Group Blog
 
 
เมษายน 2552
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
6 เมษายน 2552
 
All Blogs
 
คาร์นิทีน(CARNITINE)

คาร์นิทีน
(CARNITINE)
คาร์นิทีน นับเป็นวิตามินที่พึ่งค้นพบชนิดล่าสุดจัดอยู่ในประเภทที่ละลายน้ำ เป็นสารจำเป็นในการเผาผลาญไขมัน ร่างกายได้คาร์นิทีน 2 ทาง คือ จากอาหารที่รับประทานซึ่งมีทั้งในเนื้อสัตว์ และพืช ( ในเนื้อสัตว์มีคาร์นิทีนมากกว่าในพืช ) และจากการสังเคราะห์ขึ้นเองของร่างกาย ( เปลี่ยนไลซีนเป็นคาร์นิทีน ) ในการสังเคราะห์ขึ้นเองนี้ วิตามินซีเป็นปัจจัยที่จำเป็นมากเพราะเป็นตัวช่วยในกระบวนการสร้าง แหล่งที่พบส่วนมากเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงจะมีคาร์นิทีนสูงด้วย ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อเป็ด เนื้อไก่ ไข่ ปลา นม และอาหารที่ได้จากผลิตภัณฑ์นมหน้าที่สำคัญของ Carnitine ต่อร่างกายทำหน้าที่เป็นตัวนำ และเคลื่อนย้ายกรดไขมัน ( FATTY ACID ) ภายในร่างกายก่อนที่จะใช้ในการสร้างพลังงานการขาดคาร์นิทีนมักเกิดร่วมกับการขาดโปรตีน คนไทยในชนบทรับประทานข้าวเป็นหลักทำให้ได้ คาร์นิทีนไม่เพียงพอ นอกจากนี้ผู้อยู่ในภาวะเครียด และผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อจะเสี่ยงต่อการขาดคาร์นิทีนมาก เพราะมีการสูญเสียคาร์นิทีนที่สะสมไว้ในกล้ามเนื้อออกทางปัสสาวะมากกว่าปรกติ ส่วนข้อมูลอื่นๆยังตั้งค้นคว้ากันต่อไป
ข้อมูลทั่วไป
คาร์นิทีน นับเป็นวิตามินที่พึ่งค้นพบชนิดล่าสุดจัดอยู่ในประเภทที่ละลายน้ำ เป็นสารจำเป็นในการเผาผลาญไขมัน ร่างกายได้คาร์นิทีน 2 ทาง คือ จากอาหารที่รับประทานซึ่งมีทั้งในเนื้อสัตว์ และพืช ( ในเนื้อสัตว์มีคาร์นิทีนมากกว่าในพืช ) และจากการสังเคราะห์ขึ้นเองของร่างกาย ( เปลี่ยนไลซีนเป็นคาร์นิทีน ) ในการสังเคราะห์ขึ้นเองนี้ วิตามินซีเป็นปัจจัยที่จำเป็นมาก
ประโยชน์ต่อร่างกาย
ทำหน้าที่เป็นตัวนำ และเคลื่อนย้ายกรดไขมัน ( FATTY ACID ) ภายในร่างกายก่อนที่จะใช้ในการสร้างพลังงาน
แหล่งที่พบ
อาหารที่มีโปรตีนสูงจะมีคาร์นิทีนสูงด้วย ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อเป็ด เนื้อไก่ ไข่ ปลา นม และอาหารที่ได้จากผลิตภัณฑ์นม
ปริมาณที่แนะนำ
เด็กอายุต่ำกว่า 9 ปี 28 -54 มิลลิกรัม
วัยรุ่น และ ผู้ใหญ่ 24 - 81 มิลลิกรัม

ผลของการขาด
การขาดคาร์นิทีนมักเกิดร่วมกับการขาดโปรตีน คนไทยในชนบทรับประทานข้าวเป็นหลักทำให้ได้คาร์นิทีนไม่เพียงพอ นอกจากนี้ผู้อยู่ในภาวะเครียด และผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อจะเสี่ยงต่อการขาดคาร์นิทีนมาก เพราะมีการสูญเสียคาร์นิทีนที่สะสมไว้ในกล้ามเนื้อออกทางปัสสาวะมากกว่าปรกติ
สำหรับเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ เอนไซม์ที่ใช้ในการสร้างคาร์นิทีน ยังมีไม่สมบูรณ์เต็มที่จึงเสี่ยงต่อการขาดวิตามินชนิดนี้ ถ้าเมื่อใดร่างกาย อยู่ในภาวะอาหารไม่เพียงพอหรือมีอาการดังกล่าวข้างต้นจำเป็นต้อง ให้ความสนใจและระวังเป็นกรณีพิเศษ
ทำให้เกิดไขมันคั่งในอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ และกล้ามเนื้อ เป็นต้น
ข้อมูลอื่นๆ
การดูดซึม
คาร์นิทีนที่เกินความต้องการจะถูกสะสมไว้ในกล้ามเนื้อ และตับ ส่วนที่ร่างกายไม่ต้องการแล้ว จะถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ
อาหารหรือสารที่เสริมฤทธิ์
อาหารพวกโปรตีน วิตามินซี



Create Date : 06 เมษายน 2552
Last Update : 6 เมษายน 2552 15:02:08 น. 0 comments
Counter : 190 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

dbh
Location :
สุโขทัย Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add dbh's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.