่ละเอียด ขณะที่จะคิดงานก็วางอานาฯ ครู่หนึ่ง ใช้การคิดพิจารณา แต่ความจริงคนที่คล่องแล้วเค้าไม่ทิ้งอานาปานุสสติกรรมฐาน เพราะขณะที่ใช้นั้นใช้ต่ำ ๆ แค่อุปจารสมาธิ ตอนนั้นอารมณ์เป็นทิพย์ เมื่ออารมณ์จิตเป็นทิพย์ปัญญาก็เกิด เมื่อปัญญาเกิด งานที่ทำก็ไม่มีอะไรยาก

การตั้งเวลา จะใช้การนับก็ดี หายใจเข้าหายใจออก นับเป็นหนึ่ง ถึงสิบ และตั้งจิตไว้ว่า ตั้งแต่ 1-10 นี้จะไม่ยอมให้อารมณ์แวบไปสู่อารมณ์อื่น ถ้าไปสู่อารมณ์อื่นเมื่อใดเราจะตั้งต้นใหม่ทันที และถ้า 1-10 แล้วอารมณ์จิตดี เราก็ไม่เลิก ตั้งต่อไปอีก 10 เมื่อถึง 10 ยังดีอยู่ เราก็ยังไม่เลิกต่อไปอีก 10 ในระยะใหม่ ๆ เรายังควบคุมไม่ได้ ก็ใช้กำลังใจของสมเด็จพระบรมครูมาใช้ เราก็จงคิดว่า ถ้า 1-10 นี้ไม่ได้ ก็จะให้มันตายไปซะเลย เมื่อนาน ๆ ไปไม่ถึงเดือนก็ต้องได้เลยสิบ

จิตทรงอารมณ์อานาปานุสสติกรรมฐานแล้ว อารมณ์อื่นก็ไม่สามารถเข้ามาได้ ความหยาบในจิตใจหมดไป มีแต่ความละเอียด ก็จะมีความตั้งใจในการปฏิบัติงาน พยายามใช้กำลังใจให้อยู่ในขอบเขต ทำไม่ได้ถือว่าให้มันตายไป เวลานอนก่อนจะนอนก็จับลมหายใจเข้าออกเป็นปกติแล้วก็หลับไป ตื่นใหม่ ๆ จะลุกหรือไม่ลุกก็ตาม ใช้อารมณ์ใจให้ถึงที่สุดทุกวัน


อุปสรรคของอานาปานุสสติกรรมฐานมีมากเรียกว่าเป็นกรรมฐานที่มีความละเอียด อานาปานุสสติกรรมฐานอาศัยลมเป็นสำคัญถ้าวันใดลมหายใจหยาบ แสดงว่าวันนั้นจะปรากฎว่าอาการคุมสมาธิไม่ดี จะมีอาการอึดอัดบางครั้งจะรู้สึกว่าแน่นที่หน้าอก หรือว่าหายใจไม่ทั่วท้องถ้าอาการอย่างนี้เกิดขึ้น หรือเกรงว่าอาการอย่างนี้จะมีเมื่อเวลาเริ่มต้นที่จะกำหนดกรรมฐาน ให้เข้าชักลมหายใจยาว ๆ สัก 3-4 ครั้ง คือหายใจเข้า หายใจออกยาว ๆ สัก 3-4 ครั้ง เพื่อเป็นการระบายลมหยาบออกไปจากกนั้นก็กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก อย่าบังคับให้หนัก ๆ หรือเบา หรือยาว ๆ สั้น ๆ

การเจริญอานาปานุสสติกรรมฐานต้องการสติสัมปชัญญะเป็นใหญ่อาการของลมหายใจปล่อยไปตามสบาย ๆ แค่รู้ไว้เท่านั้น ว่าหายใจยาว หรือสั้นก็รู้อยู่ และอีกแบบหนึ่งคือ กำหนด 3 ฐาน คือ เวลาหายใจเข้าลมกระทบจมูก กระทบหน้าอก ศูนย์เหนือสะดือ เวลาหายใจออกกระทบศูนย์เหนือสะดือกระทบหน้าอก กระทบจมูกหรือริมฝีปาก คนริมฝีปากเชิดจะกระทบริมฝีปากริมฝีปากงุ้มจะกระทบจมูก เป็นความรู้สึก จงอย่าบังคับลมหายใจให้แรง ปล่อยไปตามปกติความรู้สึกมีเพียงว่ากระทบจมูกอย่างเดียว ถ้ารู้ความสัมผัสจมูกก็แสดงว่าจิตทรงได้แค่อุปจารสมาธิ ถ้าสามารถรู้การสัมผัส 2 ฐาน คือหายใจเข้ากระทบจมูกกระทบหน้าอก และหายใจออกรู้กระทบหน้าอก กระทบจมูก 2 จุดนี้ แสดงว่าจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิ ถ้ารู้ถึง 3 ฐาน หายใจเข้ากระทบจมูกกระทบหน้าอก กระทบศูนย์เหนือสะดือ และเวลาหายใจออกกระทบศูนย์เหนือสะดือกระทบหน้าอก กระทบจมูก รู้ได้ชัดเจน อย่างนี้แสดงว่าจิตเข้าถึงปฐมฌานถ้าอารมณ์จิตละเอียดยิ่งไปกว่านั้น ฌานที่ 2 ที่ 3 อย่างนี้ลมหายใจเข้าหายใจออกจะเหมือนกระแสน้ำไหลเข้าไหลออกทั้งหายใจเข้าและหายใจออก อย่างนี้แสดงว่าจิตเข้าถึงปฐมฌานละเอียด หรือว่าฌานที่ 2 ที่ 3 สำหรับปฐมฌานลมยังหยาบอยู่ แต่รู้สึกว่าจะเบากว่าอุปจารสมาธิพอถึงฌานที่ 2 จะรู้สึกว่าลมหายใจเบาลงอีก ไปถึงฌานที่ 3 ลมหายใจที่กระทบรู้สึกว่าจะเบามาก เกือบจะไม่มีความรู้สึกถ้าเข้าถึงฌานที่ 4 ก็จะมีความรู้สึกว่าไม่หายใจเลยแต่ความจริงร่างกายหายใจเป็นปกติ ที่ความรู้สึกน้อยลงไปก็เพราะจิตกับประสาทห่างกันออกมาตั้งแต่ปฐมฌานจิตก็ห่างจากประสาทไปนิดหนึ่ง มาถึงฌานที่ 2 จิตก็ห่างจากประสาทมากอีกหน่อย พอถึงฌานที่ 3 จิตก็ห่างจากประสาทมากเกือบจะไม่มีความสัมผัสกันเลย ถึงฌานที่ 4 จิตปล่อยประสาท ไม่รับรู้การกระทบกระทั่งทางประสาททั้งหมดจึงไม่รู้สึกว่าเราหายใจ

อาการที่เข้าถึงอุปจารสมาธิ

เมื่อกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออกจิตจะมีความสงบสงัดดีขึ้น ดีกว่าอุปจารสมาธิมีความชุ่มชื่นมีความสบายแต่ทรงได้ไม่นาน อาจจะ 1 -2 - 3 นาทีในระยะต้น ๆ แต่บางวันก็ทรงได้นานหน่อยเมื่อจิตมีความสุข รื่นเริง อาการของปิติมี 5 อย่าง ที่จะเรียกว่าอุปจารสมาธิ จิตที่เข้าถึงอุปจารสมาธิก็คือจิตมีปิติ และจิตเข้าถึงสุขถ้าเข้าถึงสุขก็เรียกว่าเต็มอุปจารสมาธิ อาการของจิตที่ควรแก่การพิจารณา คือ

1. มีขนลุกซู่ซ่า ขนพองสยองเกล้าจงอย่าสนใจกับร่างกาย พยายามสนใจกับอารมณ์ที่ทรงไว้

2. น้ำตาไหล เวลาเริ่มทำสมาธิน้ำตาไหลใครพูดอะไรก็น้ำตาไหล บังคับไม่อยู่

3. อาการโยกโคลง โยกหน้าโยกหลัง

4. มีอาการสั่นเคลิ้ม คล้ายเหมือนปลุกพระบางคนมีอาการตัวลอย ไม่ใช่เหาะ เป็นปิติ

5. อาการซาบซ่าน ซู่ซ่าในกาย ตัวกายเบาโปร่งมีความรู้สึกเหมือนตัวใหญ่ หน้าใหญ่ ตัวสูง

ปิติเมื่อเกิดขึ้น เราจะมีอารมณ์เป็นสุขซึ่งเป็นความสุขที่อธิบายไม่ได้ เป็นความสุขสดชื่น ปราศจากอามิสอาการอย่างนี้จิตเข้าถึงอุปจารสมาธิในอันดับขั้นสูงสุดเป็นการเต็มในขั้นกามาวจรสวรรค์ ขณิกสมาธิเป็นปัจจัยให้เกิดในกามาวาจรสวรรค์เมื่อเต็มขั้นกามาวจรแล้ว ถ้าเลยจากนี้ก็เป็นอาการของพรหม

ขณะที่จิตเข้าถึงอุปจารสมาธิ อาจจะเป็นขั้นต้นกลาง ปลาย ก็ตาม อุปจารต้นเรียกว่า ขนพอง สยองเกล้า น้ำตาไหล ร่างกายโยกโคลงนี่เรียกว่า อุปจารสมาธิขั้นต้น อุปจารสมาธิขั้นกลาง คือ กายสั่นเทิ้มคล้ายกับอาการปลุกพระ หรือมีร่างกายลอยขึ้น ตัวเบา ตัวใหญ่ มีจิตใจสบาย เรียกว่า อุปจารสมาธิขั้นกลาง ถ้ามีจิตใจเป็นสุขบอกไม่ถูก เรียกว่า อุปจารสมาธิขั้นสูงสุด จะเป็นอุปจารสมาธิอันดับใดก็ตามในขณะนี้จะมีอาการแปลก ๆ เกิดขึ้น นั่นคือ บางครั้งเห็นแสงสีต่าง ๆ เกิดขึ้น สีแดงสีเขียว สีเหลือง บางครั้งก็เหมือนกับใครมาฉายไฟที่หน้าบางครารู้สึกว่ามีแสงสว่างทั่วกาย ถ้าอาการอย่างนี้เกิดขึ้นจงทราบไว้ว่าเป็นนิมิตของอานาปานาสติกรรมฐาน แต่บางทีก็มีภาพคน อาคารสถานที่เกิดขึ้น แต่อาการอย่างนี้จะเกิดขึ้นชั่วครู่แล้วก็หายไปตอนนี้ขอให้จงอย่าสนใจกับแสงสีใด ๆ ทั้งหมด อะไรจะเกิดขึ้นก็ช่างทำความรู้สึกไว้เสมอว่า เราเจริญกรรมฐานต้องการอารมณ์จิตเป็นสุขต้องการอารมณ์เป็นสมาธิ ทำความรู้สึกว่าเรายังดีไม่พอ ยังไม่เข้าถึงปฐมฌาน

ถ้าเข้าถึงปิติส่วนใดส่วนหนึ่งก็ตามอาการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ปรากฎขึ้น ขณะที่กำลังทำงานก็ดี เดินอยู่ก็ดีเราเหนื่อยก็นั่งพัก กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกทันที จิตใจเป็นสุขอาการเหนื่อยจะหายอย่างรวดเร็ว เพราะอานาปานุสสติกรรมฐานเป็นการระงับทุกขเวทนาทางกายจุดหนึ่งและขณะที่เหนื่อยอยู่หาที่พักแม้จะมีเสียงดังก็ตาม จับลมหายใจเข้าออกทันที พอจับปรับอาการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ปิติแสดงว่าเข้าถึงสมาธิได้อย่างรวดเร็ว ควรจะพยายามไว้อย่างสม่ำเสมอทำให้เราคล่องในการทรงสมาธิ เวลาที่จิตถึงฌานสมาบัติเราสามารถจะเข้าฌานได้ตามอัธยาศัยถ้าเข้าฌานโดยต้องการเวลาเพื่อที่จะให้เกิดฌานนั้น แสดงว่ายังใช้ไม่ได้ การทรงสมาธิต้องคล่องที่ตามพระบาลีท่านกล่าวว่าจิตเข้าถึงนวสี คำว่านวสี คือการคล่องในการเข้าฌานและออกฌาน

ฉะนั้นการฝึกสมาธิจงอย่าหาเวลาแน่นอนไม่ว่าจะทำอะไร นั่ง เดิน นอน กิน จิตจับลมหายใจเข้าออกให้ทรงตัวอย่าปล่อยจิตให้ว่างจากสมาธิ การก้าวเดินก็อาจจะก้าวขวาก็พุท ก้าวซ้ายก็โธเวลากินก็รู้ว่าตัก กำลังเคี้ยว กำลังกลืน เป็นการทรงสมาธิได้ดี เวลานอนก่อนจะหลับใช้อานาปานุสสติกรรมฐาน ขณะที่หลับจะถือว่าเป็นผู้ทรงฌาน จิตจะเข้าถึงปฐมฌานหรือสูงกว่านั้นจึงจะหลับ ถ้าตายระหว่างนั้นก็จะเป็นพรหมเวลาตื่นก็จะตื่นหรือลุกก็ได้ จับลมหายใจเข้าออกทันที เพื่อให้สมาธิจิตทรงตัวเป็นการรวบรวมกำลังใจสูงสุด

เมื่อผ่านอุปจารสมาธิแล้วจิตจะมีความสุขมีความเยือกเย็น โดยฌานแบ่งออกเป็น 4 อย่าง

ปฐมฌาน อาการมีองค์ 5 มีวิตก วิจาร ปิติ สุข เอตคตา คำว่า วิตกได้แก่อารมณ์นึก ที่เราจะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก วิจาร ได้แก่รู้ว่าเวลานี้เราหายใจเข้าหรือออก ยาวหรือสั้น หรือในกรรมฐาน 40 ก็จะรู้ว่าเวลานี้กระทบจมูก หน้าอก ศูนย์เหนือสะดือ

ปิติ ความเอิบอิ่มใจ มีความชุ่มชื่น เบิกบานไม่มีความเบื่อในการเจริญพระกรรมฐาน เอตคตา มีอารมณ์เดียวคือในขณะนั้นจิตจับเฉพาะลมหายใจเข้าออกปกติ จิตจะไม่รับอารมณ์ส่วนอื่น

ความรู้สึกในขณะที่จิตเข้าถึงปฐมฌานจิตจะจับลมหายใจเข้าออก ลมหายใจจะเบามีความสุขสดชื่นหูได้ยินเสียงภายนอกชัดเจนแจ่มใส แต่ไม่รำคาญในเสียงกำลังจิตสำหรับผู้ที่เข้าถึงปฐมฌาน ในเบื้องแรกยังไม่มั่นคงในขณะที่จับลมหายใจเข้าออก จะมีสภาพนิ่งคล้ายเราเคลิ้ม คิดว่าเราหลับ แต่ไม่หลับมีอาการโงกหน้าโงกหลัง แต่จริง ๆ แล้วตัวตั้งตรงพอสักครู่จะมีอาการหวิวคล้ายตกจากที่สูง นั่นคือเป็นอาการจิตหยาบอารมณ์หยาบของปฐมฌาน เป็นจิตพลัดจากฌานไม่สามารถผ่านไปได้จงอย่าสนใจพยายามรักษาอารมณ์ปกติไว้ ได้เท่าไหร่เอาเท่านั้น

ฌานที่ 2 มีองค์ 3 ตัดวิตก วิจาร เหลือ ปิติ สุข เอตคตา จิตจะไม่สนใจ มีความเบาลงมีความนิ่งสนิท ถ้าภาวนากำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก คำภาวนาจะหายไป จิตจะตั้งอารมณ์ทรงมีความเอิ่มอิ่ม มีอารมณ์สงัด แต่ถ้าเราไปที่อุปจารสมาธิก็จะมาคิดว่าเอ...เราเผลอไปแล้วเหรอ เราไม่ได้ภาวนาเลย ความจริงนั่นไม่ใช่ความเผลอเป็นอาการของจิตทรงสมาธิสูงขึ้น

ฌานที่ 3 มีองค์ 2 มีอาการสุข และเอตคตา ตัดปิติหายไป อาการของฌานนี้ จิตมีความสุขมีอารมณ์ตั้งดีกว่าฌานที่ 2 และร่างกายเหมือนมีอาการนั่งหรือยืนตรงเป๋งสำหรับลมหายใจจะเบามากเกือบไม่มีความรู้สึก หูได้ยินเบามาก แม้ว่าเสียงนั้นจะดัง

ฌานที่ 4 จะมีความรู้สึกว่าเราไม่ได้หายใจมีอารมณ์เด็ดเดี่ยวตั้งมั่น มีความมั่นคง ไม่มีความรู้สึกภายนอก ไม่ว่ายุงจะกัดเสียงก็ไม่ได้ยิน จิตนิ่งเฉย ๆ มีเอตคตาและอุเบกขาเอตคตาหมายความว่าทรงอารมณ์เป็นหนึ่ง อุเบกขา หมายความว่าเฉย ไม่รับสัมผัสอารมณ์ใดๆ ทั้งหมด

แต่ความจริงแล้วการปฏิบัติจงอย่าสนใจว่าตอนนี้เข้าถึงฌานอะไร ถือว่าวันนี้ได้ดีเพียงไร พอใจเท่านั้นคิดว่าเป็นผู้สะสมความดี ทรงอารมณ์สมาธิ ถ้าจิตตั้งได้ก็จะมีอาการเป็นสุขเวลาเจริญสมาธิจิต ไม่ว่ากรรมฐานกองใดก็ตาม เวลานี้อยู่ในฌานใดอย่าไปตั้งว่าเราจะต้องได้ฌานนั้น ฌานนี้ จะทำให้ไม่ได้อะไรเลย ให้มีความพอใจแค่ที่ได้เป็นการฝึกจิตเข้าถึงอุเบกขารมณ์ ทำให้ต่อไปจิตจะทรงฌาน 4 ได้ง่าย

การปฏิบัติที่จะให้ได้ผลจริง ๆ ใช้ตลอดทุกอิริยาบถอย่าทิ้งลมหายใจเข้าออก พยายามนึกลมหายใจเข้าออกเสมอแต่หากว่างานนั้นไม่เหมาะที่จะดูลมหายใจเข้าออก เราก็ใช้จิตจับอยู่ที่งานว่าเวลานี้เราทำอะไรเป็นการฝึกอารมณ์ของสมาธิไปในตัว

วิธีการต่อสู้คือ

          1. ต่อสู้กับความเหนื่อย จิตจับสมาธิ จับลมหายใจเข้าออกดูว่าจิตจะทรงตัวไม๊ ถ้าจิตไม่ทรงตัวเราจะไม่เลิก เป็นการระงับความเหนื่อยดับความร้อนไปในตัว เมื่อจิตเข้าถึงสมาธิเล็กน้อย ความเหนื่อยก็จะคลายตัวพอจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิก็จะหายเหนื่อยทันที ความร้อนความกลุ้มก็จะหายไป

          2. การต่อสู้กับเสียง ขณะที่เราพบเสียงที่เค้าคุยกันเสียงดังลองทำจิตจับลมหายใจเข้าออก ว่าเรารำคาญเสียงไม๊ หรือลองเปิดเสียงทีวีวิทยุฟังแล้วกำหนดอานาปานุสสติกรรมฐาน หูได้ยินเสียงชัดแต่จิตของเราไม่รำคาญในเสียงนั้นก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทำไปหูไม่ได้ยินเสียงเลยนั่นยิ่งดี พยายามต่อสู้เสมอ จนมีอารมณ์ชิน เมื่อเราเจอเสียงที่พอใจหรือไม่พอใจก็ตามเราเข้าสมาธิได้ทันทีทันใด เป็นการฝึกจิตให้คล่องในการเข้าสมาธิถ้าทำได้อย่างนี้จะทำให้อารมณ์จิตทรงตัว

          3. ต่อสู้กับอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ต้องพยายามระงับด้วยกำลังของสมาธิคิดว่าใครจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา เป็นเรื่องของเขา เวลาที่เราได้รับคำด่าอย่าเพิ่งโกรธใช้จิตพิจารณาดูก่อนว่าเรื่องที่เค้าด่านั้นจริงหรือไม่จริงถ้าไม่ตรงความจริงก็ยิ้มได้ ว่าคนที่ด่าไม่น่าเลื่อมใส ด่าส่งเดชหรือถ้าพบอารมณ์ที่เราไม่พอใจ ก็จับอารมณ์ให้จิตทรงตัว ไม่ว่าเค้าจะด่าว่าอะไรเรารักษาอารมณ์ที่เป็นสุขไว้ ถือว่าอารมณ์ความสุขเป็นปัจจัยเข้าถึงพระนิพพานโดยง่ายเป็นอารมณ์แบบสบาย ๆ หัดฝึกจิตกระทบอารมณ์ที่เราไม่พอใจระงับความอยากด้วยกำลังของฌาน กำลังของฌานระงับกิเลสได้ทุกอย่าง โลภะ(ความโลภ)ราคาะ(ความรัก) โทสะ(ความโกรธ) โมหะ(ความหลง) ระงับได้ทุกอย่างแต่มีอารมณ์หนัก เมื่ออารมณ์จิตของเรามีการทรงตัวจริงๆ อารมณ์แห่งความสุขจะยืนตัวกับจิตของเรา จะไม่หวั่นไหวเมื่อเห็นวัตถุที่สวยงามไม่ทะเยอทะยานจากอาการที่ได้ลาภสักการะ ไม่หวั่นไหวเมื่อมีคนยั่วให้โกรธสิ่งที่ยึดมั่นว่าเป็นเราของเราก็ไม่มี ความจริงกำลังสมาธิสามารถกดกิเลสทุกตัวให้จมลงไปได้แต่อย่าลืมว่ากิเลสมันไม่ตายถูกฝังไว้ ถ้าเผลอเมื่อไหร่ก็โดนเล่นงานเมื่อนั้นสำหรับคนที่ทรงจิตถึงฌาน ๔หรือทรงอารมณ์สมาธิถึงฌานใดฌานหนึ่งจนกระทั่งมีอารมณ์ชิน มักจะมีอาการเผลอคิดว่าเราเป็นพระอรหันต์เพราะไม่พอใจทั้งหมด ไม่เอาทั้งรัก โลภ โกรธ หลง แต่ถ้ากำลังใจตกลง ทั้งรัก โลภโกรธ หลงก็เข้ามาหา เพราะเป็นแค่ฌานโลกีย์เท่านั้นแต่ถ้าเราสามารถระงับได้ก็ควรจะพอใจ เพราะกิเลสสามารถกดลงไปได้ไม่ช้าก็สามารถจะห้ำหั่นให้พินาศด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณ




 

Create Date : 03 มีนาคม 2557
0 comments
Last Update : 20 เมษายน 2557 8:00:55 น.
Counter : 1270 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


nuyect
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




WELLCOME TO PEENUY BLOG

bigoo.ws
ตั้งเว็บนี้เป็นหน้าแรก
บล๊อกพี่หนุ่ย ... ยินดีต้อนรับทุกท่าน..และขอบคุณที่มาเยี่ยมครับ ..
Group Blog
 
 
มีนาคม 2557
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
3 มีนาคม 2557
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add nuyect's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.